แอลคานิทีนคืออะไร?

แอลคานิทีนคืออะไร? 

           

หากกล่าวถึง แอลคานิทีนแล้วเชื่อว่าทุกท่านคงเคยได้ยินและคุ้นหูอย่างแน่นอน (เช่นเดียวกับ ไคโตซาน) เพราะในสื่อโฆษณา ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เน็ต ต่างก็มีการกล่าวถึง แอลคานิทีนอย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านการใช้ประโยชน์ในการเสริมการออกกำลังกาย และการใช้สำหรับลดหุ่นกระชับรูปร่าง แต่ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า แอลคานิทีนนั่นคืออะไร แอลคานิทีน หรือ คาร์นิทีนนั้นเป็นชื่อกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับร่างกาย โดยมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินที่แปลว่าเนื้อสด (คาดว่าที่ได้ชื่อนี้มาก็เพราะมีการสกัดได้ในครั้งแรกจากกล้ามเนื้อของหมู คาร์นิทีน) ความจริงแล้วร่างกายของมนุษย์เราก็สามารถสร้างแอลคานิทีนได้ ซึ่งแอลคานิทีนนี้ร่างกายสร้างขึ้นมาจากส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้ 1.วิตามิน 3 ชนิด คือ วิตามินบี 6  วิตามินบี 3 และวิตามินซี  2. กรดอะมิโน 2 ชนิด คือ ไลซีน (Lysine) เมทไธโอนีน (Methionine) 3.แร่ธาตุ 1 ชนิด คือ ธาตุเหล็ก (Lron) ซึ่งแอลคานิทีน มีโครงสร้างเป็น       quaternary amine  เป็นสารที่มีการสร้างในตับและไตของมนุษย์ และยังเป็นกรดอะมิโนที่มีความจำเป็นกับมนุษย์เป็นอย่างมาก (ซึ่งจะได้กล่าวถึงในบทความต่อๆไป) แต่ในการสร้างแอลคานิทีนในร่างกายมนุษย์นั้น สามารถสร้างขึ้นมาได้ ในจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น คือประมาณ 20 – 25 มิลลิกรัม/วัน แต่รายกายของมนุษย์ต้องได้รับในปริมาณ  500 – 4000 มิลลิกรัม/วันเลยทีเดียว ดังนั้นมนุษย์จึงต้องหาแหล่งที่ให้แอลคานิทีน ในอาหารเพิ่มเติมด้วยจึงจะทำให้ร่างกายได้รับแอลคานิทีนเพียงพอ และจากสูตรโครงสร้างในการสังเคราะห์ของแอลคานิทีน ผู้เขียนคิดว่าทุกท่านคงรู้จักวิตามินทั้ง 3 ชนิดและธาตุเหล็กกันดีแล้ว แต่กรดอะมิโน 2 ชนิด คือ ไลธีนกับ เมทไธโอนีน นั้นผู้เขียนจะขอขยายความในกรดอะมิโน 2 ชนิดนี้ให้ละเอียดอีกหน่อย กล่าวคือ ไลธีน เป็นกรดอะมิโนที่มีความจำเป็นกับร่างกายซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ จึงต้องได้รับจากสารอื่น ซึ่งไลซีนมีหน้าที่สร้างโปรตีนทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ สร้างภูมิต้านทาน รวมถึงเอนไซม์ต่างๆด้วย และสำหรับผู้ที่ขาดไลซีนจะมีอาการบ่งยอกได้ดังนี้  เหนื่อยง่าย ไม่มีสมาธิ  ตาแดง  (เส้นเลือดฝอยในตาแตก) คลื่นไส้  วิงเวียน  ผมร่วง  โลหิตจาง  ส่วนแหล่งอาหารที่พบไลซีนในธรรมชาติมาก  คือ  นม  ปลา  ชีส  ยีสต์ ถั่งเหลือง  รวมถึงอาหารที่มีโปรตีนสูงทุกชนิด  เมทไธโอนีน  เป็นกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกาย  และร่างกายก็ไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ เช่นเดียวกับไลซีน  แต่มีอยู่มากในอาหาร ประเภทผลมะเม่า  เนื้อสัตว์  หัวหอม  ปลา  กระเทียม  เมล็ดธัญพืชต่างๆ รวมถึงโยเกิร์ตด้วย เมทไธโอนีน มีหน้าที่ในการช่วยย่อยสลายไขมัน ป้องกันการสะสมของไขมันในตับ  ป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า ป้องกันสารพิษ  และรักษาอาการจิตเภทบางอย่าง หากร่างกายขาด เมทไธโอนีน แล้วอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้า  ติดเชื้อง่าย  แผลจะหายช้ากว่าปกติ  มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบอีกด้วย  จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าทั้งกรดอะมิโนที่เป็นสารที่ใช้ในการสังเคราะห์ แอลคานิทีนทั้งไลซีนและเมทโธโอนีน ต่างก็มีความสำคัญกับร่างกายมนุษย์ ดังนั้นหากคิดในมุมกลับกัน  ในเมื่อสารที่ใช้ในการสังเคราะห์ยังมีความสำคัญแล้ว สารที่สังเคราะห์ได้อย่าง แอลคานิทีน ก็ย่อมจะมีความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีกอย่างแน่นอน และในบทความหน้าจะมากล่าวถึง  “แหล่งที่พบแอลคานิทีน” ว่าแอลคานิทีนนั้นพบมากในอาหารประเภทไหนอย่างไร

 

 

  แอลคานีทีนพริกไทยดำ บุก