กระไดลิง ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

กระไดลิง งานวิจัยและสรรพคุณ 18 ข้อ

ชื่อสมุนไพร กระไดลิง
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น บันไดลิง (ภาคเหนือ), มะลืมดำ, กระไดวอก (ภาคเหนือ), โชกนุ้ย (ชัยภูมิ), เครือเสี้ยว (ไทยใหญ่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia scandens Linn.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Bauhinia scandens L. Var. horsfieldii (Mig) K. et S.S. Larsen, Lasiobema scandens (L.) de Wit, Lassiobena scandens L. Var. horsfieldii (Mig) de wit.
วงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE


ถิ่นกำเนิดกระไดลิง

กระไดลิง เป็นพันธุ์ไม้เถาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในภูมิภาคเอเชียใต้ถึงตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเขตการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้างบริเวณ อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น สำหรับประเทศไทยพบกระจายอยู่เกือบทั่วทุกภูมิภาคของประเทศแต่พบได้น้อยในภาคใต้ โดยมักพบได้ในบริเวณป่าเบญจพรรณที่มีความชื้นปานกลาง


ประโยชน์และสรรพคุณกระไดลิง

  • แก้พิษต่างๆ
  • แก้ร้อนใน
  • ช่วยขับเหงื่อ
  • แก้พิษฝี
  • แก้ไข้เซื่องซึม
  • แก้ไข้ตัวร้อน
  • แก้พิษไข้
  • แก้พิษร้อน
  • แก้พิษโลหิต
  • แก้กษัย
  • แก้พิษเลือดลม
  • แก้บิด
  • แก้โรคผิวหนัง
  • แก้ปวดข้อ
  • ช่วยคุมกำเนิด
  • ช่วยขับเหงื่อ
  • ช่วยถ่ายพยาธิ
  • ใช้บรรเทาอาการไอ

           กระไดลิง ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างจำกัด เช่น เถ้าแก่ที่คดงอมีลักษณะแปลกตา ก็ใช้นำมาประดับตกแต่ง หรือ ทำเป็นงานศิลปะ กรอบรูป โคมไฟ ส่วนเปลือกของเถาที่มีความเหนียว บางท้องถิ่น ก็มีการนำมาใช้ทำเป็นเชือก

กระไดลิง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้แก้พิษต่างๆ โดยใช้รากแห้งมาต้ม หรือ ฝนกับน้ำดื่ม ใช้แก้ไข้เซื่องซึม แก้พิษไข้ แก้ร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ถ่ายพยาธิ โดยทุบเมล็ดให้แตกแล้วนำกระไดลิง มาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ขับเหงื่อ แก้ตัวร้อน โดยใช้ใบแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้บิดแก้ไข้พิษทั้งปวง แก้ร้อนใน แก้ไข้เซื่องซึม แก้กษัย แก้พิษฝี แก้พิษไข้ แก้พิษร้อน แก้พิษโลหิต แก้พิษไข้ทั้งปวง แก้พิษเลือดลมโดยใช้เถาแห้งพอประมาณมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้โรคผิวหนัง แก้ปวดข้อ ใช้คุมกำเนิดโดยใช้เปลือกต้นมาต้มน้ำอาบ นอกจากนี้ในประเทศอินโดนีเซียยังมีการนำน้ำจากเถาสดมาจิบช่วยบรรเทาอาการไออีกด้วย

ลักษณะทั่วไปของกระไดลิง

กระไดลิง จัดเป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ในสกุลชงโคเถา มีมือเกาะ โดยจะขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้อื่น เถาแก่มีลักษณะเป็นขั้นๆ ดูคล้ายบันได ผิวเถาแข็ง เหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอ ตามกิ่งอ่อนจะมีขนขึ้นประปราย ส่วนกิ่งแก่จะเกลี้ยงไม่มีขน

           ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกแบบเรียงสลบ ลักษณะของใบกว้าง 5-10 ซม. ยาว 6-10 ซม. เป็นรูปไข่ หรือ รูปพัด โคนใบกว้างเว้าเล็กน้อย โคนใบแหลม และส่วนปลายเว้าลึกค่อนใบแผ่น จนทำให้เห็นลักษณะของปลายใบเป็น 2 แฉก แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขนประปราย มีเส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น ก้านใบยาว 1.5-5 ซม. หูใบเป็นติ่งยา เล็กมาก

           ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนง บริเวณปลายกิ่ง โดยช่อดอกยาวประมาณ 10-25 ซม. และในแต่ละแขนงจะมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก โดยมีกลีบเลี้ยงดอก 5 กลีบ ติดกัน คล้ายรูปถ้วย ส่วนกลีบดอกก็มี 5 กลีบ เช่นกันสำหรับกลีบดอกเป็นรูปไข่กลับมีสีขาวอมเหลือง คล้ายรูปพัด ก้านกลีบดอกสั้น

           ผล ออกเป็นฝัก มีลักษณะแบน รูปรี หรือ รูปไข่แกมรี กว้าง 1.5-2 ซม. และยาว 3-4 ซม. ปลายฝักมนมีติ่งแหลมสั้นๆ เมื่อฝักแก่จะเป็นสีน้ำตาลแดง และจะแตกออก ด้านในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน

กระไดลิง

กระไดลิง

การขยายพันธุ์ของกระไดลิง

กระไดลิงสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ซึ่งการขยายพันธุ์ส่วนมากของกระไดลิง จะเป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ ซึ่งอาศัยฝักแก่ดีดเมล็ดออกมาแล้งร่วงลงสู่พื้นดิน จากนั้นเมล็ดเติบโตเป็นเถาใหม่ต่อไป สำหรับการนำมาปลูกโดยเมล็ดนั้นในปัจจุบันยังไม่นิยมนำมาปลูกแต่อย่างใด


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดเถากระไดลิง ในต่างประเทศระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น Aloesone, Furoeloesone, Sappanone A, Isoriquilitigenin, 3-Hydroxyflavone, 6-hydroxykaemferol, Galangin, Irisflorentin, Luteolin, Retusine เป็นต้น 

โครงสร้างกระไดลิง

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกระไดลิง

มีรายงานการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาจากสารสกัดส่วนของลำต้น (เถา) ของกระไดลิง ระบุว่ามีการศึกษาวิจัยโดยการป้อนสารสกัดจากส่วนลำต้น (เถา) ของกระไดลิงแก่หนูทดลองทางปากพบว่าใน มีการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต้านการอักเสบจากสารสกัดจากลำต้นของกระไดลิง โดยใช้สารสกัด 4 ชนิด คือ เมทานอล, คาร์บอนเตตระคลอไรด์, ไดคลอโรมีเทน, และบิวทานอล ในขนาด 50 มก./กก. 100 มก./กก. 200 มก./กก. ตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยระบุว่าสารสกัดทั้ง 4 ชนิด แสดงฤทธิ์การยับยั้งการอักเสบได้ อย่างมีนับสำคัญ โดยสารสกัดเมทานอลแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบได้สูงสุดในบรรดาตัวอย่าง ทดสอบทั้งหมดโดยมีค่าการยับยั้งการอักเสบได้ใกล้เคียงกับไดโคลฟีแนคโซเดียม นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ ของสารสกัดจากลำต้น (เถา) ของกระไดลิงระบุว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งโรคอัลไซเมอร์ ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ต้านเนื้องอก มีฤทธิ์ต้านโรคบิดเฉียบพลัน ท้องร่วง เบาหวาน

 

การศึกษาฤทธิ์ทางพิษวิทยาของกระไดลิง

มีรายงานการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางพิษวิทยาของสารสกัดส่วนของลำต้น (เถา) ของกระไดลิงระบุว่า มีการศึกษาวิจัยโดยการป้อนสารสกัดจากส่วนของลำต้น (เถา) ของกระไดลิง แก่หนูทดลองทางปากพบว่าใน ช่วงขนาดยา 50-3000 มก./กก. ไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษหรือเบี่ยงเบนทางพฤติกรรมอื่นๆแต่อย่างใด


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ถึงแม้ว่าการศึกษาวิจัยความเป็นพิษของกระไดลิงจะระบุว่ามีความเป็นพิษน้อยมากในสัตว์ทดลองแต่อย่างไรก็ตามในการใช้กระไดลิงเป็นสมุนไพร ก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาด และปริมาณ ที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้กระไดลิง เป็นยาสมุนไพรเพราะในสรรพคุณตามตำรายาพบว่ามีฤทธิ์ทำให้แท้งได้อีกทั้งยังไม่มีการศึกษาด้านความปลอดภัยในสตรีมีครรภ์อีกด้วย

เอกสารอ้างอิง กระไดลิง
  1. ราชบัณฑิตสถาน 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษรก. กรุงเทพมหานคร : เพื่อนพิมพ์.
  2. รุ่งรัตน์ เอียดแก้ว, วุฒิพล หัวเมืองแก้ว,อภิชาต ภัทรธรรม. 2555. การใช้ประโยชน์จากของป่าของราษฎรตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40:992-1001.
  3. มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. 2548. สารานุกรมสมุนไพรไทย เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน หน้า 33.
  4. ระวิวรรณ แก้มอมตวงศ์. สารทุติยภูมิและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพืชสกุลชงโค. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. หน้า 116-130.
  5. กระไดลิง . กระดาน ถาม-ตอบ สำนักงานสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.medplant.Mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5417
  6. Samitinand T and Larsen K., eds. 1984.Flora of Thailand. Bangkok:TISTR Press.
  7. K.L. da Silva, M.W. Biavatti, S.N. Leite, R.A. Yunes, F. Delle Monache, V. Cechinel Filho Phytochemical and pharmacognostic investigation of Bauhinia forficata Link (Leguminosae) Z. für Naturforsch. C, 55 (5–6) (2000), pp. 478-480
  8. Emon N.U., Rudra S., Alam S., Haidar I.K.A., Paul S., Richi F.T., Shahriar S., Sayeed M.A., Tumpa N.I., Ganguly A. Chemical, biological and protein-receptor binding profiling of Bauhinia scandens L. stems provide new insights into the management of pain, inflammation, pyrexia and thrombosis. Biomed. Pharmacother. 2021;143:112185. doi: 10.1016/j.biopha.2021.112185. 
  9. G.H. Schmelzer, A. Gurib-Fakim Medicinal plants Prota (2008)
  10. Poonsri W., Pluempanupat W., Chitchirachan P., Bullangpoti V., Koul O. Insecticidal alkanes from Bauhinia scandens var. horsfieldii against Plutella xylostella L. (Lepidoptera: Plutellidae) Ind. Crop. Prod. 2015;65:170–174. doi: 10.1016/j.indcrop.2014.11.040
  11. M.S. Hossain, S.A. Niloy, A. Hosen, M.A.U. Islam, Z. Islam, S. Das, M.A. Hassan, A.M. Islam, M.S. Rana Antioxidant activities and HPLC-DAD based phenolic content determination of Bauhinia scandens J. Pharm. Res. Int. (2016), pp. 1-9
  12. Alam M., Emon N.U., Alam S., Rudra S., Akhter N., Mamun M.R., Ganguly A. Assessment of pharmacological activities of Lygodium microphyllum Cav. leaves in the management of pain, inflammation, pyrexia, diarrhea, and helminths: In vivo, in vitro and in silico approaches. Biomed. Pharmacother. 2021;139:111644. doi: 10.1016/j.biopha.2021.111644. 
  13. T.S. Jeromini, T.S. Pereira, C.C. Martins, G.Z. Da Silva, Overcoming dormancy in Bauhinia scandens seeds Semin.: Ciências Agrar., 41 (4) (2020), pp. 1189-1198
  14. Canese K., Weis S. The NCBI Handbook. 2nd ed. National Center for Biotechnology Information (US); Bethesda, MD, USA: 2013. PubMed: The Bibliographic Database. 2002 Oct 9 [Updated 2013 Mar 20]