ประวัติของชาในประเทศไทย

ประวัติของชาในประเทศไทย

 

            สำหรับในบทความที่แล้วเราได้ทราบกันแล้วถึงประวัติความเป็นมาของชา ซึ่งเป็นประวัติความเป็นมาทั้งที่เป็นตำนานและเป็นลายลักษณ์อักษรและเมื่อมาถึงในบทความนี้ ผู้เขียนจะนำทุกท่านไปทำความรู้จักถึงประวัติของชาในประเทศไทยว่า ชานั้นเข้ามาถึงไทยเมื่อไหร่และมีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากน้อยเพียงใด รวมถึงในการเพาะขยายพันธุ์ชาในไทยนั้นมีแนวโน้มในการปลูกที่ประสบผลสำเร็จเท่าใด และควรปลูกในภูมิประเทศภูมิอากาศแบบไหน โดยประวัติของชาในประเทศไทยนั้น พบว่ามีการดื่มชากันตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย เพราะเป็นสมัยที่เริ่มมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการค้าขายกับประเทศจีน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่ามีการนำเข้ามาอย่างไรและนำเข้ามาในรัชสมัยของพระมหากษัตรพระองค์ใด แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พบว่าบันทึกในจดหมายเหตุลาลูแบร์ว่าคนไทยรู้จักการดื่มและชงชากันแล้ว สำหรับเรื่องการปลูกชาในไทยนั้น แต่เดิมพบแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติของต้นชาในไทยอยู่ตามภูเขาสูงตามภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก น่าน ฯลฯ ซึ่งส่วนมากจะเป็นชาป่า หรือว่าชาอัสสัม ที่ชาวบ้านละแวกนั้นเรียกว่าต้นเมี่ยง และนิยมนำใบมาผลิตเป็นเมี่ยง (เมี่ยงคือใบชานำมาหมัดให้มีรสชาติฝาด เปรี้ยว ใช้สำหรับอมและเคี้ยวดูดกินน้ำเพื่อทำให้ไม่มีอาการง่วง) ส่วนในการพัฒนาการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับชาในระอุตสาหกรรม เริ่มในปี พ.ศ. 2480 โดยมีการเปิดบริษัทผลิตใบชาแห้งขึ้นที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และได้มีการปรับปรุงระบบกระบวนการเพาะปลูกและผลิตมาเป็นลำดับ จนมาถึงปัจจุบัน ในส่วนของภาครัฐนั้น ได้มีการส่งเสริมการปลูกและการแปรรูปใบชาในรูปแบบอุตสาหกรรมขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2483 นำโดย มล.เพชร สนิทวงศ์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯในสมัยนั้นได้ไปหาที่ปลูกที่เหมาะสมกับภูมิประเทศที่เป็นที่สูงและมีอากาศเย็นและมีฝนตกชุก แล้วได้เลือกบริเวณ โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เป็นสถานที่ทดลองปลูก และประสบผลสำเร็จจึงได้ขยายพื้นที่ปลูกไปอีกหลายๆแหล่งในภาคเหนือ และในปี พ.ศ.2525 จึงได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ใบชาแม่สอด อ.แม่จัน จ.เชียงราย ทำให้สมาชิกได้รับการช่วยเหลือทั้งทางด้านเทคนิควิธีปลูก การแปรรูป รวมถึงด้านการเงินอีกด้วย และในปี พ.ศ.2530 ผู้เชียวชาญจาก F.A.O (องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ) ได้เข้ามาสำรวจและแนะนำเทคนิควิธีการผลิตอุตสาหกรรมใบชาตามคำร้องขอของกรมวิชาการเกษตร รวมถึงมีการส่งนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร ไปดูงานการปลูกและการผลิตใบชา ที่อินเดียวและฝรั่งเศสและได้กลับมาส่งเสริมและพัฒนาการปลูกและการแปรรูปใบชา ให้มีผลผลิตที่ดีและมีการแปรรูปที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน อันเป็นการเริ่มต้นในทิศทางที่ดีของเกษตรกรและโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชามาจนถึงปัจจุบัน

 

 

กวาวขาว กวาวขาว กวาวขาว