อัญชัน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

อัญชัน งานวิจัยแล้วสรรพคุณ 24 ข้อ

ชื่อสมุนไพร อัญชัน
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น อัญชันบ้าน, อัญชันเขียง (ภาคกลาง), เอื้องจัน, เอื้องชัน, อังจัน (ภาคเหนือ), แดงจัน (เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitorea ternatea Linn.
ชื่อสามัญ Butterfly Pea, Blue Pea, Shell creeper.
วงศ์ Fabaceae (Leguminosae-Papilionoideae)

ถิ่นกำเนิดอัญชัน

อัญชันมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนแถบทวีปเอเชียและอเมริกาใต้ (แต่บางตำราบอกว่าอยู่ที่ประเทศอินเดีย) แล้วมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปในเขตร้อนต่างๆ ทั่วโลกรวมไปถึงในออสเตรเลีย อเมริกา และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย อัญชันคงจะมีการแพร่กระจายพันธุ์มานานแล้ว เพราะพบในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ ของหมอปรัดเล พ.ศ.2416 กล่าวถึงอัญชันว่า "อัญชัน : เป็น ชื่อ เครือเถาวัลอย่างหนึ่ง มันมีดอกเขียวบ้าง ขาวบ้าง ไม่มีกลิ่น" และสามารถพบได้ทั่วไปในป่าโล่งแจ้ง หรือ ในที่กึ่งร่ม ทั้งป่าเบญจพรรณในพื้นล่างจนไปถึงป่าดิบเขาสูง

           โดยอัญชันที่พบในประเทศไทย มีทั้งพันธุ์บ้านที่ผ่านการคัดเลือกให้ดอกใหญ่ ดก สีเข้ม เป็นต้น กับ พันธุ์ที่ขึ้นเองตามที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งเป็นพันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกเล็ก และสีไม่เข้ม ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ นิยมปลูกอัญชันดอกสีน้ำเงินเข้ม กลีบดอกซ้อน ดอกขนาดใหญ่และ ดก เพราะนอกจากสวยงามแล้ว ยังนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง อีกด้วย
 

ประโยชน์และสรรพคุุณอัญชัน

  1. เป็นยาระบาย แต่มักทำให้คลื่นไส้อาเจียน
  2. ช่วยขับปัสสาวะ
  3. แก้ปัสสาวะพิการ
  4. ทำให้ฟันทน
  5. แก้ปวดฟัน 
  6. ถอนพิษสุนัขบ้า
  7. ใช่ปลูกผมและคิ้วเด็กอ่อน
  8. ช่วยหยุดการร่วงของหนังศีรษะอ่อนแอ
  9. ใช้ย้อมผมหงอกให้เป็นสีดำ
  10. แก้ฟกช้ำบวม
  11. แก้พิษแมลงกัดต่อย
  12. แก้ตาแฉะ ตาฟาง   
  13. แก้งูสวัด
  14. บำรุงร่างกาย
  15. บำรุงสมอง
  16. ช่วยลดความเสื่อมของการเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน
  17. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  18. ช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
  19. ช่วยในการบำรุงสมอง
  20. ช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย
  21. ช่วยต้านเบาหวาน
  22. บำรุงดวงตา
  23. แก้เหน็บชา
  24. แก้ปัสสาวะพิกา

            สำหรับการใช้ประโยชน์ในต่างประเทศ ตามตำราอายุรเวทศาสตร์ของอินเดีย มีการนำส่วนราก และเมล็ดของอัญชัน ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย และบำรุงสมอง รวมถึงใช้เป็นยาระบาย และขับปัสสาวะ ในแถบอเมริกา มีรายงานการใช้น้ำต้มจากส่วนรากเพียงอย่างเดียว หรือ น้ำต้มจากรากและดอกร่วมกันเป็นยาบำรุงโลหิต ส่วนเมล็ดใช้เป็นยาระบายขับปัสสาวะ และขับพยาธิ ส่วนในการแพทย์แผนปัจจุบันระบุว่าดอกอัญชัน มีสารแอนโธไซยานิน ซึ่งเป็นสารสีม่วงอยู่มาก มีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีมากขึ้น เช่น หลอดเลือดส่วนปลาย ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมมากขึ้น หรือ ทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับมองเห็นแข็งแรงขึ้น เพราะมีหลอดเลือดมากขึ้น และที่สำคัญยังช่วยลดความเสื่อมของการเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย ช่วยในการบำรุงสมอง ช่วยล้างสารพิษ และของเสียออกจากร่างกาย ช่วยต้านเบาหวาน เป็นต้น

ดอกอัญชัน

อัญชัน

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้บำรุงดวงตา แก้ตาเจ็บ ขับปัสสาวะ แก้เหน็บชา ดอกอัญชัน อบแห้ง 20 กรัม เติมน้ำสะอาด 500 ซีซี ต้มจนเดือนจากนั้นต้มต่ออีก 2 นาที ยกลง ปล่อยให้เย็น กรองใส่ขวดใช้รับประทาน แก้ปวดฟัน, ช่วยให้ฟันทน ใช้รากสดถูตามฟันซีที่ต้องการ, แก้ตาเจ็บ, บำรุงดวงตา ใช้รากฝนกับน้ำแล้วหยอดตา หรือ ใช้รากต้มกับน้ำใช้ดื่ม เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ดอกสดใช้ตำเป็นยาพอก หรือ คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่ฟกช้ำ และใช้แก้พิษแมลงกัดต่อย ดอก โบราณใช้อัญชันในการปลูกผม และคิ้วเด็กอ่อน หยุดการร่วงของหนังศีรษะอ่อนแอ ย้อมผมหงอกให้เป็นสีดำ ส่วนตำรายาพื้นบ้าน ใช้ ราก ฝนกับรากสะอึกและน้ำซาวข้าว กินหรือทา แก้ฟกช้ำบวม นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟันและทำให้ฟันแข็งแรง

 

ลักษณะทั่วไปของอัญชัน

อัญชัน จัดอยู่ในวงศ์ Fabaceae ซึ่งเป็นวงศ์ของถั่วในกลุ่มถั่วฝักเมล็ดกลม (pea) เช่น ถั่วลันเตา (green pea) ถั่วแระต้น (congo pea) ถั่วพู (manila pea) โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามรั้ว หรือ ซุ้ม เถากลมเล็กเรียว สีเขียวอ่อน เถาอ่อน กิ่งอ่อน หูใบ ก้านใบ แกนใบประกอบ แผ่นใบด้านล่าง ก้านดอก ใบประดับ และกลีบเลี้ยง มีขนนุ่ม แตกกิ่งก้านตามข้อใบ เถายาว 1-5 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย 2-3 คู่ ใบบาง สีเขียว แต่ละใบมี ใบย่อย 5-9 ใบ ใบย่อยรูปวงรีแกมขอบขนาน หรือ รูปวงรีแกมไข่กลับ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบยาว 3-7 เซนติเมตร รวมก้านที่ยาว 1-3 เซนติเมตร ผิวใบมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน หรือ บางครั้งผิวด้านบนเกลี้ยง ขอบใบเรียบ โคนใบสอบ ปลายใบมน ปลายเป็นติ่งแหลมสั้นๆ แผ่นใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างบาง เส้นแขนงใบ ข้างละ 4-5 เส้น หูใบรูปใบหอก ขนาดเล็ก ปลายแหลมยาว ยาว 2-5 มิลลิเมตร ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มี 1-2 ดอก กลีบดอก รูปดอกถั่ว มี 5 กลีบ แบ่งเป็น 2 ปาก ปากล่างขนาดใหญ่ ขอบมน กลีบดอกย่นบาง ตรงกลางดอกมีแถบสีเหลืองขาว กลีบเลี้ยงสีเขียวมี 5 กลีบ โคนติดกัน ยาว 1.5-2 เซนติเมตร แผ่นกลีบบาง ปลายแยกเป็น 5 แฉก แฉกลึกประมาณกึ่งหนึ่ง หรือ น้อยกว่า ปลายแฉกแหลมยาว ดอกมีสีสีน้ำเงิน ม่วง หรือ ขาว ตรงกลางกลีบสีเหลืองหม่นขอบสีขาว รูปดอกถั่ว แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน มีกลีบใหญ่ที่สุด 1 กลีบ ซึ่งจะมีจุดแต้มสีเหลืองกลางกลีบ ชนิดนี้เรียกว่าพันธุ์ดอกลา บางครั้งกลีบดอก 5 กลีบมีกลีบใหญ่มากกว่า 1 กลีบ ทำให้ดูเหมือนมีกลีบดอกหลายชั้นเรียกว่าพันธุ์ดอกซ้อน กลีบกลางรูปรีกว้างเกือบกลม ยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร ก้านกลีบสั้นๆ ในดอกสีน้ำเงิน หรือ ชมพูมีปื้นสีขาวช่วงกลางกลีบด้านโคน กลีบปีกและกลีบคู่ล่าง ขนาดเล็กกว่ากลีบกลางประมาณ กึ่งหนึ่ง มีก้านกลีบเรียวยาวเท่าแผ่นกลีบ กลีบข้างรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กลีบคู่ล่างรูปรี เกสรเพศผู้ติดสองกลุ่ม 9 อัน ติดกันประมาณ 2 ใน 3 ส่วน เกลี้ยง ยาวเท่ากลีบปีก และกลีบคู่ล่าง รังไข่รูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีขนยาว ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว มีขนยาวหนาแน่นช่วงปลายด้านใน ก้านช่อยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ใบประดับขนาดเล็กออกเป็นคู่ ยาว 2-3 มิลลิเมตร ใบประดับย่อยมีขนาดใหญ่กว่าใบประดับ มี 1 คู่ รูปไข่กว้างเกือบกลม ขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร มีเส้นใบชัดเจน ก้านดอกสั้นๆ ยาว 2-3 มิลลิเมตร ผลเป็นฝัก รูปดาบ แบนยาว ขนาดกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-12 เซนติเมตร  มีขนสั้นนุ่ม ปลายเป็นจะงอยสั้นๆ ฝักอ่อนมีสีเขียว พอแก่มีสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็น 2 ฝา เมล็ดรูปไต สีดำ ยาวได้ประมาณ 5 มิลลิเมตร จำนวน 6-10 เมล็ด โดยปกตินั้น ดอกอัญชันมี 3 สี คือ สี ขาว สีน้ำเงิน และสีม่วง พันธุ์ดอก สีม่วงนั้นบางตำราว่าเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ดอกสีขาวกับพันธุ์ดอกสีน้ำเงิน ซึ่งผู้เขียนไม่แน่ใจว่าถูกต้อง เพราะเคยเห็นอัญชันดอกขาวบางต้น มีกลีบสีขาวลายน้ำเงิน แสดงว่าเป็นพันธุ์ผสมระหว่างดอกขาวกับดอกน้ำเงิน แต่ข่มกันไม่ลงจึงแสดงออกมาทั้ง 2 สี ไม่กลายเป็นสีม่วงอย่างที่บอกในบางตำรา

ดอกอัญชัน

อัญชัน

การขยายพันธุ์อัญชัน

อัญชันเป็นไม้เถาที่ปลูกง่าย มีความแข็งแรง ทนทาน จึงมีการปลูกทั่วไป โดยนิยมปลูกเป็นพืชหลังบ้าน ริมรั้ว หรือ ซุ้มไม้ ส่วนการขยายพันธุ์สามารถทำได้ด้วยการใช้เมล็ด ซึ่งมีวิธีการปลูก คือ หากปลูกเพื่อการค้าขายให้ปรับดินโดยการไถพรวนแล้วใส่ปุ๋ยคอมในอัตรา 1 ต้น ต่อไร่ แล้วหว่านเมล็ดอัญชัน ลงไปในอัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อไร่ และให้น้ำด้วยระบบสปริงเกอร์ แต่โดยส่วนมากมักจะนิยมปลูกในฤดูฝนเพราะไม่ต้องให้น้ำ ส่วนการปลูกเป็นไม้ประดับให้ยกร่องขนาดกว้าง 1.20 เมตร ส่วนขนาดความยาวตามที่ต้องการ จากนั้นย่อยดินและผสมปุ๋ยคอกลงไปแล้วขุดหลุมหยอดเมล็ด หรือ นำต้นกล้าที่เพาะได้ลงปลูก โดยใช้ระยะปลูก (กว้างxยาว) 1x1 เมตร แล้วปักหลัก และทำค้างให้เถาเลื้อยเกาะ รดน้ำให้ชุ่มทุกวันในช่วงสัปดาห์แรก โดยปกติแล้วอัญชันชอบขึ้นกลางแจ้งที่ได้ รับแดดเต็มที่ชอบดินร่วนปนทรายที่ค่อนข้างร่วนซุยแต่มีการระบายน้ำได้ดี ปกติอัญชันจะเลื้อย ได้ยาวประมาณ 7 เมตร เมื่อถึง ฤดูแล้งจะแห้งตายไป แต่หากมีน้ำ พอเพียงและดูแลอย่างเหมาะสม ก็สามารถปลูกและได้ดอกอัญชัน ตลอดปี


องค์ประกอบทางเคมี

           ราก มีสาร indole acetic acid, kinetin, gibberelic acid, taxaxerol และ taxaxerone

           เมล็ด มีสาร adenosine, arachidic acid, campesterol, 4-hydroxycinnamic acid, p-hydroxy cinnamic acid, Clitoria ternatea polypeptide, ethyl-D-D-galactopyranoside, hex acosan-1-ol, palmitic acid, stearic acid, oleic acid, linoleic acid, linolenic acid, delphinidin 3,3´,5´-triglucoside, ß-sitosterol, J-sitosterol, Ŵ avonol-3-glycoside, 3,5,7,4´-tetrahydroxyŴ avone, 3-rhamnoglucoside และ anthoxanthin glucoside

           ดอก มีสารในกลุ่ม ternatins ได้แก่ ternatin A1, A2, A3, B1, B2, B3, B4, D1 และ D2 สารที่ให้สีน้ำเงินในดอก คือ สาร delphinidin-3,5-diglucoside, delphinidin 3-O-ß-D-glucoside, 3´-methoxy-delphinidine-3-O-ß-D-glucoside

           ใบ มีสาร aparajitin, astragalin, clitorin, ß-sitosterol, kaempferol-3-monoglucoside, kaempferol-3-rutinoside, kaempferol-3-O-rhamnosyl-(1,6)-galactoside, kaempferol3-O-rhamnosyl-(1,2)-O-chalmnosyl-(1,2)-O-[rhamnosyl-(1,6)]-glucoside, kaempferol3-neohesperiodoside, Ēúą kaempferol-3-O-rhamnosyl-(1,6)-glucoside

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของอัญชัน

            ฤทธิ์คลายความเครียดและวิตกกังวล ศึกษาฤทธิ์คลายความเครียด และวิตกกังวลของพืชที่มีสรรพคุณบำรุงสมองตามตำราอายุรเวชศาสตร์ของอินเดีย พบว่าสารสกัดเมทานอล รากอัญชัน ขนาด มก./กก. น้ำหนักตัว มีผลคลายความวิตกกังวลของหนูเม้าส์ เมื่อทดสอบด้วยวิธี elevated plus-maze (EPM) ซึ่งเป็นวิธีการทดสอบที่ทำให้หนูเกิดความกลัว และการป้อนสารสกัดเมทานอลรากอัญชัน ขนาด 50, 100 และ 200 มก./กก. น้ำหนักตัว ให้แก่หนูเม้าส์ก่อนนำไปทดสอบเหนี่ยวนำให้เกิดความเครียดด้วยวิธี forced swimming test (FST) พบว่าสารสกัดเมลานอลรากอัญชันทุกขนาด มีฤทธิ์ต้านความเครียด โดยทำให้ค่า immobility time period ลดลง เมื่อเทียบกับหนูที่ถูกป้อนด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว และในการศึกษาฤทธิ์คลายความเครียดของอัญชัน ในหนูแรทด้วยวิธี tail suspention test (TST) และ FST โดยทำการป้อนสารสกัดเอทานอลรากอัญชัน ขนาด 150 และ 300 มก./กก. น้ำหนักตัว พบว่าสารสกัดเอทานอลรากอัญชัน ทั้งสองขนาดมีฤทธิ์คลายความเครียดของหนูแรทจากการทดสอบทั้งสองแบบ โดยมีค่า immobility time period ลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม

            การป้อนสารสกัดเมทานอลจากส่วนเหนือดินของอัญชันขนาด 30, 100, 200 และ 400 มก./กก. น้ำหนักตัว ให้แก่หนูเม้าส์ 60 นาที ก่อนนำไปทดสอบด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ EPM, TST และ light/dark exploration พบว่าสารสกัดเมทานอลอัญชันขนาด 100-400 มก./กก. น้ำหนักตัว มีฤทธิ์คลายความเครียด และวิตกกังวลเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้การฉีดสารสกัดเอทานอลจากดอกอัญชัน ขนาด 100 และ 200 มก./กก. น้ำหนักตัว เข้าทางช่องท้องหนูแรทมีฤทธิ์คลายความวิตกกังวล เมื่อทำการทดสอบด้วยรูปแบบต่างๆ ได้แก่ EPM, TST และ Rota Rod test โดยขนาด 200 มก./กก. น้ำหนักตัว ให้ผลดีมากกว่าขนาด 100 มก./กก.น้ำหนักตัว

            ฤทธิ์กระตุ้นการเรียนรู้ และความจำ ศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการเรียนรู้ และฟื้นฟูความจำของสารสกัดเอทานอลใบอัญชัน จากภาวะความจำเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยทำการทดลองในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีด streptozotocin จากนั้นป้อนสารสกัดเอทานอลใบอัญชันให้กับหนูขาววันละ 200-400 มก./กก. น้ำหนักตัว นาน 75 วัน วัดความสามารถในการจำตำแหน่งของวัตถุ หรือ สิ่งที่อยู่รอบตัวด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก้ Y-maze test, mirrow water maze test และ radial arm maze test ในวันที่ 71 และ 75 ของการทดลอง ผลจากการศึกษาพบว่า หนูที่ถูกป้อนสารสกัดเอทานอลใบอัญชันทั้งสองขนาด มีความสามารถในการเรียนรู้และความจำดีขึ้นเมื่อเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม นอกจากนี้จากการตรวจวัดค่าชีวเคมีในเลือดหนูพบว่า การป้อนสารสกัดเอทานอลใบอัญชันทั้งสองขนาด มีความสามารถในการเรียนรู้ และความจำดีขึ้นเมื่อเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม นอกจากนี้จกาการตรวจวัดค่าชีวเคมีในเลือดหนูพบว่า การป้อนสารสกัดเอทานอลใบอัญชัน มีผลยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ acetycholinesterase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สลาย acetylcholine ที่ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้และความจำ นอกจากนี้ยังเพิ่มระดับของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ superoxide dismutase (SOD), catalase (CAT) และ glutauhione (GSH) อีกด้วย แสดงให้เห็นว่าสารสกัดเอทานอลใบอัญชันมีฤทธิ์บำรุงสมอง กระตุ้นการเรียนรู้ และช่วยฟื้นฟูความจำ จากภาวะที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานในหนูทดลองได้ และจากการศึกษาฤทธิ์คลายความเครียด และวิตกกังวลของพืชที่มีสรรพคุณบำรุงสมองตามตำราอายุรเวทศาสตร์ของอินเดียพบว่า สารสกัดเมทานอล 80% จากรากอัญชัน ขนาด 100 และ 200 มก./กก. น้ำหนักตัว เมื่อป้อนให้แก่หนูเม้าส์ มีผลกระตุ้นการเรียนรู้และความจำของหนู เมื่อทดสอบด้วยวิธี step-down passive avoidance model ซึ่งเป็นวิธีการทดสอบพฤติกรรมหลบเลี่ยงการเสริมแรงทางลบ (negative reinforcement)

            การศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการเรียนรู้ และความจำของอัญชันในหนูแรทแรกเกิด (อายุ 7 วัน) โดยทำการป้อนสารสกัดน้ำรากอัญชัน ขนาดวันละ 50 และ 100 มก./กก. นาน 30 วัน แล้ว นำไปทดสอบกระบวนการเรียนรู้และจดจำด้วยวิธี passive avoidance test และ T-maze test พบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดน้ำอัญชันให้ผลการทดสอบดีกว่าหนูกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่ส่งผลต่ออัตราการเคลื่อนไหว หรือ ทำให้เกิดอาการเซื่องซึม นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดน้ำรากอัญชัน ขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักตัว มีผลเพิ่ม acetylcholine ในสมองบริเวณ hippocampus ของหนูแรททั้งในวัยแรกเกิดและหนูที่อยู่ในวัยสมบูรณ์พันธุ์อีกด้วย

            ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และแก้ปวด ศึกษาฤทธิ์แก้ปวดของอัญชันในหนูเม้าท์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการเจ็บปวดด้วยการฉีดกรดอะซีติก (acetic acid) เข้าทางช่องท้อง หลังจากได้รับสารทดสอบ แบ่งหนูเม้าส์ออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 ป้อนยาแก้ปวด diclofenac sodium ขนาด 10 มก./กก.น้ำหนักตัว กลุ่มที่ 3 และ 4 ป้อนสารสกัดเมทานอล/น้ำจากใบอัญชันขนาด 200 และ 400 มก./กก. น้ำหนักตัวตามลำดับ จากนั้นสังเกตพฤติกรรมการบิดงอตัวของหนู ซึ่งเป็นอาการแสดงออกถึงความเจ็บปวด ผลจากการทดลองพบว่า หนูเม้าส์ที่ได้รับสารสกัดเมทานอลใบอัญชันทั้งสองกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าสารสกัเมทานอล/น้ำจากใบอัญชันให้ผลดีกว่ากลุ่มที่ให้ยาแก้ปวด diclofenac sodium เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การลดลงของอาการบิดงอตัว (%inhibition of writhing) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ได้รับสารสกัดเมทานอล/น้ำจากใบอัญชันขนาด 200 และ 400 มก./กก. น้ำหนักตัวมีค่าเท่ากับ 82.67 และ 87.87 % ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาแก้ปวด diclofenac sodium มีค่าเท่ากับ 77.72% แสดงให้เห็นว่าสารสกัดเมทานอล/น้ำจากใบอัญชันมีฤทธิ์แก้ปวด และในการศึกษาฤทธิ์แก้อักเสบของอัญชันในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการบวม และอักเสบด้วยการฉีดสาร carrageenan เข้าที่บริเวณฝ่าเท้า โดยทำการป้อนสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ดอกอัญชัน ขนาด 200 และ 400 มก./กก. น้ำหนักตัว เปรียบเทียบกับการให้ยาแก้ปวด diclofenac sodium สังเกตและวัดอาการปวดของฝ่าเท้าหนูด้วยเครื่อง plethismometer ผลจากการทดลองพบว่า หนูที่ได้รับสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ ดอกอัญชัน ทั้งสองขนาด มีอาการบวมของฝ่าเท้าน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การลดลงของอาการบวมของฝ่าเท้า (%inhibition of paw) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ได้รับสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ดอกอัญชันขนาด 200 และ 400 มก./กก. น้ำหนักตัว มีค่าเท่ากับ 14 และ 21% ตามลำดับ และกลุ่มที่ได้รับยาแก้ปวด diclofenac sodium เท่ากับ 38% แสดงให้เห็นว่าสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ดอกอัญชันมีฤทธิ์ต้านการอักเสบแต่ยังมีประสิทธิภาพน้อยกว่ายา diclofenac sodium นอกจากนี้เมื่อทำการศึกษาฤทธิ์แก้ปวดของสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ดอกอัญชันทั้งสองขนาดในหนูเม้าส์ เปรียบเทียบกับยาแก้ปวด pentazocine ซึ่งฉีดเข้าทางช่องท้องหนู โดยทดสอบด้วยวิธี Eddy's hot plate method พบว่าสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ดอกอัญชันขนาด 400 มก./กก. น้ำหนักตัว มีฤทธิ์ต้านอาการเจ็บปวด แต่ยังมีประสิทธิภาพน้อยกว่ายา pentazocine

           ฤทธิ์ช่วยในการนอนหลับ ศึกษาฤทธิ์ด้านเภสัชวิทยาระบบประสาท (neurophamacological study) ของอัญชันในหนูเม้าส์ โดยการฉีดสารสกัดเอทานอลรากอัญชันเข้าช่องท้องขนาด 50, 100 และ 150 มก./กก. น้ำหนักตัว ก่อนนำไปทดสอบด้วยวิธี head dip test และ Y-maze test พบว่าสารสกัดเอทานอลรากอัญชันขนาด 100 และ 150 มก./กก. น้ำหนักตัว มีผลลดอาการผงกศีรษะ (head dip) และระยะเวลาการวิ่งในกล่องรูปตัว Y ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารสกัดเอทานอลรากอัญชัน มีฤทธิ์ลดพฤติกรรมการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ และความสนใจต่อสภาพแวดล้อมของหนูเม้าส์ นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดเอทานอลรากอัญชันเข้าทางช่องท้องของหนู 30 นาที ก่อนฉีดยานอนหลับดังกล่าว โดยทำให้ระยะเวลาการนอนหลับของหนูนานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการฉีดยา phenobarbitone เพียงอย่างเดียว

           ฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด การวิเคราะห์แยกสาร anthocyanin กลุ่ม ternatins ที่สกัดได้จากดอกอัญชัน และศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารดังกล่าวในหลอดทดลอง (in vitro) พบว่า สาร ternatin D1 จากดอกอัญชันมีคุณสมบัติยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดกระต่ายที่เหนี่ยวนำโดย collagen และ adenosine diphosphate (ADP)

           ฤทธิ์ลดไข้ ศึกษาฤทธิ์ลดไข้ของอัญชันในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นด้วยการฉีดเชื้อยีสต์เข้าทางใต้ผิวหนัง ขนาด 10 มล./กก. น้ำหนักตัว จากนั้น 19 ซม. แบ่งหนูออกเป็น 5 กลุ่ม (กลุ่มละ 6 ตัว) กลุ่มที่ 1 ให้เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 ป้อนยาพาราเซตามอลขนาด 150 มก./กก. น้ำหนักตัว กลุ่มที่ 3-5 ป้อนสารสกัดเมทานอลรากอัญชัน ขนาด 200, 300 และ 400 มก./กก. น้ำหนักตัว ตามลำดับ ทำการวัดอุณหภูมิร่างการทางทวารหนักของหนูที่ชั่วโมง 0, 19, 20, 21, 22 และ 23 ของการทดลองพบว่า สารสกัดเมทานอลรากอัญชันทุกขนาดมีผลลดอุณหภูมิร่างกายของหนูลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และให้ผลไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาพาราเซตามอล

           ฤทธิ์ต้านเบาหวานการศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของอัญชันในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงโดยการฉีดสาร alloxan พบว่าการป้อนสารสกัดน้ำจากใบ และดอกอัญชัน ขนาดวันละ 100-400 มก./กก. นาน 14-84 วัน มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดคอเลสเตอรรอล ไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งระดับเอนไซม์ glucose-6-phosphatase ไปเป็นน้ำตาล และเพิ่มระดับอินซูลิน HDL-cholesterol และเอนไซม์  glucokinase ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับกลูโคสไปเก็บสะสมเป็นพลังงานสำรองในรูปของ glucogen ในตับและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังลดความเสียหายของกลุ่มเซลล์ Islet of Langerhans ชนิด B-cells ในตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน จากการฉีดสาร alloxan ได้

           ส่วนในการทดสอบฤทธิ์ของอัญชันในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับบำรุงผิวพบว่า สารสกัดน้ำ และสารสกัดเอทานอลจากดอกอัญชัน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี 2, 2-diphenyl-1-picrylhdrazy (DPPH) โดยสารสกัดน้ำจะมีฤทธิ์มากกว่าสารสกัดเอทานอล ซึ่งมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 50% (IC50) เท่ากับ 1 และ 4 มก./มล. ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดน้ำดอกอัญชัน ไปเป็นส่วนประกอบในเจลสำหรับทารอบดวงตาพบว่า ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของอัญชันยังคงอยู่ แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าครีมมาตรฐาน ทำให้อาจสรุปได้ว่าการใช้ดอกอัญชันเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางสำหรับบำรุงผิวอาจจะได้ประโยชน์จากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งนักตัว มีฤทธิ์ต้านอาการเจ็บปวด แต่ยังมีประสิทธิภาพน้อยกว่ายา ดอกอัญชันทั้งอาการบวมของฝ่าเท้าน้อยกว่ากลุ่บด้วยการฉีดสาร ได้


การศึกษาทางพิษวิทยาของอัญชัน

การศึกษาความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน ของสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากดอกอัญชันในหนูแรทเพศเมียพบว่า การป้อนสารสกัดขนาด 2000 มก./กก.น้ำหนักตัว ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อหนูแต่อย่างใด และในการศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดน้ำจากดอกอัญชัน ในหนูแรทเพศผู้ โดยป้อนในขนาด 10, 50 และ 100 มก./กก. น้ำหนักตัว นาน 28 วัน ไม่พบความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ของหนูเพศผู้ 


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. เนื่องจากดอกอัญชัน มีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด สำหรับผู้มีเลือดจากหรือผู้ที่ใช้ยาต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด รวมถึงยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น Aspirin และ Warfarin ควรระมัดระวังในการรับประทานดอกอัญชัน หรือ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของอัญชัน
  2. แม้ว่าจะมีงานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาจำนวนมาก แต่งานวิจัยทั้งหมดยังเป็นข้อมูลที่ศึกษาในระดับสัตว์ทดลองไม่มีรายงานการวิจัยในคน จึงยังไม่สามารถระบุขนาด และวิธีใช้ที่เหมาะสมได้
  3. ไม่ควรบริโภคน้ำอัญชันที่มีสีเข้มมาจนเกินไป เพราะจะทำให้ไตทำงานหนัก ในการขับสารสีออกมาก
  4. สำหรับการใช้ภายนอกผู้ที่มีประวัติแพ้ดอกไม้ควรระมัดระวังในการใช้ดอกอัญชัน

 

เอกสารอ้างอิง อัญชัน
  1. อัญชัน. พิชานันท์ ลีแก้ว. จุลสารข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.ปีที่ 32.ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2557. หน้า 10-17
  2. จาตุรณต์ บุรวัฒน์, วรรณิศา สุโขรัมย์, รรนิธร สมัฤทธิ์,สุภัจฉรี อรัญ และ สิทธิชัย เอี่ยมสะอาด. ผลปลอดพิษของสารสกัดดอกอัญชัน สีม่วงต่ออวัยวะระบบสืบพันธุ์เพศผู้ของหนู. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ The 5 th Annual Northeast Pharmacy Research Conference of 2013 “Pharmacy Profession: Moving Forward to ASEAN Harmonization” คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 16-17 กุมภาพันธ์ 2556
  3. นันทวัน บุณยะประภัศร, บรรณาธิการ. สมุนไพรไม้พื้นบ้าน 5. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน จำกัด; 2543. 740 หน้า
  4. อัญชัน.ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage=139
  5. สุธรรม อารีกุล. องคค์วามรู้เรื่องพืชปาที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย 1. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด; 2552. 808 หน้า
  6. เดชา.ศิริภัทร.อัญชัน ผักบุ้งทะเล สีสันสำหรับเส้นผมและดวงตา. คอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้า.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่ 281. กันยายน 2545.
  7. Rai KS, Murthy KD, Karanth KS, Nalini K, Rao MS and Srinivasan KK. Clitoria ternatea root extract enhances acetylcholine content in rat hippocampus. Fitoterapia 2002; 73(7-8): 685-9
  8. Anuradha M, Pragyandip PD, Richa K and Murthy PN. Evaluation of neuropharmacological effects of ethanolic extract of Clitorea ternatea flowers. Pharmacologyonline 2010; 1: 285-92
  9. Talpate KA, Bhosale UA, Zambare MR and Somani RS. Neuroprotective and nootropic activity of Clitorea ternatea Linn. (Fabaceae) leaves on diabetes induced cognitive decline in experimental animals. J Pharm Bioallied Sci 2014; 6(1): 48-55
  10. Boominathan R, Devi BP and Mandal SC. Studies on neuropharmacological effects of Clitoria ternatea Linn. Root extract in rats and mice. Nat Prod Sci 2003; 9(4): 260-63
  11. Daisy P, Santosh K and Rajathi M. Antihyperglycemic and antihyperlipidemic effects of Clitorea ternatea Linn. in alloxan-induced diabetic rats. Afr J Micobiol Res 2009; 3(5): 287-91
  12. Mukherjee PK, Kumar V, Kumar NS and Heinrich M. The Ayurvedic medicine Clitoria ternatea - from traditional use to scientific assessment. J Ethnopharmacol 2008; 120(3): 291- 301
  13. Rao RV, Descamps O, John V and Bredesen DE. Ayurvedic medicinal plants for Alzheimer's disease: a review. Alzheimers Res Ther 2012; 4(3): 22
  14. Daisy P and Rajathi M. Hypoglycemic effects of Clitoria ternatea Linn. (Fabaceae) in alloxan-induced diabetes in rats. Trop J Pham Res 2009; 8(5): 393-8
  15. Malik J, Karan M and Vasisht K. Nootropic, anxiolytic and CNS-depressant studies on different plant sources of shankhpushpi. Pharm Biol 2011; 49(12): 1234-42
  16. Parvathi M and Ravishankar K. Evaluation of antidepressant, motor coordination and locomotor activities of ethanolic root extract of Clitoria ternatea. J Nat Remedies 2013; 13(1): 19-24
  17. Sarwar S, Rahman R, Nahar K and Rahman MA. Analgesic and neuropharmacological activities of methanolic leaf extract of Clitoria ternatea Linn. J Pharmacogn Phytochem 2014; 2(5): 110-4
  18. Patil Amol P and Patil Vijay R. Clitoria ternatea Linn.: An overview. Int J Pharm Res 2011; 3(1): 20-3
  19. Zingare ML, Zingare PL, Dubey AK and Ansari A. Clitoria ternatea (aparajita): a review of the antioxidant, antidiabetic and hepatoprotective potentials. Int J Pharm Bio Sci 2013; 3(1): 203-13
  20. Jain NN, Ohal CC, Shroff SK, et al. Clitoria ternatea and the CNS. Pharmacol Biochem Behav 2003; 75(3): 529-36
  21. Rai KS, Murthy KD, Karanth KS and Rao MS. Clitoria ternatea (Linn) root extract treatment during growth spurt period enhances learning and memory in rats. Indian J Physiol Pharmacol 2001; 45(3): 305-13
  22. Parimaladevi B, Boominathan R and Mandal SC. Evaluation of antipyretic potential of Clitoria ternatea L. extract in rats. Phytomedicine 2004; 11(4): 323-6
  23. (Kamkaen Nand Wilkinson JM. The antioxidant activity of Clitoria ternatea flower petal extracts and eye gel. Phytother Res 2009; 23(11):1624-5
  24. Shyamkumar and Ishwar B. Antiinflammatory, analgesic and phytochemical studies of Clitorea ternatea Linn. flower extract. Int Res J Pharm 2012; 3(3): 208-10