วิตามินรวม

วิตามินรวม

ชื่อสามัญ Multivitamin (MTV)


ประเภทและข้อแตกต่าง

วิตามินรวม หรือ มัลติวิตามิน (Multivitamin) จัดเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ หรือ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่นำมาใช้เสริมสร้างสุขภาพร่างกาย ประกอบไปด้วย วิตามิน และเกลือแร่ หรือ แร่ธาตุต่างๆ ซึ่งปกติวิตามินรวมจะหมายถึงวิตามินที่มีองค์ประกอบของวิตามิน และเกลือแร่ตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป วิตามินรวมหมายถึงวิตามินเสริมที่ประกอบด้วยวิตามินหลายชนิดที่สามารถพบได้ในอาหารที่รับประทานในแต่ละวันซึ่งนำมารวมกันไว้ใน 1 เม็ด โดยจะนำมาใช้ในกรณีที่อาจได้รับวิตามินจากอาหารไม่เพียงพอ หรือ ใช้รักษาเมื่อร่างกายเกิดภาวะขาดวิตามินเกิดจากอาการป่วยบางชนิด สำหรับประเภทของวิตามินรวม นั้นสามารถจำแนกได้หลายประเภท เช่น แบบเม็ด แบบแคปซูล ซอฟเจล เม็ดฟู่ แบบน้ำ หรือ แบบเยลลี่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหลายสูตรตามสูตรแต่ละบริษัท ซึ่งจะมีชนิดวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ แตกต่างกันไป แต่ทั้งนี้ส่วนใหญ่มักจะมีองค์ประกอบของวิตามิน และเกลือแร่ดังต่อไปนี้ วิตามินที่ละลายในน้ำได้เช่น วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี7 วิตามินบี9 วิตามินบี12  วิตามินที่ละลายในไขมันเช่น วิตามินA, D, E, K และในกลุ่มแร่ธาตุเช่น แคลเซียม สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส เบต้าแคโรทีน โครเมียม โบลิบดีนับ


แหล่งที่พบและแหล่งที่มา

วิตามินรวม (Multivitamin) จัดเป็นวิตามินที่รวมเอาวิตามิน และเกลือแร่รวมถึงแร่ธาตุหลายชนิดมารวมกันไว้ในที่เดียวดังนั้นแหล่งที่มาของวิตามินรวม จึงมีที่มาหลากหลายตามวิตามินที่นำมาใช้เป็นสูตร เช่น วิตามินA พบมากใน น้ำตับมันปลา ไข่อละผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำนม และพืชที่มีแคโรทีนมากเช่น พืชใบเขียว หัวแครอท หัวมันเทศ เมล็ดข้าวโพด เป็นต้น วิตามินซีพบมากในผัก และผลไม้หลายชนิดเช่น ฝรั่ง มะขามป้อม ส้ม เชอร์รี่ บล็อคเคอรี่ พริกหวาน และปวยเล้ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการสังเคราะห์ทางเคมีเพื่อให้ได้วิตามินอีกหลายชนิดแทนการสกัดจากธรรมชาติ ดังนั้นในวิตารวมบางบริษัท หรือ บางยี่ห้ออาจมีการนำวิตามินบางชนิดมาเป็นส่วนประกอบ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าวิตามินแบบสังเคราะห์ไม่ดีเพียงแต่ว่าวิตามินจากธรรมชาติมีข้อดีเกี่ยวกับการดูดซึม และมีสารอาหารชนิดอื่นเพิ่มเติมมากกว่า

วิตามินรวม

ปริมาณที่ควรได้รับ

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าวิตามินรวม (Multivitamin) มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบเม็ด แบบน้ำ แคปซูล ซอฟเจล เม็ดอม เม็ดฟู่ เจลลี่ รวมถึงแบบฉีด ดังนั้นปริมาณการใช้จึงแตกต่างกันไปตามรูปแบบของวิตามินรวม อีกทั้งสูตรของวิตามินรวม ในแต่ละสูตรยังมีความแตกต่างบางชนิด และสัดส่วนวิตามินที่นำมาเป็นส่วนผสมจึงทำให้ปริมาณการใช้ก็มีความแตกต่างเช่นเดียวกัน ในที่นี่จะยกตัวอย่างวิตามินรวมที่ใช้ในโรงพยาบาลโดยมีข้อบังคับใช้ คือ เป็นยาที่ใช้หลังได้รับวิตามิน หรือ แร่ธาตุที่ไม่มีความเพียงพอ จากการรับประทานอาหาร โดย multivitamin ใช้ในการรักษาภาวะการขาดเนื่องจากการป่วย ตั้งครรภ์ โภชนาการไม่ดี รวมถึงปัญหาทางระบบการย่อยด้วย และอีกทั้งยังมีการใช้ด้วยเหตุผลอื่น โดยในแต่ละเม็ดประกอบด้วย Vitimin A 2,500 ยูนิตสากล Thaimin HCL B1 1 มิลลิกรัม Riboflavin B2 0.5 มิลลิกรัม Nicotinamide B3 7.5 มิลลิกรัม วิตามินD 300 ยูนิตสากล วิตามินซี 15 ยูนิตสากล ส่วนขนาด และวิธีการใช้ให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้งเป็นต้น


ประโยชน์และโทษ

สำหรับประโยชน์ของวิตามินรวม (Multivitamin) นั้น วิตามินรวมมีข้อบ่งใช้เพื่อรักษา หรือ ป้องกันการขาดวิตามิน และแร่ธาตุ หรือ เพื่อรักษาภาวะขาดวิตามินที่เกิดจากอาการป่วยบางชนิด หรือ ผู้ที่อยู่ในระหว่างพักฟื้น หรือ หลังผ่าตัดรวมถึงผู้สูงอายุมีแนวโน้มขาดวิตามิน และแร่ธาตุบางชนิด อีกทั้งยังใช้เป็นยาร่วมรักษาโรคเรื้อรังต่างๆ ชะลอความเสื่อมตามอวัยวะร่างกายเช่น ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารเสริมที่ใช้รับประทานเพื่อลดน้ำหนัก เสริมสร้างสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย และสมอง นอกจากนี้หากจะกล่าวถึงประโยชน์หลักอย่างแท้จริงในเชิงลึกของวิตามินรวมนั้นก็จะขึ้นอยู่กับชนิด และสัดส่วนของวิตามินเกลือแร่ และแร่ธาตุที่ใช้เป็นส่วนประกอบภายในสูตร ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ วิตามินเอ มีบทบาทสำคัญต่อการมองเห็น และสามารถช่วยป้องกันโรคตาบอดกลางคืน (Nightblindness) และโรคตาบวมอักเสบ ช่วยรักษาเยื่อบุในระบบการหายใจ ทางเดินอาหาร นัยน์ตา และเยื่อบุอื่นๆ ให้แข็งแรง มีความต้านทานต่อโรค ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์เอพิทีเลียม และคงสภาพของเซลล์นั้น วิตามินบี1 เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์ carboxylase ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสาร pyruvate ให้เป็น acetate ดังนั้น วิตามินบี 1 จึงจำเป็นจึงจำเป็นต่อการใช้ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรตเพื่อเป็นการป้องกันโรคเหน็บชา และป้องกันโรคสันนิบาต วิตามินบี2 เป็นวิตามินที่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำย่อยหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการย่อยคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน โดยจะเป็นส่วนประกอบของ coenzyme สองชนิด คือ Flavine mononucleotide และ flavin ademine dinucleotide วิตามินบี2 จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต วิตามินบี3 หรือ ไนอะซินมีความสำคัญในการสร้างเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการเผาผลาญอาหาร ช่วยบำรุงรักษาระบบการย่อยอาหาร การสังเคราะห์กรดไขมัน และคอเรสเตอรอล ช่วยทำให้ผิวหนังสามารถเจริญตามปกติอีกทั้งยังช่วยสร้างเส้นปรสาทที่สมบูรณ์ วิตามินซี เป็นวิตามินช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน สร้าง คอลลาเจน ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลัง เต่งตึง และยังจำเป็นต่อการ natabolism ของ tyrosine และจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง folic acid ให้เป็น folinic acid วิตามินอี ช่วยป้องกันการอักเสบ ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการแตก และอุกตันของเม็ดล์อด เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ วิตามินดี ช่วยเสริมการสร้างกระดูก และฟัน ดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

วิตามินรวม

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องของวิตามินรวม

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวิตามินรวม (Multivitamin) นั้น จากการศึกษาค้นคว้าส่วนใหญ่จะไม่พบการศึกษาวิจัยในรูปแบบวิตามินรวมแต่จะพบเพียวรายงานการวิจัยในรูปแบบวิตามินเดี่ยวๆ เช่น วิตามิน A,B,C,D เป็นต้น สำหรับวิตามินรวมนั้นจะพบพเพียงข้อควรระวังการรับประทานวิตามินเกินขนาด โดยมีการระบุไว้ดังนี้

 

โครงสร้างวิตามินรวม

           นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยผลของการดื่มกาแฟต่อระดับวิตามินบีในกระแสเลือด ระบุว่ามีการศึกษาแบบ cohort study ในผู้ที่มีสุขภาพดีทั้งเพศชาย และหญิง จำนวน 10,555 คน อายุระหว่าง 50-64 ปี เป็นเวลา 2 ปี จากการสัมภาษณ์ พบว่า 9,140 คน (86.6%) ดื่มกาแฟ 1 ถ้วย หรือ มากกว่า 1 ถ้วย/วัน และในจำนวนผู้ที่ดื่มกาแฟพบว่า 8,726 คน (94.4%) ดื่มกาแฟที่เป็นแบบ filtered coffee และ 798 คน (8.6%) ดื่มกาแฟต้ม ซึ่งผู้ชายจะดื่มกาแฟมากกว่าผู้หญิง หลังสิ้นสุดการศึกษาพบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้ว/วัน ระดับความเข้มข้นของโฟเลต (folate), riboflavin (Vitamin B2) และ pyridoxal phosphate (PLP หรือ vitamin B6) ในกระแสเลือดมีค่าลดลง 11.7%, 5.5% และ 14.1% ตามลำดับ ยกเว้น cobalamin (Vitamin B12) ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่การดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้ว/วัน จะมีผลทำให้ระดับความเข้มข้นของ homocysteine ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น 6.8% ซึ่งสาร homosysteine เป็นกรดอะมิโน ซึ่งหากร่างกายมีปริมาณสูงขึ้นมากผิดปกติ จะทำให้เกิดภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจเพราะ homocysteine จะทำให้หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เลือดแข็งตัวง่าย ดังนั้นจากการศึกษาสรุปได้ว่าการดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้ว/วัน มีผลทำให้ระดับของวิตามิน B2, B12 และโฟเลตในเลือดลดลง ทำให้ homocysteine สูงขึ้น จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ซึ่งปริมาณของวิตามิน B ที่ลดลง อาจเนื่องมาจากการขับถ่ายออกทางปัสสาวะ

วิตามินรวม

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ถึงแม้วิตามินเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย และควรได้รับอย่างเพียงพอ แต่บางครั้งก็อาจบริโภคมากเกินจนเป็นอันตรายดังนั้น จึงมีข้อแนะนำในการบริโภควิตามินรวม ดังนี้

  1. ควรรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ และในปริมาณที่เพียงพอเพื่อลดการบริโภควิตามินเสริมที่อาจจะก่อให้เกิดการบริโภควิตามินเกินขนาด
  2. ก่อนรับประทานวิตามินรวมควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ถึงความจำเป็นในการใช้ หรือ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่รวมถึงการแพ้ยา และแพ้อาหาร
  3. ในการรับประทานวิตามินรวมควรรับประทานวิตามินรวมตามขนาด และปริมาณ ระยะเวลาที่แพทย์กำหนด และปฏิบัติตามฉลากกำกับการใช้อย่างเคร่งครัด
  4. สำหรับการรับประทานวิตามินควรรับประทานกับนำเปล่า ไม่ควรรับประทานร่วมกับนม หรือ ผลิตภัณฑ์จากนม อาหารเสริมแคลเซียม หรือ ยาที่มีส่วนผสมของแคลเซียม เพราะอาจส่งผลต่อการดูดซึงของวิตามินบางชนิดได้
  5. ห้ามรับประทานวิตามินรวมมากกว่า 1 ชนิด ในคราวเดียวกัน เนื่องจากอาจทำให้ได้รับวิตามินในปริมาณมากเกินขนาดจนเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงตามมาได้
  6. ผู้ที่เป็นโรคตับ ผู้ที่ดื่มสุรา ตลอดจนผู้ที่ใช้ยาที่อาจเป็นพิษต่อตับ ควรระมัดระวังในการบริโภควิตามินเสริม เนื่องจากวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน และวิตามินบี 12 จะไปสะสมที่ตับ จึงอาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อตับได้มากกว่าคนทั่วไป
  7. อาการที่เกิดจากบริโภควิตามินมากเกินแสดงออกได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับชนิดของวิตามิน หากพบว่าร่างกายอ่อนแอลง อ่อนล้า เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกระดูก ปลายประสาทอักเสบ (จะรู้สึกเสียบแปล๊บ แสบร้อน หรือ มีอาการชา บริเวณมือและเท้า) มีอาการเดินเซ ทรงตัวไม่อยู่ควรปรึกษาแพทย์

เอกสารอ้างอิง วิตามินรวม
  1. รศ.ดร.ภญ. นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. อันตรายจากการบริโภควิตามินมากเกินไป. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  2. คณะกรรมการ และคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ.2563
  3. ความเป็นพิษของวิตามินเกินขนาด. คอลัมน์เรื่องน่ารู้. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 195. กรกฎาคม 2538.
  4. ผลของการดื่มกาแฟต่อระดับวิตามินบีในกระแสเลือดในผู้ที่มีสุขภาพดีวัยกลางคน. ข่าวความไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  5. วิตามินรวม (Multivitamin). พบแพทย์ดอทคอม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.pobpad.com
  6. Mudryj A, De Groh M, Aukema H, Yu N. Folate intakes from diet and supplements may place certain Canadians at risk for folic acid toxicity. Br J Nutr 2016: 116:1236-45.
  7. Saljoughian M. Hypervitaminosis: a global concern. US Pharm 2021; 46(10):47-50.
  8. Hadtstein F, Vrolijk M. Vitamin B-6-induced neuropathy: exploring the mechanisms of pyridoxine toxicity. Adv Nutr 2021; 12:1911-29.
  9. Batman A, Altuntas Y. Risk of hypercalcemia in elderly patients with hypervitaminosis D and intoxication. Acta Endocrinol 2021; 17:200-6.
  10. A?kÏn Ö, Uzunçakmak TKÜ, Altunkalem N, Tüzün Y. Vitamin deficiencies/hypervitaminosis and the skin. Clin Dermatol 2021; 39:847-57.