ส้มแขก ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ส้มแขก งานวิจัยและสรรพคุณ 16 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ส้มแขก
ชื่อประจำถิ่น/ชื่ออื่นๆ ชนิดที่ 1 มะขามแขก, ส้มมะอ้น, ส้มมะวน (ภาคใต้), ส้มความ (ตรัง), ส้มพะงุน (ปัตตานี), อาแซกะลูโก (ยะลา), ชะมวงช้าง
 ชนิดที่ 2 Gamboge
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชนิดที่ 1 Garcinia atroviridis Griff. Ex T. Anderson -ชนิดที่ 2 Garcinia cambogia Desr. 
วงศ์ Guttiferae
ส้มแขก


ถิ่นกำเนิดส้มแขก

ส้มแขกมีถิ่นกำเนิดใน อินเดีย ศรีลังกา และพบได้ทั่วไปในป่าประเภทร้อนชื่น ในประเทศไทยก็เป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมของไทย พบมากทางภาคใต้ โดยเฉพาะ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ลงไปถึงสิงคโปร์ ส้มแขกเป็นเพราะอาหารอินเดียและมาเลเซียหลายชนิด เช่น แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น จะใช้ส้มแขกประกอบอาหารแทนมะขามเปียก ก็เลยเรียกติดปากกันว่าส้มแขก ที่จริงส้มแขกสามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย แต่คงเป็นเพราะทางภาคใต้รู้จักที่จะนำส้มแขกมาประกอบอาหารกันมาก ก็เลยปลูกกันมากกว่าที่อื่น

ส้มแขกมีอยู่ 2 ชนิด คือ

• ชนิดที่ 1 พบมากในประเทศไทย คือ Garcinia atroviridis Griff. Ex T. Anderson
• ชนิดที่ 2 พบมากในอินเดีย คือ Garcinia cambogia Desr.

ประโยชน์และสรรพคุณสรรพคุณส้มแขก

  1. บรรเทาอาการปวดท้องในสตรีมีครรภ์
  2. ช่วยลดน้ำหนัก
  3. เป็นยาระบายอ่อนๆ
  4. เป็นยาขับปัสสาวะ
  5. ช่วยลดไขมันส่วนเกินได้
  6. ช่วยแก้อาหารไอ
  7. ช่วยขับเสมหะ
  8. ช่วยลดความดัน
  9. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน 
  10. ช่วยฟอกโลหิต 
  11. รักษานิ่ว
  12. ลดความอยากอาหาร ความรู้สึกหิวอาหาร
  13. เร่งระบบการเผาผลาญอาหาร
  14. ช่วยดักจับแป้งและไขมันจากอาหารที่รับประทานเข้าไป
  15. ช่วยทำให้สำไส้เกิดการเคลื่อนไหวตัวได้เร็วขึ้นและขับไขมันออกมา
  16. ช่วยกระตุ้นให้มีการดึงเอาไขมันที่สะสมในร่างกายออกมาใช้เป็นพลังงาน


รูปแบบและขนาดวิธีใช้ส้มแขก

ส้มแขก มีสารสำคัญที่มีชื่อว่า Hydroxycitric Acid หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “HCA” ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเอนไซม์ ในกระบวนการสร้างไขมัน จากการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง นอกจากนี้ยังมีกรดอินทรีย์อื่นๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น กรดซิตริก (Citric Acid) กรดโดดีคาโนอิค (Dadecanoic acid) กรดออคตาดีคาโนอิค (Octadecanoic acid) และ กรดเพนตาดีคาโนอิค (pentadecanoic acid) โดยกลไกการออกฤทธิ์ชอง HCA จะออกฤทธิ์โดยไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ ATP Citrate Lyase ในวงจร Kreb’s cycle (วงจรการย่อยสลายกลูโคสของร่างกาย) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยน Citrate ไปเปลี่ยน acetyl CoA นำไปใช้สร้างกรดไขมัน ขณะเดียวกันก็จะนำน้ำตาลไปสะสมเป็น glycogen ที่ตับ เพื่อใช้เป็นพลังงานสำรองได้อีกด้วย 

           จึงเชื่อกันว่าสารสกัดส้มแขกสามารถยับยั้งกระบวนการสร้างกรดไขมันของร่างกาย นำไปสู่การลดเนื้อเยื่อไขมัน และการลดน้ำหนักได้ ในปัจจุบัน ส้มแขกได้มีการนำไปสกัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน หลายรูปแบบ เช่น แบบผง แบบเม็ด ชาส้มแขก ส้มแขกแคปซูล โดยจะมีขนาดตั้งแต่ 300–600 มิลลิกรัม และจะมีเนื้อส้มแขกประมาณ 250–500 มิลลิกรัม และมีปริมาณ HCA ประมาณ 60–70% ไม่มีข้อบ่งใช้ที่ได้รับรองจากวงการแพทย์ ที่มีงานวิจัยที่ยืนยันประสิทธิผลในคนสนับสนุน แต่ปัจจุบันมีการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยลดน้ำหนัก ลดความอยากอาหาร สำหรับผลิตภัณฑ์ส้มแขกที่มีการควบคุมปริมาณ HCA ไม่ต่ำกว่า 50% ให้รับประทานในขนาด 750–1500 มิลลิกรัม โดยแบ่งให้วันละ 2–3 ครั้ง 30–60 นาที ก่อนอาหาร
           ส่วนวิธีการต้ม รักษาโรคเบาหวานใช้ดอกตัวผู้แห้งต้มกับน้ำ อัตราส่วน 7 ดอก : น้ำ 1 ลิตร เติมน้ำครั้งที่สองใส่ดอก 3 ดอกต่อน้ำ 1 ลิตร โดยไม่ต้องทิ้งดอกที่ต้มในครั้งแรก แล้วนำมาดื่ม วิธีใช้ทำเป็นยากษัยให้นำรากส้มแขกมาตากแห้งต้มกับน้ำผสมกับรากมังคุดและรากจูบู
  

ลักษณะทั่วไปของส้มแขก 

ต้นส้มแขก ลักษณะของต้นส้มแขก เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มกว้างสูงประมาณ 5–14 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง ลักษณะของเปลือกต้น หากเป็นต้นอ่อนจะมีสีเขียว หากแก่แล้วจะมีสีน้ำตาลอมดำ เมื่อลำต้นเป็นแผลจะมียางสีเหลืองออกมา
           • ใบส้มแขก เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ ใบใหญ่ผิวเรียบเป็นมัน ใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ขอบในเรียบ ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 10–20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4–5 เซนติเมตร โดยใบแห้งจะมีสีน้ำตาล
           • ดอกส้มแขก ออกตามปลายยอด ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ด้านในสีแดง ด้านนอกมีสีเขียว มีเกสรเพศผู้เรียงอยู่บนฐานรองดอก ส่วนดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวแทงออกจากปลายกิ่งมีขนาดเล็กกว่าดอกเพศผู้ รังไข่มีรูปทรงกระบอก
           • ผลส้มแขก ลักษณะของผลส้มแขก เป็นผลเดี่ยวคล้ายฟักทองขนาดเล็ก ผิวเรียบสีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแก่ มีขนาดใกล้เคียงกับผลกระท้อน เปลือกผลเป็นร่องตามแนวขั้วไปยังปลายผล มีประมาณ 8–10 ร่อง ที่ขั้วมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ 2 ชั้นๆ ละ 4 กลีบ เนื้อแข็ง มีรสเปรี้ยวจัด ในผลมีเมล็ดแข็ง 2–3 เมล็ด ผลส้มแขกมีรสเปรี้ยวนิยมนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม แกงเลียง ต้มเนื้อ ต้มปลา เพื่อให้มีรสเปรี้ยว หรือใช้ทำน้ำแกงขนมจีน ทำเป็นเครื่องลดความอ้วน โดยการรับประทานส้มแขกในระยะแรกอาจจะทำให้รู้สึกหิวบ่อยมากขึ้น เนื่องจากไปเร่งระบบการเผาผลาญอาหาร โดยร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวไปเอง ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1–2 อาทิตย์ ระหว่างนี้ก็ให้ดื่มน้ำมากๆ หากรับประทานไปนาน ๆ ก็จะช่วยลดความอยากอาหารทำให้รู้สึกไม่หิวได้คล้ายๆกับสมุนไพรตัวอื่นเช่น พริกไทยดำ ถั่วขาว กระบองเพชร และเมื่อหยุดรับประทานส้มแขกร่างกายจึงไม่กลับมาอ้วนอีกแน่นอน และที่สำคัญก็คือไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างแน่นอน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประเมินผลและพบว่า ไม่มีการเปลี่ยนหน้าที่ของตับและไต รวมไปถึงระดับน้ำตาลในเลือดและความดันเลือดก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่นกัน

ส้มแขก

การขยายพันธุ์ส้มแขก

การปลูกส้มแขกด้วยเมล็ด โดยเมล็ดใช้ต้องมีลักษณะสมบูรณ์ปราศจากโรค และแมลงทำลายสามารถทำได้ดังนี้
• ทำการเพาะส้มแขก ด้วยเมล็ดส้มแขกในถุงดำก่อน เมื่อต้นกล้าอายุ 3–4 เดือน จึงทำการย้ายปลูก
• เตรียมแปลงปลูกโดยขุดหลุมกว้าง 30 เซนติเมตร x ยาว 30 เซนติเมตร x ลึก 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม
• นำต้นพันธุ์ลงปลูกในหลุมปลูก กลบดินให้แน่นและมีไม้ยึดลำต้นกันโยก ถ้าแดดจัดต้องพรางแสงแดดในระยะแรกปลูกด้วย

           การเก็บเกี่ยวส้มแขก
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 7–8 ปี โดยผลจะออกในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม เก็บผลผลิตโตเต็มที่ ผลผลิตสด 3 ตัน/ไร่

องค์ประกอบทางเคมี

สาระสำคัญ ของสมุนไพรส้มแขกทั้งชนิด G. atroviridis และ G.cambogia, สาระสำคัญเหมือนกัน คือ
?-hydroxycitric acid ที่เรียกสั้นๆ ว่า สาร HCA ซึ่งมีคุณสมบัติในการยังยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างไขมันจากการบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง นอกจากนี้ยังมีกรดอินทรีย์อื่นๆ อีก ได้แก่ กรดซิดริก (citric acid) กรดเพนตาดีคาโนอิค (pentadecanoic acid) กรดออคตาดีคาโนอิค (octadecanoic acid) และกรดโดดีคาโนอิค (dadecanoic acid)

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของส้มแขก

ส้มแขก 

HCA (Hydroxycitric acid)

ส้มแขก
สูตรโครงสร้างของ citric acid monohydrate
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์

ส้มแขก

ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

การศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า สารสกัด หรือ สาระสำคัญของผลส้มแขกมีฤทธิ์ทางยาหลายประการ ดังนี้
           • การศึกษาผลต่อน้ำหนักตัว และไขมันในร่างกาย จากการวิจัยฤทธิ์ของสาร HCA ของต่างประเทศ โดยศึกษาในหนูขาวหรือหนูถีบจักรกินส้มแขก พบว่า HCA ช่วยลดการกินอาหาร ลดน้ำหนักตัว หรือลดการเพิ่มของน้ำหนักตัวได้
           • การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์อนุพันธ์ ของ ?-hydroxycitric acid 2 ชนิด แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา Cladosporium herbarum ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้โดยมีความแรงเทียบเท่า cyclohecimide แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อราอื่นหรือยีสต์
           • การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant)

           สารสกัดด้วยน้ำ และสารสกัดด้วยเอธานอลของลูกส้มแขกไม่แสดงฤทธิ์ antioxidant เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH radical scavengtng assay ที่ระดับความเข้มข้นสูงสุด 2000 ?g/ml. แต่สารสกัดของราก ใบ และเปลือกต้นแสดงฤทธิ์ antioxidant ที่แรงกว่าวิตามินอี ในขณะที่สารสกัดด้วยเมธานอลของผงส้มแขกก็ไม่แสดงฤทธิ์ antioxidant เช่นกัน

การศึกษาทางพิษวิทยาของส้มแขก

ไม่มีงานวิจัยส้มแขก เกี่ยวกับการศึกษาทางพิษวิทยาในสัตว์ทดลอง และผลของส้มแขกสามารถใช้เป็นอาหารด้วยจึงถือว่ามีความปลอดภัย

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ผลข้างเคียง จากผลการศึกษาของ Heymsfield และคณะพบว่า ผลข้างเคียงของกลุ่มที่ได้รับสารสกัดส้มแขกไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยอาการข้างเคียงที่พบ เช่น ปวดศีรษะ ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และผลต่อระบบทางเดินอาหาร 3 อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบผลข้างเคียงดังกล่าวทำในช่วงเวลา 12 สัปดาห์ การใช้สารสกัดส้มแขกในระยะเวลาที่ยาวนานกว่านี้ ยังไม่มีรายงานว่าจะมีผลข้างเคียงหรือไม่

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

เนื่องจากสาร HCA มีผลรบกวนการสร้าง acetyl CoA, fatty acid รวมทั้ง cholesterol จึงอาจมีผลรบกวนการสร้าง steroid hormone ได้ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้ HCA หรือผลิตภัณฑ์ส้มแขกที่มี HCA ในปริมาณสูงในสตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร

สมุนไพรส้มแขก

เอกสารอ้างอิง ส้มแขก

1. ส้มแขก.บทความสุขภาพ.รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.และวิชาการดอทคอม
2. เทิด สุวรรณคีรี และนเรศ ศรีรัตน์.2542. ”ส้มแขก:พืช” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย. ภาคใต้ 16 : 7770
3. สมพร จันทเดช.2537.ส้มแขก.วารสารเกษตรก้าวหน้า.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,วิทยาลัยเขตปัตตานีคณะวิทยาศาสตร์,ภาควิชาวิทยาศาสตร์
4. ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล , สุมาลี ทองแก้ว ไคโตซานและสารสกัดจากส้มแขกช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไร.2542.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 248.คอลัมน์ เรื่องเด่นจากปาก
5. ส้มแขก.ศูนย์วิจัยพืชยืนต้นและไม้ผลเมืองร้อน.กลุ่มงานศูนย์วิจัย.ฝ่ายวิจัยและบริหาร.คณะทรัพยากรธรรมชาติ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.เข้าถึงได้จาก http://natres.psu.ac.th/researchcenter/tropicalfruit/fruit/gamboge.htm
6. ส้มแขก.เอกสารองค์ความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชสมุนไพรเศรษฐกิจ.กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตร.สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ต.หน้า 1-4
7. ส้มแขก.บทความวิชาการ.วิชาการดอทคอม.เข้าถึงได้จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/39550
8. Abtion of raham Z,Malik SK.Rao GE,Narayanan,BiJu S. Collection and characterisa Malaba tamarind [Garcinia cambogia (Gaertn)Desr.].Springer.2006;53:401-6
9. ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์.เข้าถึงได้จาก http://msds.pcd.go.th/SearchName.asp?vID=1508
10. กรดซิตริก.ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร ผศ.ดร.พิมเพ็ญ พรเฉลิมพงค์.ศ.เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์
11. Heymsfield SB,Allison DB,Vasselli JR,Pietrobelli A,Greenfield D,Nunez C.Garcinia cambogia (Hydroxy citric Acid)as Potential Antiobesity Agent.JAMA.1998 Nor11;18(280):1596-600
12. PiHler MH,Enst E,Dietary supplements for body-weight reduction:a systematic revirw.The American Journal of Clinical Nutrition.2004;79: