กำจัดหน่วย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

กำจัดหน่วย งานวิจัยและสรรพคุณ 17 ข้อ

ชื่อสมุนไพร กำจัดหน่วย
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น กำจัดเถา, กำจัดเครือ, งูเห่า, สรรพลังวน (ทั่วไป), เหลียงเมี่ยนเจิ้น, ซังมิ่งฉี่, เชาออยฉี่, ซังโหว่เจีย, เหย่เชียนหนิว, ยิบตี่กิมงู้, เอียคังจู (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zanthoxylum nitidum (Roxb.) DC.
ชื่อสามัญ Prickly Ah, Shiny-Leaf
วงศ์ Rutaceae


ถิ่นกำเนิดกำจัดหน่วย

เชื่อกันว่ากำจัดหน่วย มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมทางภาคใต้ของประเทศจีนเนื่องจากมีระบุอยู่ในตำรายาพื้นบ้านของจีนตอนใต้มาตั้งแต่ในอดีตและยังพบต้นกำจัดหน่วยกระจายตัวอยู่มากที่สุด นอกจากจะพบได้ในจีนตอนใต้และยังสามารถพบต้นกำจัดหน่วยได้ใน ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินเดีย มาเลเซีย ไทย พม่า ลาว กัมพูชา และอินโดนีเซียเป็นต้น สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ บริเวณป่าโปร่งทั่วไป ที่มีความสูงระดับน้ำทะเลจนถึง 500 เมตร

ประโยชน์และสรรพคุณกำจัดหน่วย

  1. ช่วยดับความคาวในอาหาร
  2. ช่วยกระตุ้นน้ำลาย
  3. ช่วยขจัดอาการปวดฟัน
  4. บรรเทาอาการเหงือกแดง บวม
  5. ช่วยแก้ปัญหาในช่องปาก
  6. ใช้แก้พิษงู
  7. แก้แมลงสัตว์กัดต่อย
  8. แก้ปวดลงท้อง
  9. แก้ปวดต่างๆ
  10. แก้พิษสำแดง
  11. แก้ฝีมะตอย
  12. แก้หวัดแดด
  13. ช่วยไล่ลม
  14. แก้คอตีบอักเสบ
  15. แก้ปวดฟัน
  16. แก้ปวดกระเพาะ
  17. แก้ปวดเมื่อยตามข้อ

กำจัดหน่วย

กำจัดหน่วย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้กำจัดหน่วย

กำจัดหน่วย ใช้ไล่ลมขับลมชื้นในร่างกาย แก้ปวดกระเพาะ แก้ปวดฟัน แก้คอตีบอักเสบ โดยใช้ทั้งต้น 6-12 กรัม มาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้พิษต่างๆ แก้ปวดฟัน ปวดเมื่อยตามข้อตามเอว และเท้า แก้พิษสำแดง แก้ฝีตะมอย แก้ปวดลงท้อง แก้พิษต่างๆ โดยใช้รากแห้ง 6-12 กรัม มาต้มกับน้ำดื่ม ใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก พิษจากงูกัด และใช้แก้พิษต่างๆ โดยใช้แก้พิษต่างๆ โดยใช้เปลือกต้นต้มน้ำนำมาล้างแผลเช็ดให้แห้งแล้วใช้เปลือกบดเป็นผงนำมาโรยบริเวณแผล แก้ปวดเมื่อยตามข้อ ปวดบวม ฟกช้ำ แก้พิษสำแดงโดยใช้เปลือกต้น 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มหรือใช้ร่วมกับยาตัวอื่น ในตำรับยา

           ส่วนตำรายาจีนระบุให้ใช้ รากกำจัดหน่วย 1 เฉียน ชงน้ำร้อนใช้แก้ปวดท้อลงท้อง เพราะหวัดแดดหรือกินผิดสำแดง ใช้แก้ปวดเมื่อยเอวและเท้า เพราะลมพิษ โดยใช้รากกำจัดหน่วย และเถาใบหอยอย่างละ 1 ตำลึง ดองเหล้ากินเช้า-เย็น ครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ใช้แก้ปวดฟันโดยใช้ รากกำจัดหน่วย ครึ่งตำลึง ต้มใส่กวยแฉะ หรือนำไปดองเหล้า หรือต้มกับน้ำเปล่าใช้อม

           ใช้แก้ฝีตะมอยนิ้วมือ โดยใช้รากกำจัดหน่วยตากแห้ 2 เฉียนดองเหล้าแล้วเอานิ้วแช่ในเหล้า

ลักษณะทั่วไปของกำจัดหน่วย

กำจัดหน่วย จัดเป็นไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อยอายุหลายปีสูงได้ประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลดำตามลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมขึ้นกระจายแบบห่างๆ

           ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ออกแบบเรียงสลับ ก้านช่อใบและแกนใบหนามแหลม ใน 1 ก้านช่อใบจะมีใบย่อย 2-4 คู่ ใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-12 ซม. โคนใบแหลมหรือมน เช่นเดียวกับปลายใบมีหยักห่างๆ บริเวณปลายหยักมักมีต่อมกลมอยู่ใกล้ๆ ขอบใบ ใบเรียบเป็นมันมีเส้นแขนงใบข้างละ 5-12 เส้น และมีหนามลักษณะงอเล็กๆ ตามเส้นกลางใบ

           ดอก ออกเป็นช่อบริเวณง่ามใบและปลายยอดโดยก้านช่อดอกจะมีขนละเอียดขึ้นปกคลุม และส่วนดอกย่อยช่อดอกจะยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร มีขนาดเล็กเป็นแบบแยกเพศ ในต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้ยาวประมาณ 4-5 มล. กลีบดอกมี 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ยาวประมาณ 2-3 มล. มีสีเหลืองอมเขียวและมีกลีบเลี้ยง ขนาดเล็ก 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม โคนกลับเชื่อมติดกัน มีเกสรเพศผู้ 4 อัน ส่วนดอกเพศเมียมีลักษณะคล้ายดอกเพศผู้ แต่จะต่างกันตรงที่ดอกเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่าและมีรังไข่ใหญ่เห็นได้ชัด

           ผล เป็นทรงกลมจะติดกันเฉพาะที่โคน มี 4 พู ที่ค่อนข้างอิสระ จากกัน แต่ละพูจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-7 มล. มีสีส้มอมแดงผลเมื่อแก่จะแตกออกตามยาวกลางพูโดยในแต่ละพูจะมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะค่อนข้างกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-5 มล. ผิวเมล็ดเกลี้ยงและเป็นมัน

กำจัดหน่าวย

กำจัดหน่าวย

การขยายพันธุ์กำจัดหน่วย

กำจัดหน่วย เป็นไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อยที่สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมีวิธีการเพาะเมล็ดกำจัดหน่วยสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ดไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อยชนิดอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้

องค์ประกอบทางเคมีกำจัดหน่วย

มีรายงานการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ ของกำจัดหน่วย ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิด อาทิเช่น ทั้งต้นพบสาร nitidine, chelerythrine, diosmin, toddalolactone, oxinitidine และในน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดพบสาร limonene, geraniol เป็นหลัก อีกด้วย

กำจัดหน่าวย

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกำจัดหน่วย

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของกำจัดหน่วยระบุว่า สารสกัดกำจัดหน่วย หยาบจากรากกำจัดหน่วยด้วยคลอโรฟอร์มมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อวัณโรค และเชื้อมาลาเรีย (Plasmodium falciparum) และมีการศึกษาวิจัยทางคลินิกของกำจัดหน่วยโดยนำสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 2 ซีซี (ใช้กำจัดหน่วยแห้งประมาณ 3 กรัม ต้มกับน้ำ) นำมาฉีดเข้ากล้ามเนื้อของคนวันละ 1-2 ครั้ง พบว่าสามารถรักษาอาการปวดศีรษะ และแก้ปวดมวนกระเพาะลำไส้ได้ โดยหลังฉีดประมาณ 5-10 นาที ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ นอกจากนี้ในรายงานการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาอีกหลายฉบับยังระบุถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากส่วนต่างๆ ของกำจัดหน่วย ว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ระงับปวด ต้านแบคทีเรีย มีฤทธิ์ห้ามเลือด และมีฤทธิ์ต้านเนื้องอกอีกด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยาของกำจัดหน่วย

ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ตำรายาไทยและตำรายาจีนมีข้อมูลตรงกันว่า สตรีมีครรภ์ห้ามใช้กำจัดหน่วย เป็นสมุนไพร เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตรได้ และการใช้กำจัดหน่วยเป็นยาสมุนไพรห้ามใช้รับประทานกำจัดหน่วยพร้อมกับของเปรี้ยวหรือของจำพวกที่มีกรด นอกจากนี้ ในตำรับของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้กำหนดขนาด การใช้ส่วนรากของกำจัดหน่วยเป็นสมุนไพรโดยแนะนำให้ใช้ในขนาด 5-10 กรัม โดยไม่แนะนำให้รับประทาน เกินขนาดอย่างเด็ดขาด

 

เอกสารอ้างอิง  กำจัดหน่วย
  1. ราชบันฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษรก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
  2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพร ไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. วิทยา บุญวรพัฒน์. กำจัดเถา. หน้า 76.
  3. ZN. He et al. GC.MS comparative analysis of supercritical CO2 extracts from roots and stems of Zanthoxylum nitidum and evaluation of their cytotoxicity in vitro China J. Chin. Mater. Med 2014.
  4. Q. Huang et al. superlative of alkaloids in Zanthoxylum nitidine. DC Chin J. Nat. Med. 2004.
  5. D.X. Li et al. Separative of alkaloids in zanthoxylum nitidum DC Chin J. Nat. Med. 2004.
  6. Zhang S; Yao Y; Liu C 2001. Determination of nitidine in different parts of Zanthoxylum nitidum. Zhong Yao Cai.24(9):649-50.
  7. L Cheng et al. Literature study on medicinal parts of Zanthoxylum nitidum in ancient traditional Chinese medicine J. Tradit. Chin. Med. Lit. 2015.
  8. Y.J. Gong. Clinical observation on the treatment of 100 cases of oral ulcer with tradicinal chineae medicine powder mainly composed of Euchresta japonica and zanthoxylum nitidum Nei Mongol J. Tradit. Chin. Med. 2007.
  9. X.H. Pan et al. Nitidine chloride inhibits breats cancer cells migration and invasion by suppressing c-src/FAK associated signaling pathway Canc. Lett. 2011.