คุย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นและข้อมูลงานวิจัย

คุย งานวิจัยและสรรพคุณ 20 ข้อ

ชื่อสมุนไพร คุย
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น กะตังกะติ้ว, เถาคุย (ภาคกลาง), หมากยาง (ภาคอีสาน), คุย (ภาคใต้), ตุงตู้เครือ (ภาคเหนือ), คุยช้าง, คุยหนัง (ภาคตะวันออก), ตกากือเลาะ (มลายู), โพล้พอ (กะเหรี่ยง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Willughbeia edulis Roxb.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ancylocladus cochinchinensis Pierre A, curtisianus Pierre A,. edulis (Roxb) kuntze ambelania edulis (Roxb) J.pres pacuria roxberughii kostel., willughbeia cochinchinensis (Pierre) K. schum W. dulcis ridl., w. curtisiana (Pierre) K. schum., w.matabanica
วงศ์ APOCYNACEAE
 

ถิ่นกำเนิดคุย

คุย จัดเป็นพันธุ์พืชเฉพาะถิ่นที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของทวีปเอเชียคลอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้โดยมีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้มากในภาคอีสาน ภาคตะวันนอก และภาคใต้ บริเวณป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 900 เมตร

ประโยชน์และสรรพคุณคุย

  1. แก้ประดงเข้าข้อ
  2. แก้บิด
  3. แก้ตับพิการ
  4. แก้มือเท้าอ่อนเพลีย
  5. แก้คุดทะราด
  6. แก้โรคบิด
  7. แก้เจ็บคอ
  8. แก้เจ็บหน้าอก
  9. แก้น้ำเหลืองเสีย
  10. แก้ปวดศรีษะ
  11. แก้คุดทะราด
  12. แก้เท้าเป็นหน่อ
  13. ช่วยหล่อลื่นลำไส้
  14. ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก
  15. ช่วยบำรุงกำลัง
  16. ช่วยลมขัดในข้อ ลมขัดในกระดูก
  17. เป็นยาอายุวัฒนะ เปลือก
  18. แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต
  19. แก้ลมคั่งข้อ
  20. แก้มือเท้าอ่อนเพลีย

คุย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง และเป็นยาอายุวัฒนะ โดยใช้ลำต้นคุย ผสมกับลำต้นม้ากระทืบโรง ต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้เจ็บคอ เจ็บหน้าอก แก้บิด แก้มือเท้าอ่อนเพลีย โดยใช้รากมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้อาการปวดศีรษะ โดยใช้เปลือกต้นต้มกับน้ำดื่ม ใช้ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้ขับถ่ายได้สะดวกโดยนำผลสุกมารับประทานสดๆ ใช้แก้ประดงเข้าข้อ ลมขัดในข้อ ลมขัดในกระดูก แก้บิด ตับพิการ คุดทะราด แก้ลมคั่งในข้อ แก้น้ำเหลืองเสียมือเท้าอ่อนเพลีย โดยใช้ลำต้นมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ทาแผลโดยใช้ผลดิบมาย่างไฟแล้วบดใส่แผล ใช้แก้โรคตัวเหลืองในทารก โดยใช้รากมาตำให้ละเอียดใช้ทาตัว


ลักษณะทั่วไปของคุย

คุย จัดเป็นไม้พืชกึ่งไม้เถาเนื้อแข็งลำต้นทอดเอ็นเกาะเกี่ยวต้นไม้อื่นโดยมีมือเกาะมีเปลือกลำต้นหรือเถาสีน้ำตาลเข้ม เรียบ เกลี้ยง แตกกิ่งก้านสาขามาก ทุกส่วนของต้นจะมียาวสีขาวข้ม หรือ เหลืองอ่อนๆ

           ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากกันเป็นคู่ๆ ตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือ รูปไข่กลับ มีขนากว้าง 5-7 เซนติเมตร และยาว 10-14 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนาเป็นมันมีสีเขียว ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ส่วนด้านล่างมีสีอ่อนกว่า และมีขนนุ่มเล็กน้อย แผ่นใบมีเส้นแขนงใบประมาณ 15-20 คู่ ส่วนก้านใบมีร่องอยู่ด้านบน ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร

           ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุก บริเวณซอกใบและปลายยอดโดยช่อดอกยาว 1-2.5 เซนติเมตร ใน 1 ช่อดอก จะมีดอกย่อย 5-6 ดอก ส่วนก้านช่อดอกยาว 1-2 มม. มีขนเล็กน้อย ดอกย่อยเป็นแบบซี่ร่มมีกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปขอบขนานลายแยกเป็น 5 แฉก สีขาวปนสีเหลือง เรียงบิดเวียนแบบขวาทับซ้าย ส่วนหลอด หรือ ฐานดอกยาว 6/7 มิลลิเมตร แฉกยาว 9-12 มิลลิเมตร ผิวกลี้ยง หรือ มีขนเล็กน้อย บริเวณปลายกลีบด้านนอก มีเกสรเพศผู้ 5 อัน  ก้านดอกย่อยยาว 1-3 มิลลิเมตร มีขนสั้นๆ กระจายทั่วไป มีใบประดับ 1 อัน กว้าง 1.0-1.5 มิลลิเมตร ขอบมีขนครุย มีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก โคนกลอดกลีบรูปถ้วยสั้นๆ ปลายแฉกมน รูปไข่กว้าง 1.0-1.5 มิลลิเมตร ยาว 2-3 มิลลิเมตร ขอบมีขนครุย 

           ผล เป็นผลเดี่ยวแบบผลสดมีเนื้อ เป็นรูปทรงกลม หรือ รูปไข่ ผิวเกลี้ยง มีขนาดประมาณ 5-8 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงส้ม เมื่อผลสุกเปลือกหุ้มผลมีน้ำยางเหนียวสีขาวมาก ส่วนก้านผลยาวประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร มีขนเล็กน้อย ภายในผลมีเนื้อผลติดกับเมล็ดและมีเมล็ดประมาณ 1-3 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร

คุย

การขยายพันธุ์คุย

คุย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการใช้เมล็ด ซึ่งคุยจัดเป็นผลไม้ป่าชนิดหนึ่งที่ในปัจจุบันเริ่มนิยมนำมาปลูกไว้เพื่อจำหน่ายผลไม้แถบภาคตะวันออกรวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น ลาว และกัมพูชา สำหรับวิธีการเพาะเมล็ด และการปลูกคุยนั้นสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ด และการปลูกไม้พุ่มรอเลื้อยหรือไม้เถารอเลื้อยชนิดอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้

องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศุกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดเมทานอลจากส่วนของลำต้นของคุย ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ 4 ชนิด ได้แก่ 2,4,6-cycloheptatrien-1-one,3,5-bis-trimethylsilyl, 1,1,1,3,5,5,5-heptamethyltrisiloxane, 1,4-Bis (trimethylsilyl) benzene, Benzene,2-(tertbudyldimethyllsilyl)oxy-1-isopropyl-4-methyl นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกฉบับหนึ่งระบุว่ายังพบสาร rutin, quercetin, luteolin อีกด้วย

 คุย

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของคุย

จากการศึกษาค้นคว้าพบว่ามีรายงานผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาจากส่วนต่างๆ ของคุยทั้งในประเทศ และต่างประเทศน้อยมาก แต่มีรายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับหนึ่งได้ระบุถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารประกอบ 4 ชนิด ที่แยกได้จากส่วนลำต้นของคุย ระบุว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านจุลินทรีย์ ต้านแบคทีเรีย และต้านอนุมูลอิสระ

การศึกษาทางพิษวิทยาของคุย

ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ในการรับประทานผลสุกของคุย เป็นผลไม้ควรรับประทานแต่พอดีเนื่องจากมีรสเปรี้ยวนำหากรับประทานเข้าไปมากอาจทำให้ถ่ายท้อง และเกิดอาการปวดไชท้องได้ สำหรับการใช้ส่วนต่างๆ ของคุยเป็นสมุนไพรควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นโดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

เอกสารอ้างอิง คุย
  1. มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. 2548. สารานุกรมสมุนไพร ไทย เล่ม5 สมุนไพรื้นบ้านอีสาน. หน้า 166.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษรก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
  3. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. กะตังกะติ้ว,คุย,เถาคุย. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. หน้า 48-49, 194-197, 342-343.
  4. คุย . ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=view[age&pid=214.
  5. Konappa N, Udayashankar AC, Krishnamurthy S, Pradeep CK, Chowdappa S, Jogaiah S (2020) GC-MS analysis of phytoconstituents from Amomum nilgiricum and molecular docking interactions of bioactive serverogenin acetate with target proteins. Sci Rep 10(1):1-23.
  6. Lee W, Ahn G, Oh JY, Kim SM, Kang N, Kim EA, Kim K-N, Jeong JB, Jeon Y-J (2016) A prebiotic effect of Ecklonia cava on the growth and pathogenic bacteria. Fish Shellfish Immunol 51:313-320.
  7. Peng W, Li D, Zhang M, Ge S, Mo B, Li S, Ohkoshi M (2017) Characteristics of antibacterial molecular activities in poplar wood extroctives.Sodi J Biol Sci 24(2):399-404.
  8. Santisuk. T. and Larsen, K., eds. 1999. Flora of Thailand (Vol.7:1) Bangkok. Diamond Printing.
  9. Nakamura Y, Tanaka K, Matsumura Y, Atobe M (2020) Flow electrosynthesis and molecular weight control of polyphenylene deriving from 1,4-Bis(trimethylsilyl)benzene: effect of a silyl substituent on the coupling position. Electrochemistry 88:336-338.
  10. Sahayaraj K, Saranya B, Sayed S, Estelle LYL, Madasamy K (2021) Biofoam of spittlebug, Poophilus costalis (Walker): preferential sites, temperature regulation, chemical composition and antimicrobial activity. Insects 12(4):340.
  11. Feng X, Ji P, Li Z, Drake T, Oliveres P, Chen EY, Song Y, Wang C, Lin W (2019) Aluminum hydroxide secondary building units in a metal- organic framework support earth-abundant metal catalysts for broad-scope organic transformations. ACS Catal 9(4):3327-3337.