โกโก้ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

โกโก้ งานวิจัยและสรรพคุณ 14 ข้อ

ชื่อสมุนไพร โกโก้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Theobroma Cacoa Linn.
ชื่อสามัญ Cocao
วงศ์ MALVACEAE


ถิ่นกำเนิดโกโก้

โกโก้ จัดเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ และอเมริกากลางระบุว่า โกโก้มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบริเวณเขตร้อนชื้นของทวีปอเมริกาบริเวณลุ่มแม่น้ำอเมซอนตอนล่างโดยมนุษย์กลุ่มแรกที่ใช้ประโยชน์จากโกโก้ คือ ชาว Maya Indian ซึ่งใช้เมล็ดโกโก้แห้งแลกซื้อทาสอาหารและของมีค่าอื่นๆ ต่อมาชาวสเปนได้นำโกโก้สู่ยุโรป นอกจากนี้ชาวสเปนยังได้ดำเนินการให้มีการเพาะปลูกโกโก้ขึ้นในแถบร้อนชื้นของทวีปอเมริกาบริเวณประเทศคอลัมเบีย เวเนซูเอล่า เม็กซิโก และทรินิแดด เป็นต้น นอกจากนี้จึงได้มีการนำโกโก้เข้าไปปลูกตามแหล่ง ต่างๆ ในอนานิคมของสเปน ดัตซ์ และโปรตุเกสตามทวีปต่างๆ สำหรับชาวเอเชียนั้น ชาวดัตซ์ อีกทั้งชาวสเปนได้มีการนำโกโก้เข้ามาปลูกในประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เป็นชาติแรกๆ สำหรับในประเทศไทยได้มีการนำโกโก้เข้ามาปลูกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2446 โดยหลวงราชคนิกร ต่อมาในปี พ.ศ.2495 กรมกสิกรรมได้นำพันธุ์โกโก้จากต่างประเทศนำมาปลูกในสถานีกสิกรบางกอกน้อย สถานีกสิกรรมพลิ้ว สวนยางนาบอน และสถานียางคอหงส์ แต่ก็ไม่ได้มีความนิยม ในการปลูกแต่อย่างใด สำหรับการค้นคว้าวิจัยของโกโก้อย่างจริงจังนั้นเมื่อปี พ.ศ.2515 เป็นต้นมา โดยนำเมล็ดพันธุ์โกโก้ผสมรวมกับอัปเปอร์ อเมซอน จากสถานีค้นคว้าโกโก้เมือง Tawau รัฐซาบาร์ประเทศมาเลเซีย มาปลูกที่สถานีทดลองยางในช่อง จังหวัดกระบี่


ประโยชน์และสรรพคุณโกโก้

  • ช่วยบำรุงประสาท
  • ช่วยบรรเทาภาวะโรคเครียด
  • แก้โรคซึมเศร้า
  • ช่วยลดระดับไขมันในเลือด
  • สารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยกระตุ้นหัวใจ
  • ช่วยขยายหลอดเลือด
  • ช่วยป้องกันฟันผุ
  • ช่วยทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • แก้หอบหืด
  • ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ

         โกโก้ ถูกนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ในอดีตแล้วโดยเฉพาะเมล็ดของโกโก้ซึ่งเป็นส่วนหลักในการนำมาใช้ประโยชน์ โดยมีการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้ มีการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น

           -อุตสาหกรรม ผลิตช็อคโกแลตหวาน และช็อคโกแล็ตนม โดยอุตสาหกรรมประเภทนี้ใช้ Chocholate liquor กับน้ำตาลเนยโกโก้ และส่วนผสมอื่นๆ ผสมกันในอัตราส่วนตามสูตรการผลิตในแต่ละแหล่งผลิตช็อคโกแลต

           -อุตสาหกรรมเครื่องดื่มนมรสช็อคโกแลต อุตสาหกรรมนี้จะใช้ผงโกโก้ผสมกับนม น้ำตาล และสารปรุงแต่งอื่นๆ เช่น สารให้ความหวาน สารปรุงแต่งรสผสมกันเป็นเครื่องดื่มรสช็อคโกแลต

           -อุตสาหกรรมเบเกอรี่ เพื่อปรุงแต่งรสผลิตภัณฑ์เช่น โดนัท คุ้กกี้ ฯลฯ

           -อุตสาหกรรมลูกอม และลูกกวาด โดยใช้ผงโกโก้ และ chocolate liquor ในการปรุงแต่งรส กลิ่นของลูกอม และลูกกวาด

           -อุตสาหกรรมยา โกโก้ ที่ใช้จะเป็นรูปแบบของน้ำเชื่อมโกโก้ ซึ่งเป็นส่วนผสมซึ่งให้รสทั้งยาเม็ด ยาน้ำ และใช้เคลือบยาเม็ด เป็นการลบความขม เช่น ยาควินิน

           -อุตสาหกรรมยาสูบ โดยใช้โกโก้เป็นส่วนผสมในยาสูบ เนื่องจากโกโก้มีกลิ่นหอมกลมกลืนกับกลิ่นใบยา และขณะรวมตัวเผาไหม้กับน้ำตาล ทำให้เกิดกลิ่นหอมมากขึ้น

           -อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง นิยมใช้ cocoa butter ในการทำลิปสติกเพราะ cocoa butter มีคุณสมบัติละลายได้เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงที่ 37 องศสเซียลเซียส แต่คงอยู่ได้ไม่ละลายในอุณหภูมิปกติ นอกจากนี้ยังมีการนำเปลือกเมล็ดของโกโก้ที่กะเทาะแยกจากใบเลี้ยงไปบีบเอาเนยโกโก้ (Cocoa butter) ซึ่งนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำครีม สบู่ โลชั่น บำรุงผิว ใช้เป็นตัวยาพื้นของยาเหน็บ ขี้ผึ้ง และครีม หรือ อาจนำมาสกัด theobromine ซึ่งเป็นสารกระตุ้นได้อีกด้วย

โกโก้

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ในการใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพของโกโก้นั้น ส่วนมากจะเป็นการใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น รับประทานโกโก้ ผงชงเป็นเครื่องดื่ม หรือ รับประทาน ช็อคโกแลตประเภทต่างๆ เช่น Dark chocolate, White chocolate, Milk chocolate นอกจากนี้อาจมีการนำเอาสาร Theobromine หรือ caffeine มาใช้เป็นสารสกัดหรือใช้ทำเป็นยาในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ เป็นต้น


ลักษณะทั่วไปของโกโก้

โกโก้จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่สูงประมาณ 4-20 เมตร (ในสภาพธรรมชาติ) และ 3-6 เมตร (เมื่อนำมาปลูกในแปลงปลูก) ปกติแล้วเมื่อนำมาเป็นกล้าโกโก้ นั้น จะไม่มีกิ่งแขนง ลำต้นจะตั้งตรงสีน้ำตาล ถึงน้ำตาลดำเมื่อเจริญเติบโตสูงถึง 1-2 เมตร ตาที่ยอดจะพัฒนาเติบโตเป็นกิ่งข้าง 3-5 กิ่ง และมีตาที่สามารถเจริญเติบโตเป็นกิ่งกระโดงได้ นอกจากนี้บริเวณลำต้นยังมีปุ่มตาดอกอยู่กระจายไปทั่วลำต้น อีกด้วย

           ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับ หรือ เวียนรอบ ลักษณะของใบขอบขนานแกมรูปรีรูปไข่กลับ หรือ รูปขอบขนานแกมรูปกึ่งไข่กลับ กว้าง 4-20 ซม. และยาว 10-50 ซม. โคนใบมน หรือ สอบปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบบางแต่เหนียวเส้นแขนงใบมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อยข้างละ 9-12 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกัน และก้านใบยาวประมาณ 1-3 ซม.

           ดอก เป็นดอกเดี่ยวแต่ออกเป็นกลุ่มๆ ตามลำต้น หรือ กิ่งที่แก่โดยดอกจะมีขนาดเล็ดเมื่อบานเต็มที่ และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม. กลีบดอกมี 5 กลีบ ออกเรียงสลับกับกลีบเลี้ยง กลีบดอกเป็นสีขาวอมเหลือง หรือ อมชมพู กลีบดอกล่างขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร และยาว 3-4 มิลลิเมตร เป็นกระพุ้งสอบลงมาหาโคนกลีบ มีเส้นสีม่วงตามยาว 2 เส้น กลางกลีบดอกคอดเป็นเส้น โค้งออก ยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนปลายกลีบดอกเป็นสีเหลือง แผ่ออกมีขนาดกว้าง 2-3 มิลลิเมตร ยาว 3 มิลลิเมตร และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปขอบขนานไปจนถึงรูปปลายหอก สีขาวไปจนถึงสีออกแดง โค้งพับลง

           ผล เป็นรูปกลมยาว ปกติเรียกว่า ฝัก (pod) รูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือ รูปรีปลายแหลมออกบริเวณตามกิ่ง และลำต้น ผลมีขนาดกว้าง 6-10 ซม และยาว 12-22 ซม. ผิวผลแข็งขรุขระ คล้ายมะระ ตามผลมีร่องตามยาว ตามทางประมาณ 5-10 ร่อง ผลมีสีเขียว สีเหลือง เมื่อแก่ผลแก่จัดจะมีสีแดงอมเหลือง หรือ สีแดงอมม่วง แล้วแต่สายพันธุ์ในผลมีโกโก้ประมาณ 20-60 เมล็ด เรียงเป็น 5 แถวยาวตามแกนกลาง

           เมล็ด มีลักษณะแตกต่างกันมีทั้งรูปกลมไปจนถึงรูปรีสีน้ำตาล มีขนาดกว้าง 1-1.5 ซม. และยาว 2-2.5 ซม. มีเยื่อหุ้มเมล็ดบางๆ รสหวาน ไปจนถึงเปรี้ยว

โกโก้

โกโก้

การขยายพันธุ์โกโก้

โกโก้ สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การชำ การติดตา การเสียบยอด การตอน แต่วิธีที่นิยมกันมาก คือ การเพาะด้วยเมล็ด ซึ่งข้อดีของการขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดคือ ทำได้ง่าย สะดวก และได้ปริมาณมาก โดยเริ่มจากเมล็ดที่ใช้เพาะควรเริ่มจากการนำลงเพาะเลยหลังจากนำเมล็ดออกจากฝัก โดยนำเมือกหุ้มออกได้โดยขัดถูเมล็ดกับทรายจากนั้นจึงนำลงเพาะในแนวนอน ในถุงพลาสติกสีดำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 ซม. หลังจากเพาะเมล็ดลงถุงพลาสติกเรียบร้อยแล้วนำถุงเพาะเมล็ดไว้ในโรงเรือนที่มีร่มเงาประมาณ 75% รดน้ำวันละ 1 ครั้ง หากเตรียมเมล็ดดี เมล็ดภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากเพาะ สำหรับดินที่ใช้เพาะควรมีดินร่วน 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 2 ส่วน และปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟส 1 ส่วน เมื่อต้นกล้างอกและสูงประมาณ 20 ซม. หรือ มีใบจริง 2-3 ใบ จะเป็นระยะที่เหมาะสมนำไปปลูก ก่อนที่จะนำไปปลูกในสวนควรจะลดร่มเงาของเรือนเพาะชำให้เหลือเพียง 25% เพื่อเป็นการเตรียมต้นกล้าให้ชินกับสภาพแดดมากขึ้น และควรจะปลูกต้นฤดูฝน ในปัจจุบันพื้นที่ปลูกโกโก้ส่วนใหญ่อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตก 63% ประเทศในเขตร้อนของแอฟริกา 63% และเอเชีย 17% สำหรับในประเทศไทยมีแหล่งปลูกโกโก้อยู่หลายจังหวัด เช่น ระนอง พังงา ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ประจวบคีรีขันธ์ และสมุทรสงคราม เป็นต้น  


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของเมล็ดโกโก้ ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ หลายชนิด ดังนี้ ในเมล็ดโกโก้มีสารที่สำคัญ กลุ่มโพลีฟีนอล ซึ่งจะถูกเก็บอยู่ในเซลล์เม็ดสีของใบเลี้ยง (cotyedons) ซึ่งเซลล์ที่เก็บ polyphenols มีตั้งแต่จะมีสีขาวจนถึงม่วงเข้ม ขึ้นอยู่กับปริมาณของ antho ในเมล็ดโกโก้มีสารที่สำคัญส่วน โพลีฟินอล (polyphenols) จะถูกเก็บอยู่ในเซลล์เม็ดสี (pigment) cyanins ใน pigment cells สารสำคัญในกลุ่ม polyphenols อาจแบ่งได้เป็นกลุ่มหลักถือ catechins หรือ favan-3-ols (37%), anthocyanins (4%) และ proanthocyanidins (58%) ซึ่งสาร catechins หลัก คือ (-) epicatechin ประมาณ 21.89 - 43.27 มก/ก. ของเมล็ดแห้งที่เอาไขมันออกแล้ว ส่วนสารที่พบปริมาณ น้อยกว่า คือ (+)-catechin, (+)-gallocatechin และ (-)-epigallocatechin; anthocyaninsที่ประกอบด้วย cyanidin-3-C-L-arabinosid และ cyanidin-3-0-D-galactosid ส่วน proanthocyanidins ส่วนใหญ่เป็น procyanidins พบมากในรูปของ favan-3,4-diols ซึ่งจับเป็น dimters, trimers หรือ oligomers กับ สาร polyphenos แล้ว ในเมล็ดโกโก้ ยังมีสาร diketopiperazines; โปรตีน amines: alkaloids โดยสารหลักใน alkaloids ในระยะผลเล็กอ่อน (น้ำหนักสดประมาณ 2 ก.) ส่วนใหญ่อยู่ในผนังผล (pericarp) คือ theobromine (0.7 ไมโครโมล กก./นน.สด) ส่วน calffeine (0.09 ไมโครโมล /นน. สด) ปริมาณ theobromine ของผนังผลจะลดลงอย่างรวดเร็ว ไปตามอายุของเนื้อเยื่อ caffeine จะลดลงอย่างสม่ำเสมอ ปริมาณ theobromine ส่วนใหญ่ จะสะสมในเมลิด (22 ไมโครโมล/ ก. นน.สด) และส่วนใหญ่จะอยู่ในใบเลี้ยง (cotyledons) เมื่อผลมีขนาดใหญ่ (น้ำหนักสดประมาณ 500 ก.) ยังพบ eobromine ในเปลือกหุ้มเมล็ด และรก (placenta) ด้วย (128/7F ปริมาณ caffeine 1 เปรียบเทียบในรูปของเครื่องดื่มโกโก้ กาแฟ และชา ในเครื่องดื่มโกโก้มีปริมาณ caffeine ต่ำสุด คือ ประมาณ 10 มก. ในเครื่องดื่ม 6 ออนซ์ (1 ถ้วย) ส่วนกาแฟและชาจะมี caffeine ประมาณ 100 และ 30 มก.ต่อ 1 ถ้วยนอกจากนี้ pyrazines: cocoa butter (ไขมันเนยของโกโก้) จะประกอบด้วยกรดไขมัน ได้แก่ stearin, olein เป็นต้น stearin มีประโยชน์ในการผลิตช็อคโกแลต ทำให้มีความรู้สึกดีเมื่อช็อกโกแลตอยู่ในปาก และ olein มักใช้ในอุตสาหกรรมทำขนมหวานส่วน ไฟเบอร์เมล็ดพบว่าเมล็ดโกโก้มีไฟเบอร์ทั้งหมด > 60% ของน้ำหนักแห้ง และเป็นไฟเบอร์ที่ไม่ละลายน้ำ 83% ของไฟเบอร์ทั้งหมด และไฟเบอร์จากเมล็ดจะมี polyphenols เพียงแค่ 1.15% เท่านั้น นอกจากนี้โกโก้ยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของโกโก้ผง (100 กรัม)

โปรตีน 20.4 กรัม
ไขมัน 25.6 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 35 กรัม
พลังงาน 452 แคลอรี่
โซเดียม 650 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 534 มิลลิกรัม
แคลเซียม 51.2 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 192 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 14.3 มิลลิกรัม
ทองแดง 3.4 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 385 มิลลิกรัม
กำมะถัน 160 มิลลิกรัม
คลอรีน 199 มิลลิกรัม

โครงสร้างโกโก้

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของโกโก้

มีรายงานการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของโกโก้ระบุว่า โกโก้มีฤทธิ์ด้านอนุมูลอิสระ และในโกโก้มีสารสำคัญ คือ polyphenols ชมคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ โดยสาร polyphenols ที่เป็นสารหลักในการต้านอนุมูลอิสระ คือ flavan-3-ols (catechin และ epicatechin) (22, 23, 25-27) และ procyanidins (ได้แก่ procyanidin B, procyanidin C, cinnamtannin A, galactopyranosy-ent-(-)-epicatechin (201-77, 401->8)-(-)epicatechin เป็นต้น) (13. 21-23. 25-27, 30, 36) เรียงลำดับดวามสามารถของสารในการออกฤทธิ์จับอนุมูลอิสระ (DPPH)procyanidin B(B)>(+)catechin (CA) = cinnamtannin A, (A) > (-)-epicatechin (EC) >> procyanidin C, (C,) ฤทธิ์จับอนุมูลอิสระ superoxide เรียงตามลำดับ EC > C = A. >CA = B และฤทธิ์จับอนุมูลอิสระ peroxynitite เรียงตามลำดับ EC > CA > B > C1 > A (22) การเปรียบเทียบฤทธิ์ต้นอนุมูลอิสระโดยใช้ Cu" เป็นตัวทำให้เกิดอนุมูลอิสระ การออกฤทธิ์เรียงตามลำดับคือ CA > B Z EC 2 C >A และเมื่อใช้ 2.2'-azobis (4-methoxy-2,4-dimethyvaleronitile) เป็นตัวทำให้เกิดนุมูลอิสระ การออกฤทธิ์เรียง ตามลำดับคือ EC 2 B. 2 C, > CA > A, (25) procyanidin oligomers จะยับยั้งการแตกของเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่า ()-epicatechin, 499 (+)-catechin (23) และ ()-epicatechin จะออกฤทธิ์จับ superoxide a thiobarbitunic acid reactive substances (TBARS) และยับยั้ง LDL oxidation ได้ดีกว่า conjugated glucuronide metabolites ของ epicatechins เช่น (-)-epicatechin-3'-O-glucuronide, 4 O-methy-)epicatechin-3'-0-glucuronide เป็นต้น

           เมื่อการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิดที่มีส่วนผสมของโกโก้ หรือ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น โกโก้ (c0c0a) และผลิตภัณฑ์จากโกโก้ คือ ช็อคโกแลตดำ (dark ช็อคโกแลตนม (milk chocolate) และโกโกร้อน (hot cocoa) พบว่ามีปริมาณสาร polyphenols เรียงลำดับดังนี้ cocoa > dark chocolate > milk chooblate hot cocoa ปริมาณสาวที่ลดความสัมพันธ์กับปริมาณ cocoa iquor ที่ลดลงในผลิตภัณฑ์ ตรวจพบ epicatechin และ catechin ในทุกตัวอย่าง ปริมาณ catechin ใน milk chocolate, dark chocolate และ cocoa ประมาณ 15-16, 48-137 และ 296-327 มก/ก. ตามลำดับ ส่วนฤทธิ์ด้านอนุมูลอิสระ เรียงลำดับดังนี้ dark chocolate > cocoa > milk chocolate (ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ dark chocolate และ cocoa ไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ทั้งคู่จะมี ค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับ milk chocolate

           และมีการศึกษาวิจัยโดยนำสารโพลีฟีนอลในโกโก้ซึ่งประกอบด้วย (-)-epicatechin, (+)-catechin, procyanidin B2, procyanidin C1 และ cinnamtannin A2 มาศึกษาผลต่อการสร้างอะโปไลโปโปรตีน (apolipoprotein) ในเซลล์ตับ HepG2 และเซลล์ลำไส้ Caco2 พบว่าสารโพลีฟีนอลที่ความเข้มข้น 10 ไมโครโมล มีผลเพิ่มปริมาณและการแสดงออกของยีนของ apolipoprotein A1 (โปรตีนที่เป็นส่วนประกอบใน HDL) และลดปริมาณและการแสดงออกของยีนของ apolipoprotein B (โปรตีนที่เป็นส่วนประกอบใน LDL) ในเซลล์ทั้ง 2 ชนิด นอกจากนี้ยังมีผลเพิ่มระดับของ sterol regulatory element binding proteins (SREBPs) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดไขมัน และกระตุ้นการทำงานของ LDL receptor ในเซลล์ตับด้วย แสดงว่าสารโพลีฟีนอลในโกโก้มีผลต่อระดับของไขมันในเซลล์ โดยจะทำให้ไขมัน HDL เพิ่มขึ้น และ LDL ลดลง การศึกษาในสัตว์ทดลองก็ให้ผลต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน การศึกษาในกระต่ายที่มีคอเลสเตอรอล ในเลือดสูง ทานอาหารที่ผสมด้วย polyphenols จาก cocoa liquor ขนาด 1% นาน 10 วัน (39) และนาน 6 เดือน (40) พบว่า LDL oxidation และ TBARS ลดลง แต่ไม่พบความแตกต่างของระดับไขมัน หรือ ไลโพโปรตีนในเลือด การศึกษาในหนูขาว โดยเมื่อให้หนูขาวกินอาหารไม่มีวิตามินอี ผสมด้วย polyphenols จาก cocoa Iquor ขนาด 0.25, 0.5 และ 1% นาน 7 สัปดาห์ พบว่า polyphenols ช่วยลด lipid peroxide ในดับ ไต หัวใจ และสมอง แต่ไม่ได้ป้องกันการลดลงของ (-tocopherol ในตับ ไต หัวใจ สมอง และเลือด (41) การให้สารสกัดโกโก้ทางสายยางให้อาหารแก่หนูขาว ขนาด 100 มก. ตรวจเลือดทุก 4 ชม. พบ epicatechin, catechin และ dimers (-)-epicatechin-43-8)-epicatechin iลe (-)-epicatechin (43-6)epicatechin) ในเลือด ความเข้มขัน 64 ไมโครโมล, 217.6 นาโนโมล, 248.2 นาโนโมล และ 55.4 นาโนโมล ตามลำดับ ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant capacity เมื่อวัตด้วย TRAP assay) เพิ่มขึ้น ระหว่าง 30-240 นาที หลังจากได้รับสารสกัด เม็ดเลือดแดงที่ได้จะทนต่อการแตก มีการศึกษาทางคลินิกหลายฉบับที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหากินผลิตภัณฑ์จากโกโก้ และ การเกิด LDL oxidation (49- 54) เช่นการวิจัยในอาสาสมัครสุขภาพดี 23 คน กันอาหาร 2 ชนิด คือ อาหารแบบอเมริกัน (AAD) ควบคุมไฟเบอร์ caffeine และ theobromine และอาหาร AAD ร่วมกับ 4 โกโก้ 22 ก. และ dark chocolate 16 n. (CP-DC diet) (มี procyanidins ประมาณ 466 มก./วัน) การศึกษา 2 ช่วง แบบ crossover study พบว่าโกโก้มีผล ไปลดการเกิด LDL oxidation (lag time นานขึ้น) แสดงว่าโกโก้ช่วยลดอนุมูลอิสระในร่างกาย

           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางคลินิกถึงฤทธิ์ของสาร flavonol ในโกโก้ต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่ไม่มีอาการผิดปกติของพฤติกรรมการเรียนรู้และจดจำ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน ให้ดื่มโกโก้ที่มีส่วนประกอบของ flavonol 3 ขนาด คือ 993, 520 และ 48 มก. ดื่มวันละครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทำการประเมินเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ทั้งก่อนและสิ้นสุดการศึกษา ผลการประเมินโดยใช้แบบทดสอบสภาพจิต mini mental status examination (MMSE) เพื่อประเมินปัญหาในเรื่องความจำเบื้องต้น พบว่าทั้ง 3 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน โดยมีแนวโน้มเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้และจดจำไปในทางที่ดี การวัดสมาธิโดย trail making test (TMT) พบว่ากลุ่มที่ดื่มโกโก้ที่มีส่วนประกอบของ flavonol ในขนาดสูง และปานกลางส่งผลให้สมาธิดีขึ้น โดยมีระยะเวลาในการทำแบบทดสอบ TMT A และ B น้อยกว่ากลุ่มที่ดื่มโกโก้ที่มี flavonol ขนาดต่ำ การทดสอบความคล่องแคล่วทางภาษาโดย verbal fluency test (VFT) พบว่ากลุ่มที่ดื่มโกโก้ flavonol ขนาดสูงมีคะแนน 7.7±1.1 คำ/60 วินาที ซึ่งดีกว่ากลุ่มโกโก้ flavonol ขนาดปานกลาง 3.6±1.2 คำ/60 วินาที และกลุ่มโกโก้ flavonol ขนาดต่ำ 1.3±0.5 คำ/60 วินาที อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มโกโก้ flavonol ขนาดสูง และปานกลางมีผลยับยั้งภาวะดื้อต่ออินซูลิน ลดความดันโลหิต และยับยั้ง lipid peroxidation ได้ดีกว่ากลุ่มโกโก้ flavonol ขนาดต่ำ จากผลการทดสอบสาร flavonol ในโกโก้มีแนวโน้มลดกลุ่มอาการผิดปกติในกระบวนการเรียนรู้และจดจำเนื่องจากอายุที่มากขึ้น ผ่านกระบวนการลดภาวะดื้อต่ออินซูลินในร่างกาย


การศึกษาทางพิษวิทยาของโกโก้

มีรายงาการศึกษาทางพิษวิทยาของโกโก้ และสารสกัดโกโก้ ระบุเอาไว้ดังนี้

           มีการศึกษาวิจัยโดยป้อนผงโกโก้ที่ผ่านการอบ หรือ ยังไม่ได้อบละลายในน้ำทางสายยางให้อาหารหนู แซมสเตอร์ พบว่าโกโก้ที่เอาไขมันออกแล้ว และผ่านการอบจะเป็นพิษต่อยีน (เกิด sister chropatid exchange เพิ่มขึ้น) มากกว่าโกโก้ที่ไม่ผ่านการอบ ในขณะที่ไขมันจากโกโก้ไม่เป็นพิษต่อยีนหนูที่ได้ รับโกโก้ 5 ก./กก. นน.ตัว มี sister chromatid exchange เพิ่มขึ้น 1.5 เท่าของกลุ่มควบคุม (98 ไม่พบ ความเป็นพิษต่อยืนของผงโกโก้ ในการทดสอบ Ames assay, The mouse lymphoma assay. Cytogenetic assay และ Cell transformation assay (60) /หนูขาวที่กินอาหารผสมผงโกโก้ขนาด 2.5., 5.0 และ 7.5% ของอาหารตลอดการตั้งท้องและหุ้มนมลูก (ถึงหลังดลอด 21 วัน) จะกินอาหารมากกว่ากลุ่มที่ ไม่ได้กินโกโก้ในระหว่างตั้งท้อง น้ำหนักตัวแม่หนูในระหว่างให้นมเพิ่มขึ้นเฉพาะที่กินโกโก้ขนาด 5.0 และ 7.5% ขนาดของครอกหนูลดลงเล็กน้อยในหนูที่กินโกโก้ 7.5% แลการรอดชีวิตของลูกหนูลดลงเล็กน้อย ในหนูที่กินโกโก้ 5.0 และ 7.5% ไม่แตกต่างกันทางสถิติ Theobron ที่สกัดแยกจากโกโก้ไม่เป็นพิษต่อยืน และ theobromine ไม่ก่อกลายพันธุ์ ใน Salmonellaimamalian microsome mutagenicity test ส่วน (heobromine จะให้ผลทั้งก่อกลายพันธุ์และไม่ก่อกลายพันธุ์ในการทดสอบ Micronucleus test และ chromosome aberration test ตามลำดับ 489) การประเมินผล theobromine ซึ่งเป็น purine alkaioid ในช็อคโกแลตและผลิตภัณฑ์จากโกโก้ ในหนูขาวเพศผู้ เมื่อให้กินทางปาก ขนาด 50, 150 และ 450 มก) กก. นาน 10 สัปดาห์ให้ผสมพันธุ์กับหนูเพศเมีย และฆ่าหนูเพศเมีย 13 วัน หลังจากผสมพันธุ์แล้ว พบว่า ไม่มีความแตกต่างของร้อยละของตัวอ่อนที่ฝังตัวตายเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม อัดราการตั้งท้อง 94% แสดงว่า theobromine ไม่มีผลทำให้เกิดการกายพันธ์ หรือ ผลต่อการตั้งครรภ์ หลังจากกินในขนาดเทียบเท่ากับ 25-225 เท่าของปริมาณสูงสุดที่คนได้รับ

           สารให้สีจากเปลือกเมล็ดโกโก้ เมื่อป้อนให้หนูขาวเพศผู้ ความเข้มข้นของสารที่ทำให้หนูตาย 50% (LD ) เท่ากับ 5.840 มก./กก. และเมื่อป้อนให้หนูขาวทั้งสองเพศกินนาน 12 สัปดาห์ ในขนาด 0.1, 0.4, 1.6 และ 6.4% ของอาหาร ไม่พบพิษใดๆ แต่ระดับ hemochrome คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ไม่เป็นพิษต่อยื่นในหนูขาว ไม่ก่อกลายพันธุ์ หรือ เป็นพิษต่อตัวอ่อน และการตั้งครรภ์ หนูถีบจักรแต่อย่างใด


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ถึงแม้ว่าจะมีข้อมูลด้านความปลอดภัยยืนยันว่าโกโก้ หรือ ผลิตภัณฑ์จากโกโก้มีความปลอดภัยสูงแต่ในการรับประทานก็ควรระมัดระวังในการรับประทานเนื่องจาก ในปัจจุบันมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น เครื่องดื่มโกโก้ ช็อคโกแลตแท่ง โกโก้ผง หรือ ช็อตโกแลตผงนำไปผสมในขนมอบต่างๆ ซึ่งในการบริโภคควรคำนึงถึงส่วนผสม หรือ ส่วนประกอบอื่นๆ ที่อยู่ในอาหาร หรือ ขนมดังกล่าวด้วย โดยเฉพาะน้ำตาล นม หรือไขมันอื่นๆ เพราะอาจก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา เช่น เบาหวาน หรือ ไขมันใน เลือดสูง หรือ โรคอ้วนได้ นอกจากนี้คนที่เป็นโรคหัวใจควรระมัดระวังในการรับประทานโกโก้ หรือ ผลิตภัณฑ์จากโกโก้เนื่องจากคาเฟอีนใยโกโก้จะทำให้ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจบางรายเกิดอาการใจสั่น อีกทั้งยังเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และทำให้ผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติเกิดอาการแย่ลงได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน คือ โกโก้ 19-54 กรัม/วัน ช็อคโกแลต 46-100 กรัมต่อวัน ผลิตภัณฑ์จากโกโก้อื่นๆ ที่มีสารโพลีฟีนอล 16.6-1080 มิลลิกรัม/วัน

เอกสารอ้างอิง โกโก้
  1. สมศักดิ์ วรรณศิริ, 2532. สวนโกโก้. กรงเทพฯ. สํานักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม.
  2. เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. โกโก้. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. หน้า 58-59.
  3. ศูนย์วิจัยพืชสวนชุพร, สถาบันวิจัยพืชสวน. กรมวิชาการเกษตร. 2533. คู่มือการปลูกโกโก้.
  4. Wintgens , J.N . 1991 , Influence of genetic factors and agroclimatic conditions on the quality of cocoa. 2 nd. International Congress on Cocoa and Chocolate. May 1991 Munich.
  5. วาทย์ สุวรรณวุธ, 2527. การพัฒนาโกโก้ในประเทศไทย รายงานการสัมมนา เรื่องมะพร้าว และโกโก้ หน้า 41–44.
  6. ประโยชน์ของโกโก้ต่อการเรียนรู้ความดันโลหิตในผู้สูงอายุ. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  7. กฤติยา ไชยนอก. โกโก้ช็อคโกแลตวาเลนไทน์. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. สำนักงานข้อมูล สมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  8. ผานิต อานกรณาธิการ. การพัฒนาโกโก้ประเทศไทย. รายงานวิชาการศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร สำนักวิจัย และพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 กรมวิชาการแพทย์ การเกษตร และสหกร. 2548. 75 หน้า
  9. โพลีฟีนอลโกโก้กับการควบคุมอะโปไลโปรตีน. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  10. สัณห์ ละอองศรี. องค์ความรู้เรื่องโกโก้. สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 19 หน้า.
  11. Van der Vossen WAM, Wessel M (editors). ทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันที่ 16. พืชให้สารกระตุ้น.Leden: Backhuys Publishers
  12. Brusick D, Myhr B, Galloway S, Rundell J, Jagannath DR, Tarka S. Genotoxicity of cocoa in a series of short-term assays. Mutat Res/Genetic Toxicology 1986;169(3):115-22
  13. Osakabe N, Natsume M, Adachi T, et al. Effects of cacao liquor polyphenols on the susceptibility of low-density lipoprotein to oxidation in hypercholesterolemnic rabbits. J Atheroscler Thromb 2000;7(3):164-8. bna eset nert
  14. Wintgens J.N. 1991. Inflence of genetic factors and agroclimatic conditions on the quality of cocoa.  2 nd. International congress on cocoa and chocolate. May1991 munich.
  15. Leung AY, Foster S.Encyclopedia of common natural ingredients : Use drugs, and cosmetics. 2"d Edition. New York: John Wiley & Sons, Inc., 1996.
  16. Lecumberri E, Mateos R, Ramos S, Alia M, Ruperez P, Goya L, Izquierdo-Pulido M, Bravo L. Characterization of cocoa fiber and its effects on the antioxidant capacity of serum in rats. Nutricion Hospitalaria 2006:21(5):622-8.
  17. Wan Y, Vinson JA, Etherton TD, Proch J, Lazarus SA, Kris-Etherton PM. Effects of cocoa powder and dark chocolate on LDL oxidative susceptibility and prostaglandin ncentrations i humans.-Am JClin Nutr 2001;74(5):596-602.
  18. Natsume M, Osakabe N, Yasuda A, et al. In vitro antioxidative activity of (-)-epicatechin glucuronide metabolites present in human and rat plasma. Free Radic Res u) 2004;38(12):1341-8.
  19. Yasuda A, Natsume M, Osakabe N. Radical scavenging activities of procyanidins in Theobroma cacao. Meiji Seika Kenkyu Nenpo 2001:40:42-50.
  20. Osakabe N, Natsume M, Adachi T, et al. Effects of cacao liquor polyphenols on the susceptibility of low-density lipoprotein to oxidation in hypercholesterolemnic rabbits. J Atheroscler Thromb 2000;7(3):164-8
  21. Romancyzk Jr. Leo J. Cocoa extract compounds and methods for making and using the same, Patent: U S US 6,423,743, 2002.
  22. Counet C, Ouwerx C, Rosoux D, Collin S. Relationship between procyanidin and flavor contents of cocoa liquors from different origins. J Agric Food Chem 2004;52:6243-9.
  23. Kurosawa T, Itoh F, Nozaki A, et al. Supressive effects of cacao liquor polyphenols (CLP) on LDL oxidation and the development of atherosclerosis in Kurosawa and Kusanagi-hypercholesterolemic rabbits. Atherosclerosis (Amsterdam, Natherlands) 2005;179(2):237-46.
  24. Tarka SM, Applebaum RS, Borzelleca JF. Evaluation of the perinatal, postnatal and teratogenic effects of cocoa powder and theobromine in Sprague-Dawley/CD rats. Food Chem Toxicol 1986;24(5)375-82.
  25. Marx F, Maia JGS. Purine alkaloids in seeds of Theobroma species from the Amazon. Zeitschrift fuer Lebensmittel-Untersuchung und -Forschung 1991;193(5):460-1. 10) Lecumberri E, Mateos R, Ramos S, Alia M, Ruperez P, Goya L, Izquierdo-Pulido M, Bravo L. Characterization of cocoa fiber and its effects on the antioxidant capacity of serum in rats. Nutricion Hospitalaria 2006:21(5):622-8.
  26. Shively CA, White DM, Blauch JL, Tarka SM. Dominant lethal testing of theobromine in rats. Toxicol Lett 1984:20(3):325-9.
  27. Ma F, Xie H, Wang J, Zhao Y, Qin H. Toxicological study of food coloring materials from cocoa bean shells. Shipin Kexue (Beijing, China) 1983:44(24):23.
  28. Van der Vossen WAM, Wessel M (editors). ทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันที่ 16. พืชให้สารกระตุ้น.Leden: Backhuys Publishers
  29. Yamagishi M, Osakabe N, Takizawa T, Osawa T. Cacao liquor polyphenols reduce oxidative stress without maintaining a-tocopherol levels in rats fed a vitamin E-deficient diet. Lipids 2001;36(1):67-71.
  30. Vinson JA, Proch J, Zubik L. Phenol antioxidant quantity and quality in foods : cocoa,dark chocolate, and milk chocolate. J Agric Food Chem 1999;47(12):4821-4.
  31. Zhu QY, Holt RR, Lazarus SA, Orozco TJ, Keen CL.o Inhibitory effects of cocoa flavanols and procyanidin oligomers on free radical-induced erythrocyte hemolysis. Exp Biol Med (Maywood) 2002;227(5):321-9