กะหล่ำดอก ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

กะหล่ำดอก งานวิจัยและสรรพคุณ 18 ข้อ

ชื่อสมุนไพร กะหล่ำดอก
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ดอกกะหล่ำ (ภาคเหนือ), ผักกาดดอก, กะหล่ำต้น (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea L.Var.biteytis L
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea L.cv.Group Cauliflower
ชื่อสามัญ cauliflower, Heading nroccoli
วงศ์ CRUCIFERAE


ถิ่นกำเนิดกะหล่ำดอก

มีข้อมูลว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของกะหล่ำดอก มีถิ่นดั้งเดิมในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ต่อมาจึงได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกสำหรับในประเทศไทยมีหลักฐานระบุว่ามีการนำดอกกะหล่ำเข้ามาปลูกอย่างแพร่หลายเมื่อหลังปี พ.ศ.2570 จนในปัจจุบันสามารถพบในทางภาคเหนือ พบได้ในภาคใต้เพราะสภาพดิน และสภาพอากาศไม่เหมาะสมในการปลูก


ประโยชน์และสรรพคุณกะหล่ำดอก

  • ช่วยแก้อาการปวดศีรษะเรื้อรัง
  • ช่วยรักษาหอบหืด
  • แก้หลอดลมอักเสบ
  • ช่วยรักษาแผลในปาก
  • แก้เจ็บคอ
  • แก้คออักเสบ
  • รักษาแผลเรื้อรังและโรคเรื้อนกวาง
  • ช่วยบำรุงสมองของทารกในครรภ์ (กะหล่ำดอกเป็นผักที่อุดมไปด้วยโคลีน)
  • ช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจ
  • ช่วยควบคุมความดันโลหิต
  • ช่วยรักษาหวัด
  • รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว
  • ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
  • ช่วยให้การหลั่งของน้ำย่อยนั้นเป็นปกติ
  • ช่วยในการขับถ่าย
  • ช่วยขับล้างสารพิษในร่างกาย

           ประโยชน์หลักของกะหล่ำดอก คือ ใช้เป็นผักที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย และมีรสชาติอร่อยกรอบหวาน สามารถใช้ประกอบาหารได้หลายเมนู เช่น ผัด แกง ต้ม ลวก เป็นต้น อีกทั้งยังมีวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

กะหล่ำดอก

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

สำหรับการใช้รักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบโดยนำกะหล่ำดอก สดมาคั้นเอาน้ำดื่ม 1-2 ออนซ์ทุกวัน ใช้รักษาคออักเสบ แก้เจ็บคอ รักษาแผลในปากโดยนำกะหล่ำพดอกคั้นเอาน้ำ อมกลั้วปาก ใช้รักษาโรคเรื้อนกวาง และแผลเรื้อรังโดยนำกะหล่ำดอกสดมาตำให้แหลกแล้วนำมาประคบหรือทาบริเวณที่เป็น ส่วนในสรรพคุณอื่นๆ จะใช้กะหล่ำดอกมาปรุงเป็นอาหารรับประทานทั่วไป

ลักษณะทั่วไปของกะหล่ำดอก

กะหล่ำดอก จัดเป็นพืชล้มลุกเพียงปีเดียว ลำต้นอวบกลมตั้งตรงไม่แตกแขนงความสูงของลำต้นประมาณ 50-60 ซม. (โตเต็มที่ออกดอกและสูงได้ประมาณ 90-150 เซนติเมตร) ระบบรากเป็นแบบแพร่กระจายบนชั้นดินลึกไม่เกิน 30 เซนติเมตร แต่ก็มีรากแขนงขนาดใหญ่ที่อาจชอนไชลงไปใต้ดินได้ลึกกว่านี้

           ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนซ้อนกันเป็นกระจุก ประมาณ 15-25 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ขอบใบเป็นคลื่นนั้น ใบรอบนอกมีขนาดกว้าง 30-40 เซนติเมตร และยาว 0-50 เซนติเมตร ส่วนใบด้านในผอมเรียวใบมีขนาดกว้าง 5-20 ซม. ผิวใบเรียบมีชั้นของไขสีขาวห่อหุ้มผิวใบแผ่นใบเป็นสีเทาเขียวแก่จนถึงสีเขียวปนฟ้า เส้นกลางใบและเส้นใบเป็นสีขาว

           ช่อดอกออกเป็นกระจุกลักษณะคล้ายโดม (ความจริงแล้วส่วนของดอกนี้คือส่วนที่เจริญงอกขึ้นมา) สีขาวถึงสีเหลืองสีเขียว หรือ สีม่วงแล้วแต่สายพันธุ์อัดแน่นกัน ก้านช่อดอกสั้นและฉ่ำน้ำ ช่อดอกอาจมีลักษณะเป็นทรงกลม หรือ แบน โดยจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-40 เซนติเมตร กระจุกดอกประกอบไปด้วยช่อดอกหลายช่อ มีกลีบเลี้ยงตั้งตรงสีขาว กลีบดอกเป็นรูปช้อนตั้งตรงสีเขียว กลีบดอกเป็นรูปช้องสีเหลือง หรือ สีขาว มีขนาดกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5 ซม. ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน แบ่งเป็นขนาดสั้น 2 อัน และยาว 4 อัน รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบเชื่อมติดกัน มีผนังเทียมกั้นอยู่ตรงกลาง มีต่อมน้ำ 2 อัน อยู่ระหว่างรังไข่

           ผล เป็นผักแตกแบบผักกาด มีขนาดกว้าง 0.5 ซม. และยาว 5-10 ซม. ด้านในฝักมีเมล็ดประมาณ 10-30 เมล็ด มีลักษณะกลมสีน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 มิลลิเมตร

กะหล่ำดอก

กะหล่ำดอก 

การขยายพันธุ์กะหล่ำดอก

กะหล่ำดอกสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการใช้เมล็ด โดยการนำมาเพาะให้เป็นต้นกล้าแล้วจึงย้ายต้นกล้าที่ได้ปลูกในแปลงต่อไป สำหรับระยะการปลูกกะหล่ำดอก ในปัจจุบันจะนิยมเว้นระยะปลูกประมาณ 50x60-80 ซม. และเนื่องจากประเทศไทยมีแสงแดดแรงเป็นเหตุให้ผิวช่อดอกกะหล่ำมีสีเหลืองไม่เป็นที่นิยมขอตลาด เกษตรกรจึงนิยมการห่อช่อดอกโดยรวบปลายใบด้านบน มัดติดกันเมื่อเริ่มเห็นตุ่มตาดอกผลิออกมา


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานการศึกษาอค์ประกอบทางเคมีของกะหล่ำดอก พบว่ามีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิด อาทิเช่น sulforaphene, indol-3-carbinol, glucosindate folicacid, carcinogen, isothiocyanate, Beta-carotene, lutein, Zeaxanthin, choline เป็นต้น นอกจากนี้กะหล่ำดอกยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของกะหล่ำดอก (100 กรัม)

พลังงาน

25

กิโลแคลอรี่

คาร์โบไฮเดรต

4.97

กรัม

น้ำตาล

1.91

กรัม

ไขมัน

2.0

กรัม

โปรตีน

0.28

กรัม

วิตามิน บี1

1.92

มิลลิกรัม

วิตามิน บี2

0.05

มิลลิกรัม

วิตามิน บี3

0.06

มิลลิกรัม

วิตามิน บี6

0.507

มิลลิกรัม

วิตามิน บี9

0.184

ไมโครกรัม

วิตามินซี

57

มิลลิกรัม

วิตามินอี

48.2

มิลลิกรัม

วิตามินเค

0.08

ไมโครกรัม

ธาตุเหล็ก

15.5

มิลลิกรัม

แคลเซียม

0.42

มิลลิกรัม

โซเดียม

30

มิลลิกรัม

ฟอสฟอรัส

44

มิลลิกรัม

โพแทสเซียม

299

มิลลิกรัม

แมกนีเซียม

15

มิลลิกรัม

แมงกานีส

0.155

มิลลิกรัม

สังกะสี

0.27

มิลลิกรัม

เปอร์เซ็นต์ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่

โครงสร้างกะหล่ำดอก

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกะหล่ำดอก

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของกะหล่ำดอก ระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ดังนี้ มีการศึกษาวิจัยระบุว่ากะหล่ำดอกมีสารที่ช่วยป้องกันในการเสียหายของเซลล์ และลดการอักเสบร่างกาย ต้านเซลล์มะเร็ง และต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น สารกลูโคไซโนเลท สารซัลโฟราเฟน และสารไอโซไธโอไซยาเนต เป็นต้น โดยมีผลการศึกษาทดลองจากการศึกษาในเซลล์มนุษย์บางส่วนพบว่าสารเหล่านี้ช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติต้านมะเร็งในผักตระกูลกะหล่ำ โดยนักวิจัยให้ตัวอย่างกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร จำนวน 6 ราย และกลุ่มควบคุมทั้งคนทั้งที่เป็นโรค และไม่เป็นโรคมะเร็งจำนวน 74 ราย บริโภคผักตระกูลกะหล่ำ รวมทั้งกะหล่ำดอกพบว่า การบริโภคผักตระกูลกะหล่ำในปริมาณมากให้ผลในทางบวกต่อสุขภาพ และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการต้านมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาเกี่ยวกับสารอินโดล-3-คาร์บินอล (Indole-3-carbinol,I3C) ในกะหล่ำดอก ระบุว่า สารอินโดล-3-คาร์บินอลในกะหล่ำดอกอาจช่วยป้องกันเซลล์มะเร็งต่างๆ อาทิเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งปากมดลูก เพราะมีคุณสมบัติในการยับยั้ง และทำให้เซลล์มะเร็งที่เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนแอสโตรเจนในเพศหญิงเสื่อมสภาพ และตาย อักทั้งยังมีดารวิจัยอื่นๆ ระบุไว้ว่าในกะหล่ำดอกมีกรดฟูลิก และคูมาริน (Folic acid coumarines) ที่สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย


การศึกษาทางพิษวิทยาของกะหล่ำดอก

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

กะหล่ำดอกมีสารพิวรีนซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเก๊าท์อยู่ในระดับปานกลาง จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เพราะอาจทำให้อาการของโรคแย่ลง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานกะหล่ำดอก ในปริมาณมากเพราะอาจเกิดแก๊สในกระเพาะได้มากขึ้นผู้ที่มีภาวะเกี่ยวกับโรคต่อมไทรอยด์ ไม่ควรบริโภคกะหล่ำดอกปริมาณมากเพราะอาจทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่ดูดซึมไอโอดีน ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนต่างๆ ให้กับร่างกายควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแบบดิบๆ เพราะกะหล่ำดอกมีน้ำตาลชนิดหนึ่งที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เพราะจะไม่สามารถย่อยน้ำตาลชนิดนี้ได้ จึงจะส่งผลทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง

เอกสารอ้างอิง กะหล่ำดอก
  1. ราชบัณฑิตสถาน 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก.กรุงเทพมหานคร เพื่อนพิมพ์.
  2. ราชบัณฑิตสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ ราชบัณฑิตสถาน 2556. หน้า 100.
  3. กะหล่ำดอก กับประโยชน์น่ารู้ด้านสุขภาพ. พบแพทย์ดอทคอม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http;//www.pobpad.com
  4. Kusznierewicz, B., Bartoszek, A., Wolska, L., Drzewiecki, J., Gorinstein, S., and Namiesnik, J. 2008. Partial characterization of white cabbages (Brassica oleracea var capitata f. alba) from different regions by glucosinolates, bioactive compounds, total antioxidant activities and proteins
  5. Bahorun, T., Luximon-Ramma, A., Crozier, A., and Aruoma, O.I. 2004. Total phenol, flavonoid, proanthocyanidin and vitamin C levels and antioxidant activities of Mauritian vegetables. Journal of the Science of Food and Agriculture 84: 1553-1561
  6. Jaiswal, A.K., Abu-Ghannam, N.,and Gupta, S. 2012. A comparative study on the polyphenolic content, antibacterial activity and antioxidant capacity of different solvent extracts of Brassica oleracea vegetables. International Journal of Food Science and Technology 47: 223-231.
  7. Iori, R., Barillari, J., and Rollin, P. 2004. Comment on in vitro gastrointestinal digestion study of broccoli inflorescence phenolic compounds, glucosinolates, and vitamin C. Journal of Agriculturaland Food Chemistry 52: 7432- 7433.
  8. Crozier. Arthur alger 1891. The Cauliflower. Ann aebor. Michigan: register publishing Co. p.12.
  9. Windsor, A.J., Reichelt, M., Figuth, A., Svatos, A., Kroymann, J.,and Kliebenstein D.J.2005. Geographic and evolutionary diversification of glucosinolates among near relatives of Arabidopsis thaliana (Brassicaceae). Phytochemistry 66: 1321-33.
  10. Haramoto, E.R., and Gallandt, E.R. 2004. Brassica cover cropping for weed management: A review. Renewable Agriculture and Food Systems 19: 187-198.
  11. Guriya, R., Moon, A., and Talreja, K. 2015. Phytochemical profiling and characterization of bioactive compounds from Brassica oleracea. International Journal of Pharmacognosy and Phytochemical Research 7: 825-831.