ไมร์ซีน

ไมร์ซีน

ชื่อสามัญ  Myrcene, β-myrcene, 7-Methyl-3-methylideneocta-1, 6-diene

ประเภทและข้อแตกต่างสารไมร์ซีน

ไมร์ซีน (myrcene) หรือ เบตา-ไมร์ซีน (β-myrcene) จัดเป็นสารในกลุ่มโมโนเทอร์ฟีน (momoterpene) พบได้ในพืชธรรมชาติโดยมีลักษณะเป็นน้ำมันหอมระเหย เป็นของเหลว มันสีเหลืองมีกลิ่นหอม มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำสามารถ ละลายในน้ำได้ มีสูตรทางเคมี คือ C10H16 มีมวลโมเลกุล 136.23 g/mol มีจุดเดือดที่ 166-168 องศาเซลเซียส มีจุดหลอมเหลวมากกว่า -10 องศาเซลเซียส

            สำหรับประเภทของสารเมอร์ซีน (เบต้า-ไมร์ซีน) นั้น จากการศึกษาค้นคว้า พบว่า มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น แต่ทั้งนี้ยังมีโครงสร้าง ไอโซเมอร์ (isomer) อีกชนิดที่มีสูตรทางเคมีเดี่ยวกัน (C10H16)  ได้แก่ α-myrcene (2-m=thyl-6-methylene-1,7-octadiene

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาสารไมร์ซีน

สารไมร์ซีน (myrcene) เป็นสารในกลุ่มโนโนเทอร์ฟีน (monoterpene) ที่สามารถได้ในพืชธรรมชาติหลายชนิด โดยสามารถพบได้ในรูปแบบของน้ำมันหอมระเหย จากส่วนต่างๆ ของพืชที่เป็นแหล่งของสารดังกล่าว เช่น ตะไคร้ (Cymbopogpncitratus (DC.) Stapf), โหระพาช้าง (Ocimum gratisismum Linn), แมงลัก (Ocimum x citriodoeum Vis.), ไพล (Zingiber cassumunax Roxl.), พลูคาว (Houttuynia cordata Thunb.), กัญชา (Cannobis satira L. subsp. Indica), ฮอร์ป  (Humulus lupulus) รวมไปถึงในน้ำมันหอมระเหย จากเปลือกส้ม เปลือกส้มโอ และมังคุด เป็นต้น  นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการสังเคราะห์ทางเคมีเพื่อผสมสารไมร์ซีนมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อีกด้วย

ปริมาณที่ควรได้รับสารไมร์ซีน

สำหรับขนาดและปริมาณของสารไมร์ซีน (myrcene) ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยต่อวันนั้น จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า ปริมาณของสารไมร์ซีนที่ใช้ในปัจจุบัน จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น อุตสาหกรรฒอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมสารกำจัดแมลง เป็นต้น นอกจากนี้ในแต่ละประเทศยังมีเกณฑ์และข้อกำหนดรวมถึงขนาดและปริมาณในการใช้ประโยชน์ประเภทต่างๆ จากสารไมร์ซีน (myrcene) ที่แตกต่างกันอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากในการที่จะระบุถึงขนาดและปริมาณในการใช้สารดังกล่าวที่แน่นอน และเป็นมาตรฐาน

ประโยชน์และโทษสารไมร์ซีน

ในการใช้ประโยชน์จากสารไมร์ซีน (myrcene) นั้นจะเป็นการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ด้านอาหารและเครื่องดื่ม โดยมีการนำสารดังกล่าวมาแต่งกลิ่นและรส ด้านเครื่องสำอาง มีการนำสารไมร์วีนมาเป็นตัวกลางในการทำน้ำหอม รวมถึงเครื่องสำอางที่มีกลิ่นหอมอื่นๆ ด้านการกำจัดแมลง ได้มีการนำสารไมร์ซีน ที่มีฤทธิ์กำจัดแมลงบางชนิดมาใช้เป็นส่วนผสมในสารกำจัดแมลงต่างๆ ด้านยาและสมุนไพรมีการใช้สารเมอร์ซีนทั้งในรู) แบบสารสกัด และน้ำมันหอมระเหยจากพืชที่เป็นแหล่งของสารดังกล่าวมาใช้เป็นส่วนผสมและส่วนประกอบในการบำบัดรักษา โรคต่างๆ โดยมีการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารไมร์ซีน พบว่า มีฤทธิ์แก้ปวดกล้ามเนื้อ ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อจุลชีพ ต้านแบคทีเรีย ต้านอาการทางจิต เช่น ช่วยให้ผ่อนคลาย แก้กระสับกระส่าย มีฤทธิ์กล่อมประสาท เป็นต้น

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องสารไมร์ซีน

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของไมร์ซีน (myrcene) ดังนี้

           ฤทธิ์แก้ปวด มีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร มีสาร (myrcene) เป็นสารออกฤทธิ์ สามารถบรรเทาอาการปวดได้เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความเจ็บปวดด้วยความร้อน  หรือหากป้อนน้ำมันหอมระเหยในขนาดเท่าเดิมทางปากจะสามารถบรรเทาอาการปวดได้เมื่อเทียบกับยา meperidine อีกทั้งเมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ และสาร myrcene ป้อนให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการปวดด้วย prostaglandin E2 พบว่าสามารถยับยั้งอาการปวดได้

           นอกจากนี้ยังมีการทดสอบฤทธิ์บรรเทาอาการปวดทางระบบประสาทของน้ำมันหอมระเหยจากโหระพาช้าง (Ocimum gratissimum L.) ในหนูเม้าส์ที่ถูกรัดเส้นประสาทไซแอติก (sciatic) เพื่อเหนี่ยวนำให้อักเสบ โดยให้น้ำมันหอมระเหยขนาด 10, 20 และ 40 มก./กก. และให้สาร eugenol หรือ myrcene ที่แยกได้จากโหระพาช้างขนาด 1, 5 หรือ 10 มก./กก. ทางปาก เป็นเวลา 14 วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมบวกที่ให้ยารักษาอาการปวดเส้นประสาท pregabalin ขนาด 20 มก./กก. ผลการทดสอบพบว่าน้ำมันหอมระเหยขนาด 20 และ 40 มก./กก. และสาร eugenol หรือ myrcene ขนาด 5 และ 10 มก./กก. มีผลบรรเทาอาการปวดจากการทดสอบด้วย von frey และ hot plate และพบว่าน้ำมันหอมระเหยโหระพาช้างหรือสาร eugenol มีประสิทธิภาพในการลดระดับสารก่อการอักเสบ Interleukin-1β ในเส้นประสาทไซแอติก จากผลการทดสอบจึงสรุปได้ว่า น้ำมันหอมระเหยและสารสำคัญในโหระพาช้างมีผลช่วยบรรเทาปวดของเส้นประสาทของหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้อักเสบได้

           ฤทธิ์ต้านเชื้อรา มีการศึกษาวิจัยสารสกัดด้วยเอทานอล และน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ พบว่าสามารถต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง เช่น กลาก เกลื้อน ได้  โดยน้ำมันตะไคร้ที่มีสารสำคัญ คือ citral และ myrcene เป็นส่วนประกอบหลักจะมีฤทธ์ยับยั้งเชื้อราดังกล่าว และเมื่อนำน้ำมันตะไคร้ไปพัฒนาเป็นครีมต้านเชื้อรา พบว่าที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.5 และ 3.0 จะให้ผลต้านเชื้อราได้ดีที่สุด  

           นอกจากนี้ยังพบว่าผลิตภัณฑ์ตะไคร้ในรูปของ emulsion และ nanocapsule ที่ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ มีฤทธิ์รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา E.  floccosum, Microsporum canis และ  T. rubrum โดยเข้าไปยับยั้งการเจริญเติบโตหรือฆ่าเซลล์ของเชื้อราดังกล่าว 

          ฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาและเชื้อมาลาเรียมีการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมา (Trypanosoma brucei brucei ) และ เชื้อมาลาเรีย (Plasmodium falciparum ) รวมทั้งความเป็นพิษต่อเซลล์ของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบ ลำต้น และเมล็ดของโหระพาช้าง (Ocimum gratissimum Linn) พบว่าน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ต้านเชื้อทั้งสองชนิด แต่มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเลียค่อนข้างต่ำ (IC50 >40 มคก./มล.) โดยสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาดีที่สุด (IC50 = 1.66 ± 0.48 มคก./มล.) รองลงมาคือสารสกัดเอทานอลจากส่วนเมล็ด (IC50 = 1.29 ± 0.42 มคก./มล.) ทั้งนี้ขึ้นกับระยะการออกดอก โดยจากการศึกษาทางเคมีพบว่าองค์ประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหยคือ p-cymene, thymol, γ-terpinene, β-myrcene, α-thujene และองค์ประกอบย่อยคือ myrcene, citronellal, limonene ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาที่ดีเช่นกัน 

           นอนกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ ระบุว่า ไมร์ซีน มีฤทธิ์ ต้านการอักเสบ, กล่อมประสาท, ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ อีกด้วย ส่วนการศึกษาความเป็นพิษพบว่า ทั้งตะไคร้และน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้รวมถึงสารไมร์ซีน ไม่พบว่ามีความเป็นพิษต่อยีนส์

โครงสร้างสารไมร์ซีน

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

ถึงแม้ว่าจะมีผลการศึกษาพบว่าสารไมร์ซีนมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สามารถบำบัดอาการของโรคต่างๆ ได้หลายโรค แต่ทั้งนี้ในการในการใช้โดยควรได้รับคำแนะนำ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งในการใช้ก็ควรใช้ในขนาดและปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ และไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

 

เอกสารอ้างอิง ไมร์ซีน
  1. รัชนก ภูวพัฒน์, วุฒิชัย ศรีช่วย, มูฮัมมัดบาคอรี่ ยูโซ๊ว, การเปรียบเทียบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากลำต้น และใบของตะไคร้หอมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส, วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ปีที่ 9.ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2560.หน้า 136-142
  2. ฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมา และเชื้อมาลาเรียของโหระพาช้าง.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  3. บัณฑิตย์  ลิมปนชัยพรกุล. คุณสมบัติของสมุนไพรบางชนิดที่มีผลต่อการเจริญของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง. รวมบทคัดย่องานวิจัย การแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต, สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543. 
  4. ฤทธิ์บรรเทาอาการปวดทางระบบประสาทของน้ำมันหอมระเหยจากโหระพาช้าง.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  5. Zamith HP, Vidal MN, Speit G, Paumgartten FJ. Absence of genotoxic activity of b-myrcene in the in vivo cytogenetic bone marrow assay. Braz J Med Biol Res 1993;26(1):93-8. 
  6. Ajayi, E.O., Sadimenko, A.P. & Afolayan, A.J. (2016). GC-MS evaluation of Cymbopogon citratus (DC) stapf oil obtained using modified hydrodistillation and microwave extraction methods. Food Chemistry, 209, 262-266.
  7.  Viana GSB, Vale TG, Pinho RSN, Matos FJA. Antinociceptive effect of the essential oil from Cymbopogon citratus in mice. J Ethnopharmacol 2000;70:323-7. 
  8. Bassole, I.H.N., Meda, A.L., Bayala, B. Obame, L.C., Ilboudo, A.J., Franz, J., Nebie, R.C. & Dicko, M.H. (2011). Chemical composition and antimicrobial activity ofCymbopogon citratus and Cymbopogon giganteusessential oils alone and in combination. Phytomedicine, 18, 1070-1074.
  9.  Ruiz AR, De La Torre RA, Alonso N, Villaescusa A, Betancourt J, Vizoso A. Screening of medicinal plants for induction of somatic segregation activity in Aspergillus nidulans. J Ethnopharmacol 1996;52(3):123-7.
  10.   Wannissorn B, Jarikasem S, Soontorntanasart T.  Antifungal activity of lemon grass oil and lemon grass oil cream.  Phytother Research 1996;10:551-4.  
  11.  Lorenzetti BB, Souza GEP, Sarti SJ, Filho DS, Ferreira SH. Myrcene mimics the peripheral analgesic activity of lemongrass tea. J Ethnopharmacol 1991;34:43-8.  
  12. Balakrishnan, B., Paramasivam, S. & Arulkumar A. (2014). Evaluation of the lemongrass plant (Cymbopogon citratus) extracted in different solvents for antioxidant and antibacterial activity against human pathogens. Asain Pacific Journal of Tropical Disease, 4, S134-S139.
  13.  Rauber CS, Henriques A, Teresinha G, Silvia S, Schapoval EES. Pharmaceuticals for treatment of skin infections caused by Candida and dermtophytic fungi employing essential oil of Cymbopogon citrtus. Patent: Braz Pedido PI BR 2002003521, 2004:38 pp.