เรื่องน่ารู้เกี่ยวกันงานวิจัยในพริกไทย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกันงานวิจัยในพริกไทย            

พริกไทย”  มีการนำไปศึกษาวิจัยด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแยกองค์ประกอบทางเคมีออกมาหรือการศึกษาทางเภสัชวิทยา  และการศึกษาความเป็นพิษ  ซึ่งการศึกษาเรื่องต่างๆเหล่านี้ เนื่องมาจาก พริกไทยนั้น เป็นพืชที่ได้รับความนิยมในการใช้ทั่วโลก  ทั้งใช้ในการเป็นเครื่องปรุงรสอาหาร เป็นวัตถุดิบการประกอบอาหาร (พริกไทยอ่อน)  หรือการใช้เป็นยาสมุนไพร ทั้งนี้ในการบริโภคพริกไทยนั้น  ผู้บริโภคย่อมต้องการความปลอดภัยว่า เมื่อบริโภคแล้วจะไม่เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์กับร่างกาย  และต้องการทราบว่า พริกไทยที่บริโภคไปนั้นให้คุณประโยชน์อะไรกับร่างกายบ้าง  ด้วยเหตุผลต่างๆเหล่านี้จึงมีการศึกษาวิจัยในตัวพริกไทยกันขึ้นมา ทั้งในสถาบันในประเทศและต่างประเทศ ต่างก็มีผลงานการวิจัยออกมากันอย่างแพร่หลายมากมายหลายชิ้นด้วยกัน  แต่ในแต่ละผลงานทางวิชาการนั้น ทิศทางและผลสรุปของการวิจัยนั้นแทบจะออกมาในแนวทางเดียวกัน  ดังนั้นในบทความนี้จึงขอนำผลงานการวิจัยด้านต่างๆที่รวบรวมได้และนำมากลั่นกรอง แล้วจึงนำมาเล่าสู่กันฟังแบบคร่าวๆนะครับ  โดยพริกไทยนั้นมีองค์ประกอบทางเคมี คือ มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ประมาณ 2% ส่วนมากเป็น beta – caryophyllene      และพบสาร   alkaloid     ประเภท   alkaloid  piperine   และ  piperttine   เป็นองค์ประกอบหลักซึ่งคล้ายกับชะพลู สำหรับการศึกษาทางเภสัชวิทยาของพริกไทย นั้นพบว่า เพื่มการหลั่งของน้ำย่อยในทางเดินอาหาร และกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์ต้านการออกซิเดชั่น และยับยั้งการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง รวมถึงยังมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลางทำให้เมื่อเกิดอาการชักนั้นร่างกายจะถูกกดระบบประสาทส่วนกลางไว้ทำให้ไม่เกิดอาการหรือเกิดน้อยกว่าปกติ  ส่วนการศึกษาความเป็นพิษของพริกไทยนั้น มีการศึกษาสารไพเพอรีนในพริกไทย ต่อหนูทดลอง 800 มก.ต่อน้ำหนักตัวพบว่า  ไพเพอรีน ที่ให้หนูทดลองนั้นไม่เกิดอันตรายต่อหนู  แต่ทำให้ค่า Mitotic index ลดลง        สัณนิษฐานว่า ไพเพอรีนอาจเป็นพิษต่อไขกระดูกได้เมื่อได้รับในปริมาณที่สูงและติดต่อกันนานๆ และในการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูทดลองพบว่า ค่า LD₅₀ = 12.66 ก/กก. (น้ำหนักตัว) ในสารสกัดเอทานอล และ LD₅₀ = 424.38 ก/กก. (น้ำหนักตัว) ส่วนพิษกึ่งเรื้อรัง เมื่อป้อนผงยาให้หนูทดลองขนาด 5 เท่าของขนาดที่ให้คนพบว่าไม่เกิดอันตรายต่อหนูทดลอง  นี่เป็นเพียงผลของการศึกษาวิจัยในพริกไทยส่วนเสี้ยวหนึ่งของทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งการวิจัยในเรื่องพริกไทยนี่ยังมีอีกมาก แต่ที่พอหามาเล่าสู่กันฟังนั้นสรุปได้ประมาณนี้ ในส่วนของขนาดการใช้พริกไทยนั้น ก็ไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่าจะต้องใช้ปริมาณเท่าใด ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการใช้พอสมควร เนื่องจากพริกไทยมีสาร alkaloid  piperine   ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่ายกายแล้วจะเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม “เอนไนโตรโซไพเพอร์ริดีน ที่จะทำปฏิกิริยากับไนโตรเจน ซึ่งหากมีปริมาณที่มาก อาจทำให้เสียงเป็นมะเร็งสูง เช่นกัน แต่หากทานให้พอดีร่ายกายก็จะขับออกมาเอง ดังนั้นควรรับประทานให้พอเหมาะและไม่ใช้ติดต่อกันนานจนเกินไป

 

 

พริกไทย มะรุม กระชายดำ