คลอโรฟีลล์

คลอโรฟีลล์

ชื่อสามัญ Chlorophyll

ประเภทและข้อแตกต่างคลอโรฟีลล์ 

คลอโรฟีลล์ เป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในทุกส่วนของพืชที่เป็นสีเขียว มักพบมากในใบ และส่วนอื่นๆ ที่มีสีเขียว โดยจะมีลักษณะเป็นสารสีที่ปรากฏอยู่ใน organelle ที่เรียกว่า คลอโรพลาสต์ (chloroplast) ซึ่งจะพบในส่วน cytoplasm ของเซลล์พืช ซึ่งเป็นกลุ่มของสารสีที่มีสีเขียว ทำหน้าที่ในกระยวนการสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้พลังงานทางชีวเคมีแก่พืช โดยคลอโรฟิลล์จะสามารถดูดกลืนพลังงานแสงเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) เพื่อเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำให้กลายเป็นออกซิเจน และกลูโคส ส่วนโครงสร้างของคลอโรฟีลล์ตามธรรมชาตินั้นพบว่าคลอโรฟีลล์มีโครงสร้างพื้นฐานที่เรียกว่า porphyrin ring ที่คล้ายคลึงกับโครงสร้างของฮีมในฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดง แต่จะต่างกันที่อะตอมที่ศูนย์กลางของคลอโรฟีลล์เป็นแมกนีเซียม (Mg) แทนที่จะเป็นธาตุเหล็ก (Fe) แบบของฮีม และยังประกอบไปด้วยไฮโดรคาร์บอนสายยาว (phytol side chain) นอกจากนี้คลอโรฟีลล์ในธรรมชาติจะอยู่ในรูปของคลอโรฟิลล์ที่ละลายในน้ำมันเท่านั้น  และยังเป็นโมเลกุลซึ่งไม่ค่อยเสถียรสลายตัวได้ง่ายจากความร้อน ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ ส่วนหางถูกย่อยออกจากโมเลกุลได้ง่ายด้วยสารละลายที่มีคุณสมบัติเป็นด่างอ่อน และเอนไซม์ chlorophyllase ในขณะที่แมกนีเซียมในส่วนของ tetrapyrrole ถูกดึงออกได้ง่ายด้วยสารละลายที่เป็นกรดอ่อน

           สำหรับประเภทของคลอโรฟีลล์นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

           1.คลอโรฟีลล์จากธรรมชาติ โดยสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

  • คลอโรฟีลล์ เอ (chlorophyll a) ซึ่งมีสูตรเคมี คือ C55 H72 O5 N4 Mg มีคุณสมบัติมละลายน้ำเป็นคลอโรฟีลล์ ที่มีสีเขียวแกมน้ำเงิน ซึ่งสารคลอโรฟีลล์ เอ จัดเป็น primary pigment ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสงโดยตรง ส่วนสารสีชนิดอื่นๆ ต้องรับแสงแล้วส่งต่อให้คลอโรฟีลล์ บี ประมาณ 2-3 เท่า โดยคลอโรฟีลล์ เอ จะมีช่วงการดูดกลืนแสงที่ 420 นาโนเมตร และ 660 นาโนเมตร ส่วนมากจะพบคลอโรฟีลล์ เอ ในพืชชั้นสูงทุกชนิดที่มีการสังเคราะห์แสงได้
  • คลอโรฟีลล์ บี (chlorophyll b) มีสูตรเคมี คือ C55 H70 O6  N4 Mg ซึ่งมีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ เป็นคลอโรฟีลล์ที่มีสีเขียวแกมเหลือง โดยคลอโรฟีลล์ บี จะมีช่วยการดูดกลืนแสงที่ 435 นาโนเมตร และ 643 นาโนเมตร ส่วนมากพบคลอโรฟีลล์ บี ได้ทั่วไปในพืชชั้นสูงทุกชนิด และสาหร่ายสีเขียว (green algae)
  • คลอโรฟีลล์ ซี (chlorophyll c) เป็นคลอโรฟีลล์ชนิดที่พบได้ในพวกสาหร่ายสีน้ำตาล (brown algae) และสาหร่ายสีทอง (golden algae) แต่ไม่พบในพืชชั้นสูง
  • คลอโรฟีลล์ ดี (chlorophyll d) เป็นคลอโรฟีลล์ชนิดที่พบในพวกสาหร่ายสีแดง (red algae) รวมถึงแบคทีเรียบางชนิดที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ แต่ไม่พบในพืชชั้นสูงเช่นกัน

         2. คลอโรฟีลล์ สังเคราะห์ ที่นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่มีชื่อว่าโซเดียม คอปเปอร์คลอโรฟีลลิน (Sodium Copper Chlorophyllin) เป็นการดัดแปลงโครงสร้างคลอโรฟีลล์ตามธรรมชาติทำให้ได้สารคลอโรฟีลลินที่ยังคงมีสีเขียวอยู่ แต่มีความคงตัว และสามารถละลายน้ำได้ดีจึงนำมาผสมในอาหารเครื่องดื่ม

โครงสร้างคลอโรฟีลล์

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาคลอโรฟีลล์

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า คลอโรฟีลล์ เป็นสารสีที่พบในเซลล์ของพืชที่มีสีเขียว ดังนั้น แหล่งของคลอโรฟีลล์ก็ คือ ผัก และผลไม้สีเขียว เช่น ผักชีฝรั่ง ผักกาด ผักขม ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว แอปเปิ้ลเขียว กล้วย กล้วยน้ำว้า ส้มโอ แตงไทย เป็นต้น รวมถึง สาหร่ายต่างๆ และแบคทีเรียบางชนิด ดังในตารางต่อไปนี้ 

           ตารางแสดงปริมาณคลอโรฟีลล์ในพืชผักต่างๆ

 คลอโรฟีลล์

           ปริมาณคลอโรฟีลล์ทั้งหมดในผลไม้บางชนิด

ชื่อผลไม้

พันธุ์

ส่วนของผลไม้

ปริมาณคลอโรฟีลล์ ไมโครกรัม/น้ำหนักผลสด(กรัม)

กล้วย

Dwarf Cavendish

เนื้อ

60.00

แตงไทย

Galia

เนื้อ

345.00

ส้มจี๊ด

Nagami

ผิวเปลือก

26.50

ส้มจีน

Dancy

ผิวเปลือก

330.00

ส้มโอ

Goliath

ผิวเปลือก

90.00

กูลเบอร์รี่

Achilles

ทั้งหมด

21.00

องุ่น

Riecling

ทั้งหมด

15.00

แพร์

Super Trevoux

เนื้อ

4.50

 ชิโครี่

Spadona

เนื้อ

45.00

แอปเปิ้ล

Golden Delicious

เนื้อ

53.00

            นอกจากนี้ยังมีการนำคลอโรฟีลล์จากธรรมชาติ มาสังเคราะห์ และดัดแปลงโครงสร้างให้ละลายในน้ำได้ ซึ่งเป็นสารที่มีชื่อว่า Sodium copper chlorophyllin เพื่อใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อีกด้วย

คลอโรฟีลล์

ปริมาณที่ควรได้รับจากคลอโรฟีลล์

สำหรับขนาด และปริมาณที่ใช้คลอโรฟีลล์ โดยทั่วไป ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เสริมอาหารจะใช้ในปริมาณ 100 มก./วัน นอกจากนี้ในอเมริกากำหนดความปลอดภัยของสารคลอโรฟีลลินในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ ใช้เป็นสีผสมอาหารได้ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ส่วนเด็กอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป สามารถรับประทานคลอโรฟีลลินได้ในขนาด 90 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งองค์การอาหาร และยาของสหรัฐอเมริกา (USFDA) ได้รับรองความปลอดภัยเฉพาะคลอโรฟีลล์ชนิดที่ละลายในน้ำเท่านั้น เนื่องจากคลอโรฟีลล์ที่ละลายในน้ำหากได้รับมากเกินไปสามารถละลายออกมาทางปัสสาวะได้แต่หากได้รับคลอโรฟีลล์ชนิดละลายในไขมันมากเกินไป จะทำให้มีการสะสมเกิดขึ้นซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อตับ และไตได้

ประโยชน์และโทษคลอโรฟีลล์ 

จากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า คลอโรฟีลล์ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของคลอโรฟีลล์ มีฤทธิ์ยับยั้งเนื้องอกที่เต้านม ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งตับ ช่วยเพิ่มจำนวน และประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว ช่วยลดกลิ่นตัว กลิ่นของอุจจาระ และกลิ่นของปัสสาวะ ช่วยให้รอยแผลบริเวณผิวหนังซึ่งเกิดจากการฉายแสงเพื่อรักษามะเร็งหายเร็วขึ้น และช่วยขับสารพิษ (อย่างไรก็ตาม การได้รับคลอโรฟีลล์มากเกินไปอาจเกิดการสะสม และมีผลเสียต่อตับ และไตได้)

            นอกจากนี้คลอโรฟีลล์ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกเช่น ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ช่วยควบคุมความเป็นกรดในกระเพราะอาหาร และส่งเสริมการย่อยอาหาร ช่วยป้องกันแผลอักเสบ และระงับเชื้อ ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในระบบทางเดินอาหาร ส่วนผลข้างเคียงของการรับประทานคลอโรฟีลล์ อาจเกิดขึ้นได้โดยอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ ดังนี้

           ปัสสาวะมีสีเปลี่ยนไปเป็นสีเขียว อุจจาระมีสีเขียว ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเกือบดำ และยังมีรายงานว่าทำให้ท้องเสียได้ นอกจากนี้ยังพบรายงานการเกิดอาการแพ้สารคลอโรฟีลลิน โดยอาจพบผื่นแพ้ขึ้นตามตัว เวียนศีรษะ เหงื่ออกมาก และความดันโลหิตตกอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน

โครงสร้างคลอโรฟีลล์

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องคลอโรฟีลล์

มีการศึกษาในคนของคลอโรฟีลล์ พบว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านมและป้องกันการเกิดมะเร็งที่ตับ ซึ่งขนาดที่ใช้รับประทานในการศึกษาคือคลอโรฟิลล์ชนิดเม็ดขนาด 100 มก./วัน รับประทานวันละ 3 ครั้ง นาน 3-4 เดือน นอกจากนี้ยังพบว่ามีฤทธิ์เพิ่มปริมาณและกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว ยับยั้งสารพิษ ปกป้องผิวหนังจากรังสีอีกด้วย และยังมีผลการศึกษาวิจัยของสถาบัน Linus Pauling, มหาวิทยาลัย Oregon state แสดงให้เห็นว่าทั้งคลอโรฟิลล์และคลอโรฟิลลิน มีประสิทธิภาพเท่าๆ กันในการยับยั้งสารก่อมะเร็ง (aflatoxin B1) เข้าสู่ร่างกาย อย่างไรก็ตามงานวิจัยเหล่านี้ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ยังคงต้องทำการวิจัยต่อไปเพื่อให้ได้ผลการศึกษาวิจัยที่คลอบคลุมทุกมิติรวมถึงยังต้องศึกษาวิจัยในคนอีกต่อไป

            นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับคลอโรฟีลล์รูปแบบรับประทานนี้ คือ การดูดซึม (absorption) เนื่องจากคลอโรฟีลล์จะมีผลในการสร้างสารพิษในร่างกายได้ ต้องถูกดูดซึมเพื่อให้เข้าสู่กระแสเลือดก่อนเท่านั้น ซึ่งการศึกษาเกี่ยวกับการดูดซึม และประสิทธิภาพเกี่ยวกับการล้างสารพิษของคลอโรฟีลล์ในมนุษย์ อ้างอิงจาก Natural Medicines Comprehensive มีค่อนข้างจำกัด และผลการศึกษาส่วนใหญ่ ได้มากจากสัตว์ทดลอง หรือ เซลล์ในหลอดทดลอง จึงทำให้ต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอีกมากในอนาคต

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

  1. การรับประทาน chlorophyll และ chlorophyllin เสริมนั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
  2. ห้ามใช้ในผู้ที่มีอาการแพ้ หรือ ไวต่อสิ่งกระตุ้นที่มี chlorophyll และ chlorophyllin เป็นส่วนประกอบ
  3. หากต้องการรับประทานผักผลไม้ให้ได้ปริมาณของคลอโรฟีลล์ อย่างเต็ม ที่ควรรับประทานในรูปแบบ ผัก และผลไม้สด เพราะหากมีการนำไปผ่านความร้อนมากเท่าไหร่ก็จะทำให้ปริมาณของคลอโรฟีลล์สูญเสียไปมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง คลอโรฟีลล์
  1. พนิดา ใหญ่ธรรมสาร.คลอโรฟีลล์ มีประโยชน์จริงเหรอ?. จุลสารข้อมูลสมุนไพร ปีที่ 24. ฉบับที่ 2 มกราคม 2550. หน้า 2-12
  2. ภาคภูมิ พระประเสริฐ. สรีรวิทยาของพืช. กรุงเทพฯ, โอเดียนสโตร์. 2550
  3. Gruskin B. Chlorophyll-its therapeutic place in acute and suppurative disease. Am J Surg 1940:49;49-56.
  4. Whong WZ, Stewart J, Brockman HE, Ong TM. 1988 Comparative antimutagenicityof chlorophyllin and five other agents against aflatoxin B1-induced reversion in salmonella typhimurium strain TA98. Teratog Carcinog Mutagen. Vol. 8(4): 215-24
  1. Egner PA, Wang JB, Zhu YR. 2001. Chlorophyllin intervention reduces aflatoxin-DNAadducts in individuals at high risk for liver cancer. Proc Natl Acad Sci. Vol. 98(25): 14601-14606.
  2. Rudolph C. The therapeutic value of chlorophyll. Clin Med Surg 1930:37;119-21.
  3. Breinholt V, Schimerlik M, Dashwood R, Bailey G. 1995. Mechanisms ofchlorophyllin anticarcinogenesis against aflatoxin B1: complex formation with the carcinogen. Chem Res Toxicol. Vol. 8(4): 506-514.
  4. Schwartz J, Shklar G, Reid S, Trickler D. 1988. Prevention of experimental oralcancer by extracts of Spirulina-Dunaliella algae. Nutr Cancer. Vol. 11(2): 127-34

คอนดรอยตินซัลเฟต