ก้ามปูหลุด ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

ก้ามปูหลุด งานวิจัยและสรรพคุณ 18 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ก้ามปูหลุด
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ปีกแมงสาบ, ปีกแมลงสาบ (ทั่วไป), จุยเต็กเช่า (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tradescantia zebrina var. zebrina
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Tradescantia zebrina Loudon, Tradescantia zebrina hort.ex Bosse, Tradescantia pendula (Schnizl.) D. R. Hunt
ชื่อสามัญ Incn plant
วงศ์ COMMELINACAEA

ถิ่นกำเนิดก้ามปูหลุด

ก้ามปูหลุด เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออกของประเทศเม็กซิโกโดยจัดเป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโกชนิดหนึ่ง จากนั้นจึงมีการกระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนต่างๆ ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ

ประโยชน์และสรรพคุณก้ามปูหลุด

  1. ใช้แก้อาเจียนเป็นโลหิต
  2. ช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้
  3. แก้หนองใน
  4. ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด
  5. แก้ตกขาว
  6. แก้บิด
  7. ช่วยรักษาฝีอักเสบ
  8. แก้โรคเจ็บคอ คอบวม คออักเสบ
  9. ช่วยใช้เป็นยาขับฝีในท้อง
  10. แก้กระหายน้ำ
  11. ช่วยขับปัสสาวะ
  12. รักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  13. ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
  14. แก้อาการบวมตามข้อ
  15. รักษาโรคบุรุษและสตรี
  16. แก้บวมน้ำ
  17. แก้พิษงู
  18. แก้พิษไฟไหม้

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ก้ามปูหลุด

ใช้แก้ไอเป็นเลือด ใช้ต้นก้ามปูหลุด สด 60-90 กรัม ต้มกับปอดหมูหนัก 120 กรัม ผสมน้ำต้มให้เหลือ 1 ชาม ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง ใช้ขับปัสสาวะรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือ ทางเดินปัสสาวะอักเสบใช้ต้นสด 50-100 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 3 ถ้วย จนเหลือ 1 ถ้วย ใช้รับประทานวันละ 2 ครั้ง ใช้เป็นยาแก้ตกขาวของสตรีใช้ต้นสดประมาณ 60-120 กรัม น้ำตาลกรวด 30 กรัม และต่าฉ่าย (Mytilum crassiesta Lischke) 30 กรัม นำมาต้มให้เหลือครึ่งชาม ใช้ดื่มหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง ใช้เป็นยาแก้บิดโดยใช้ต้นสด 50-100 กรัม นำมาต้มกับน้ำข้าว ใช้รับประทานวันละ 3 ครั้ง ส่วนแก้บิดเรื้อรังจะใช้กาบหุ้มดอกสด 150 กรัม และ ข้าวสารคั่วจนเกรียม (เริ่มไหม้) 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำ ใช้แบ่งดื่มเป็น 3 ครั้ง ใช้รักษาแผลไฟไหม้โดยใช้ต้นสดนำมาล้างให้สะอาดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาวเล็กน้อย ใช้พอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้วันละ 2 เวลา เช้า และเย็น ใช้พอกฝี ดูดพิษฝี แก้อักเสบ โดยใช้ทั้งต้นมาตำให้ละเอียดแล้วนำไปพอกบริเวณที่เป็น

ลักษณะทั่วไปของก้ามปูหลุด

ก้ามปูหลุด จัดเป็นพืชล้มลุกลำต้นมีลักษณะอวบเป็นสีเขียว หรือ เขียวประม่วงแตกแขนงมากโดยจะมีข้อ และปล้องชัดเจน ทอดเลื้อยคลุมดิน และชูยอดขึ้นสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือ รูปวงรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 3-8 ซม. ปลายแหลมโดนมน เบี้ยว ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวสลับแถบสีเงิน และประสีม่วง ด้านล่างสีม่วงหรือม่วงสลับเขียวเส้นกลางใบสีม่วงส่วนกาบใบเป็นปลอกหุ้มรอบข้อสูงประมาณ 1 ซม. ที่กาบใบมีลายเส้นสีม่วงเป็นแนวตามความยาว และขนเล็กน้อยดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ซึ่งจะออกเป็นกระจุกบริเวณปลายยอดโดยดอกจะมีสีขาวอมชมพูเล็กน้อย และมีกลีบรองดอกสีขาวบางๆ โดยเชื่อมติดกันเป็นท่อยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกปลายจะแยกเป็นกลีบรูปไข่ 3 กลีบ มีขนาดกว้างประมาณ  4-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร กลีบด้านบนเป็นสีม่วง ด้านล่างเป็นสีขาวกลางดอกมีเกรสเพศผู้ 6 อัน ก้านชูอับเรณูเป็นสีขาว มีขนยาวสีม่วง อับเรณูสีนวลส่วนก้านเกสรเพศเมียเรียว ยอมเกรสเพศเมียมี 3 แฉก เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร นอกจากนี้ยังมีใบระดับใหญ่ 2 ใบ ซึ่งจะมีขนาดไม่เท่ากันประกบหุ้มช่อดอกอ่อนเอาไว้อีกด้วยผลมีขนาดเล็กลักษณะเป็นรูปยาวรีเมื่อแกจะแตกอ้าออกไปตามความยาวภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2-3 เมล็ด

ก้ามปูหลุด

ก้ามปูหลุด

การขยายพันธุ์ก้ามปูหลุด

ก้ามปูหลุด เป็นพืชที่ขยายพันธ์ได้ง่ายมาก ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีอาทิเช่น การเพาะเมล็ด การแยกไหลไปปลูก หรือ การปักชำกิ่ง เป็นต้น สำหรับวิธีที่นิยมนั้น คือ การปักชำกิ่ง โดยตัดกิ่งปักชำในแปลงปลูก หรือ กระถางได้เลยโดยใช้วัสดุเป็นดินร่วนปนทราย ในการเพาะปลูกหลังจากปลูกเสร็จให้รดน้ำและนำกระถางไปตั้งไว้ในที่ร่มที่มีแสงรำไร

องค์ประกอบทางเคมี

สำหรับองค์ประกอบทางเคมีของก้ามปูหลุด นั้นมีการศึกษาวิจัยน้อยมาก โดยมีรายงานการศึกษาวิจัยระบุว่า พบสาร ecdysone,B-sitosterol,3B,5a,6B-trihydroxy stigmast และ succinic acid เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการพบสารอื่นๆ อีกเช่น Calcium oxalate, Hydrocolloid, Gum และสารในกลุ่ม flaronoids, saponins, sterols และ tannin เป็นต้น

โครงสร้างก้ามปูหลุด

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของก้ามปูหลุด

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของก้ามปูหลุดระบุไว้ว่ามีฤทธิ์ต่างๆดังนี้

            ฤทธิ์ต้านมะเร็ง มีรางานการศึกษาฤทธิ์ต้านเนื้องอกของสาร B-sitosterol, 3β, 5α, 6β-trihydeoxystigmast และ succinic ที่พบในก้ามปูหลุด ระบุว่า มีฤทธิ์ต้านเนื้องอกของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด -180 sarcoma ในหนูทดลอง

           นอกจากนี้ยังมีการแยกส่วนประกอบสารออกฤทธิ์ดังกล่าว คือ β-sltosterol, 3β, 5α, 6β-trihydroxy stigmast และ succinic acid ต่ออัตรา การต้านเนื้องอกโดยพบว่า succinicacid มีค่าเท่ากับ 43% (160 มก./กก.)  β-sitosterol มีค่าเท่ากับ 91% (100 มก./กก.) และ3β, 5α, 6β-trihydroxystigmast มีค่าเท่ากับ 98% (100 มก./กก.) ในการต่อต้าน – การทดสอบมะเร็งดังกล่าว

           ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีการศึกษาวิจัยการต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดเมทานอลจากใบของก้ามปูหลุดโดยสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย Bacillus cereus, Bacillus subtilis, Micrococcus luteus, MethicillinResistant Staphylococcus aureus, Staphylococcus หนังกำพร้า, Enterococcus faecalis, Aeromonas hydrophila และ Proteus vulgaris

           ฤทธิ์ต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีรายงานการศึกษาวิจัยของสารออกฤทธิ์ในก้ามปูหลุดต่อการต่อต้านหลอดเลือดของสาร 3-ecdysone โดยการศึกษาดังกล่าวใช้สาร aconitine เป็นตัวกระตุ้นของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในสัตว์ ซึ่งพบว่าารสกัดก้ามปูหลุด ออกฤทธิ์ต่อต้านการตีบหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะได้

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของก้ามปูหลุด 

ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำและข้อควรระวังของก้ามปูหลุด

สตรีมีครรภ์รวมถึง ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอห้ามรับประทานก้ามปูหลุดเนื่องจากไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยที่ชัดเจน ในการเก็บก้ามปูหลุดมาใช้ประโยชน์นั้นควรระมัดระวังน้ำยางของพืชชนิดนี้ เนื่องจาก เมื่อหักก้านหรือใบจะมียางซึมมาซึ่งมีความเป็นพิษซึ่งอาจเกิดอาการระคายเคือง คัน ตามผิวหนังได้
 

เอกสารอ้างอิง ก้ามปูหลุด
  1. ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ‘ก้ามปูหลุด' หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย.จีน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 หน้า 59-60
  2. วิทยา บุญวรพัฒน์  ‘ก้ามปูหลุด ‘ หนังสือสารานุกรมสมุนไพร-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย  หน้า  70
  3. ปีกแมลงสาบหรือก้ามปูหลุด.กลุ่มยาแก้อาเจียน.สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. โดยการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีฯ (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plant_data/herbs/herbs_ll_2.htm

     4. xiaogi F, Xingjie L, Study on antineoplastic components of Zebrina pendula Schniz Chincse Traditional Patcnt Medicine 1992;02.

  1. 18.Tan JBL, Yap WJ,  Tan SY, Lim YY,  Lee  SM. Antioxidant   content,   Antioxidant  activity,  and  antibacterial activity  offivce plants  from thdCommelinaeae family.​  Antioxidants  2014;  3(4): 758-769
  2. Faden RB.​ The   author   ahd  typification    of Tradescania  zebrina (Commelinaceac).  KewBulletin 2008; 63(4): 679-680.

7.Chunxin Y, Xingjic L, Jianming X, Yugin D, STudics on the isolation and identification of 3- ecdysone from Zebeina pendula Schnizl and its antiarrhythmic effrct Nat Peoduct Res Dev 1996;8(3); 17-19.