ข้อมูลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของส้มแขก

ข้อมูลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของส้มแขก            

การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในสมุนไพรชนิดต่างๆนั้นนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวสมุนไพรยุคใหม่ เพราะในอดีตการใช้สมุนไพรจะเป็นการใช้ในแบบแคบ คือ เป็นการใช้เฉพาะกลุ่มไม่ได้มีการแพร่หลายออกไทยในภูมิภาคต่างๆ แต่ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่สมุนไพรมีความสำคัญในทางการแพทย์ไม่แพ้ยาแผนปัจจุบันจากโรคตะวันตก เหตุที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะเริ่มมีการวิจัยในตัวสมุนไพรในแต่ละชนิด(เริ่มตั้งแต่กวาวเครือขาว , กวาวเครือแดง เป็นต้นมา) ซึ่งก็จะทำให้ได้เห็นถึงสรรพคุณ สารออกฤทธิ์ ฤทธิ์ของยาต่อมนุษย์ รวมถึงค่าความเป็นพิษ และก็จะมีข้อควรระวังหรือคำเตือนข้อห้ามต่างๆตามมา ซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ และในทางส่วนของผู้ที่ใช้ผู้ที่บริโภคก็มีความเชื่อมั่นในตัวสมุนไพรและเริ่มหันมาใช้สมุนไพรแทนการใช้ยาที่มีผลข้างเคียงกับร่างการมนุษย์ ดังนั้นงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรชนิดต่างๆ จึงเปรียบได้กับการเปิดประตูยุคทองของสมุนไพรในปัจจุบันนี้อย่างแท้จริง เมื่อพูดถึงงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว จึงอยากที่จะพูดถึงข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของส้มแขก สมุนไพรลดน้ำหนักที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบันนี้เพื่อให้ท่านที่สนใจในสมุนไพรชนิดนี้ ได้รับทราบ โดยงานวิจัยของส้มแขกนั้นได้มีการศึกษาวิจัยมามากมายหลายสถาบันในไทยก็มากต่างประเทศก็มี ส่วนในไทยนั้นส้มแขกก็เป็นงานวิจัยที่มีทั้งสถาบันการศึกษาทั้งของภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจเป็นอันมาก รวมไปถึงบริษัทเอกชนที่ผลิตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากส้มแขกก็ให้ความสนใจและให้ทีมวิจัยของบริษัทไปทำการวิจัยสมุนไพรชนิดนี้เช่นกัน ซึ่งผู้เขียนจะนำข้อมูลการศึกษาวิจัยส้มแขกมาเสนอแก่ทุกท่านคร่าวๆ ดังนี้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ส้มแขกนั้นมีสาระสำคัญที่เป็นจุดขาย คือ สาร HCA (ซึ่งผู้เขียนจะได้อธิบายในบทความก่อนหน้านี้แล้ว) นอกเหนือจากสาร HCA นี้ ส้มแขกยังมีสารอื่นๆอีก เช่น สารจำพวกกรดอินทรีย์ เช่น กรดซิตริก (Citric acid) กรดแพนตาดีคาโนอิค (Pentadecanoic) กรดออคตาดีคาโนอิค  (octadecanoic)  กรดโดดีคาโนอิค  (dodecaroic)  ส่วนผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของส้มแขกพบว่ามีฤทธิ์ทางยาหลายประการ เช่น  ด้านที่มีผลกับน้ำหนักตัวและไขมัน  นักวิจัยในต่างประเทศพบว่าสาร HCA ในส้มแขกช่วยลดการกินอาหาร ลดน้ำหนักรวมถึงเปลี่ยนไขมันมาเป็นพลังงานได้ และยังลดความอยากอาหารในหนูทดลองได้ และเป็นผลให้น้ำหนักตัวของหนูทดลองลดลงด้วย ด้านการต้านเชื้อจุลินทรีย์ มีอนุพันธ์ของสาร HCA บางชนิดสามารถยังยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ ด้านการต้านอนุมูลอิสระ มีการนำสารสกัดน้ำและเอทานอล ของรากและใบส้มแขก มาทำสอบด้วยวิธี DPPH radical scavengtng  assey ที่ระดับความเข้มข้น 2000  µ/g/m/ พบว่ามีฤทธิ์ lantioxidant (ต้านอนุมูลอิสระ) แรงกว่าวิตามินอี และด้านการวิจัยทดลองทางพิษวิทยานั้นปรากฏว่าขณะนี้ยังไม่มีการศึกษารายงานด้านความเป็นพิษของส้มแขก แต่จะมีรายงานสรุปท้ายงานวิจัยของโรงพยาบาลรามาธิบดี อยู่ 1 งานวิจัย คือการวิจัยในคนในเรื่องฤทธิ์การลดน้ำหนัก โดยเมื่อเสร็จการทดลอง พบว่าผู้ทดลองนั้นมีค่าชีวเคมีในเลือดปกติไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าส้มแขกไม่ทำให้เกิดพิษ ถึงแม้จะไม่มีผลการวิจัยด้านความเป็นพิษหรือจากรายงานข้างต้นจะแสดงว่าส้มแขกไม่เป็นพิษแต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้ส้มแขกคือว่าส้มแขกไม่ทำให้เกิดพิษ ถึงแม้เราไม่มีผลการวิจัยด้านความเป็นพิษหรือจากการายงานข้างต้นจะแสดงว่าส้มแขกไม่เป็นพิษแต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้ส้มแขก คือสาร HCA มีผลรบกวนการสร้างเอนไซม์และฮอร์โมนบางชนิด จึงไม่ควรใช้สารสกัดส้มแขกที่มี HCA ในปริมาณที่สูงเกินไปรวมถึงในสตรีมีครรภ์และสตรีที่ให้นมบุตรก็ควรงดใช้เช่นกัน

 

 

ส้มแขก เจียวกู่หลาน พริกไทยดำ