กรดอัลฟาไลโปอิก

กรดอัลฟาไลโปอิก

ชื่อสามัญ Alpha-lipoic acid

ประเภทและข้อแตกต่างกรดอัลฟาไลโปอิก

กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-lipoic acid,ALA) หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ กรดไทออคติก (thioctic acid) โดยเป็นสารประกบ organosulfur กรดไขมัน octanoic acid มีสูตรโมเลกุลคือ C8H14O2S2 มวลโมเลกุลเท่ากับ 206.326 g/mol มีคุณสมบัติทางเคมีละลายได้ทั้งในน้ำและน้ำมัน โดยมีค่าการละลายในน้ำเท่ากับ 127 มิลลิกรัมต่อลิตร (ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส) ค่าคงที่การแตกตัว (pKa) เท่ากับ 4.52 (กรดแก่) และมีค่า ประสิทธิ์การแบ่งผ่าน (log P) เท่ากับ 2.1 สำหรับประเภทของกรดอัลฟาไลโปอิกนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-lipoic acid,ALA) (รูปออกซิไดซ์) และ กรดไดไฮโดรไลโปอิค (dihydrolipoic acid; DHLA) (รูปรีดิวซ์) ซึ่งเริ่มจากโมเลกุลของกรดไลโปอิก (LA) มีอะตอมของกำมะถัน 2 อะตอม ที่พร้อมจะถูกออกซิไดซ์หรือรีคิวซ์ (แย่งอิเล็กตรอนหรือเติมอิเล็กตรอน) และเมื่อถูกเติมอิเล็กตรอน โมเลกุลจะมีอีกชื่อหนึ่งว่า ไดฮัยโตรไลโปอิกเอซิค (Dihydrolipoic acid-DHLA) แต่ถ้าถูกแย่งอิเล็กตรอนจะเรียกว่ากรดอัลฟาไลโปอิกแอซิค (alpha-Lipoic acid)

แหล่งที่พบและแหล่งที่มากรดอัลฟาไลโปอิก

กรดอัลฟาไลโปอิกเป็นสารที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ทั้งในพืชและสัตว์รวมในมนุษย์ด้วย ซึ่งภายในร่างกายเราเองก็มีการสังเคราะห์กรดไลโปอิกนี้ขึ้นมาแล้วไปจับกับโปรตีนเฉพาะ กลายเป็นสารที่ทำหน้าที่เป็นโคแฟ็กเตอร์ของ Mitochondrial α-keto acid dehydrogenase ซึ่งเป็นสารที่คอยเร่งการทำงานของเอนไซม์ในไมโตคอนเตรีย (mitochondria) หรือแหล่งผลิตพลังงานในเซลล์ทุกๆ เซลล์ แต่อย่างไรก็ตามร่างกายจะสามารถสังเคราะห์กรดอัลฟาไลโปอิกขึ้นเองได้ ในปริมาณที่เพียงพอต่อการช่วยไมโตคอนเดรีย (mitochondria) เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงานเท่านั้น และเมื่ออายุมากขึ้นหรือร่างกายอยู่ในสภาวะอ่อนแอ ร่างกายจะผลิต กรดอัลฟาไลโปอิกน้อยลง จึงทำให้ปริมาณของสารดังกล่าวไม่เพียงพอต่อความต้องการช่วยในระบบไมโตคอนเตรียและการส่งเสริมสุขภาพในด้านอื่นๆ
           ดังนั้นร่างกายจึงมีความต้องการกรดอัลฟาไลโปอิกจากแหล่งอาหารอื่นๆ ซึ่งอาหารที่เป็นแหล่งของสารดังกล่าวได้แก่ เนื้อแดง และอวัยวะภายในของสัตว์ เช่น ตับ หัวใจ ไตและเครื่องในต่างๆ นอกจากนี้ยังพบได้ในพืช เช่น ผักโขม มันฝรั่ง ผักปวยเล้ง รำข้าว มะเขือเทศ บล็อกโคลี่ รวมถึง ยีสต์เป็นตัน

กรดอัลฟาไลโปอิก

ปริมาณที่ควรได้รับกรดอัลฟาไลโปอิก

สำหรับปริมาณของกรดอัลฟาไลโออิกที่ควรได้รับในแต่ละวันนั้น ในปัจจุบันองค์การอาหารและยา (FDA) ยังไม่มีการอนุมัติใช้ กรดอัลฟาไลโปอิก ในการใช้ทางการแพทย์แต่มีการนำไปใช้ในกรณีศึกษาและงานวิจัยถึงความเป็นไปได้ที่ กรดอัลฟาไลโปอิก อาจจะมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการหรือเงื่อนไขของโรคต่างๆ ได้แก่ การรับประทาน ALA ขนาด 300 มิลลิกรัม เป็นเวลา 2-8 สัปดาห์ 1 ครั้ง ก่อนและหลังการบำบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen Therapy) จะช่วยลดขนาดของแผลได้ การรับประทาน ALA ขนาด 1,800 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 20 สัปดาห์ อาจจะช่วยลดน้ำหนักในผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกิน (BMI≥25) ได้ ส่วนที่มีการนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นจาการสังเกตุฉลากข้างขวดนั้นพบว่าขนาดรับประทานนั้นมีการแล่งตามวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อความงามและต้านอนุมูลอิสระ มีการแนะนำให้รับประทาน ขนาด 50-100 มก./วัน แต่หากเพื่อเพิ่มความไวต่ออินซูลินและโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน มีการแนะนำให้รับประทาน ขนาด 300-600 มก./วัน ขนาดที่มีและสำหรับการใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ทาผิวหนังคือร้อยละ 0.25 ถึง 5 แต่ที่นิยมคือร้อยละ 1 ถึง 3 แต่อย่างไรตาม กรดอัลฟาไลโปอิกมีความคงตัวไม่ดี จึงต้องอาจต้องทาซ้ำบ่อยๆ

ประโยชน์และโทษกรดอัลฟาไลโปอิก

ประโยชน์ของกรดอัลฟาไลโปอิกด้านความงามคือ ช่วยบำรุงผิวในผู้สูงอายุ ช่วยรักษาบาดแผลชะลอความเสื่อมของเซลล์ผิว ลดริ้วรอยและความแห้งกร้าน ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใส อย่างเป็นธรรมชาติ  ลดการอักเสบและการเกิดสิว ส่วนในด้านสุขภาพนั้นก็มีประโยชน์ เช่น ช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากความเสียหาย ช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและให้พลังงานกับอวัยวะต่างๆ  ช่วยรักษาอาการเส้นประสาทอักเสบจากเบาหวาน เป็นสารช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ โดยสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้สูงและสามารถดูดซึม แทรกซึมเข้าสู่เซลล์ทั่วร่างกายตลอดจนผ่านแนวกั้นในสมอง (blood brain barrier) อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมหรือซ่อมสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่น เช่น วิตามินซี วิตามินอี กลูต้าไธโอน โคเอนไซม์ คิว10 ให้กลับมาใช้งานซ้ำได้ หรือเป็นสารทดแทนกรณีต้านอนุมูลอิสระใดขาดแคลน และยังมีบทบาทหลักในการย่อยเผาผลาญน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน โดยมีคุณสมบัติเสริมการออกฤทธิ์กับอินซูลิน กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนในการย่อยสลายน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน และทำลายอนุมูลอิสระที่ถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการสลายน้ำตาลกลูโคสภายในเซลล์ จึงมีส่วนช่วยให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดี และอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคเกี่ยวกับปลายประสาทอักเสบ อาการชาตามปลายมือ-ปลายเท้า ต้อกระจก

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกรดอัลฟาไลโปอิก

มีผลการศึกษาวิจัยถึงกลไกการออกฤทธิ์ที่ผิวหนังของกรดอัลฟาไลโปอิกพบว่ามีอยู่ 4 กลไก คือ
           กรดอัลฟาไลโปอิกและกรดไดไฮโดรไลโปอิกช่วย ลดปริมาณอนุมูลอิสระกลุ่มออกซิเจนที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา หรือ ROS ได้ในหลอดทดลองแต่ยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดใน สัตว์ทดลอง อีกทั้งกรดอัลฟาไลโปอิกและกรดไดไฮโดรไลโปอิก ทำหน้าที่เป็นสารคีเลตและทำปฏิกิริยากับทองแดงและธาตุเหล็กได้ ทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง โดยกรดไดไฮโดรไลโปอิก ช่วยเพิ่มจำนวนสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินซี วิตามินอี โคเอนไซม์คิวเทน และกลูตาไธโอน แต่ยังไม่ทราบ กลไกที่แน่ชัดในสัตว์ทดลอง นอกจากนี้กรดอัลฟาไลโปอิกยังไปช่วยเพิ่มการ สังเคราะห์กลูตาไธโอนได้อีกด้วย และยังมีผลการศึกษาวิจัยถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ของกรดอัลฟาไลโปอิก ดังนี้
           Alpha lipoic acid (ALA) ได้รับการระบุให้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถต่อสู้กับ oxidative stress โดยการจัดการอนุมูลอิสระ Reactive oxygen species (ROS) ได้ในหลายปฏิกิริยา เนื่องจากโมเลกุลนี้สามารถละลายได้ทั้งในส่วนที่เป็นของเหลวและไขมันของเซลล์ ฟังก์ชันทางชีวภาพจึงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่สภาพแวดล้อมเดียว นอกเหนือจากการกวาดล้าง ROS แล้ว alpha lipoic acid ยังได้แสดงให้เห็นว่ายังมีส่วนร่วมในการรีไซเคิลสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ ในร่างกายรวมทั้งวิตามิน C E และกลูตาไธโอน นอกจากนี้ยังมีรายงานหลายฉบับเกี่ยวกับคุณสมบัติการปรับระดับไขมันในเลือดลดระดับ LDL และการปรับความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงเป็นสารที่ป้องกันปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) ได้
           โดยมีงานวิจัยในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี 31 คน เข้าร่วมในการศึกษาแบบ randomized parallel test ALA ที่ 600 มก./วัน หรือ AT (Alpha-tocopheral) ที่ 400 IU/d เป็นเวลา 2 เดือน ตามด้วยการรวมกันของอาหารเสริมทั้ง 2 รายการต่อวันผงการวิจัยพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่า BMI หรือ lipid เมื่อวัดความเครียดออกซิเดชันถูกวิเคราะห์ ALA ลด carbonyls ในพลาสมาในขณะที่ AT ไม่มีผลงานวิจัยแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการลดอัตราของการเกิด LDL oxidation กับ lipid peroxide จึงมีการสรุปว่า ALA ช่วยป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงก่อนวัยอันควรด้วยผลต้านอนุมูลอิสระ และยังมีผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California USA) พบว่า การรับประทานกรดอัลฟาไลโปอิก ในปริมาณ 25 mg/kg ยังสามารถป้องกันโรคต้อกระจกได้ถึง 60%  ส่วนอีกการศึกษาหนึ่งได้มีการสังเกตเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของ HDL-C และการลด LDL-C ในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ได้รับการรักษาด้วย ALA 400 mg เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และยังมีการศึกษาพบว่าการรับประทาน โคเอนไซด์ Q10 (CoQ10) 200 mg/วัน (ALA) 200 mg/วัน ติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน พบว่าประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบสูงขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์ส่งเสริมกันในด้าน mitochondrial production ซึ่ง ALA เองยังพบว่าสามารถ recycle สารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นและช่วยลดควบคุมสัดส่วนของ Ubiquinone:Ubiqrinol ratio ในร่างกายได้อีกด้วย ทำให้การออกฤทธิ์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อีกด้วย
          นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างผงการวิจัยอีกหลายฉบับที่พัฒนาขึ้นเพื่อความคุมการปลดปล่อยกรดอัลฟาไลโปอิกในรูปแบบนาโนเทคโนโลยีหลาย ชนิด เช่น NE, SLN, NLC พบว่า SLN และ NLC โดยสามารถ ควบคุมการปลดปล่อยกรดอัลฟาไลโปอิกให้ยาวนานกว่า NE และพบว่าระบบนาโนเทคโนโลยีช่วยให้การกักเก็บตัวยา ความคงตัวและประสิทธิภาพของกรดอัลฟาไลโปอิกดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบดั้งเดิม รวมถึงกรดอัลฟาไลโปอิกที่กักเก็บในรูปแบบไมโครอิมัลชัน และลิโพโซม ซึ่งพบข้อสังเกตว่า การผสมสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ ร่วมกับกรดอัลฟาไลโปอิกจะช่วยเพิ่มความคงตัว การซึม ผ่านผิวหนัง และฤทธิ์ต้านอนุมูลอสิระของกรดอลัฟาไลโปอกิได้ ตัวยาร่วมที่พบในงานวิจัยนี้ได้แก่ วิตามินอี โคเอนไซม์คิวเทน

กรดอัลฟาไลโปอิก

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติกรดอัลฟาไลโปอิก

⦁ ผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้อัลฟาไลโปอิก เพราะสารดังกล่าวอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินกว่าระดับปกติ
⦁ ไม่ควรใช้กรดอัลฟาไลโปอิกกับเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร เพราะยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้
⦁ การใช้อัลฟาไลโปอิกอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก วิงเวียนศีรษะ มีอาการบวมที่ใบหญ้า ริมฝิปาก ลิ้น ลำคอ หายใจลำบาก ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เหงือออกมาก หัวใจเต้นเร็ว กระวนกระวาย สับสน รู้สึกจะเป็นลม
           จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศมีการแนะนำให้รับประทานกรดอัลฟาไลโปอิก ก่อนอาหาร 30-60 นาที หรืออย่างน้อย 120 นาที หลังอาหาร เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายดูดซึมสารดังกล่าวได้มากที่สุด

เอกสารอ้างอิง อัลฟาไลโปอิก

⦁ สุรีวัลย์ ดวงจิตต์, กรกนก สุวรรณราช, กุลภัสสร์ กิตติพินิจนันท์ และคณะ บทบาทของสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติสำหรับประยุกต์ใช้ทางผิวหนัง. คุณสมบัติ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และระบบนำส่งรูปแบบใหม่.วารสารเภสัชศาสตร์อีสานปีที่ 15. ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2562.หน้า 21-48
⦁ พลวัฒน์ ปรีชาบริสุทธิ์กุล.การศึกษาผลของโคเอนไซม์คิว 10 และกรดอัลฟาไลโปอิก ต่อระดับออกวิไดซ์แอลดีแอล.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟู สุขภาพ วิทยาลัยแทพย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2562. 59 หน้า
⦁ ALA (กรดอัลฟาไลโปอิก), พบแพทย์ดอทคอม (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก ⦁ http://www.podpad.com
⦁ Souto EB, Müller RH, Gohla S. A novel approach based on lipid nanoparticles (SLN®) for topical delivery of α-lipoic acid. J Microencapsul 2005; 22(6): 581- 592.
⦁ Gianturco V.Bellomo A,D’Lttavio E,Formosa V,iori A,Mancinella Mancinella M Troisi G,& Marigliano V.(2009).lmpact of therapy with alpha-lipoic (ALA) on the oxidative stress in the controlled NIDDM: a possible preventive way against the organ dysfunction? Arch Gerontol Geriatr.49 Suppl l,129-133.
⦁ Ruktanonchai U, Bejrapha P, Sakulkhu U, Opanasopit P, Bunyapraphatsara N, Junyaprasert V, Puttipipatkhachorn S. Physicochemical characteristics, cytotoxicity, and antioxidant activity of three lipid nanoparticulate formulations of alpha-lipoic acid. AAPS PharmSciTech 2009; 10(1): 227-234.
⦁ Marangon K.Devaraj S, Tirosh O,Packer L& Jialal I.(1996).Comparison of the effect of alpha-lipoic acid and alpha-tocopherol supplementation on meacures of oxidative stress Free Radic Biol Med ,27(9-10),1114-1121.
⦁ Zhao GD, Sun R, Ni SL, Xia Q. Development and characterisation of a novel chitosan-coated antioxidant liposome containing both coenzyme Q10 and alpha-lipoic acid. J Microencapsul 2015; 32(2): 157-165
⦁ Sonia Silvestri. Patrick Oriando. Tatiana Armeni Lucia Padella Francesca Bruge Giovanna Seddaiu Fian Paolo Littarrul & Luca Tinnol (2015) Coenzyme Q10 and α-lipoic acid antioxidant and pro-oxidant effects in plasma and peripheral blood lymphocytes of supplemented subjects J Clin Biochem Nutr 57(1),21-26.
⦁ Thomas S, Vieira CS, Hass MA, Lopes LB. Stability, cutaneous delivery, and antioxidant potential of a lipoic acid and alpha-tocopherol codrug incorporated in microemulsions. J Pharm Sci 2014; 103(8): 2530-2538.