มะคำดีควาย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

มะคำดีควาย งานวิจัยและประโยชน์ 39 ข้อ

ชื่อสมุนไพร มะคำดีควาย
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ประคำดีความ (ทั่วไป, ภาคกลาง), มะซัก, ส้มป่อยเทศ (ภาคเหนือ), คำดีควาย (ภาคใต้), ชะแซ, ซะเหล่าด (กะเหรี่ยง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ มะคำดีควายสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ Sapindus rarak DC. และ Sapindus trifoliatus L.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ ชนิด S.rarak DC. คือ Dittelasma rarak (DC.) Benth. & Hook. f. และชนิด S. trifoliatus L. คือ Sapindus emarginatustus Vahl. 
ชื่อสามัญ ชนิด S.rarak DC. คือ Soap Nut Tree . และ S. trifoliatus L. คือ Soapberry Tree
วงศ์ SAPINDACEAE

ถิ่นกำเนิดมะคำดีควาย

มะคำดีควาย (ทั้ง 2 ชนิด) มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อยของภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ในประเทศ อินเดีย (โดยเฉพาะแคว้นอัสลัม), เนปาล, บังคลาเทศ, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย ต่อมาได้มีการกระจายพันธุ์ไปในประเทศในทวีปเอเชียอื่นๆ เช่น ไต้หวัน, จีน, ปากีสถาน ฯลฯ สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศโดยพบมากในป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้งที่มีความสูงตั้งแต่ 150-1600 เมตร จากระดับน้ำทะเล 

ประโยชน์และสรรพคุณมะคำดีควาย  

  1. แก้ไข้
  2. ช่วยดับพิษร้อนภายใน ดับพิษทุกอย่าง
  3. แก้ไข้แก้เลือด
  4. แก้หอบเนื่องจากปอดชื้น
  5. แก้ปอดบวม
  6. แก้หวัด คัดจมูก
  7. แก้กาฬ
  8. แก้โรคผิวหนัง
  9. รักษาสิว
  10. แก้พิษตานซาง
  11. แก้เสลดสุมฝีอันเปื่อยพัง
  12. แก้จุดกาฬ
  13. บำรุงน้ำดี
  14. แก้สลบ
  15. แก้พิษ หัด สุกใส
  16. แก้ฝีเกลื่อน
  17. แก้ปากเปื่อย
  18. แก้สารพัดพิษ สารพัดกาฬ
  19. แก้ไข้จับเซื่องซึม
  20. แก้ร้อนในกระหายน้ำ
  21. แก้สารพัดไข้ทั้งปวง
  22. แก้ชันนะตุ (โรคผิวหนังพุพองบนศีรษะเด็ก)
  23. แก้เชื้อรา
  24. แก้รังแค
  25. ใช้บำรุงผมให้ดกดำ
  26. ใช้เป็นยากำจัดเหา
  27. ใช้ฆ่าเชื้อรา
  28. ใช่รังแคบนหนังศีรษะ
  29. แก้พิษกาฬ
  30. ดับพิษกาฬ
  31. แก้ทุราวาส
  32. แก้ริดสีดวงมองคร่อ
  33. แก้ลมคลื่นเหียน
  34. แก้กษัย
  35. รักษาผิวหนังพุพอง
  36. แก้น้ำเหลืองเสีย
  37. แก้โรคผิวหนัง
  38. แก้หืด หอบ
  39. แก้เสลดสุ่ม ฝีที่เปื่อยพัง

           ในอดีตคนไทยตามชนบทใช้ประโยชน์จากมะคำดีควาย เช่น นำผลมาใช้เป็นสารชะล้างแทนสบู่เพื่อชำระล้างร่างกาย สระผม หรือ นำไปใช้ซักผ้า หรือ ใช้ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ นำเมล็ดมะคำดีควายที่มีลักษณะกลม และแข็ง มีสีน้ำตาลดำ ไปใช้ร้อยทำเป็นลูกประคำ หรือ เครื่องรางของขลังต่างๆ และยังมีการนำผลของมะคำดีควาย มาใช้ในการเบื่อปลา และใช้เป็นยาฆ่าแมลงต่างๆ

มะคำดีควาย

มะคำดีควาย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

รักษาชันตุ ใช้ผล 4-5 ผล แกะเอาแต่เนื้อ ต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ใช้น้ำทาที่ศีรษะที่เป็นชันตุวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น หรือ ใช้เนื้อ 1 ผล ตีกับน้ำสะอาดจนเป็นฟอง ใช้สระผมที่เป็นชันตุวันละ 1 ครั้ง จนกว่าจะหาย

           รักษาผิวหนังพุพอง น้ำเหลืองเสีย ใช้ผลมะคำดีควาย 10-15 ผล ต้มกับน้ำพอประมาณ นำเฉพาะน้ำมาชะล้าง หรือ แช่บริเวณที่เป็นแผลนาน 5 นาที ทั้งเวลาเช้า และเย็น

           ใช้เมล็ดสด หรือ แห้งนำมาตำให้ ละเอียด ใช้พอก หรือ เอามาละลายน้ำล้างแผล แก้โรคผิวหนัง ใช้ผลที่แห้งนำมาคั่วให้เกรียม จาก นั้นใช้ปรุงเป็นยาดับพิษได้ทุกชนิด แก้กาฬภายใน แก้ไข้ แก้หืด หอบ แก้โรคผิวหนัง และแก้เสลดสุ่ม ฝีที่เปื่อยพัง

ลักษณะทั่วไปของมะคำดีควาย

มะคำดีความ (ชนิด S.rarak DC.) จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้น ความสูงประมาณ 5-10 เมตร มีลักษณะเปลือกเป็นสีน้ำตาลอมเทา ค่อนข้างเรียบ มีเรือนยอดเป็นทรงพุ่มหนาทึบ

           ใบ ออกเป็นช่อ เรียงสลับกัน ช่อใบมีใบย่อยประมาณ 5-9 คู่ ใบย่อยมีลักษณะรูปหอก โคนใบสอบเข้าหากัน ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 0.6 -1.2 นิ้ว ยาวประมาณ 2.5- 4 นิ้ว ใบมีสีเขียวเข้มเหมือนใบทองหลาง

           ดอกออกเป็นช่อ ตามปลายกิ่ง มีลักษณะดอกขนาดเล็ก สีขาวนวล หรือ สีเหลืองอ่อน ดอกมีกลีบรองกลีบดอกขนาดเล็ก ประมาณ 4 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ กลีบด้านนอกมีขนสั้น สีน้ำตาลปนแดง ขึ้นประปราย มีเกสรตัวผู้ตรงกลางดอก ประมาณ 10 อัน

           ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม สีเขียวเมื่ออ่อน สีเหลืองฉ่ำเมื่อสุก และมีสีน้ำตาล จนถึงดำตามลำดับเมื่อแก่และแห้ง เปลือกหุ้มมีลักษณะแข็ง ข้างในประกอบด้วยเมล็ด ผลหนึ่งมี 1 เมล็ดเท่านั้น ออกผลหลาบผลเป็นพวง ขนาดผลเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 0.6 นิ้ว

          ส่วนมะคำดีควาย (ชนิด Sapindus trifoliatus L.) จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เช่นกันมีเรือนยอดของต้นหนาทึบ ลำต้นมักคดงอ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว ยอดอ่อน และกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล

          ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน ในช่อหนึ่งจะมีใบย่อยอยู่ประมาณ 2-4 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบเป็นสีเขียว

           ดอกออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ โดยจะออกบริเวณปลายกิ่ง ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ลักษณะของดอกเป็นดอกเล็กสีขาวนวล หรือ เป็นสีเหลืองอ่อนๆ ในหนึ่งดอกจะมีกลีบรองดอกขนาดเล็กประมาณ 4 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน และมีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ กลีบข้างนอกมีขนสั้นๆ สีน้ำตาลปนแดงขึ้นประปราย ส่วนบริเวณกลางดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 10 ก้าน

            ผลออกรวมกันเป็นพวง มีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ผลสดสีเขียว ผิวผลเรียบ หรือ อาจมีรอยย่นที่ผลบ้างเล็กน้อย เปลือกผลเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผลมีพู 3 พู และมักจะฝ่อไป 1-2 พู เนื้อในผลมีลักษณะเหนียว ใส เป็นสีน้ำตาล และมีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมสีดำเป็นมัน เป็นเมล็ดที่มีเปลือกหุ้มแข็ง

มะคำดีควาย

มะคำดีควาย

การขยายพันธุ์มะคำดีควาย

มะคำดีควาย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด โดยใช้เมล็ดแก่แช่น้ำประมาณ 1-2 คืน ก่อนนำไปเพาะเพื่อให้งอกได้เร็วขึ้น แล้วจึงนำไปเพาะในกระบะเพาะ หรือ ถุงเพาะชำ จากนั้นให้น้ำทุกๆ วันจนเริ่มงอก และเมื่อต้นกล้าโตและมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร จึงนำไปปลูกลงหลุมในพื้นที่ที่ต้องการ หรือ อาจจะใช้เมล็ดที่แช่น้ำแล้วไปหยอดลงหลุมที่ต้องปลูกเลยก็ได้


องค์ประกอบทางเคมี

มะคำดีควาย ทั้ง 2 ชนิด พบสาร hederagenin Quercetin, Quercetin -3 - a - A- arabofuranoside, ß - Sitosterol, Emarginatoside, O - Methyl-Saponin, Sapindus–Saponin

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของมะคำดีควาย

โครงสร้างมะคำดีควาย

ที่มา : Wikipedia

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของมะคำดีควาย

ชนิด S.rarak DC. ฤทธิ์ต้านเชื้อรา สารสกัดจากผลมะคำดีควาย ไม่ระบุตัวทำละลาย และสารสกัดน้ำจากผล มีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนัง, Candida albicans และ Cryptococcus neoformans ด้วยวิธีทดสอบแบบ agar disc diffusion แต่มีฤทธิ์ต้านเชื้อดังกล่าวต่ำกว่ายา ketoconazole (1, 2) สารสกัดน้ำจากเปลือกผลที่ทำให้แห้งด้วยวิธีแช่แข็ง แล้วผสมลงในแชมพู ความเข้มข้น 5 มก./มล. ทำให้เส้นผมสะอาดและอาการคันศีรษะลดลง

           ชนิด S.trifolialusL. ฤทธิ์ต้านเชื้อรา สารสกัดซาโปนินจากผลมะคำดีควาย มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา dermatophytes คือ Epidermophyton floccosum, Microsporum gypseum และ Trichophyton mentagrophytes ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา (MIC) เท่ากับ 250 มคก./ล. และยังมีการทดลองของซาโปนินจากสารสกัดต้านเชื้อรา T. mentagrophytes และ E. floccosum ที่ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา (MIC) เท่ากับ 25 มก./ล. และต้านเชื้อรา M. gypseum ที่ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา (MIC) เท่ากับ 50 มก./ล. มีการทดลองทางคลินิกโดยใช้สารสกัดเอทานอล (70%) ทาภายนอก ขนาด 2% ในคน  มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา

           ฤทธิ์ลดการอักเสบ มีการทดลองทางคลินิกโดยใช้น้ำสกัดฉีดเข้าช่องท้องของคน พบว่ามีฤทธิ์ลดการอักเสบได้

           ฤทธิ์แก้ปวด สารสกัดเอทานอลและน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 กรอกเข้าทางกระเพาะอาหารของหนูถีบจักร พบว่าไม่มีฤทธิ์แก้ปวด 


การศึกษาทางพิษวิทยาของมะคำดีควาย

การทดสอบความเป็นพิษพบว่า เมื่อฉีดสารสกัดด้วยเอทานอลและน้ำ (1:1) เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) คือ 17.8 มก./กก. ส่วนอีกการทดลองพบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่ามากกว่า 1 ก./กก.

           โดยสารเคมีในผลมะคำดีควาย ที่เป็นพิษ คือ saponin, emerginatonede และ o-methyl-saponin มีรสเฝื่อน ขม และกลิ่นฉุน โดยจะออกฤทธิ์ทำลายเม็ดเลือดแดงได้ ถ้าเป็นผงแห้ง หากเข้าทางจมูกจะเกิดการระคายเคืองเยื่อบุจมูก


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. ในการใช้ผลมะคำดีควายต้มแล้วใช้ชโลมผมเพื่อแก้ชันนะตุ ไม่ควรชโลมไว้นานเกินไปและควรระวังอย่าให้เข้าตาเพราะอาจทำให้แสบตา และทำให้ตาอักเสบได้และไม่ควรใช้บ่อย หรือ ใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป
  2. เมื่อใช้น้ำต้มผลมะคำดีควายชโลมผมแล้วควรล้างออกให้หมด เพราะอาจทำให้ผมร่วงได้
  3. ไม่ควรรับประทานผลมะคำดีควายเพราะ จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน มีอาการท้องร่วง ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้
  4. หากผงของมะคำดีควาย ซึ่งมีสารซาโปนินเข้าทางจมูก จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและทำให้จาม ถ้าหากฉีดเข้าเส้นเลือดจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก

 

เอกสารอ้างอิง มะคำดีควาย
  1. หนังสือสมุนไพร ในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “มะคำดีควาย”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 151.
  2. มะคำดีควาย ฐานข้อมูลสมุนไพรที่มีการใช้ในผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “มะคำดีควาย ”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  หน้า 151.
  4. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะคำดีควาย Soapberry”. หน้า 183.
  5. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ประคำดีควาย”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 445-446.
  6. มะคำดีควายส้มป่อย. ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์อุบลราชธานี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudruy.com/main.php?action=viewpage&pid=103
  7. ประคำดีควาย. กลุ่มยาลดไข้ ลดความร้อน.สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plant_data/herbs/herbs_09_6.htm.
  8. ประคำดีควาย (Soapberry) สรรพคุณ และพิษประคำดีควาย. พืชเกษตรดอทคอม.เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com