ประเภทของใบชาและวิธีการแปรรูปใบชา

ประเภทของใบชาและวิธีการแปรรูปใบชา 

            ตามท้องตลาดในปัจจุบันนั้นจะเห็นผลิตภัณฑ์จากใบชาที่วางจำหน่ายอยู่มากมายหลายชนิดทั้งที่เป็นแบบใบชาองแห้ง แบบชาผง แบบน้ำชาปรุงสำเร็จ และอีกมากมาย

หลายประเภท รวมถึงจุดประสงค์หรือการโฆษณาสรรพคุณของผู้ที่ผลิตมาจำหน่าย ก็ต่างก็แตกต่างกัน เช่นผลิตมาเพื่อเป็นเครื่องดื่มดับกระหาย เพื่อเป็นเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ เพื่อเป็นเครื่องดื่มที่ใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นเพื่อลดน้ำหนัก หรือแม้กระทั่งเป็นเครื่องดื่มที่บ่งบอกรสนิยมและฐานะทางสังคม เป็นต้น แต่ประเภทของชา Camellia Sinensis ที่มีการแปรรูปเพื่อนำมาจำหน่ายนั้น ในท้องตลาดยังสามารถแบ่งออกได้อีก ถึง 3 ประเภทตามกรรมวิธีการแปรรูป ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนจะนำทุกท่านมาทำความเข้าใจกับประเภทและกระบวนการแปรรูปใบชาว่าจะมีรูปแบบการแปรรูปชาแบบใดบ้าง และจะได้ผลผลิตของใบชาที่นำไปแปรรูปตามวิธีนั้นๆ ในรูปแบบใด โดยชาที่มีการนำมาจำหน่ายในท้องตลาดที่เราพบเห็นกันบ่อยๆนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ที่มี รส กลิ่น รวมถคงสีสันแตกต่างกันไปตามกรรมวิธีการแปรรูป นั่นก็คือ 1.ชาเขียว Green tea ซึ่งเป็นชาที่ได้รับความนิยมที่สุดในปัจจุบัน ชาเขียวมาจากยอดอ่อนของชา ที่จะถูกนำไปแปรรูปโดยการคั่วหรืออบ ให้แห้งหลังจากเก็บทันทีนั่นจึงทำให้ใบชายังมีสีเขียว เพราะไม่ได้ถูกนำมานวด เหมือนกรรมวิธีการแปรรูปชาประเภทอื่น ทำให้ชาเขียวเป็นชาที่มีรสชาติใกล้เคียงกับใบชาธรรมชาติมากกว่าชาประเภทอื่นๆ ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่นิยมบริโภคของชาเขียวมากที่สุด 2. ชาดำ Black tea เป็นชาที่ชาวตะวันตกนิยมนำไปชงดื่ม มีกรรมวิธีการแปรรูปคือ เมื่อเก็บชามาแล้วจะนำยอดอ่อนของชามานวด แล้วจึงหมัก และเมื่อหมักจนได้กลิ่นที่หอมเป็นเอกลักษณ์ของชาดำแล้วจึงนำมาอบให้แห้ง จึงทำให้ใบชาที่ได้มีลักษณะเป็นสีเข้มมีรสขมปนฝาด ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีของสารแทนนิน Tannin ในใบชานั่นเอง 3.ชาอู่หลง หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าชาแดง Red tea หรือ Oolong คือ ยอดอ่อนของชาที่หลังจากเก็บยอดชามาแล้วจะทำการนวดให้บริเวณใบและก้านอ่อนของชาช้ำ จากนั้นก็ทำการอบให้แห้ง โดยไม่มีการหมักเหมือนกับชาดำ และชาวไทยนิยมดื่มกันมากแต่ว่ากันว่าชาชนิดนี้ เหมาะในการดื่มเปล่าๆ โดยไม่ใส่น้ำตาลหรือใส่นม ตามในตำราชาของจีนระบุว่าการเก็บยอดชาที่จะนำมาทำใบชาไว้ชงดื่มนั้นถ้าจะให้ชาที่มีคุณประโยชน์และมีคุณภาพดีที่สุดนั้น ต้องเก็บยอดชาคู่ที่ 1และ 2 ที่เรียกว่า บู๋อี้ ส่วนยอดที่ 3 และ 4 จะเรียกกันว่า อันเคยจะเป็นใบชาที่มีคุณภาพลดลงมา และคู่ที่ 5 และ 6 เรียกกันว่า ล่ำก๋อง ซึ่งเป็นใบชาที่แย่ที่สุดที่จะสามารถนำมาทำใบชาไว้ดื่ม ส่วนใบชาคู่ต่อจำนั้นจะไม่นิยมนำมาใช้ทำใบชาไว้ดื่ม เพราะไม่มีคุณสมบัติทางยา และไม่มีคุณภาพแล้ว

 

 

กวาวขาว กวาวขาว เจียวกู่หลาน