จริงหรือไม่ที่เขาว่าเจียวกู่หลานไม่มีพิษ

จริงหรือไม่ที่เขาว่าเจียวกู่หลานไม่มีพิษ

 

            จากประโยชน์และสรรพคุณของเจียวกู่หลานที่ทุกท่านได้รับทราบกันมาแล้ว อาจทำให้หลายคนอยากจะทดลองใช้สมุนไพรชนิดนี้แล้ว เพราะว่ามีสรรพคุณมากมายครอบคลุมโรคสำคัญตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนๆ แต่ถ้าหากเราพูดหรือนำเสนอแต่ข้อที่ดีๆออกไปโดยไม่ได้นำเสนอข้อที่เป็นเชิงลบ (แต่เป็นความจริง) แล้วอาจจะทำให้ทุกท่านคิดว่าผู้เขียนมีอคติต่อยาแผนปัจจุบันและต้องการชักนำหรือโฆษณาชวนเชื่อให้ทุกท่านมาใช้หรือบริโภคสมุนไพรแต่โดยความจริงแล้ว  ผู้เขียนก็มีข้อมูลในด้านการวิจัยและทดลองด้านความเป็นพิษในสมุนไพรเจียวกู่หลานอยู่เหมือนกัน ดังนั้นในที่นี้เราจึงจะมากล่าวถึงการวิจัยและทดลอง เจียวกู่หลานในด้านความเป็นพิษของสมุนไพรชนิดนี้กัน จากที่ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลในหลายๆแหล่งแล้วพบว่าในแหล่งข้อมูลต่างเหล่านั้น ต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าเจียวกู่หลานเป็นสมุนไพรที่ไม่มีพิษและไม่มีโทษต่อร่างกายเลย จึงทำให้ผู้เขียนพยายามหาแหล่งข้อมูลใหม่ๆมาเปรียบเทียบ เพื่อที่จะได้ตกผลึกทางความคิด และจะได้นำเสนอเรื่องราวด้านความเป็นพิษของเจียวกู่หลานมาสู่ทุกท่าน ซึ่งก็มีดังนี้ ได้มีนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยได้ทำการทดสอบความเป็นพิษของเจียวกู่หลานในหนูทดลอง โดยการแบ่งหนูทดลองออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน ประกอบด้วยกลุ่มควบคุม  ให้กินสารสกัดเจียวกู่หลานด้วยน้ำในขนาด 10 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม กลุ่มที่ 2 ให้กินสารสกัดเจียวกู่หลานด้วยน้ำในขนาด 6 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน  กลุ่มที่ 3 ให้กินสารสกัดเจียวกู่หลานด้วยน้ำ ในขนาด 30 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน กลุ่มที่ 4 ให้กินสารสกัดเจียวกู่หลานด้วยน้ำ ในขนาด 150 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน กลุ่มที่ 5 ให้กินสารสกัดเจียวกู่หลานด้วยน้ำในขนาด 750 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน โดยให้กินทุกวันเป็นเวลา 180 วัน พบว่าหนูทดลองกลุ่มทั้งกลุ่มควบคุมรวมถึงกลุ่มทดลอง ตรวจไม่พบอาการผิดปกติใดๆและค่าชีวเคมีและอวัยวะภายในยังเป็นปกติดี รวมถึงยังไม่พบพิษหรือผลข้างเคียงใดๆอีกด้วย และยังมีรายงานการศึกษาทดลองความเป็นพิษในเจียวกู่หลานในต่างประเทศอีกชิ้นหนึ่ง คือได้มีการศึกษาพิษเฉียบพลันของชาเจียวกู่หลาน โดยใช้เจียวกู่หลานที่สกัดด้วยน้ำที่ระเหยน้ำออกไปแล้ว แล้วจึงนำมาทดสอบกับหนูทดลอง 10 ตัว โดยให้ในปริมาณ 16 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน เป็นเวลา 14 วัน พบว่า ค่า LD₅₀(ค่าที่สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งของสัตว์ทดลองทั้งหมด) ของการทดสอบความเป็นพิษเท่ากับ 32 กรัม/น้ำหนัก/ 1 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อนำค่าดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับตารางค่าความเป็นพิษแล้วพบว่า อยู่ในเกณฑ์ ปลอดภัยสำหรับการใช้บริโภค เมื่อมีการทดลองในสัตว์ทดลองแล้วไม่พบความเป็นพิษจึงมีการนำเจียวกู่หลานมาทดลองในคนกล่าวคือ มีการทดลองศึกษาวิจัยโดยให้อาสาสมัคร 30 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทานสารสกัดเจียวกู่หลาน (ที่มีจีเพนไนไซด์ 40 มิลลิกรัม/แคปซูล) ครั้งละ 1 แคปซูล หลังอาหาร เช้า-เย็น กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานสารสกัดเจียวกู่หลานเช่นเดียวกับกลุ่มแรกแค่เพิ่มเป็น 2 แคปซูล หลังอาหาร เช้า-เย็น โดยให้ทั้ง 2 กลุ่มรับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 60 วัน พอครบกำหนดนำอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มมาทำการตรวจค่าชีวเคมีในเลือด และตรวจสุขภาพต่างๆ พบว่า ไม่พบความผิดปกติใดๆในอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งค่าชีวเคมี และระบบอวัยวะภายในก็เป็นปกติ รวมถึงไม่พบอาการที่ไม่พึงประสงค์หรืออาการข้างเคียงใดๆ จึงสรุปได้ว่าเจียวกู่หลานนี้ค่อนข้างปลิดภัย ในการบริโภคเพราะไม่พบสารพิษและอาการข้างเคียงแต่ถึงจะปลอดภัยอย่างไรก็ยังไม่มีการชี้ชัดว่าขนาดรับประทานที่เหมาะสมจริงๆนั้นควรมีขนาดเท่าใด (เช่นเดียวกับกวาวเครือขาว กวาวเครือแดง) ในการรับประทานก็ควรรับประทานพอประมาณอย่ารับประทานมากเกิน ซึ่งหากรับประทานเกินไปจากที่จะเป็นประโยชน์อาจกลับเป็นโทษได้เช่นกัน

 

 

เจียวกู่หลาน กวาวแดง เห็ดหลินจือ