จริงหรือไม่ที่แอลคานิทีน จำเป็นกับร่างกายมนุษย์

จริงหรือไม่ที่แอลคานิทีน จำเป็นกับร่างกายมนุษย์ 

            

จากบทความต่างๆหลายๆบทความที่เราได้เคยพบเห็นในสื่อต่างๆ ก็จะเห็นว่ามีการระบุในบทความเหล่านั้นว่า แอลคานิทีนเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์ แต่หลายท่านเคยสงสัยกันหรือเปล่าว่า จริงๆแล้ว แอลคานิทีนนั้นมีประโยชน์ต่อมนุษย์ ในแง่ใดบ้าง หรือว่ามีสรรพคุณ/คุณประโยชน์ในด้านใดเป็นพิเศษหรือไม่ ซึ่งผู้เขียนก็มีความสงสัยในข้อนี้อยู่เหมือนกันจึงได้รวบรวมรายงานผลการศึกษาวิจัย จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ มาประมวลไว้ให้กับทุกท่านได้รับทราบกันเพื่อประดับความรู้ โดยแอลคานิทีนนั้นความจริงแล้ว เป็นกรดอะมิโนที่มีหน้าที่ในการลำเลียงโมเลกุลไขมันต่างๆ (รวมถึงไขมันสะสม) ส่วนต่างๆของร่างกาย) เข้าไปในไมโตรคอนเดรีย (เทียบได้กับ โรงงานผลิตพลังงาน) และทำให้ไขมันแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน ด้งนั้น แอลคานิทีนจึงมีฤทธิ์เผาผลาญไขมัน โดยจะไปลดระดับคอเลสตรอล และไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันอันตราย เนื่องจากจะไปอุดตันในเส้นเลือด ซึ่งจะส่งผลต่อความยึดหยุ่นของหลอดเลือด ซึ่งจะเป็นต้นเหตุของไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะจะเป็นอันตรายมากหากไปอุดตันเส้นเลือดในสมอง (อันจะเป็นสาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตก) และเส้นเลือดหัวใจ (ทำให้เส้นเลือดหัวใจอุดตันเป็นผลให้เกิดหัวใจวาย) ดังนั้น แอลคานิทีนจึงมีคุณสมบัติเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ แอลคานิทีน ยังมีผลกับโรคต่างๆอีกมาก เช่น โรคโลหิตเป็นพิษ โรคตับแข็ง รวมถึงโรคในระบบต่อมไร้ท่อต่างๆ โรคเบาหวาน โดยโรคต่างๆที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นจากร่างกายขาดแอลคานิทีน นอกจากนี้แอลคานิทีนยังมีคุณประโยชน์อีกหลายๆอย่าง คือ กระตุ้นการสร้างมวลกล้ามเนื้อ ช่วยทำให้แก่ช้าลง (แอลคานิทีนจะเป็นแหล่งพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆในร่างกาย และป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์) ช่วยเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายและป้องกันอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เพิ่มการนำกลูโคสไปยังเซลล์สมอง ซึ่งจะทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และยังช่วยลดความเสียหายของเซลล์ประสาท และมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า แอลคานิทีนนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์ที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ว่าสามารถผลิตแอลคานิทีนได้ แต่ได้ในปริมาณที่น้อยนั้น ผู้เขียนได้ข้อมูลใหม่ๆมาอีกว่า “แม้ร่างกายของมนุษย์จะสามารถผลิตแอลคานิทีนได้เองแต่ก็มีการค้นพบว่า เมื่อมีอายุมากขึ้นกระบวนการสังเคราะห์เพื่อผลิตแอลคานิทีนในร่างกายของมนุษย์ก็จะลดลงตามไปด้วย” (ยิ่งอายุมากระบบการสังเคราะห์ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ) ดังนั้นเพื่อป้องกันการขาดแอลคานิทีนในผู้สูงวัย จึงควรบริโภคอาหารที่เป็นแหล่งของแอลคานิทีน ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อที่ร่างกายของผู้สูงวัยจะได้ไม่ขาด “แอลคานิทีน” กรดอะมิโนที่จำเป็นกับร่างกายอย่างแท้จริง

 

 

แอลคานิทีน แปะก๊วย พริกไทยดำ