แห้วจีน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

แห้วจีน งานวิจัยและสรรพคุณ 22 ข้อ

ชื่อสมุนไพร แห้วจีน
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น แห้ว (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eleocharis dulcis (Burmann.f.) trin.
ชื่อสามัญ Water chestnut, Chinese water chestrut
วงศ์ CYPERACEAE

ถิ่นกำเนิดแห้วจีน

แห้วจีนเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกโดยมีการคาดการกันว่าอยู่ในประเทศจีน จากนั้นจึงได้มีการนำไปปลูกยังเขตร้อนต่างๆ หลายประเทศ สำหรับในประเทศไทย ได้มีการนำแห้วจีน มาปลูกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2493 โดยนำพันธุ์แห้วจีนมาทดลองปลูกในแปลงที่เคยทำนาข้าวที่ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะถูกเพลี้ยรบกวนต่อมาจึงได้มีการนำมาปลูกครั้งที่ 2 ที่ อ.ครีประจันต์ ปรากฏว่าได้ผลดี จึงได้มีการปลูกเรื่อยาจนถึงปัจจุบันได้มีการปลูกแห้วจีนในหลายพื้นที่ แต่แหล่งปลูกแห้วจีนที่ใหญ่ที่สุด คือ จ.สุพรรณบุรี


ประโยชน์และสรรพคุณแห้วจีน

  • แก้ร้อนใน
  • แก้กระหายน้ำ
  • ช่วยลดไข้
  • บำรุงธาตุ
  • สมานแผลในทางเดินอาหาร
  • ช่วยกระตุ้นการทำงานของร่างกาย
  • ช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร
  • ช่วยขับน้ำนมของสตรีมีบุตร
  • เป็นยาอายุวัฒนะ
  • บำรุงครรภ์
  • บำรุงกำลัง
  • แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน
  • แก้อาการไอ
  • ช่วยเพิ่มความอยากอาหารในเด็ก
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • แก้ท้องผูก
  • ช่วยละลายเสมหะ
  • บำรุงปอด
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • แก้พิษหัด
  • บำรุงตับ
  • แก้อาการเมาสุรา

           ประโยชน์หลักๆ ของแห้วจีน คือนำมารับประทานทั้งในรูปแบบอาหารคาว และของหวาน โดยมีการนำส่วนของหัวแห้วจีนมาล้างทำความสะอาดก่อนนำมาต้ม 30-40 นาที แล้วจึงนำมารับประทาน ซึ่งจะมีความกรอบ และมีรสหวาน หรือ นำมาประกอบอาหารคาวหวานได้หลายชนิด เช่น ไก่ผัดแห้ว แกงเขียวหวานบวบเนื้อแห้ว ผัดโหง่วก๊วย ผัดขิงไก่ 5 เซียน ตะโก้แห้ว ทับทิมกรอบ แห้วลอยแก้ว เป็นต้น และมีการนำแห้วจีนมาทำเป็นแห้วจีนในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง ส่งขายทั้งใน และนอกประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการนำหัวแห้วจีนดิบมาปอกเปลือก ก่อนสับให้มีขนาดเล็ก แล้วตากให้แห้งหลังจากนั้น นำมาบดเป็นแป้งสำหรับประกอบอาหาร หรือ ทำขนมหวาน ซึ่งจะมีคุณสมบัติคล้ายแป้งข้าวโพด ส่วนใบแห้วจีนก็สามารถนำมาตากให้แห้ง และทอเป็นเสื่ออ่อนได้อีกด้วย

แห้วจีน

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ กระตุ้นการทำงานของร่างกาย กระตุ้นน้ำย่อย บำรุงกำลัง บำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนม ขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก บรรเทาอาการไอ ละลายเสมหะ ลดไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ สมานแผลทางเดินอาหาร โดยใช้หัวแห้วจีน มาต้มรับประทาน หรือ ใช้ประกอบอาหารรับประทานเป็นประจำ ใช้บำรุงตับ บำรุงปอด แก้พิษเมาสุรา แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้โรคกระเพาะอาหาร แก้พิษหัด โดยใช้หัวแห้วจีนมาคั้นเอาน้ำดื่ม


ลักษณะทั่วไปของแห้วจีน

แห้วจีนจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ตระกูลกก อายุปีเดียว มีรากเป็นแบบรากฝอย หัว มีลักษณะทรงกลม ค่อนข้างแบนแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ หัวชนิดแรกจะเกิดเมื่อต้นมีอายุ 6-8 สัปดาห์ ซึ่งจะเป็นหัวขนาดเล็กทำหน้าที่แทงยอดเป็นต้นอ่อนขึ้นล้อมรอบต้นแม่ หัวชนิดที่สอง มีขนาดใหญ่ จะเกิดในช่วงแห้วจีน ออกดอก หรือ หลังออกดอกโดยจะแตกออกบริเวณโคนต้น ซึ่งจะทำมุม 45 องศา กับลำต้นลักษณะเปลือกหัวในช่วงแรกจะมีสีขาว จากนั้น พัฒนามีเกล็ดสีสีน้ำตาลไม้มาหุ้มซึ่งก็ คือ หัวแห้วจีนที่เรานำมารับประทานนั้นเอง ลำต้น ตั้งตรง เป็นทรงกลม แข็ง อวบ ลำต้นกลวง สูง 1-1.5 เมตร เป็นแบบย่อส่วนเหลือพียงกาบหุ้มไม่มีแผ่นใบ มีลักษณะกลม กลวง สีน้ำตาลแดง หรือ สีม่วงยาว 15-20 เซนติเมตร เส้นใบเรียงตัวแบบขนานกาบใบ (leaf sheath) ดอก ออกเป็นช่อแบบ spike บริเวณยอดลำต้น โดยแต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก โดยดอกย่อยเป็นช่อดอกสมบูรณ์เพศ โดยมีดอกตัวเมียเกิดก่อน ซึ่งจะแทงออกเมื่อลำต้นสูงประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วดอกตัวผู้จึงแทงออกตามมา ซึ่งดอกจะประกอบด้วย bract 1 อัน ห่อหุ้มอยู่ กลีบดอกเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปเป็นขน ( hair หรือ bristle) anther แบบ basifixed รังไข่แบบ superior มี 1 locule และ 1 ovule ผลแห้งมักเรียกเป็นเมล็ด โดยจะมีขนาดเล็ก สีน้ำตาลอมดำ

แห้วจีน

แห้วจีน

การขยายพันธุ์แห้วจีน

แห้วจีนสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการใช้หัวพันธุ์ปลูก โดยการปลูกแห้วนั้น เรียกว่าการปักดำ โดยมีวิธีการเริ่มตั้งแต่ การเตรียมหัวพันธุ์โดยใช้หัวแห้วจีนที่มีสภาพสมบูรณ์ ไม่ฝ่อ หรือ มีรอยกัดแทะของแมลง และมีขนาดตั้งแต่ 3 เซนติเมตร ขึ้นไป จากนั้นนำหัวแห้วจีนมาตากแดด 2-3 วัน แล้วนำมาแช่น้ำอีก 2-3 วัน จนหัวแทงยอดอ่อน จากนั้นนำลงหลบในแปลงเพาะ ที่เตรียมโดยการก่ออิฐชั้นเดียว กว้างประมาณ 1 เมตร ยาวตามความเหมาะสม แล้วโรยด้วยขี้เถ้าแกลบ หรือ ขี้เถ้าแกลบผสมปุ๋ยคอก หนาประมาณ 5 เซนติเมตร โดยให้ระยะห่างระหว่างหัว และแถวประมาณ 3-5 เซนติเมตร กลบด้วยขี้เถ้าให้คลุมทุกหัว แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ดูแลจนต้นกล้ามีอายุ 30-45 วัน หรือ มีความสูงประมาณ 20-25 เซนติเมตร ก่อนย้ายลงปลูกในแปลงนา ส่วนวิธีการปลูกแห้วจีน จะปลูกด้วยวิธีการปักตำ คล้ายกับวิธีการปักตำต้นข้าว โดยมีระยะปักตำตั้งแต่ 50x50 เซนติเมตร ถึง 70x70 เซนติเมตร ปักตำให้หัวแห้วจมมิดลงโคลน หลังจากการปักตำแล้วให้รักษาระดับน้ำให้คงที่ 10-15 เซนติเมตร โดยจัดทำร่องชักน้ำหรือระบายน้ำไว้รอบแปลง เพื่อนำเข้า หากน้ำลดมาก หรือสูบน้ำออก หากน้ำสูงมากเกินไปหลังการปลูก 6-8 เดือน ก็สามารถเก็บแห้วจีนมาบริโภคหรือจำหน่ายได้


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีจากหัว และใบของแห้วจีนระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิด อาทิเช่น หัวแห้วจีน พบสาร xylonic acid, tartaric acid, 4-hydroxybenzaldehyde, cryptochlorogenic acid, pyrrole, pyrazine, vanillin, vanillic acid, ferulic acid ส่วนสารสกัดจากใบพบสาร Pentitol, imidazole, oxacyclotetradecan-2-one, butyric acid, acetin, d-manitol, 6-desoxy-1-altitrol, palmitic acid, mrthyl 2-furoate, butanedioic acid, hexadecanoic acid, cis-13-octadecenoic acid, octadecenoic acid เป็นต้น

โครงสร้างแห้วจีน

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของแห้วจีน

มีรายงานผลการศึกษาของหัวแห้วจีน ในต่างประเทศระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สำคัญต่างๆ ดังนี้ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดไขมันในเลือด ลดน้ำตาลในเลือด กระตุ้นน้ำย่อยและมีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น


การศึกษาทางพิษวิทยาของแห้วจีน

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ถึงแม้ว่าการรับประทาน หรือ การใช้แห้วจีนจะมีการใช้มาตั้งแต่ในอดีต และยังไม่พบรายงานความเป็นพิษจากการบริโภคหัวแห้วจีน แต่อย่างไรก็ตามในการรับประทาน หรือ ใช้เป็นยาสมุนไพร ก็ควรระมัดระวังในการใช้โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมไม่ควรใช้ หรือ รับประทานในขนาดที่มากจนเกินไป หรือ รับประทานต่อเนื่องกันนานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

เอกสารอ้างอิง  แห้วจีน
  1. ชานิมา สังข์ขำ 2522. การศึกษาการสันนิษฐานวิทยา และเซลวิทยาในแห้วจีน กรุงเทพฯ วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

  2. ผาณิต รุจิรพิสิฐ. 2550. องค์ประกอบทางเคมี และสมบัติทาเคมีกายภาพของสตาร์ช และกากสตาร์ช จากแห้วจีน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 27, 2: 162-172.

  3. พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 130-132.

  4. เจริญ วัฒนาพันธุ์ 2501. การปลูกแห้วจีน กสิกร 31 (33:79) -201

  5. ผาณิต รุจิรพิสิฐ. องค์ประกอบทางเคมีและสมบัติทางเคมีกายภาพของแป้งฟลาวร์จากแห้วจีน. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 28. ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2551. หน้า 168-178.

  6. แห้ว/หัวจีน ประโยชน์ สรรพคุณ และการปลูกแห้ว. พืชเกษตรดอทคอม เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก www.puechkaset.com

  7. Zhang, J.; Yi, Y; Pan, D.; Zhou, G.; Wang, Y; Dang, Y; He, J.; Li, G.,; Cao, J. 1H NMR-based metabolomics profiling and taste of boneless dry-cured hams during processing. Food Res. Int. 2019, 122, 114-122.

  8. Rosyidah K., Rohman T., 2018 [Antioxidant activity of methanol extract of the Purun Tikus (E, dulcis) leaves]. JKPK 3:135-140.

  9. Zhang, J; Zhang, Y;Wang, Y; Xing, L.; Zhang, W. Influences of ultrasonic-assisted frying on the flavor characteristics of fried meatballs. Innoo. Food Sci. Emerg. Technol. 2020, 62, 102365.

  10. Okocha R. C., Olatoye I. O., Adedeji O. B., 2018 Food safety impacts of antimicrobial use and their residues in aquaculture. Public Health Reviews 39:21, 22 p.

  11. Tborodo, N.G., and Filemon Q. Abaya. 1939. Noteson the periminary cultural tria wite chinease water chesnuts. The Philippines Journal of Agriculture. 10: 397-402.

  12. Zhao, X.;Wei, Y; Gong, X; Xu, H,; Xin, G. Evaluation of umami taste components of mushroom (Suillus granulatus) of different grades prepared by different drying methods. Food Sci. Hum. Wellness 2020, 9, 192-198.

  13. Klancnik A., Piskernik S., Jersek B., Mozina S. S., 2010 Evaluation of diffusion and dilution methods to determine the antibacterial activity of plant extracts. Journal of Microbiological Methods 81(2):121-126.