เถาเอ็นอ่อน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

เถาเอ็นอ่อน งานวิจัยและประโยชน์ 24ข้อ


ชื่อสมุนไพร เถาเอ็นอ่อน
ชื่ออื่นๆ เครือเถาเอ็น , เครือขาวเอ็น (เชียงใหม่) , เขาควาย (นครราชสีมา) , เสน่งกู(บุรีรัมย์) , หญ้าลิเลน (ปัตตานี , หมอตีนเป็ด (สุราษฏร์ธานี) , เครือเอ็นอ่อน (ภาคอีสาน) , กวน (แม่ฮ่องสอน-ฉาน) , เมื่อย (ภาคกลาง) , กู่โกวเถิง (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cryptolepis buchanani Roem. & Schult.
วงศ์ Asclepiadaceae

 

ถิ่นกำเนิดเถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อนเป็นพืชท้องถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย มักพบขึ้นตามป่าราบหรือตามที่รกร้างทั่วทุกภาค แต่มักพบมากทางจังหวัดสระบุรี
 

ประโยชน์และสรรพคุณเถาเอ็นอ่อน

  1. ใช้เป็นยาฟอกเลือด
  2. ช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื่น
  3. เป็นยาขับลมในลำไส้และในกระเพาะอาหาร ทำให้ผายและเรอ
  4. ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง
  5. เป็นยาบำรุงเส้นเอ็น
  6. แก้อาการปวดเมื่อย
  7. แก้ปวดเสียวเส้นเอ็น
  8. ช่วยคลายเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นที่ตึงยืดหย่อน
  9. บำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ เส้นแข็ง
  10. ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง แก้ขัดยอก
  11. ช่วยลดกรดไขมัน ลดกรดยูริค
  12. ลดเบาหวาน
  13. ลดความเครียด
  14. ลดอาการภูมิแพ้
  15. ช่วยซับสารพิษต่างๆที่เกิดจากอาหาร และมลภาวะเป็นพิษ 
  16. ช่วยทำให้ความอบอุ่นทั่วร่างกาย
  17. ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศสมบูรณ์ขึ้น
  18. ช่วยให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง 
  19. รักษาโรคตับ
  20. รักษาโรคหัวใจ
  21. รักษาโรคภูมิแพ้
  22. รักษาโรคริดสีดวง
  23. รักษาโรคผอมแห้งแรงน้อย
  24. ช่วยบำรุงรากผม ป้องกันรังแค  


รูปแบบและขนาดวิธีใช้เถาเอ็นอ่อน

1. เถาใช้แก้อาการฟกช้ำดำเขียว โดยใช้เถาที่บดเป็นผง 0.35 กรัม ผสมกับเหล้ารับประทาน หรือใช้ยาแห้งประมาณ 5-6 กรัม นำมาดองกับเหล้ารับประทานครั้งละ 5 ซีซี วันละ 3 ครั้ง (ตำรับนี้ใช้แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ด้วย)
2. ใบ ใช้โขลกให้ละเอียด ห่อผ้าทำลูกประคบ ประคบตามเส้นเอ็นที่ปวดเสียวและตึงเมื่อยขบ ทำให้เส้นยืดหย่อนดี
3. ต้มรับประทานเป็นยาแก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน จิตใจชุ่มชื่น เป็นยาบำรุงเส้นเอ็นในร่างกายให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ

เถาเอ็นอ่อน

ลักษณะทั่วไปเถาเอ็นอ่อน

ต้นเถาเอ็นอ่อน จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น เป็นไม้เลื้อยจำพวกเถาเนื้อแข็ง เถาลำต้นกลม เปลือกเถาเรียบหนาเป็นสีน้ำตาลอมสีดำหรือเป็นสีแดงเข้มและมีลายประตลอดเถา ยาวประมาณ 4-5 เมตร ก้านเล็ก มีสีเทาอมเขียวและไม่มีขนปกคลุม เมื่อเถาแก่เปลือกจะหลุดลอกออกเป็นแผ่น ๆ มียางสีขาวข้นทั้งต้น
ใบเถาเอ็นอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบมนมีหางสั้น โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-18 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา หลังใบเรียบเป็นมันและลื่น ท้องใบเรียบเป็นสีเขียวนวล ใบอ่อนมีขนปกคลุม ส่วนใบแก่ไม่มีขน เส้นใบตามขวางจะเป็นเส้นตรงไม่โค้ง ใบหนึ่งจะมีประมาณ 30 คู่ ส่วนก้านใบสั้น ยาวได้ประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
ดอกเถาเอ็นอ่อน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีเป็นสีขาวอมเหลือง ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวมี 5 กลีบ
ผลเถาเอ็นอ่อน ออกผลเป็นฝัก ลักษณะของฝักเป็นรูปทรงกระสวย กลมยาว ยาวประมาณ 6.5-10 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางฝักประมาณ 1-2 เซนติเมตร ฝักมีเนื้อแข็ง โคนผลติดกัน ปลายผลแหลม ผิวผลเป็นมันลื่น พอแก่แล้วจะแตกอ้าออก ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลมีขนปุยสีขาวติดอยู่และปลิวไปตามลมได้ ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรีหรือรูปกลมยาวแบน มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา ไม้เถา เนื้อแข็ง เถากลม เปลือกเถาเรียบ เปลือกมีผิวบางๆสีแดงเข้มหุ้มอยู่ เถาแก่เปลือกหนาสีดำ เมื่อเถาแก่เปลือกจะหลุดลอกออกเป็นแผ่น มียางสีขาวข้นทั้งต้น รสขมเบื่อมัน
 

การขยายพันธุ์เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการใช้เถาปักชำ โดยการขุดดินให้มีขนาดกว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 30 x 30 ซม. น้ำดินที่ขุดขึ้นมาผสมปุ๋ยคอกคลุกเคล้าให้ว่ากันแล้วนำเถาที่ปักชำไว้ลงปลูกในหลุมที่ขุดไว้แล้วนำดินที่เตรียมไว้กลบลงไปแล้วรดน้ำ ระยะปลูกประมาณ 80 x 100 ซม. ควรทำค้างไม้ให้เลื้อยพันและหมั้นตัดแต่งทรงพุ่มอยู่เสมอ เถาเอ็นอ่อนชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดตลอดวัน


องค์ประกอบทางเคมีเถาเอ็นอ่อน

steroids, alkaloids และ flavonoids

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของเถาเอ็นอ่อน

โครงสร้างเถาเอ็นอ่อน

                                                                         Steroids ที่มา Wikipedia
โครงสร้างเถาเอ็นอ่อน  

ฤทธิ์ทางเภสัชของเถาเอ็นอ่อน

รับผลิตเถาเอ็นอ่อน

มีฤทธิ์แก้เคล็ดขัดยอก ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์แก้ปวด ฤทธิ์บำรุงข้อ ฤทธิ์บำรุงตับ ทดลองทำการทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ของสารสกัดสมุนไพรก่อนจากวิธี plaque reduction assay พบว่า สารสกัดหยาบขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด H1N1 2009 ได้มากถึง 80% ที่ความเข้มข้น สูงสุดที่ทดสอบ (ที่ความเจือจาง 10240 เท่าของstock) นอกจากนี้
พบว่าสารสกัดของ Cryptolepis buchanani (เถาเอ็นอ่อน) มีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิด A/Puerto Rico/8/34 (H1N1) (PR8) และ A/Hong Kong/8/68 (H3N2) ด้วย ความเข้มข้นที่ยับยั้งได้ 50% (IC50) น้อยกว่า 7 µg/ml เมื่อทำการศึกษาขั้นตอนการติดเชื้อที่ถูกยับยั้ง พบว่า สารสกัดเหล่านี้ยับยั้งการติดเชื้อของไวรัสที่ขั้นตอนการเข้าเซลล์


การศึกษาทางพิษวิทยา   ไม่มีข้อมูล
 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

เนื่องจากเถาเอ็นอ่อนเป็นสมุนไพรที่มีสารซึ่งมีฤทธิ์ต่อการกระตุ้นของหัวใจ ดังนั้นในการรับประทานจึงไม่ควรรับประทานมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนดให้ใช้ และไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานจนเกินไป

 

 

เอกสารอ้างอิง

1. เถาเอ็นอ่อน กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ. สมุนไพร 200 ชนิด. โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบราราชกุมารี
2. เถาเอ็นอ่อน .ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?acyion=viewpage&pid=64
3. Sharma D, Sahu AN, Mujeeb M, Bharti A, Sharma A, Tripathi RK, Ashraf K. Development of Pharmacognostical profile of Cryptolepis buchanani Roem & Schult. International Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences 2012, 4(2): 615-618.
4. Padmalochana K, Dhana Rajan MS, Lalitha R, Sivasankari H. Evaluation of the antioxidant and hepatoprotective activity of Cryptolepis buchanani. Journal of Applied Pharmaceutical Science 2013, 3(2): 99-104.
5. Laupattarakasem P, Wangsrimongkol T, Surarit R, Hahnvajanawong C. In vitro and in vivo anti-inflammatory potential of Cryptolepis buchanani. Journal of Ethnopharmacology 2006, 108: 349-354.
6. Hanprasertpong N, Teekachunhatean S, Chaiwongsa R, Ongchai S, Kunanusorn P, Sangdee C,Panthong A, Bunteang S, Nathasaen N, Reutakul V. Anagelsic, anti-inflammatory, andchondroprotective activities of Cryptolepis buchanani extract; in vitro and in vivo studies. BioMed Research International 2014, Article ID 978582.
7. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “เถาเอ็นอ่อน (Thao En On)“. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 140.
8. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “เถาเอ็นอ่อน“. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 252.
9. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “เถาเอ็นอ่อน“. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 354.
10. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “เถาเอ็นอ่อน“. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 120.
11. ดร.รดีกร อัครวงศาพัฒน์.บทคัดย่อ โครงการ การค้นหาและศึกษาเพปไทด์ที่คล้ายคลึงกับโปรตีนส่วน HA2 ของ influenza virus.ระยะเวลาโครงการ 2 ปี
12. เถาเอ็นอ่อน.แหล่งข้อมูลต้นไม้ (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://treeofthai.com