เกล็ดสะระแหน่

เกล็ดสะระแหน่ งานวิจัยและสรรพคุณ 11ข้อ

เกล็ดสะระแหน่คืออะไร

เมื่อกล่าวถึงเกล็ดสะระแหน่หลายท่านอาจไม่รู้จักแต่หากกล่าวถึงเมนทอล (Menthol) แล้วละก็เชื่อได้ว่าคงรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่โดยความจริงแล้วเกล็ดสะระแหน่ก็คือเมนทอลนั่นเอง เพียงแต่เกล็ดสะระแหน่เป็นชื่อเรียกของไทย ส่วนเมนทอลเป็นชื่อสากลที่นาๆประเทศนิยมเรียกกัน ซึ่งเกล็ดสะระแหน่ หรือเมนทอลนั้นคือสารชนิดหนึ่งที่พบในน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้ สะระแหน่ไทย  มินท์ หรือสะระแหน่ฝรั่ง รวมถึงสะระแหน่ญี่ปุ่นด้วย โดยเกล็ดสะระแหน่จะมีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นและรสชาติหอมเย็น (มีรายงานว่าในใบสะระแหน่พบสารเมนทอลอยู่มากถึง 80-89% เลยทีเดียว) ทั้งนี้เกล็ดสะระแหน่มักถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการปรุงแต่งกลิ่นอาหาร ขนมหวาน  ขนมขบเคี้ยวต่างๆ รวมไปถึงอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและวงการผลิตยาทั้งยาใช้ภายนอกและยาสำหรับรับประทานด้วย
  

สะระแหน่

ประโยชน์และสรรพคุณเกล็ดสะระแหน่  

  1. ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย คลื่นไส้อาเจียน
  2. ช่วยให้ร่างกายสดชื่นตื่นตัว
  3. บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก
  4. แก้ไอ แก้ไข้
  5. ลดการกระหายน้ำ
  6. ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  7. ขับปัสสาวะ
  8. ขับประจำเดือน
  9. ช่วยคลายเครียดและแก้ปวดศีรษะได้ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
  10. ช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่น 
  11. ลดการบวมของหลอดเลือดที่จมูก


สูตรทางเคมีและสูตรโครงสร้าง

เกล็ดสะระแหน่ (Menthol) คือสารจำพวกแอลกอฮอล์ที่ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ น้ำมันมินต์ (mint oil) ที่สังเคราะห์ขึ้น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า 5-เมทิล-2-(1-เมทิลเอทิล)-ไซโคลเฮกซะนอล (5-methyl-2-(1-methylethyl)-cyclohexanol) มีสูตรเคมี C¹ºH²ºO น้ำหนักโมเลกุล 156.27 และมีสูตรโครงสร้างทางเคมีดังนี้

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของเกล็ดสะระแหน่

เกล็ดสะระแหน่

Menthol

ที่มา : Wikipedia

แหล่งที่มาเกล็ดสะระแหน่

เกล็ดสะระแหน่เพียงแค่ชื่อก็สามารถบอกแหล่งที่มาของสารชนิดนี้แล้ว เพราะโดยธรรมชาติของการเรียกขื่อสารต่างๆของไทยนั้น มักจะเรียกตามแหล่งวัตถุดิบที่สามารถสกัดได้ ซึ่งเกล็ดสะระแหน่ก็เช่นกัน โดยเกล็ดสะระแหน่นั้นสกัดได้จากเปปเปอร์มินต์ (สะระแหน่ฝรั่ง) ชื่อวิทยาศาสตร์: Mentha × piperita L. เป็นมินต์พันธุ์ผสมระหว่างมินต์น้ำกับสเปียร์มินต์(มินต์ไทย) มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปยุโรปและตะวันออกกลาง ปัจจุบันเพาะปลูกกันอย่างกว้างขวางในหลายบริเวณทั่วโลก มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คือ เป็นพืชมีลำต้นใต้ดิน เติบโตได้ถึง 30-90 เซนติเมตร (12-35 นิ้ว) ลำต้นยืดออกกว้าง ใบยาว 4-9 เซนติเมตร (1.6-3.5 นิ้ว) กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร (0.59-1.57 นิ้ว) ใบสีเขียวเข้ม ดอกสีม่วงยาวขนาด 6-8 มิลลิเมตร (0.24-0.31 นิ้ว) และสะระแหน่ (mint Spearmint) ซึ่งเป็นพืชผักพื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่งชื่อวิทยาศาสตร์ : Mentha cordifolia Opiz. วงศ์ : Labiatae  ชื่อสามัญ : Spearmint  Mint  Kitchen mint 

สะระแหน่

ขนาดและปริมาณที่ควรใช้

เกล็ดสะระแหน่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งเป็นยาที่ใช้ภายนอกและยาที่ใช้สำหรับรับประทานโดยต้องนำไปเป็นส่วนผสมเท่านั้น ไม่ควรใช้ขณะเป็นผลึก นอกจากนี้ยังมีการนำไปผสมกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ยาสีฟัน ลูกอม หมากฝรั่ง ยาดม ฯลฯ ทั้งนี้ในการใช้ เช่นยาสำหรับภายนอกอายไม่เป็นที่กังวลเท่ากับการใช้เป็นยาสำหรับภายใน (ยารับประทาน) โดยองค์การอนามัยโลกได้ระบุขนาดของเกล็ดสะระแหน่ที่สามารถ (WHO)ใช้รับประทานได้ คือ 0.2 มก./น้ำหนักตัว และยังมีมีรายงานพบอาการไม่พึงประสงค์ (adverse effect) ของคนที่รับประทาน menthol ขนาด 2 มก./กก./วัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

คือ ราก และลำต้นสะระแหน่มีลักษณะลำต้นพร้อมเลื้อย มีเฉพาะรากฝอย ขนาดเล็ก และสั้น ลำต้นสูงประมาณ 15-30 ซม. ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม ผิวลำต้นมีสีแดงอมม่วงจนถึงปลายยอด ลำต้นสามารถแตกเหง้าเป็นต้นใหม่จนขยายเป็นกอใหญ่ และลำต้นแตกกิ่งแขนงจำนวนมากสะระแหน่ลำต้นทอดเลื้อยแผ่ไปตามดิน ลำต้นเป็นเหลี่ยม สีเขียวแกมม่วงน้ำตาล แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวมีสีเขียว ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย พื้นใบขรุขระ มีกลิ่นหอมฉุน ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบใบใบสะระแหน่ ออกเป็น ใบเดี่ยว และออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกันบนกิ่ง ลำต้น ใบมีสีเขียว รูปทรงรี กว้างประมาณ 1.5 – 3.5 ซม. และยาวประมาณ 2 – 7 ซม. ผิวใบย่นเป็นลูกคลื่น ขอบใบหยัก ปลายใบมนหรือแหลมดอกดอกสะระแหน่ออกเป็นช่อ เหนือซอกใบบริเวณปลายยอด แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกมีสีชมพูอมม่วง ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอกที่เชื่อมติดกันเป็นกรวยตื้น 4 กลีบ ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะไม่ค่อยพบดอกสะระแหน่ผลผลสะระแหน่มีสีดำ ขนาดเล็ก มีรูปผลเป็นรูปกระสวย เปลือกผลเกลี้ยงมัน ทั้งนี้ ผลสะระแหน่มักไม่ติดผลให้เห็นบ่อยนัก เพราะมีดอกที่เป็นหมันเป็นส่วนใหญ่

น้ำมันหอมระเหย ในใบสะระแหน่ของไทย (Spearmint) มีสีเหลืองใส มีความหนาแน่นประมาณ 0.904 ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด ได้แก่

– menthol 63.5 %

– p-menthone19.5 %

– pluegone 42.9-45.4 %

– isomenthone12.9 %

– piperitone12.2 %

– Menthone 15-32 %

– Menthyl acetate3-10 %

– piperitone 38.0 %

– piperitenone 33.0 %

– α-terpeneol 4.7%

– limonene

– hexenolphenylacetate

– enthyl amylcarbinal

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

ในการศึกษาวิจัยของเกล็ดสะระแหน่พบว่ามีการศึกษาวิจัยน้อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายงานการศึกษาวิจัยในน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่เสียมากกว่ามีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่าในใบมินต์ มีน้ำมันและสารเมนทอล (เกล็ดสะระแหน่) สูงถึง 80-89% พบว่าให้กลิ่นหอมเย็นลึก ช่วยให้รู้สึกสดชื่น กระตุ้นให้เกิดความกระปรี้กระเปร่า ช่วยให้ความจำดีขึ้น  รวมถึงรายงานการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาขององค์ประกอบน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่ง  (Mentha piperita  L.) โดยในการวิเคราะห์น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่ง พบว่าองค์ประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่งคือ alpha-terpinene, isomenthone, trans-carveol, pipertitinone oxide และ beta-caryophyllene เมื่อทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ พบว่า มีฤทธิ์ต้านเชื้อ  E. coli , Staphylococcus aureus  และ  Candida albicans  นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยจับกับอนุมูลอิสระ DPPH และยับยั้งการเกิด lipid peroxidation

เกล็ดสะระแหน่


การศึกษาทางพิษวิทยา
 

เช่นเดียวกับการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของเกล็ดสะระแหน่ การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของเกล็ดสะระแหน่นี้ยังมีน้อยมาก ซึ่งผู้เขียนยังไม่สามารถค้นหาและรวบรวมข้อมูลมาได้

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ไม่มีข้อห้ามในการใช้อาหารหรือยาที่มีส่วนผสมของมินต์ หรือ เมนทอลแต่ไม่ควรใช้เกินที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้
  2. สารเมนทอลนี้เมื่อสัมผัสกับผิวหนังทำให้รู้สึกเย็น แต่ในความเข้มข้นสูงและใช้ติดต่อกัน โดยการสูดดมสารนี้ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณทางเดินหายใจ และอาจทำให้เกิดปอดอักเสบได้
  3. เกล็ดสะระแหน่เป็นสารที่ส่งผลต่อระบบประสาท ดังนั้นไม่ควรใช้(สูดดม เช่น ยาดม) ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เพราะอาจจะทำให้เกิดการเสพติดได้
  4. หากผิวหนังสัมผัสเกล็ดสะระแหน่ (ที่เป็นผนึก) ในปริมาณมากอาจจะทำให้เกิดการระคายเคือง ผิวหนังแดง ผิวหนังไหม้ แสบและคันได้

 เอกสารอ้างอิง

  1. ฤทธิ์ทางเภสัชของน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ฝรั่ง (Mentha  piperita L.) และน้ำมันเขียว Myrtus Communis L. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  2. ยุวดี จอมพิทักษ์.ผักสวนครัว.กรุงเทพฯ,2545.
  3. Galeotti Di Cesare Mannelli L, Mazzanti G, Bartolini A, Ghelardini C. Menthol: a natural analgesic compound. Neurosci Lett. 2002 Apr 12;322(3):145-8.
  4. เกวลิน รัตนจรัสกุล,2555.การพัฒนาฟิล์มต้านจุลทรีย์จากคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสร่วมกับน้ำมันสะระแหน่
  5. สะระแหน่ สรรพคุณ และการปลูกสะระแหน่.พืชเกษตร.คอม เว็บเพื่อเกษตรกรไทย.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://puechaset.com
  6. เปปเปอร์มินต์.วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/
  7. รศ.ยุวดี วงษ์กระจ่าง.ยาดมมีอันตรายหรือไม่.คอลัมน์ Drug Tips จุลสารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.ฉบับที่5.กรกฎาคม-กันยายน 2555 หน้า 6-7.
  8. ข้อมูลเกี่ยวกับเมนทอล.กระดาน ถาม-ตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5469