หญ้าหนวดแมว ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

หญ้าหนวดแมว งานวิจัยและสรรพคุณ 16 ข้อ

ชื่อสมุนไพร หญ้าหนวดแมว
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น พยับเมฆ (กรุงเทพฯ), บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์), อีตู่ดง (เพชรบุรี), หญ้าหนวดเสือ
ชื่อสามัญ Kidney tea plant, Cat’s whiskers, Java tea, Hoorah grass
ชื่อวิทยาศาสตร์ Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Orthosiphon grandiflorus Bold., Orthosiphon stamineus Benth
วงศ์ Lamiaceae หรือ Lamiaceae


ถิ่นกำเนิดบัวบก

หญ้าหนวดแมว จัดเป็นพืชป่าในเขตร้อนชื้นมีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียใต้แถบประเทศอินเดีย, บังคลาเทศ, ศรีลังกา และทางตอนใต้ของจีนแล้วมีการกระจายพันธุ์ไปสู่ในประเทศเขตร้อนที่ใกล้เคียง (ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย ฯลฯ ในประเทศไทย มีการนำหญ้าหนวดแมว มาเป็นสมุนไพรรักษาโรคนิ่ว และขับปัสสาวะมานานแล้ว จนกระทั่งในปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหญ้าหนวดแมว ว่าสามารถบำบัดรักษาโรค และภาวะต่างๆ ได้มากมายหลายโรคจึงทำให้ความนิยมในการใช้หญ้าหนวดแมวเพิ่มมากขึ้น
 

ประโยชน์และสรรพคุณหญ้าหนวดแมว 

  1. กินขับปัสสาวะ
  2. ช่วยขับนิ่ว
  3. แก้โรคไต
  4. แก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  5. แก้ปวดเมื่อย และไขข้ออักเสบ
  6. แก้คลื่นเหียน อาเจียน
  7. แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
  8. บรรเทาอาการไอ
  9. แก้หนองใน
  10. แก้โรคไต
  11. รักษาโรคกระษัย
  12. รักษาโรคปวดตามสันหลัง และบั้นเอว
  13. รักษาโรคนิ่ว
  14. แก้หนองใน
  15. รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ ล้างสารพิษในไต
  16. ช่วยแก้หนองใน


รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ตามตำรายาไทยระบุได้ว่า

  • ใช้ขับปัสสาวะ
    1. ใช้กิ่งกับใบหญ้าหนวดแมว ขนาดกลาง ไม่แก่ หรือ อ่อนจนเกินไป ล้างสะอาด นำมาผึ่งในที่ร่มให้แห้ง นำมา 4 กรัม หรือ 4 หยิบมือ ชงกับน้ำเดือด 1 ขวดน้ำปลา (750 ซีซี.) เหมือนกันชงชา ดื่มต่างน้ำตลอดวัน รับประทานนาน 1-6 เดือน
    2. ใช้ต้นกับใบวันละ 1 กอบมือ (สด 90- 120 กรัม แห้ง 40- 50 กรัม ) ต้มกับน้ำรับประทาน ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 ซีซี.) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
  • ใช้แก้นิ่ว/ขับนิ่ว ให้นำใบอ่อน (ไม่ใช่ดอก) ขอบหญ้าหนวดแมว ประมาณ 2-3 ใบ (ควรเก็บช่วงที่หญ้าหนวดแมวกำลังออกดอก) มาหั่นเป็นท่อนประมาณ 2-3 เซนติเมตร ตากแดดให้แห้งแล้วนำมาชงกับน้ำร้อน (ประมาณ 2 กรัมต่อน้ำร้อน 1 แก้ว) ปิดฝาทิ้งไว้ 5-10 นาที ใช้ดื่ม วันละ 3-4 ครั้ง
  • แก้อาการคลื่นเหียน อาเจียน ตำรายาให้ใช้ใช้ทั้งใบ และกิ่งต้มน้ำรวมกับสารส้ม ดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารแล้วอาการนั้นจะลดลง


ลักษณะทั่วไปของหญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว มีลักษณะ ต้น เป็นไม้พุ่มล้มลุกคล้ายต้นกะเพรา ขนาดเล็ก เนื้ออ่อน สูง 30-60 ซม. มีอายุหลายปี ลำต้น และกิ่งก้านค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมเห็นได้ชัดเจน มีสีม่วงแดง และมีขนเล็กน้อย แตกกิ่งก้านสาขามาก โคนต้นอ่อนโค้ง ปลายตั้งตรง ตามยอดอ่อนมีขนกระจาย

           ใบเป็นเดี่ยว ออกตรงข้าม สีเขียวเข้ม รูปไข่ หรือ รูปสี่เหลี่ยมข้ามหลามตัด ตามเส้นใบมักมีขน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ยกเว้นขอบที่โคนใบจะเรียบ มีขนตามเส้นใบทั้งด้านบน และด้านล่าง เนื้อใบบาง ก้านใบยาว 2-4.5 ซม. มีขน

           ดอก มีสีขาว หรือ ขาวอมม่วงอ่อน ออกเป็นช่อกระจะตั้งขึ้น ที่ปลายยอด เป็นรูปฉัตร ยาว 7-29 ซม. มีดอกย่อยประมาณ 6 ดอก ขนาดดอก 1.5 เซนติเมตร ดอกจะบานจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน ริ้วประดับรูปไข่ ยาว 1-2 มม. ไม่มีก้าน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง งอเล็กน้อย ยาว 2.5-4.5 มม. เมื่อเป็นผลยาว 6.5-10 มม. ด้านนอกมีต่อมน้ำมัน หรือ เป็นปุ่มๆ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดตรงเล็ก ยาว 10-20 มม. ปลายแยกเป็นปากสองปาก ปากบนใหญ่กว่า ปากบนมีหยักตื้นๆ 4 หยัก โค้งไปทางด้านหลัง ปากล่างตรง โค้งเป็นรูปช้อน เกสรเพศผู้มี 4 อัน เรียงเป็น 2 คู่ คู่ล่างยาวกว่าคู่บนเล็กน้อย ก้านเกสรยาว เกลี้ยง ไม่ติดกัน ยื่นยาวออกมานอกกลีบดอกเห็นได้ชัดเหมือนหนวดแมว อับเรณูเป็น 2 พู ด้านบนบรรจบกัน ก้านเกสรเพศเมียเรียวเล็ก ยาว 5-6 ซม. ปลายก้านเป็นรูปกระบอง ปลายสุดมี 2 พู ผลเป็นผลแห้งไม่แตก รูปขอบขนานกว้าง แบน แข็ง สีน้ำตาลเข้ม ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1-2 มม.

           ผลจะเจริญเป็น 4 ผล ย่อยจากดอกหนึ่งดอก ตามผิวมีรอยย่น ออกดอก และติดผลราว เดือนกันยายนถึงตุลาคม ชอบขึ้นที่ชื้น มีแดดรำไรในป่าริมลำธาร หรือ น้ำตก

หญ้าหนวด

หญ้าหวดแมว

การขยายพันธุ์หญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว เป็นไม้ล้มลุกที่เติบโตได้ดีในดินชื้น คล้ายกับกระเพรา และโหระพา จึงทนต่อสภาพแห้งได้น้อย ดังนั้น การปลูกหญ้านวดแมวจึงควรเลือกสถานที่ปลูกที่ค่อนข้างชื้นเสมอ หรือ มีระบบให้น้ำอย่างทั่วถึง แต่ในช่วงฤดูฝนสามารถเติบโตได้ทุกพื้นที่ อีกทั้งหญ้าหนวดแมว เป็นพืชชอบดินร่วน และมีอินทรียวัตถุสูง ดังนั้น ดิน หรือ แปลงปลูกควรเติมอินทรียวัตถุ อาทิ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ก่อนพรวนผสมให้เข้ากันและกำจัดวัชพืชออกให้หมด

           ส่วนการปลูกหญ้าหนวดแมว ปลูกได้ด้วย 2 วิธี คือ

  1. การปักชำกิ่ง ตัดกิ่งที่ยังไม่ออกดอก ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร จากนั้น เด็ดกิ่งแขนง และใบออกด้านโคนกิ่งออก ในความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร พร้อมกับเด็ดยอดทิ้ง ก่อนนำมาปักชำ ซึ่งอาจปักชำในกระถาง หรือ ปักชำลงแปลงปลูก
  2. การหว่านเมล็ดนำเมล็ดหว่านลงแปลงที่เตรียมไว้ โดยหว่านให้เมล็ดมีระยะห่างกันประมาณ 3-5 เซนติเมตร ก่อนให้น้ำ ใส่ปุ๋ย และดูแลจนต้นกล้าอายุประมาณ 20-30 วัน หรือ สูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร ก่อนแยกปลูกลงแปลงต่อไป

           หญ้านวดแมว เป็นพืชที่ต้องการความชุ่มชื้นสูง หากขาดน้ำนาน ลำต้นจะเหี่ยว และตายได้รวดเร็ว ดังนั้น กล้าหญ้าหนวดแมวหรือต้นที่ปลูกในแปลงแล้ว ควรมีการให้น้ำอย่างน้อย 2 วัน/ครั้ง การเก็บเกี่ยวหญ้าหนวดแมว มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120-140 วัน หลังปลูก อาจเก็บเกี่ยวด้วยการถอนทั้งต้น หรือ ทยอยเด็ดเก็บกิ่งมาใช้ประโยชน์ก็ได้


องค์ประกอบทางเคมี

หญ้าหนวดแมว มีองค์ประกอบทางด้านพฤกษเคมีที่โดดเด่น คือ สารกลุ่ม phenolic compounds ได้แก่ rosmarinic acid, 3’-hydroxy-5, 6, 7, 4’-tetramethoxyflavone, sinensetin และ eupatorin รวมทั้ง pentacyclic triterpenoid ที่สำคัญ คือ betulinic acid2 นอกจากนี้ยังพบ glucoside orthosiphonin, myoinositol, essential oil, saponin, alkaloid, phytosterol, tannin พบสารกลุ่มฟลาโวน เช่น sinensetin, 3’-hydroxy-5,6,7,4’-tetramethoxy flavonesPotassium Salf ในใบ และ Hederagenin, Beta-Sitosterol, Ursolic acid ในต้นอีกด้วย

           ซึ่งสารในหญ้าหนวดแมว เหล่านี้มีรายงานฤทธิ์ทางสรีรวิทยา และเภสัชวิทยามากมาย เช่น การขับปัสสาวะ ลดระดับกรดยูริค (hypouricemic activity) ปกป้อง ตับ ไต และกระเพาะอาหาร ลดความดันโลหิต ต้านสารอนุมูลอิสระ หรือ ปฏิกิริยาออกซิเดชัน ต้านการอักเสบ เบาหวาน และจุลชีพ ลดไขมัน (antihyper-lipidemic activity) ลดความอยากรับประทานอาหาร (anorexic activity) และปรับสมดุลภูมิคุ้มกันของร่างกาย (immunomodulation)

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของหญ้าหนวดแมว 

หญ้าหนวดแมว

            โครงสร้างทางเคมีของสารพฤกษเคมีในหญ้าหนวดแมว (a) rosmarinic acid, (b) 3’-hydroxy-5,6,7,4’ -tetramethoxyflavone, (c) eupatorin, (d) sinensetin, (e) betulinic acid

โครงสร้างหญ้าหนวดแมว

ที่มา: Wikipedia                                                Myo-inositol   ที่มา: Google

การศึกษาทางพิษวิทยาของหญ้าหนวดแมว

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของหญ้าหนวดแมวส่วนมากจะมีด้านฤทธิ์การขับปัสสาวะและฤทธิ์ในการรักษานิ่ว เช่น

  • มีสารฤทธิ์ขับปัสสาวะ ทดลองป้อนทิงเจอร์ของสารสกัดจากใบด้วยเอทานอลร้อยละ 50 และร้อยละ 70 ให้หนูแรทพบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 50 มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และขับโซเดียม ได้ดีกว่าสารสกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 70 แต่ขับโพแทสเซียมออกได้น้อยกว่า นอกจากนี้สารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 50 ยังมีฤทธิ์ขับกรดยูริคได้ดีมาก และพบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 50 มีปริมาณสารสำคัญ ได้แก่ sinesetine, eupatorine, caffeic acid และ cichoric acid สูงกว่าสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 70 แต่มีสาร rosemarinic acid น้อยกว่า
  • ฤทธิ์ในการรักษานิ่ว มีการศึกษาฤทธิ์ในการรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะส่วนบนของหญ้าหนวดแมวเปรียบเทียบกับการรักษามาตรฐานด้วยไฮโดรคลอไรไธอาไซด์ และโซเดียมไบคาร์บอเนต พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับหญ้าหนวดแมวมีการเคลื่อนตัวของนิ่วบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บมากกว่า และช่วยลดการใช้ยารับประทานแก้ปวดได้มากกว่ากลุ่มที่ใช้ยามาตรฐาน แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยที่ได้รับหญ้าหนวดแมวจะมีความดันโลหิตลดลงเล็กน้อย ในขณะที่กลุ่มที่ได้ยามาตรฐานจะมีความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยที่ได้รับหญ้าหนวดแมว จะมีชีพจรในระยะแรก (วันที่ 3 ของการทดลอง) เร็วขึ้น แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับโพแทสเซียม ในเลือด กลุ่มที่ได้ยามาตรฐานจะมีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะในวันที่ 30 ของการทดลองลดลง การเปลี่ยนแปลงของความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่พบผลข้างเคียงในกลุ่มที่ใช้หญ้าหนวดแมวน้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ยามาตรฐาน แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ มีรายงานผลการรักษานิ่วในไตในผู้ป่วยที่ให้กินยาต้มที่เตรียมจากใบหญ้าหนวดแมวแห้ง ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 ขนาด 300 มิลลิลิตร ครั้งเดียว ติดต่อกันนาน 1-10 เดือน พบว่า 9 ราย มีการตอบสนองทางคลินิกที่ดี พบว่าปัสสาวะของผู้ป่วยมีแนวโน้มเป็นด่างเพิ่มขึ้น ซึ่งชี้แนะว่าน่าจะช่วยลดการเกิดนิ่วจากกรดยูริคได้

           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยในต่างประเทศของฤทธิ์ในการบำบัดและรักษาอาการของโรคต่างๆ ดังนี้

  • การขับปัสสาวะ (diuresis) ปัจจุบันพบว่าเนื้อเยื่อบุผิวของกระเพาะปัสสาวะ (uroepithelial tissue) ที่มีตัวรับขอบ ที่มีตัวรับของ adenosinereceptor ทั้ง A1  A2A A2B และ A3 สาระสำคัญในหญ้าหนวดแมวมีกลไกการทำงานที่สำคัญ คือ กระตุ้น adenosine receptor ชนิด A1 receptor แต่ก็ให้ฤทธิ์ที่ครอบคลุมถึง adenosine receptor อีก 3 ชนิดด้วย ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะหดตัวแต่กล้ามเนื้อเรียบของท่อปัสสาวะ (urethra) คลายตัวซึ่งเอื้อต่อการขับปัสสาวะ จึงน่าจะเป็นกลไกที่นำมาใช้อธิบายการขับปัสสาวะได้
  • นิ่วในไต (urolithiasis) เป็นโรคที่ยังนับว่าเป็นปัญหาอยู่มาก และยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัด ยาแผนโบราณใช้หญ้าหนวดแมวในการรักษานิ่ว Gao และคณะแสดงให้เห็นศักยภาพของหญ้าหนวดแมวในการแก้ไขนิ่วที่เกิดจากผลึกของ calcium oxalate ในเนื้อเยื่อไตของหนูทดลอง โดยทำให้สาร biomarker กว่า 20 ชนิด ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อไตบาดเจ็บจากผลึกของ calcium oxalate สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้การทำงานของสารในหญ้าหนวดแมวคาดว่าน่าจะผ่านหลายกลไกในลักษณะ multiple metabolicpathways โดยเฉพาะเมแทบอลิซึมของพลังงานต่างๆ กรดอะมิโน taurine hypotaurine purine รวมทั้ง citrate cycle นอกจากนี้ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่าการขับปัสสาวะอาจเป็นการช่วยละลายนิ่ว และขับออกมากับปัสสาวะง่ายขึ้น อีกทั้งช่วยขับกรดยูริคและป้องกัน uric acid stone formation
  • การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection, UTI) เมื่อนำหญ้าหนวดแมวมาใช้ในระบบทางเดินปัสสาวะ ผลพลอยได้ที่น่าสนใจ คือ นอกจากจะขับปัสสาวะที่ช่วยให้อาการของการติดเชื้อดีขึ้นแล้ว ยังสามารถลดการเกาะติดของเชื้อประเภท uropathognicEscherichia coli กับเซลล์กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เชื้อถูกขับออกไปจากระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่าย และเร็วขึ้น นอกจากนี้คุณสมบัติในการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน ที่จะลดความเครียดจากภาวะออกซิเดชัน (oxidative stress) จึงลดการบาดเจ็บที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันสำคัญ คือ lipid peroxidation ทำให้ลดการเกิดแผลเป็น (scar formation) ได้
  • การต้านอักเสบ (anti-inflammation) สารสกัดจากใบหญ้าหนวดแมว (chloroform extract) มีคุณสมบัติตามอักเสบได้ดี จึงมีการนำมาใช้ใน rheumatoid arthritis gout และโรคอันเกิดจากการอักเสบต่างๆ กลไกหนึ่งของสารสกัดหญ้าหนวดแมวที่ลดการอักเสบ คือ ยับยั้ง cytosolic phospholipaseA2a (cPLA2a) ทำให้การสลาย phospholipid ลดลงสาร eupatorin และ sinensetin ยับยั้งการแสดงออกของยีน iNOS และ COX-2 ทำให้การสังเคราะห์ nitric oxide และ PGE2 ลดลงตามลำดับ นอกจากสารกลุ่ม phenolic compounds คือ eupatorin และ sinensetin แล้วสารกลุ่ม diterpines ในหญ้าหนวดแมวก็สามารถยับยั้งการสังเคราะห์ nitric oxide ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังลดการสังเคราะห์ tumornecrosis factor a อีกด้วย สันนิษฐานว่ากลไกการต้านอักเสบผ่าน transcription factor ที่ชื่อ STAT1a
  • การลดไข้ (antipyretic activity) สารสกัดจากหญ้าหนวดแมวมีคุณสมบัติลดการเกิดไข้ได้โดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ rosmarinic acid, sinensetin, eupatorin และ tetramethoxy-flavone ข้อดีที่นอกเหนือจากการต้านอักเสบ และลดไข้แล้วยังช่วยลดอาหารปวดได้อีกด้วย 31 ซึ่งอาการอักเสบ ไข้ และปวดจะพบได้บ่อยในการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycaemia) การใช้หญ้าหนวดแมวในผู้ป่วยเบาหวานน่าจะมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากสารสกัดหญ้าหนวดแมว สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองที่เป็นเบาหวานได้ โดยยับยั้งเอนไซม์ a-glucosidase เพิ่มการแสดงออกของยีนอินซูลิน และป้องกันความเป็นพิษที่เกิดจากการรับกลูโคสขนาดสูงๆ (high glucosetoxicity) โดยผ่านการเติมหมู่ฟอสเฟตให้กับ phosphatidylino-sitol 3-kinase (PI3K)

           เมื่อทำการสกัดแยกสาร sinensetin ออกมาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ a-glucosidase และ a-amylase ก็พบว่าประสิทธิภาพของสารบริสุทธิ์ sinensetin ในการยับยั้งเอนไซม์ a-glucosidase สูงกว่าสารสกัดหญ้าหนวดแมว (ethanolic extract) ถึง 7 เท่า ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 0.66 และ 4.63 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ขณะที่ประสิทธิภาพของ sinensetin ในการยับยั้งเอนไซม์ a-amylase สูงกว่าสารสกัดหญ้าหนวดแมวถึง 32.5 เท่า ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 1.13 และ 36.7 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ จึงสันนิษฐานว่าสาร sinensetin อาจเป็นสารสำคัญชนิดหนึ่งในการออกฤทธิ์ของหญ้าหนวดแมวในการต้านเบาหวานชนิดที่ไม่ขึ้นกับอินซูลิน (non-insulin-dependent diabetes) ได้

  • ความดันโลหิตสูง (Hypertension) สารสกัดหญ้าหนวดแมว สามารถลดภาวะหลอดเลือดหดรัด (vasoconstriction) ด้วยการยับยั้งตัวรับalpha 1 adrenergic และ angiotensin 1 จึงน่าจะปลอดภัยในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง นอกจากจะปลอดภัยในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแล้วยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาความดันโลหิตสูงได้ด้วยคาดว่าสารสำคัญที่ออกฤทธิ์มาจากกลุ่ม diterpenes และ methylripario-chromene A
  • พิษต่อเซลล์มะเร็ง (cytotoxicity)หญ้าหนวดแมว ที่สกัดด้วยวิธี supercritical carbon-dioxide ให้ผลที่น่าสนใจ ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากด้วยความเข้มข้นที่ยับยั้งการเจริญของเซลล์ (inhibitory concemtration) ได้ 50 % คือค่า IC50 ต่ำเพียง 28 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อศึกษาลงไปในระดับเซลล์ก็พบว่าทำให้เซลล์ตายในลักษณะ apoptosis ที่สามารถเห็น nuclearcondensation และความผิดปกติของเยื่อไมโตคอนเดรียได้อย่างชัดเจนเมื่อทำการสกัดสาร eupatorin มาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งหลายๆ ชนิดก็ให้ค่า    IC50 ในระดับตำเป็นไมโครโมล่าร์ ด้วยการยับยั้งวงจรการแบ่งเซลล์ ระยะ G2/M phase ข้อดีที่เหนือยาเคมีบำบัดในปัจจุบัน คือ eupatorin ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ปกติ
  • การต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (anti-oxidation) สารสกัดหญ้าหนวดแมวสามารถลดสารอนุมูลอิสระ เช่น การลดปฏิกิริยา lipid peroxidation ทำให้เยื่อเซลล์คงทนและแข็งแรง จึงลดการเกิดแผลเป็นของระบบทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากลดการเกิดปฏิกิริยา lipid peroxidation แล้วยังสามารถลดการเกิด hydrogen peroxide ได้อีกด้วย ทำให้เซลล์รอดพ้นจากการตายแบบ apoptosis ด้วยการเพิ่มการแสดงออกของยีน Bcl-2 พร้อมกับลดการแสดงออกของยีน Bax42 Ho และคณะทดลองใช้เทคนิค ultrasound-assisted extraction (UAE) มาช่วยในการสกัดสารจากหญ้าหนวดแมวทำได้สารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันดีขึ้น โดยพบสารrosmarinic acid, kaempferol-rutinoside และsinesetine อยู่ในสารสกัดดังกล่าว


การศึกษาทางพิษวิทยาของหญ้าหนวดแมว

เมื่อฉีดสารสกัดด้วยน้ำร้อนจากใบ และลำต้นเข้าช่องท้องหนูแรทเพศผู้ และเพศเมีย หนูเม้าส์เพศผู้ และเพศเมีย พบความเป็นพิษปานกลาง เมื่อป้อนสารสกัดเดียวดันนี้ให้กับหนูแรททั้งสองเพศทุกวันติดต่อกัน 30 วัน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว ค่าการตรวจทางชีวเคมีในเลือด และพยาธิสภาพของอวัยวะสำคัญเมื่อดูด้วยตาเปล่า และเมื่อศึกษาความเป็นพิษในระยะยาวนาน 6 เดือน โดยการป้อนหนูแรทด้วยยาชงด้วยน้ำร้อน ซึ่งมีความแรงเทียบเท่ากับ 11.25, 112.5 และ 225 เท่าของขนาดที่ใช้ในผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไต ไม่พบความแตกต่างของการเจริญเติบโต การกินอาหาร ลักษณะภายนอก หรือ พฤติกรรมที่ผิดปกติ และค่าการตรวจทางชีวเคมีในเลือดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ยกเว้นจำนวนเกร็ดเลือดจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อใช้ยาในขนาด 18 กรัม/กิโลกรัม/วัน พบว่าระดับโซเดียมในเลือดในกลุ่มทดลองทุกกลุ่ม โพแทสเซียมในหนูเพศเมีย และคอเลสเตอรอลในหนูเพศผู้ จะมีระดับต่ำกว่ากลุ่มควบคุม นอกจากนี้ เมื่อป้อนหนูแรทด้วยสารสกัดจากหญ้าหนวดแมว ติดต่อกันนาน 6 เดือน เปรียบเทียบกลุ่มควบคุม พบว่า หนูทุกกลุ่มมีการเจริญเติบโต และกินอาหารได้ใกล้เคียงกัน ไม่พบความผิดปกติในระบบโลหิตวิทยา และความผิดปกติของอวัยวะภายใน ส่วนการตรวจผลทางชีวเคมีพบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดทุกขนาดมีระดับโซเดียมต่ำกว่ากลุ่มควบคุม แต่ระดับโพแทสเซียมมีแนวโน้มสูงขึ้น ในหนูเพศผู้ที่ได้รับสารสกัด 0.96 กรัม/กิโลกรัม/วัน จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยของตับ และม้ามมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามการตรวจทางจุลพยาธิสภาพไม่พบความผิดปกติที่เซลล์ตับ และอวัยวะอื่นๆ ยกเว้นการโป่งพองของกรวยไตในหนูขาวที่ได้รับสารสกัด 4.8 กรัม/กิโลกรัม/วัน ที่มีจำนวนเพิ่มมากกว่ากลุ่มควบคุม กล่าวโดยสรุปสารสกัดหญ้าหนวดแมวมีพิษน้อย แต่ต้องคอยติดตามวัดระดับโซเดียม และโพแทสเซียมหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. สำหรับผู้ที่เป็นโรคไต หรือ โรคหัวใจ ไม่ควรใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมว เพราะสมุนไพรชนิดนี้มีสารโพแทสเซียมสูงมาก ถ้าหากไตไม่ปกติก็จะไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกมาได้ ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างร้ายแรง และยังมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะให้ออกมามากกว่าปกติ และเกรงว่าขนาดของโพแทสเซียมที่สูงมากนั้น อาจจะไปกระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วผิดปกติ จึงอาจส่งผลกระทบต่อโรคหัวใจได้
  2. การใช้ใบของหญ้าหนวดแมวไม่ควรใช้การต้ม ให้ใช้การชง และควรใช้ใบอ่อน เพราะใบแก่จะมีความเข้มข้นอาจทำให้มีฤทธิ์กดหัวใจ
  3. การเลือกต้นนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ควรเลือกต้นที่ดูแข็งแรง แข็งและหนา ไม่อ่อนห้อยลงมา ลำต้นดูอวบเป็นเหลี่ยม ต้นมีสีม่วงแดงเข้ม และดูได้จากใบที่มีสีเขียวเข้มเป็นมันและใหญ่
  4. การใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมว เพื่อรักษานิ่วจะได้ผลดีก็เมื่อใช้กับนิ่วก้อนเล็กๆ แต่จะไม่ได้ผลกับก้อนนิ่วที่มีขนาดใหญ่
  5. สมุนไพรหญ้าหนวดแมว ไม่ควรใช้ร่วมกับยาแอสไพริน เนื่องจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยาแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น
  6. ผลข้างเคียงของหญ้าหนวดแมว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับคนปกติที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจมาก่อน โดยอาการที่อาจพบได้ คือ ใจสั่น หายใจลำบาก ดังนั้นการใช้สมุนไพรชนิดนี้ครั้งแรก หากใช้วิธีการชงดื่มให้ใช้วิธีจิบๆ ดูก่อน หากมีอาการผิดปกติก็ควรหยุด แล้วดื่มน้ำตามให้มากๆ สักพักอาการก็จะหายไปเอง

เอกสารอ้างอิง หญ้าหนวดแมว
  1. วีระสิงห์ เมืองมั่น, 2522, การใช้สมุนไพรเสริมการรักษาโรคนิ่ว-และทางเดินปัสสาวะอักเสบ, วารสารรามาธิบดี, ปีที่ 10 ฉบับที่ 8 : หน้า 28-33.
  2. จันทร์เพ็ญ ตั้งจิตรเจริญกุล, วราพร ยะหะยอ, รุ่งตะวัน สุภาพผล. หญ้าหนวดแมวเพื่อประโยชน์ในการขับปัสสาวะ. วารสารการแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ.ปีที่ 24. ฉบับที่ 1.เมษายน 2560. หน้า 68-78
  3. Nirdnoy M, Muangman V. Effects of Folia orthosiphonis on urinary stonepromoters and inhibitors. J Med Assoc Thai 1991;74:318-21.
  4. หญ้าหนวดแมว. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.phamargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=298
  5. Loon YH, Wong JW, Yap SP, et al. Determination of flavonoids fromOrthosiphon stamineusin plasma usinga simple HPLC method with ultravioletdetection. J Chromatogr B Analyt Technol Biomed Life Sci 2005;816:161-6.
  6. นันทวัน บุณยะประภัศร, 2528, ก้าวไปกับสมุนไพร เล่ม 2.
  7. Prakasam HS, Herrington H, Roppolo JR, et al. Modulation of bladder functionby luminal adenosine turnover and A1 receptor activation. Am J Physiol RenalPhysiol 2012;303:F279–F292.
  8. หญ้าหนวดแมว สรรพคุณ และการปลูกหญ้าหนวดแมว. พืชเกษตรดอทคอมเว็บเพื่อเกษตรกรไทย (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com
  9. Beaux D, Fleurentin J, Mortier F. Effect of extracts of Orthosiphon stamineus Benth, Hieracium pilosella L., Sambucus nigra L. and Arctostaphylos uva-ursi (L.) Spreng. in rats. Phytother Res 1999;13:222-5.
  10. Laavola M, Nieminen R, Yam MF, et al. Flavonoids eupatorin and sinensetinpresent in Orthosiphon stamineusleavesinhibit inflammatory gene expression and STAT1 activation. Planta Med 2012;78:779-86.
  11. เกรียงศักดิ์ เดชอนันต์, 2528, พยับเมฆหรือหญ้าหนวดแมว, วนสาร, ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 : หน้า 33-35.
  12. Hussain K, Khan MT, Ismail Z, et al. Rapid separation and determination of betulinic acid from a complex matrix using combination of TLC and RP-HPLC. Pak J Pharm Sci 2012;25:413-22.
  13. Ho SK, Tan CP, Thoo YY, et al. Ultrasound-assisted extraction of antioxidants in Misai Kucing (Orthosiphon stamineus).Molecules 2014;19:12640-59.
  14. วีระสิงห์เมืองมั่น และกฤษฎา รัตนโอราฬ, 2527, การใช้สมุนไพรในโรคระบบปัสสาวะ.
  15. Akowuah GA1, Zhari I. Determination of betulinic acid from Orthosiphon stamineusleaf extract in rat plasma. Pharmazie2008;63:788-90.
  16. Sundén F, Wullt B. Predictive value of urinary interleukin-6 for symptomaticurinary tract infections in a nursing home population. Int J Urol 2016;23:168-74.
  17. Saidan NH, Aisha AF, Hamil MS, et al. A novel reverse phase high-performanceliquid chromatography method for standardization of Orthosiphon stamineusleaf extracts. Pharmacog Res 2015;7:23-31.
  18. หญ้าหนวดแมว.บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. สำนักงานข้อสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  19. Yam MF, Asmawi MZ, Basir R. An investigation of the anti-inflammatory and analgesic effects of Orthosiphon stamineusleaf extract. J Med Food 2008;11:362-8.
  20. Ameer OZ, Salman IM, Asmawi MZ, et al. Orthosiphon stamineus: traditionaluses, phytochemistry, pharmacology, and toxicology. J Med Food 2012;15:678-90.
  21. หญ้าหนวดแมว.กลุ่มยาขับปัสสาวะ สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plant_data/herbs_12_7.htm