กระชับ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

กระชับ งานวิจัยและสรรพคุณ 41 ข้อ

ชื่อสมุนไพร กระชับ
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น หญ้าแมยุ่ง, มะขะนัดน้ำ, เกี๋ยงนา (ภาคเหนือ), ขี้อ้น, ขี้อ้นน้ำ, เกี๋ยงน้ำ (ภาคอีสาน), ขี้ครอก (ราชบุรี, ภาคกลาง), ชางเอ๋อจื่อ (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Xanthium Strumarium Linn.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Xanthium indicum Koeing ex Roxb., Xanthium Chinese Miller, Xanthium sibiricom Patrexwidd.
ชื่อสามัญ Cocklebur, Burweed, California-bur
วงศ์ ASTERACEAE-COMPOSITAE


ถิ่นกำเนิดกระชับ

เชื่อกันว่ากระชับ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกา บริเวณอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นพืชที่มีการกระจายพันธุ์อย่างรวดเร็วจนเป็นวัชพืชแล้วจึงมีการแพร่กระจายพันธุ์ ไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศแต่จะพบได้น้อยในภาคใต้ โดยพื้นที่มักจะพบกระชับ คือ ตามที่โล่งแจ้งทั่วไป ที่รกร้างว่างเปล่า หรือ ตามริมคลอง ริมแม่น้ำ หนองบึงต่างๆ


ประโยชน์ และสรรพคุณกระชับ

  • แก้หวัด
  • แก้ไข้จับสั่น
  • แก้ไขข้ออักเสบ
  • ช่วยขับเหงื่อ
  • ช่วยขับน้ำลาย
  • ช่วยระงับประสาท
  • แก้ปวดประจำเดือน
  • แก้มุตกิดในสตรี
  • แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
  • แก้กระเพาะอาหารอักเสบ
  • แก้ปวดกล้ามเนื้อ
  • แก้โรคหิด
  • แก้ปวดศีรษะ
  • แก้ปวดหู
  • แก้แผลปวดบวม
  • แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • แก้เชื้อโรคในบาดแผล
  • แก้โรคเกี่ยวกับต่อมน้ำเหลือง
  • ช่วยดับพิษร้อน
  • แก้ไข้
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • แก้เริม
  • แก้งูสวัด
  • แก้ปวดบวม
  • ช่วยห้ามเลือด
  • ช่วยสมานแผล
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • แก้โรคต่อมน้ำเหลือง
  • ช่วยต้านมะเร็ง
  • ใช้บำรุงกำลัง
  • แก้อัมพาต
  • แก้ริดสีดวงจมูก
  • แก้โรคท้องมาน
  • ช่วยระงับการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • แก้ร้อนใน
  • แก้ปวด
  • แก้ลมพิษ
  • แก้วัณโรคต่อมน้ำเหลือง
  • แก้ไข้ทรพิษ
  • แก้ตกเลือด
  • แก้โรคเรื้อน

           กระชับ ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านอาหารมีการนำ เมล็ดมาทำเป็นแป้งโดยแป้งกระชับจากเมล็ดสามารถนำมาทำเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวได้  นอกจากนี้ยอดอ่อน และต้นอ่อนของกระชับ ซึ่งมีใบแท้ที่สมบูรณ์เมื่อสุกแล้วสามารถรับประทานเป็นผักได้อีกด้วย

กระชับ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้เป็นยาเย็น บำรุงกำลัง แก้ไข้ทรพิษ แก้ท้องมาน แก้ลมพิษ แก้อัมพาต กล้ามเนื้อเกร็งตัว แก้ไขข้ออักเสบ ขับเหงื่อ แก้ร้อนใน โดยใช้ผลแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้เป็นยาขม ช่วยให้เจริญอาหาร แก้พิษไข้ ถอนพิษไข้ แก้ตกเลือด แก้วัณโรคต่อมน้ำเหลือง ขับปัสสาวะ โดยใช้รากมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ขับเหงื่อ ขับน้ำลาย แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดในสตรี แก้ปวดประจำเดือน แก้ไข้หวัด ถอนพิษ แก้ปวดหู แก้ไขข้ออักเสบ แก้กระเพาะอาหาร ระงับประสาท โดยใช้ทั้งต้น (แห้ง) มาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้จมูกอักเสบเรื้อรัง และแก้ริดสีดวงจมูก โดยใช้เมล็ดกระชับ 8 กรัม ใบชา 10 กรัม สะระแหน่ 5 กรัม รากหอมใหญ่ 6 กรัม โกฐสอ 10 กรัม และดอกชุนฮัว 12 กรัม นำมาต้มรวมกันกับน้ำใช้รับประทาน ใช้แก้ฝีหนองภายนอก ใช้ล้างแผล โดยใช้ต้นกกระชับ สด 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้มาล้างบริเวณแผล ใช้แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ห้ามเลือด แก้โรคหิด แก้ปวดบวม โดยการใช้ใบ และลำต้นนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น


ลักษณะทั่วไปของกระชับ

กระชับ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกลำต้นตั้งตรงสูงประมาณ 40-150 ซม. แตกกิ่งก้านได้มาก ผิวลำต้นหยาบ มีชายเส้นเป็นเหลี่ยมๆ และมีขนสีขาวขึ้นประปราย โคนต้นสีม่วงส่วนด้านบนของลำต้นเป็นสีเขียวแต้มด้วยสีน้ำตาลดำ

           ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม เว้าลึก 3-5 แฉก โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลมทู่ ขอบใบหยิกเป็นซี่ฟันปลา แบบไม่เป็นระเบียบ แผ่นใบมีขนสากทั้งสองด้าน ใบมีขนาดกว้าง 5-10 เซนติเมตร และยาว 6-15 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 3.5-10 เซนติเมตร

           ดอก ออกเป็นช่อกระจะบนแกนเดียว เป็นช่อกระจุกแน่น มีดอกย่อยจำนวนมาก เป็นแบบแยกเพศร่มจ้นโดยดอกเพศผู้จะออกที่ปลายกิ่ง เป็นรูปขอบขนานยาว 2-3 เซนติเมตร มีกาบดอก 2 กาบ โดยกาบด้านนอกเป็นรูปขอบขนาน ส่วนกาบด้านในมีลักษณะเป็นรูปกาบใบหอก ยาว 2 มิลลิเมตร ส่วนช่อดอกเพศเมียออกตามซอกใบซึ่งจะอยู่ชิดเป็นคู่ๆ เป็นรูปขอบขนาน โดยใบประดับด้านในจะเชื่อมกาบนอก  ส่วนด้านล่างของช่อดอกมีเปลือกหนาม ปลายงอเป็นขอโค้งงอเข้าหากัน 2 อัน

           ผล มีลักษณะเป็นรูปไข่ แกมรูปขอบขนาน หรือ รูปรี ยาว 1-2 เซนติเมตร ซึ่งผลจะออกเป็นคู่ๆ และมีหนามนุ่มเป็นรูปตะขออยู่บนผิวของผล ส่วนบริเวณที่ปลาบผลเป็นจะงอยแหลม 2 อัน ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด มีลักษณะเรียวยาว แข็งมีความยาว 8-16 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร

กระชับ

กระชับ

การขยายพันธุ์ของกระชับ

กระชับสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ในอดีตการขยายพันธุ์ส่วนใหญ่ของกระชับนั้นจะเป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ ไม่นิยมนำมาปลูกเพื่อขยายพันธุ์ ซึ่งกระชับให้จัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่มีอัตราการแพร่กระจายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันได้เริ่มมีการนำกระชับมาขยายพันธุ์เพื่อนำต้นอ่อนมารับประทาน เป็นอาหารกันมากขึ้น สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดกระชับ นั้นสามารถทำได้ดังนี้ นำเมล็ดกระชับไปแช่น้ำนานประมาณ 3 เดือน จากนั้นถึงขั้นตอนการเพาะโดยจะขุดดินเป็นร่องลึกประมาณ 25 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร ส่วนความยาวตามที่ต้องการ แล้วโรยทรายเป็นแกลบลงในท้องร่อง จากนั้นก็หว่านเมล็ดที่แช่แล้งลง แล้วโรยทรายปิดไว้บางๆ และทำการปิดท้องร่องด้วยทางมะพร้าวให้ได้รับแสงรำไร จากนั้น 7-15 วัน เมล็ดจะงอกจึงสามารถนำไปปลูกได้


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของส่วนต่างๆ ของกระชับ พบว่ามีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญดังนี้ ในส่วนใบพบสาร Xanthinin, Xanthumin, Xanthanol, Xanthumanol, Deacetoxylxanthumin, Xanthatin, Tomentosin, 8-epi-tomentosin, desacetylxanthanol ในผลพบสาร Sibirolide A, Sibirolide B, Norxanthantolide A, Norxanthantolide B, Xanthiumnolic D, Xanthuimnolic E, Ferulic acid, Caffeic acid, Protocatechuic acid, Pinoresinol, Daucosterol ในรากพบสาร Allopatuletin, Formononetin, Xanthiazone, Xanthialdehyde, Chrysophanic acid, Emodin, Aloe emodin, 5-methyluracil uracil, Sibiricumthionol indole-3-carbaldehyde, Nonadecanoic acid และส่วนเหนือดินพบสาร Jatrocin B, Cleomiscosin A, Cleomiscosin C, Scopoletin, Beta-daucosterol, Beta-stigmasterol, 7-ketositosterol, Xanthnon, Inusoniolide, 4-oxo-edfprdia acid, 2-hydroxytomentosin ส่วนน้ำมันเมล็ดพบสาระสำคัญเช่น Oleic acid, Linoleic acid และในส่วนของเมล็ดพบสาร Xanthostumarin Glycoside, Oxalic acid ที่มีความเป็นพิษอีกด้วย 

โครงสร้างกระชับ

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกระชับ

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาจากส่วนต่างๆ ของกระชับระบุว่า สาร Xanthatin และ Beta catenin ที่พบในสารสกัดกระชับ ส่วนในต่างๆ มีฤทธิ์ต่อต้าน เซลล์มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งเยื่อหุ้มสมิง และมะเร็งเม็ดเลือดขาว มีการประเมินฤทธิ์ต้านการอักเสบ และต้าน nociceptive ของสารสกัดกระชับทั้งในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลองพบว่า สามารถลดการควบคุมการผลิต NO, PGE2, TNF-α และการรักษาลดการบวมน้ำที่หลังอุ้งเท้าที่เกิดจากคาราจีแนนในหนูทดลองได้ มีการศึกษาวิจัยพบว่าสาร Xanthatin ที่แยกได้จากส่วนใบของกระชับ มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อ Staphylococus epidermidis, Bacilus cereus, Klebsiella pnemoniae, Pseudomonas aeruginosa, Salmonella fyphi โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้ง MIC ที่ 31.3, 62.5, 31.1, 125, 125 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ อีกทั้งยังมีการศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของ Caffeic acid ที่แยกได้จากผลขอกระชับ ในหนูทดลองที่กระตุ้นด้วยสเตรปโตโซโทซิน และหนูที่ดื้อต่ออินซูลิน ผลการวิจัยพบว่ากรดคาเฟอิก สามารถลดระดับกลูโคสในพลาสมาโดยเพิ่มการใช้กลูโคส ได้


การศึกษาทางพิษวิทยาของกระชับ

มีรายงานผลการศึกษาวิจับทางพิษวิทยาของสารอกฤทธิ์ในเมล็ดกระชับระบุว่า สาร Xanthosthumarin glycoside จากส่วนของเมล็ดกระชับ มีฤทธิ์เป็นพิษ โดยจะทำให้ระดับยูเรีย ไนโตรเจนในเลือด (Bun) และระดับยูเรีย ในปัสสาวะสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไต ทำให้พิษไนโตรเจนจากปัสสาวะเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งมีผลในการทำลายตับ ทำให้ตับเกิดโรคได้นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทดลอง การใช้สาร Xanthostrumarin glycoside ในหนูทดลองพบว่าขนาดที่ทำให้หนูทดลองตายครึ่งหนึ่ง เท่ากับ 40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สำหรับการจะนำต้นกระชับมารับประทานเป็นผักควรเก็บต้นอ่อนของกระชับที่มีใบจริงแล้วเท่านั้นเนื่องจาดในเมล็ดกระชับมีสาร Xanthostrumarin glycoside ที่เป็นพิษต่อสัตว์ และสารนี้จะคงอยู่จนถึงระยะที่เมล็ดงอกเป็นต้นอ่อนที่มีใบเลี้ยงติดอยู่ แต่เมื่อต้นอ่อนของกระชับ มีใบจริงสารไกลโคไซด์ชนิดนี้ จะลดลงอย่างรวดเร็ว จนหมดไป และสาร Xanthostrumarin จะไม่สลายตัวถึงแม้จะนำตากแดดให้แห้ง ดังนั้นวิธีที่จะรับประทานต้นอ่อนกระชับอย่างปลอดภัย คือ ต้องให้ต้นอ่อนมีใบจริงเท่านั้น ส่วนการใช้ส่วนต่างๆ ของกระชับเป็นสมุนไพรนั้นควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกับการใช้ สมุนไพร ชนิดอื่นๆ โดยไม่ควรใช้ในขนาด และปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้
 

เอกสารอ้างอิง กระชับ
  1. ยิ่งยง ไพสุขศานติวัฒนา. 2547. กระชับ. ใน ราชบัณฑิตยสถาน, หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. น. 26-27. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์.
  2. วิทยา บุญวรพัฒน์. กระชับ. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. หน้า 24.
  3. วิสูตร ช่างเหล็ก. 2556. ผักกระชับ จากผักพื้นบ้านสู่ธุรกิจชุมชน. วารสาร “เพื่อน” SCG Chemicals3(15): 4-4.
  4. ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษรก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
  5. กานต์ติมา ธีรางกูร, พิจิตรา แก้วสอน และ ทัศไนย จารุวัฒนพันธ์. 2563. ผลของ KNO3 และ GA3 ต่อการ ท้าลายการพักตัวของเมล็ดกระชับ (Xanthium strumarium L.). วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 2563: 38(2): 200-207.
  6. Huang W.H., Yu J.G., Sun L., Guo B.L., Li D.Y. Studies on Chemical Constituents of Xanthium sibiricum. Chin. J. Chin. Mater. Med. 2005;30:1027–1028.
  7. Shi Y.S., Liu Y.B., Ma S.G., Li Y., Qu J., Li L., Yuan S.P., Hou Q., Li Y.H., Jiang J.D., et al. Bioactive Sesquiterpenes and Lignans from the Fruits of Xanthium sibiricum. J. Nat. Prod. 2015;78:1526–1535.
  8. Sato Y., Oketani H., Yamada T., Singyouchi K., Ohtsubo T., Kihara M., Shibata H., Higuti T. A xanthanolide with potent antibacterial activity against methicillin-resistant Staphylococcus aureus. J. Pharm. Pharmacol. 1997;49:1042–1044.
  9. Ingawale A.S., Sadiq M.B., Nguyen L.T., Ngan T.B. Optimization of extraction conditions and assessment of antioxidant, α-glucosidase inhibitory and antimicrobial activities of Xanthium strumarium L. fruits. Biocatal. Agric. Biotechnol. 2018;14:40–47.
  10. Chopra, R. N., Nayar, S. L., and Chopra, I. C. 1956. Glossary of Indian medicinal plants. New Delhi: CSIR.
  11. Winters T.E., Theodore A., Geissman D.S. Sesquiterpene lactones of Xanthium species. Xanthanol and isoxanthanol, and correlation of xanthinin with ivalbin. J. Org. Chem. 1969;34:153–155. 
  12. Hu D.Y., Yang S.Y., Yuan C.S., Han G.T., Shen H.M. Isolation and identification of chemical constituents in Xanthium sibiricum. Chin. Tradit. Herbal Drugs. 2012;43:640–644.
  13. Anjoo Kamboj and Ajay Kumar Saluja. 2010. Phytopharmacological review of Xanthium strumarium L. (Cocklebur). International Journal of Green Pharmacy. 129-139.
  14. Kim I.T., Park Y.M., Won J.H., Jung H.J., Park H.J., Choi J.W., Lee K.T. Methanol extract of Xanthium strumarium L. possesses anti-inflammatory and anti-nociceptive activities. Biol. Pharm. Bull. 2005;28:94–100.
  15. McMillan C., Chavez P.I., Mabry T.J. Sesquiterpene lactones of Xanthium strumarium in a texas population and in experimental hybrids. Biochem. Syst. Ecol. 1975;3:137–141. 
  16. Hsu F.L., Chen Y.C., Cheng J.T. Caffeic acid as active principle from the fruit of Xanthium strumarium to lower plasma glucose in diabetic rats. Planta Med. 2000;66:228–230.
  17. Kan S.Q., Chen G.Y., Han C.R., Chen Z., Song X.M., Ren M., Jiang H. Chemical constituents from the roots of Xanthium sibiricum. Nat. Prod. Res. 2011;25:1243–1249. 
  18. Karmakar U.K., Ishikawa N., Toume K., Arai M.A., Sadhu S.K., Ahmed F., Ishibashi M. Sesquiterpenes with TRAIL-resistance overcoming activity from Xanthium strumarium. Bioorg. Med. Chem. 2015;23:4746–4754.