กันเกรา ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

กันเกรา งานวิจัยและสรรพคุณ 17 ข้อ

ชื่อสมุนไพร กันเกรา
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน), ตำเสา, ทำเสา (ภาคใต้), ตราเหตรา (เขมร), ตะมะซู, ตำมูกู (มลายู)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea fragrans Roxb.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cyrtophyllum fragrans (Roxb.) DC., Cyrtophyllum giganteum Ridl., Cyrtophyllum lanceolatum DC., Cyrtophyllum peregrinum Reinw., Fagraea peregrina (Reinw.) Blume., Fagraea ridleyi Gand. [Illegitimate], Willughbeia fragrans Spreng.
ชื่อสามัญ Tembusa
วงศ์ GENTIANACEAE

ถิ่นกำเนิดกันต้นเกรา

กันเกราเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ซึ่งถือว่าเป็นพันธุ์ไม้พื้นบ้านดั้งเดิมของไทยอีกชนิดหนึ่ง เพราะมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ ไทย พม่า อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม รวมถึงในอินเดีย เป็นต้น และยังมีหลักฐานกล่าวถึงกันเกราในพิราศพระบาทของสุนทรภู่ และลิลิตตะเลงพ่ายรวมถึงยังปรากฏในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ พ.ศ.2416 ที่กล่าวถึงเกราว่า “กันเดรา ต้นไม้อย่างหนึ่ง แก่นทำเสาทนนัก ใช้ทำยาแก้โรคบ้าง มีอยู่ในป่า”

            ทั้งนี้สามารถพบกันเกรา ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยจะพบในป่าเบญจพรรณป่าดิบชื้น และป่าพรุทางภาคใต้ โดยเฉพาะบริเวณลุ่มที่ชื้น ใกล้แหล่งน้ำ


ประโยชน์และสรรพคุณกันเกรา 

  1. ช่วยบำรุงธาตุ
  2. แก้ไข้จับสั่น
  3. แก้หอบหืด
  4. ช่วยรักษาโรคผิวหนังพุพอง
  5. ช่วยบำรุงร่างกาย
  6. แก้พิษฝีกาฬ
  7. บำรุงไขมัน
  8. เป็นยาอายุวัฒนะ
  9. ช่วยขับลม
  10. แก้ริดสีดวง
  11. แก้ท้องเดิน
  12. รักษามูกเลือด
  13. แก้ท้องมาน
  14. แก้แน่นหน้าอก
  15. แก้โลหิตพิการ
  16. แก้ปวดแสบปวดร้อน
  17. ช่วยบำรุงโลหิต

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ 

ใช้บำรุงธาตุ แก้ไข้จับสั่น แก้หอบหืดโดยใช้ในมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้รักษาอาการคัน และผิวหนังพุพองโดยใช้ใบมาต้มกับน้ำอาบ ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงม้าม บำรุงไขมัน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ไข้จับสั่น แก้บิดมูกเลือด แก้พิษฝีกาฬ ขับลม แก้โลหิตพิการ แก้ท้องมาน ท้องเดิน แก้ไอ แก้หืด แก้ริดสีดวงทวารโดยใช้แก่นของต้นกันเกรา มาต้มกับน้ำดื่ม


ลักษณะทั่วไปของกันเกรา

กันเกรา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบแตกกิ่งก้านมาก สูงประมาณ 15-30 เมตร เรือนยอดแหลมแตกกิ่งต่ำ สูงประมาณ 15-30 เมตร เรือนยอดแหลมแตกกิ่งต่ำ เปลือกต้นสีน้ำตาล เมื่ออ่อนผิวเรียบ แต่เมื่อลำต้นแก่จะแตกเป็นร่องลึกตามยาว แก่นมีความแข็งแรง คงทนเปลือกต้นอื่นในเป็นเสี้ยนมีสีเหลือง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ๆ แตกใบมากเป็นพุ่มที่ปลายกิ่งและปลายยอดก้าวใบยาว 1-2 เซนติเมตร โคนก้านใบมีหูใบคล้ายถ้วยขนาดเล็ก ใบเป็นรูปทรงยาวรีปลายแหลมโคนใบ มีเส้นแขนงใบ 5-9 คู่ แต่มองเห็นไม่ค่อยชัด ใบมีลักษณะบาง ผิวใบเรียบเกลี้ยง เหนี่ยวสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างใบมีสีจางกว่าใบด้านบน ใบยาว 5-12 เซนติเมตร กว้าง 2.5-4.5 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1-2 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ แบบช่อกระจุก ออกบริเวณซอกใบที่ปลายกิ่ง ในแต่ละช่อยาวประมาณ 4-12 ซม. มีก้านช่อยาว 2-6.5 ซม. ส่วนก้านดอกย่อยยาว 0.3-0.6 ซม. กลีบเป็นดอกสีขาว และเหลืองอ่อนมีกลิ่นหอม กลีบดอกมีจำนวน 5 กลีบ ม้วนงอเข้าหาก้านดอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายกลีบดอกแหลม กลีบดอกรูปปากแตรแคบ ยาวประมาณ 2 ซม. หลอดกลีบดอกยาว 0.7-1.2 ซม. กลีบรูปขอบขนาน ยาว 0.5-0.8 ซม. พับงอกลับ ดอกเริ่มบานมีสีขาวเมื่อบานเต็มที่มีสีเหลืองอมส้ม มีก้านเกสรยาวออกมา เกสรตัวผู้ยาว และติดกับกลีบดอกมี 5 อัน ยื่นพ้นเลยปากหลอดกลีบดอก และเกสรตัวเมีย 1 อัน ผลออกเป็นผลเดี่ยวมีลักษณะกลมผิวเรียบเป็นมัน มีติ่งแหลมที่ปลาย ผลกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีส้ม และผลสุกมีสีแดงเข้ม เมล็ดสีน้ำตาลไหม้มีขนาดเล็กประมาณ 0.1-0.2 เซนติเมตร โดยมีจำนวนมาก และมีรูปทรงไม่แน่นอนฝังอยู่ในเนื้อ

กันเกรา

การขยายพันธุ์กันเกรา

กันเกราสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดเป็นหลัก แต่ก็สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธีอื่นๆ เข่น การปักชำกิ่ง และการตอนแต่โดยมากจะนิยมปลูกด้วยการเพาะเมล็ด โดยการเพาะเมล็ดจะใช้เมล็ดที่ร่วงจากต้น หรือ เมล็ดแก่จัดจากต้น นำมาตากแดดให้แห้งแล้วนำลงเพาะในถุงเพาะชำจนต้นโตประมาณ 15-30 ซม. ก่อนย้ายลงปลูกต่อไป ทั้งนี้กันเกรา เมื่อโตเต็มที่จะมีทรงพุ่มใหญ่ ดังนั้นการปลูกควรมีระยะห่างประมาณ 15-25 เมตร

กันเกรา

องค์ประกอบทางเคมี

มีผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ ของกันเกรา พบว่ามีสารสำคัญจากส่วนต่างๆ ดังนี้

  • เปลือกลำต้นพบสารกลุ่ม alkaloids และ steroids นอกจากนี้ยังพบสาร tannin Pinoresinol β-sitosterol stigmasterol 
  • ใบ และผลพบสารกลุ่ม  alkaloid เช่น swertiamarin gentianine 
  • ดอก และผลดอกกันเกรา พบสาร carotenoids
  • เปลือกรากพบสาร pinoresinol และ naucledal

โครงสร้างกันเกรา

ที่มา : Wikipedia

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกันเกร

มีการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพจากสารที่สกัดได้จากส่วนต่างๆ ของกันเกรา พบว่า สารบริสุทธิ์ที่ 1 คือ Pinoresinol มีฤทธิ์ยับยั้งมาลาเรียด้วยค่า IC50 เท่ากับ 3.40 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร  และยับยั้งเชื้อ Mycobacterium tuberculosis H37Ra ด้วยค่า MIC เท่ากับ 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร แต่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์ไลน์มะเร็งชนิด KB และ BC ในปริมาณที่มากกว่า 20 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Candida  albican ที่ปริมาณมากกว่า 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สําหรับสารบริสุทธิ์ที่ 2 คือ naucledal สามารถ ยับยั้ง NCI-H187 ด้วยค่า  IC50 เท่ากับ 18.94 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร แต่จะต้องใช้ในปริมาณมากกว่า 20 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในการออกฤทธิ์ต่อ KB and BC cell lines และพบว่ามีฤทธิ์อย่างอ่อนต่อ anti-TB  activity ด้วยค่า MIC เท่ากับ 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร นอกจากนี้ยัง ไม่มีฤทธิ์ยับยั้ง K1 malarial parasite strain ด้วยค่า IC50 ที่สูงมากกว่า 20 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร

            ส่วนอีกฉบับหนึ่งระบุว่ามีผลการศึกษาวิจัยในการใช้ประโยชน์ทางยาจากใบกันเกรา โดยการใช้ผสมทำทิงเจอร์ในยาพวก bitter tonic แทน gentian roots เนื่องจากใบกันเกรามี glucoside ชื่อ Swertiamarin ที่มีสูตรโครงสร้างโมเลกุลใกล้เคียงกับ gentian roots

            นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่รายงานว่าสารสกัดจากแอลกอฮอล์ของลำต้นกันเกรา สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ Plasmodium falciparum ได้ และยังมีข้อมูลทางพฤกษเคมีที่มีการศึกษาวิจัยระบุว่าในปี พ.ศ.2507 Wan และคณะสามารถสกัดแอกแอลคาร์ลอยด์ชื่อ gentianine ได้จากใบ และผลของกันเกราเป็นครั้งแรกอีกด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยาของกันเกร

มีผลการศึกษาทางพิษวิทยาของกันเกรา โดยใช้สารสกัดจากใบกันเกรา ที่ฉีดเข้าท้องหนูทดลอง พบว่าขนาดสารสกัดที่ทำให้หนูทดลองตายครึ่งหนึ่งมีขนาดมากกว่า 1 กรัม/น้ำหนักตัว (1 กิโลกรัม)

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง   

สำหรับการใช้กันเกรา เป็นสมุนไพรในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ นั้นก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาดที่เหมาะสมตามที่ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ สำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือ ผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นประจำก่อนจะใช้กันเกราเป็นสมุนไพรในการบำบัดรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ

เอกสารอ้างอิง กันเกร
  1. เดชา ศิริภัทร. กันเกรา,กฤษณา. สุดยอดของความหอม และเนื้อไม้. คอลัมน์ ต้นไม้ใบหญ้า. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 290. มิถุนายน2 546
  2. ราชันย์ ภู่มา และ สมราน สุดดี. (บรรณาธิการ). (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ และพันธุ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.https://medthai.com/กันเกรา/
  3. สำเนียง อภิสันติยาคม. การศึกษาองค์ประกอบทางเคมี และการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของเปลือกรากต้นกรรเกรา. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบังปีที่ 22. ฉบับที่ 2.กรกฎาคม-ธันวาคม 2556. หน้า 68-83
  4. กันเกรา. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=11
  5. กันเกรา /ดอกกันเกรา และสรรพคุณกันเกรา. พืชเกษตรดอทคอม เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com
  6. Smitinand, T. and Lasen, K., 1984. Flora of Thailand.The TISTR Press, 4 (1), 20-21.
  7. Wongsatit,  C.,  1996. Medicinal  Plants in SiriRuckhachati  Garden. 2nded. Amarin  printing. Bangkok. p.96.
  8. Wan, A. S. C., Macko, E. and Douglas, B., 1972. Pharmacological investigations of gentianine from Fagraeafragrans Roxb.  Asian Journal of Medicine, 8, 334-335
  9. Kun-anake,  A. and  Ragvatin, C., 1976.  Bitter  glucoside from leaves  of  Kan-grau. Department of  Medical Sciences Bulletin, 18 (1), 1-11.