ว่านหางจระเข้ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
ว่านหางจระเข้ งานวิจัยและสรรพคุณ 28 ข้อ
ชื่อสมุนไพร ว่านหางจระเข้
ชื่ออื่นๆ/ชื่อเรียกท้องถิ่น ว่านหางจระเข้ (ภาคกลาง), ว่านหางจระเข้, ว่านแข้, หว่านตะแข่, หว่านตะเข้ (ภาคเหนือ), หว่านเข้ (ภาคใต้), ประเตียล, กระปือ (ภาคเขมร), ช่าเจ๊ายังแป๊ (ภาษาพม่า), หว่านไฟไหม้, หว่านชาละวัล (ไทยใหญ่)
ชื่อสามัญ Aloe vera
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera Linn.
จัดอยู่ในวงค์ Asphodelaceae
ถิ่นกำเนินว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้นั้นมีถิ่นกำเนิดแถวบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ว่านหางจระเข้นั้นมีสายพันธุ์ที่มากกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ขนาดเล็กกว่า 10 ซม. ไปจนถึงขนาดใหญ่ ว่านห่างจระเข้ เป็นพืชชนิดเดียวกับพลับพลึง หัวหอม ว่านหางจระเข้ยังเป็นพืชที่มีอายุนานหลายปี และสามารถปลูกเป็นไม้ประดับ หรือ พืชเศรษฐกิจก็ได้
ประโยชน์และสรรพคุณว่านหางจระเข้
- ช่วยบรรเทาโรคกระเพาะอาหาร
- ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
- ช่วยรักษาแผลลำไส้อักเสบ
- แก้ท้องผูก
- ใช่เป็นยาระบาย
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
- ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายมีการเผาพลาญอาหาร
- ช่วยทำให้น้ำตาลในเลือดมีระดับคงที่ไม่ให้สูงเกินไป
- ช่วยลดความดันโลหิตสูง
- ช่วยให้ไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
- ลดอาการที่เสี่ยงต่ออาการเส้นเลือดในสมองแตก
- ช่วยรักษาแผลไฟไหม้
- ช่วยทำให้แผลแห้ง และหายไว
- ช่วยรักษาแผลสดให้แห้งไว
- ช่วยในการห้ามเลือด
- ช่วยบำรุงร่างกาย
- ช่วยบำรุงสายตา
- แก้อาการสายตาพล่ามัว
- ช่วยแก้อาการเมารถได้
- แก้อาการนอนไม่หลับ
- ช่วยให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น
- เนื้อของวุ่นว่านหางจระเข้รักษาโรคผิวหนัง
- ช่วยฆ่าเชื้อราตามผิวหนัง
- ช่วยขจัดรอยแผลเป็น ทำให้แผลเป็นจางลง
- ช่วยรักษาตาปลา และฮ่องกงฟุต
- ช่วยรักษาอาการผิวหนังไหม้จากแสงแดด หรือ ไหม้เกรียมจากการฉายรังสี หรือ แผลเรื้อรังจากการฉายรังสี
- ช่วยรักษาโรคเรื้อนกวางหรือ
- ช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงิน
นอกจากนี้ว่านห่างจระเข้ ยังสามารถนำมาแปรูปแบบต่างๆ ได้อีก เช่น
1.อาหาร ก็นำว่านหางจระเข้มาทำพล่าวุ้นว่านหางจระเข้
2.อาหารหวานนำมาทำว่านหางจระเข้ลอยแก้ว วุ้นว่านหางจระเข้น้ำกะทิ
3.เครื่องดื่มนำมาทำน้ำว่านหางจระเข้สมูทตี้ น้ำว่านหางจระเข้
4.อาหารเสริมว่านหางจระเข้ เป็นต้น และจัดเป็น สมุนไพรชนิดหนึ่งที่นํามาใช้เป็นยารักษาโรคได้ในทุกวันนี้
รูปแบบขนาดและวิธีการใช้
- การเลือกใช้ใบจากต้นว่านหางจระเข้ จะต้องมีอายุประมาณ 1 ขึ้นไป และใช้ใบข้างล่างสุดที่มีรูปล่างอ้วน อวบ เปล่ง อันเป็นใช้ได้
- จากการวิจัยวุ้นของว่านห่างจระเข้ ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรที่ปลอกเปลือกโดยใช้เทคนิคปลอดเชื้อ Aseptic technique เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ
- ก่อนที่จะนำยางของว่านหางจระเข้ มาใช้ในการรักษาแผลก็ควรจะล้างก่อน เพื่อป้องกันน้ำยางจากเปลือกมีสารแอนทราควิโนนที่ติดอยู่ เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการคัน หรือ แพ้ได้
- เมื่อตัดต้นว่านหางจระเข้มาแล้วควรที่จะใช้โดยทันทีภายใน 6 ชั่วโมง เพราะจะมีคุณค่าทางยาที่ดี และจะได้คุณภาพที่สูงสุด
ลักษณะทั่วไปของว่านหางจระเข้
- ลำต้น ว่านหางจระเข้จัดเป็นกลุ่มของไม้ล้มลุก มีลำต้นประมาณ 0.5-1 เมตร และมีข้อปล้องสั้นๆสีเขียวนวล มีรูปร่างทรงกลม เปลือกมียางสีเหลือง และขอบใบมีหนาม
- ใบ ว่านหางจระเข้ เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และออกเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบ ต้นเรียงสลับซ้อนกัน ใบมีความกว้าง 5-12 เซนติเมตร และมียาว 30-80 เซนติเมตร ใบมีลักษณะอูม และอวบน้ำข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน และมีเมือกลื่น
- ดอก ดอกว่านหางจระเข้แทงออกเป็นช่อ บริเวณกลางต้นดอกจะมีสีแดงอมเหลืองเป็นหลอดๆ ตัวของดอกมี 6 กลีบ ความยาวของดอกประมาณ 2-3 เซนติเมตร กว้าง 0.5-1 เซนติเมตร ส่วนของก้านจะมีความยาวยาวประมาณ 40-90 เซนติเมตร ด้านในมีเกสรตัวผู้ 6 อัน ด้านล่างสุดเป็นรังไข่ ว่านห่างจระเข้ จะออกดอกในช่วงฤดูหนาวของปี และออกดอกมากที่สุดแถวบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย
การขยายพันธุ์ว่านหางจระเข้
การขายพันธุ์ของว่านห่างจระเข้ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วย 3 วิธีหลักๆ ได้แก่
1.การเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อของว่านหางจระเข้ เหมาะสำหรับการปลูกเชิงพาณิชย์ และการปลูกขนาดใหญ่
2.การปลูกด้วยการแยกหน่อ หน่อที่สามารถแยกมาปลูกต้องมีขนาดสูง 10-15 เซนติเมตร เหมาะสำหรับการปลูกในแปลงขนาดใหญ่ และปลูกในครัวเรือน การไว้หน่อเพื่อการทำพันธุ์ ไม่ควรเกิน 2 หน่อต่อต้น
3.การปักชำ วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมนำมาใช้กัน เพราะต้องตัดยอดหรือโคลนต้นทำให้ได้รับคาวมเสียหายฉีดขาดหรือแตกของก้านใบ จึงเป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยมกันมากนัก
ว่านหางจระเข้จะสามารถเติบโตได้ดีในฤดูหนาว การปลูกควรเป็นดินปนทราย เพราะจะระบายน้ำได้ดี เพราะต้นว่านหางจระเข้ไม่ชอบน้ำมาก และน้ำขัง ขุดหลุมลึกประมาณ 10-20 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก หรือ ใบไม้แห้งลงไปในก้นหลุม แล้วกลบดินให้เสมอโค่นต้น ระยะปลูกควรห่างกัน 50x70 เซนติเมตร ช่วงเดือนแรกควรให้น้ำทุกวัน หลังจากต้นติดดินแล้วควรให้น้าลดน้อยลง ไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้า หรือ ใช้ สารเคมีโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ต้นโตช้า และตายได้ง่าย หลังจาก 6-8 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ ควรเก็บจากใบล่างไปหาใบบน และให้สังเกตใบจะไม่มีลาย ใบอวบ น้ำเต็ม ก็เป็นอันสามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว ควรเก็บ 2-6 ใบ ต่อต้น/ครั้ง ว่านห่างจระเข้ สามารถเก็บเกี่ยวได้ปีละ 8 ครั้ง
องค์ประกอบทางเคมี
สารไกลโคโปรตีนจากวุ้นใส ชื่อ aloctin เอ,บี และมีฤทธิ์ลดการอักเสบ สามารถสร้างช่วยเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผล และจะสลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน คือ สารกลุ่มของสารแอนทราควิโนน เช่น aloin, barbaloin (aloe-emodin), chrysophanic acid ซึ่งออกฤทธิ์เป็นยาระบาย ยาถ่าย
รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของว่านหางจระเข้
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของว่านหางจระเข้
- จากการนำสารที่ออกฤทธิ์ในว่านหางจระเข้มาทดลองในผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารจำนวน 12 ราย โดยนำน้ำวุ้นว่านหางจระเข้มาเตรียมให้อยู่ในรูปแบบ emulsion จากนั้นให้ผู้ป่วยรับประทานครั้งละ 2-2.5 ออนซ์ (1 fluid ounce เท่ากับ 30 มิลลิลิตร) ปรากฎว่าผู้ป่วยทุกรายหาย เชื่อว่ามีสารออกฤทธิ์ traumatic acid ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่พบในพืช ติดอยู่กับวุ้นในใบว่านหางจระเข้ (มิวซิเลจ) โดยที่ออกฤทธิ์ช่วยลดการหลั่งของกรด และน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ส่วนสาร manuronic และ glucuronic acid ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดแผลในกระเพราะอาหาร
- จากการนำขี้ผิ้งที่สกัดมาจากว่านห่างจระเข้ ไปทารักษาผู้ที่มีแผลถลอก ปรากฏว่าแผลแห้งตัวได้ดี และไม่ติดเชื้อ จากการทดลองนี้มีการนำเอาขี้ผึ้งที่สกัดจากว่านหางจระเข้มาใช้ในการรักษาสิวเพราะช่วยในการซ่อมแซมผิวได้ดีขึ้น
- ได้มีการวิจัยในผู้ป่วย 38 ราย โดยใช้ยางสดของว่านหางจระเข้ ปรากฎว่าได้ผลร้อยละ 95 เมื่อเปรียบเทียบกับยาทาแผลป้องกันการติดเชื้อ silver sulfadiazine ที่ได้ผลเพียงแค่ร้อยละ 83 โดยแผลหายในเวลา 13 ± 2.41 วัน และ 16.15 ± 1.98 วัน ตามลำดับ จากรายงานผลการรักษาในคนไข้ 27 ราย เปรียบเทียบกับ vaseline พบว่าหายในเวลา 11.89 วัน และ 18.19 วันตามลำดับ
การศึกษาทางพิษวิทยาของว่านหางจระเข้
เมื่อป้อนว่านหางจระเข้ให้หนูแรทสายพันธุ์ Sprague-Dawley เพศผู้ ในขนาด 92.5 มก./กก. ไม่พบพิษ แต่เมื่อผสมผงว่านหางจระเข้ในอาหารให้หนูแรทกิน ปรากฎว่าหนูมีอาการท้องเสีย เมื่อผสมสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 95 ในน้ำ แล้วป้อนให้หนูเม้าส์กินในขนาด 3 กรัม/กิโลกรัม ไม่พบพิษ แต่ถ้าให้หนูเม้าส์กินในขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นเวลา 3 เดือน พบว่ามีอาการพิษรวมทั้งมีขนร่วง และการเสื่อมของอวัยวะเพศ ได้มีการศึกษาต่อมาได้มีรายงานผลของสารกลุ่ม anthraquinone ซึ่งจะออกมากับกระบวนการสกัด hydroxyanthraquinone กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของมะเร็ง ผู้ป่วยที่เป็นโรคดีซ่านเสียชีวิตเมื่อรับประทานยาซึ่งมียาดำ โกฐน้ำเต้า และมะขามแขก การชันสูตรพบว่าตับได้ถูกทำลาย และมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อไต ม้าม หัวใจ และปอด ทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง ยังพบว่าเมื่อฉีด aloin เข้าใต้ผิวหนังสุนัขในขนาด 0.10–0.12 ก./กก. ทำให้สุนัขเป็นไข้เป็นเวลา 24 ชม. และเกิดอาเจียนอย่างรุนแรง
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
- ไม่ควรใช้ในหญิงที่ตั้งครรภ์ และสตรีที่ให้นมบุตร
- การรับประทานในปริมาณมากทำให้เกิดความผิดปกติที่เฉียบพลันของระบบทางเดินอาหารได้
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดรุนแรงไม่ควรรับประทาน
- ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่ควรรับประทาน
- การนำวุ้นใสของว่านห่างจระเข้ มาทาผิวหน้า หรือ เส้นผม ต้องล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะจะเกิดอาการระคายเคืองได้ หรือ ถึงขั้นอาการแพ้ย่างรุนแรงได้
- ผู้ที่มีอาการแพ้ หรือ โรคที่ระบุไว้ด้านบนควรได้รับการปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะนำมาใช้
เอกสารอ้างอิง ว่านหางจระเข้
- สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2549. การศึกษาวิจัยเศรษฐกิจสมุนไพรไทยกรณีศึกษา : ว่านห่างจระเข้ http://k-tank.doae.go.th/uploads/18.%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89.pdf
- จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เรื่องว่านหางจระเข้ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89
- วรนุช เกียรติพงษ์ถาวร และคณะ. การเปรียบเทียบการหายของแผลภายหลังทำแผลด้วยวุ้นว่านหางจระเข้กับน้ำยาโพวิโดน ไอโอดีน. โครงการพัฒนาการใช้สมุนไพร และยาไทยทางคลินิก (2526-2536) โดยคณะกรรมการโครงการพัฒนาการใช้สมุนไพร และยาไทยทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล. หน้า 173-183.
- Collins CF, Collins C. Roentgen dermatitis treated with fresh whole leaf of Aloe vera. Amer J Roentgen 1935; 33(3):396-7.
- ณรงค์ชัย ประสิทธิ์ภูริปรีชา นิศา อินทรโกเศส โอภา วัชรคุปต์ พิสมัย ทิพย์ธนทรัพย์. การทดลองใช้สารสกัดว่านหางจระเข้ กับแผลที่เกิดจากรังสีบำบัด. รายงานโครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์, กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2529.
- Skousen MB. Aloe Vera Handbook: The Acient Egyptian Medicine Plant. Book Publishing Company; 2005.
- Rodríguez-Bigas M, Cruz NI, Suárez A. Comparative evaluation of Aloe vera in the management of burn wounds in guinea pigs. Plast Reconstr Surg 1988;81:386-9
- ส านักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2549. การศึกษาวิจัยเศรษฐกิจสมุนไพรไทยกรณีศึกษา : ว่านหางจระเข้ ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม และไพล. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- Bracken WM, Cuppage F, Mclaury RL, KirwinC, Klaassen CD. Comparative effectiveness of topical treatment for hydrofluric acid burns. J Occup Med 1985;27(10):733-9.
- โครงการสมุนไพร เพื่อการพึ่งตนเอง. คู่มือว่านหางจระเข้สมุนไพรมหัศจรรย์จากธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2527.