ตะขบป่า ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ตะขบป่า งานวิจัยและสรรพคุณ 43 ข้อ

ชื่อสมุนไพ ตะขบป่า
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น มะเกว๋น, มะเกว๋นป่า, มะเกว๋นนก (ภาคเหนือ), หมากเบน เบนโคน (ภาคอีสาน)
ชื่อวิทยาศาสต Flacourtia indica (Burm.f.) Merr
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Flacoartia ramonchi
ชื่อสามัญ Indian plum, East Indian plum, Madagascar plum, Flacourtia, Governor’s plum
วงศ์ SALICACEAE – FLACOURTIACEAE


ถิ่นกำเนิดของตะขบป่า

สำหรับถิ่นกำเนิดของตะขบป่า นั้นมีข้อมูลบางฉบับเชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในภูมิภาคเอเชียใต้ อาทิเช่น อินเดีย เนปาล ศรีลังกา ปากีสถาน แต่อีกบางข้อมูลระบุว่าอยู่ในทวีปแอฟริกา แต่สำหรับในปัจจุบันพบว่ามีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนในหลายๆ ทวีป เช่น เอเชีย แอฟริกา และพบได้บางที่ในอเมริกาใต้ ส่วนในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศบริเวณ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าผสมผลัดใบ ป่าชายหาด รวมถึงบริเวณริมน้ำ


ประโยชน์และสรรพคุณตะขบป่า

  • แก้ผิดสำแดง
  • แก้ปวดเมื่อย
  • แก้คัน
  • แก้โรคไตพิการ
  • ช่วยบำรุงน้ำนม
  • กินแก้ไตอักเสบ
  • แก้ตานขโมย
  • ช่วยขับพยาธิไส้เดือน
  • แก้โรคปอดบวม
  • ช่วยขับเหงื่อ
  • แก้ท้องร่วง
  • แก้บิดมูกเลือด
  • แก้ขับพยาธิไส้เดือน
  • แก้โรคผิวหนัง
  • แก้ประดง ผื่นคัน
  • แก้อีสุกอีใส อีดำอีแดง
  • แก้ไข้ลดความร้อน
  • แก้พิษไข้กาฬ
  • แก้พิษฝี
  • ใช้แก้อหิวาตกโรค
  • แก้เจ็บคอ
  • แก้เสียงแห้ง
  • แก้ปวดท้อง
  • ช่วยย่อยอาหาร
  • ช่วยลดไข้สำหรับเด็ก
  • แก้ไอ
  • แก้โรคปอดอักเสบ
  • แก้บิดและท้องเสีย
  • ใช้เป็นยากลั้วคอ
  • ใช้บำรุงร่างกาย
  • ใช้เป็นยาฝาดสมาน
  • แก้หลอดลมอักเสบ
  • แก้ไข้
  • ช่วยลดขับเสมหะ
  • แก้หืดหอบ
  • แก้ท้องร่วง
  • ช่วยขับลม
  • แก้ปวดข้อ
  • แก้อ่อนเพลีย
  • แก้คลื่นไส้อาเจียน
  • บรรเทาอาการโรคดีซ่าน
  • แก้ม้ามโต
  • ใช้เป็นยาระบาย

            ผลตะขบป่า สุกถูกนำมารับประทานเป็นผลไม้โดยเฉพาะเด็กๆ แถวชนบท ซึ่งผลสุกจะมีรสหวานอมฝาด มีวิตามินซี สูง ส่วนเนื้อไม้สามารถใช้เป็นโครงสร้างในการก่อสร้างบ้านเรือน เช่น เสา ขื่อ หรือ คาน และยังสามารถใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนได้อีกด้วยนอกจากนี้ยังใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ให้ร่มเงา และเมื่อผลสุกก็จะมีนกมาจิกกินสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ที่ได้เห็น

ตะขบป่า

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ตะขบป่า

           ใช้เป็นยาบำรุงร่างกายแก้ไข้ แก้ไอ หลอดลมอักเสบ ขับลม ขัยเสมหะ แก้ท้องร่วง ใช้เป็นยาฝาดสมานโดยใช้ใบแห้งใช้มาต้มกับน้ำดื่ม
           ใช้แก้โรคปอดบวม ไตอักเสบ ขับพยาธิไส้เดือน แก้ตานขโมย บำรุงน้ำนม แก้โรคปอดบวม โดยใช้รากแห้ง 9 กำมือ มาต้มกับน้ำดื่ม 3-5 ครั้ง
           ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด แก้ตานขโมย แก้ผิดสำแดง แก้ประดง ขับพยาธิ แก้ผื่นคัน โดยใช้แก่นต้มกับน้ำดื่ม
           ใช้เป็นยาแก้อ่อนเพลีย แก้คลื่นเหียนอาเจียน ม้ามโต ดีซ่าน และใช้เป็นยาระบายโดยใช้ผลตะขบป่า สุกมารับประทานสด
           ใช้แก้เสียงแห้ง แก้เจ็บคอ โดยฝ่าเปลือกมาแช่หรือชงเป็นยากลั้วคอ
           ใช้แก้อาการปวดเมื่อย แก้คัน โดยใช้แก่ตะขบป่าเข้ายากับหนามแท่ง แก่นมะสัง และเบนน้ำ นำมาต้มกับน้ำดื่ม
           ใช้เป็นยาแก้อีสุกอีใส อีดำอีแดง โดยใช้ต้นตะขบป่าใช้ผสมกับผักแว่น ทั้งต้น หัวเอื้องหมายนา และหอยขมเป็นๆ 3-4 ตัว นำมาแช่น้ำให้เด็กอาบ

ลักษณะทั่วไปของตะขบป่า

ตะขบป่า จัดเป็น ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เรือนพุ่มแผ่กว้าง ปลายกิ่งโค้งต่ำ ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 2-15 เมตร ลำต้น และกิ่งใหญ่ๆ เปลือกสีเหลืองอมเทาแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศกระจายห่างๆ ผิวขรุขระเล็กน้อย และมีหนามแหลม กิ่งอ่อนมีหนามแหลมตามซอกใบ ยาว 2-4 เซนติเมตร กิ่งแก่ๆ มักจะไม่มีหนาม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกแบบเรียงสลับ เรียงชิดเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ขนาดของใบค่อนข้างเล็ก รูปไข่กลับโคนใบสอบแคบ ปลายใบกลม แผ่นใบมีทั้งแบบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบใบค่อนข้างเรียบ หรือ จักใกล้ปลายใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร เส้นแขนงใบมีประมาณ 4-6 คู่ ผิวใบเกลี้ยง หรือ อาจมีขนสั้นหนานุ่มทั้งสองด้าน ใบอ่อนและเส้นกลางใบเป็นสีแดงอมส้ม และมีก้านใบเป็นสีเขียว หรือ แดง ดอก ออกเป็นแบบช่อกระจะสั้นๆ บริเวณซอกใบ และปลายกิ่งที่โคนช่อมีใบประดับ บางทีมีหนาม และในแต่ละช่อมีดอกย่อยน้อย ดอกย่อยเป็นดอกขนาดเล็ก สีขาว เป็นแบบแยกต่างต้น มีกลีบดอก 5-6 กลีบ รูปไข่ ปลายมน ยาว 1.5 มิลลิเมตร ด้านนอกค่อนข้างเกลี้ยง ด้านใน และที่ขอบกลีบมีขนแน่น ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร ผล มีทั้งผลเดี่ยว หรือออกเป็นพวงเล็กๆ บริเวณกิ่ง ลักษณะของผลเป็นรูปกลม หรือ รี ลักษณะชุ่มน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ำจนถึงดำ ภายในผลมีเมล็ดรูปร่างกลมเล็กๆ ประมาณ 5-8 เมล็ด

ตะขบป่า

ตะขบป่า

การขยายพันธุ์ตะขบป่า

ตะขบป่าสามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่งแต่วิธีที่เป็นที่นิยม คือ การเพาะเมล็กมากกว่าเนื่องจากกิ่งของตะขบป่า มักจะมีหนามแหลม และมีลำต้นที่มีหนามจึงทำให้การตอนกิ่งค่อนข้างลำบาก สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดตะขบป่านั้นสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ดมะเขือ หรือ มะขามป้อม ซึ่งได้กล่าวมาแล้วใบบทความทั้งสองเรื่องก่อนหน้านี้


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ ของตะขบป่าระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญดังนี้

           สารสกัดเมทานอลจากเปลือกและเนื้อของผลตะขบป่า เป็นสารฟีนอลิก ซึ่งสารที่พบในสารสกัดจากเปลือก ได้แก่ caffeic acid, p-hydroxybenzaldehyde, ferulic acid และ p-coumaric acid ส่วนสารสกัดจากส่วนเนื้อพบสารฟีนอลิก ได้แก่ caffeic acid, vanillic acid, ferulic acid และ p-coumaric acid

           ส่วนอีกการศึกษาวิจัยอีกฉบับหนึ่งระบุว่าสารสกัดตะขบป่า มีสาร flacourtin, β-sitosterol, β-sitosterol β-D-glucopyranoside, ramontoside, butyrolactone lignan disaccharide, scoparone และ aesculetin

โครงสร้างตะขบป่า

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของตะขบป่า

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของตะขบป่า ระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ดังนี้

           โดยได้ระบุผลการทดลองพบว่าสารสกัดจากใบกิ่ง และส่วนเหนือดินของตะขบป่าสามารถยับยั้งเชื้อมาลาเรีย P. falciparum ในหลอดทดลองได้ การทดสอบในหนู ทดลองพบว่าเมื่อให้หนูกินสารสกัดที่ความเข้มข้น 50 และ 75mg/กก. พยาธิสภาพการเกิดมาลาเรียในหนูลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งพบว่าสารประกอบ glycoside 2-(6-benzoyl-β-d-glucopyranosyloxy)-7-(1α, 2α, 6α-trihydroxy-3-oxocyclohex-4-enoyl)-5-hydroxybenzyl alcohol หรือ CPG ที่แยกได้จากสารสกัดตะขบป่า มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรียระยะ Trophozoite 

           นอกจากนี้ สารสกัดเมทานอลจากรากของตะขบป่า ยังแสดงฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลัก คือ 4- benzyol-3-methoxyisocoumarin ส่วนสารสกัดจากเปลือกต้น ใบพบสารฟีนอลิก และมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดจากส่วนเหนือดินช่วยป้องกันความเป็นพิษต่อตับที่เกิดจากการได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาด ในหนูทดลอง และความผิดปกติในตับของหนูทดลองอีกด้วย อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์ความสามารถต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดหยาบเอทนอลเปลือก เนื้อและเมล็ดของผลตะขบป่าด้วยวิธี DPPH พบว่าสารสกัดทุกส่วนมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ โดยแต่ละส่วนสกัดมีฤทธิ์ที่แตกต่างกัน คือ สารสกัดจากเปลือก มีฤทธิ์ดีที่สุด รองลงมา คือ สารสกัดจากเมล็ด และเนื้อ ค่า IC50 เท่ากับ 0.13 ± 0.01, 0.65 ± 0.05 และ 5.88 ± 0.04 mg/ml ตามลำดับ และยังมีการศึกษาวิจัยอีกหลายฉบับที่ระบุว่าสารสกัดจากตะขบป่ามีฤทธิ์อื่นๆ อีก เช่น ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ฤทธิ์ต้านหอบหืด และฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ เป็นต้น


การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของตะขบป่า

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ผลสุกของตะขบป่า จะมีรสหวานอมเปรี้ยวนิดๆ ซึ่งในการรับประทานควรรับประทานแต่พอดีไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป เพราะผลสุกของตะขบป่าตามสรรพคุณของตำรายาไทยระบุว่ามีฤทธิ์ระบาย ซึ่งอาจทำให้เกิดการปวดไซท้องได้ ส่วนการใช้ในรูปแบบสมุนไพร ก็เช่นเดียวกันควรใช้ในขนาดและปริมาณที่พอดีที่ได้ระบุได้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ใบขนาด และ ปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้


เอกสารอ้างอิง ตะขบป่า
  1. เศรษฐมันต์ กาญจนกุล. ตะขบป่า ใน ผลไม้ในเมืองไทย. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 67
  2. Kirtikar KR and Basu BD. Indian Medicinal Plants. Ed 3 rd , Vol II, Singh and MP Singh Publications, India. 1998;220
  3. ไซมอน การ์ดเนอร์ พินดา สิทธิสุนทร และวิไลวรรณ อนุสารสุนทร. ต้นไม้เมืองเหนือ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 2543
  4. พัทวัฒน์ สีขาวและคณะ, การประเมินสรรพคุณ เคมีเบื้องต้นฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลชีพจากสารสกัดเอทานอลของผลตะขบป่า, วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรีปีที่ 19. ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2563. หน้า 124-136
  5. ตะขบป่า, ฐานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.[hargardencom/main.php?action=viewpage&pid=45
  6. Nazneen M, Mazid MA, Kundu JK, Bachar SC, Rashid MA and Datta BK. Protective effects of Flacourtia indica aerial parts extracts against paracetamol‐induced hepatotoxiciy in rats. J Biol Sci. 2002;11(2):183-187
  7. Satyanand Tyagi, Mahendrasingh, Dashrath Singh, Indu Yadav, Sunil Singh and mohd Hashim Mansoori. Anti-Asthamatic Potential of F.indica Merr. African Journal of Basic & Applied Sciences. 2011;3(5):201-204.
  8. Eramma N, Gayathri D. Antibacterial potential and phytochemical analysis of Flacourtia indica (Burm.f.) Merr. root extract against human pathogens. Indo Am J Pharm Res. 2013;3(5):3832-46.
  9. Ali Mohamed Kaou, Valérie Mahiou-Leddet, Cécile Canlet, Laurent Debrauwer and Sébastien Hutter. Antimalarial compounds from the aerial parts of Flacourtia indica (Flacourtiaceae). Journal of Ethnopharmacology. 2010;130(2): 272-274
  10. Ndhlala AR, Kasiyamhuru A, Mupure C, Chitindingu K, Benhura MA, Muchuweti M. Phenolic composition of Flacourtia indica, Opuntia megacantha and Sclerocary abirrea. Food Chem. 2006;103(2007):82-7.
  11. Bhaumik PK, Guha KP, Biswas GK and Mukherjee B. Flacourtin, a phenolic glucoside ester from Flacourtia indica. Phytochemistry. 1987;26:3090-3091
  12. Varkey J, Thomas J. Protective effect of Flacourtia indica (Brum. f) Merr. in methotrexate induced hepatotoxicity. Pharmanest. 2011;2(2-3):115-23.
  13. Sulbha Lalsare, Prabhakar Kumar Verma, Mamta Khatak, Sudhir Ranjan, Suresh Rajurakar and Shailendra S Gurav. AntiInflammatory and Antimicrobial activity of Flacourtia Ramontchi Leaves. Int J Drug Dev & Res. 2011;3(2):308-313
  14. Swati M, Nath SG, Yatendra K, Kanchan K, Mohan SR, Prakash O. Phytochemical analysis and free-radical scavenging activity of Flacourtia indica (Burm.f.) Merr. J Pharm Res. 2009;8(2):81-4.
  15. . Joyamma Varkey and Jaya Thomas. Protective effect of F.indica(burm.f) merr. In Methotrexate Induced Hepatotoxicity. An International Journal of Advances in Pharmaceutical Sciences. 2011;2(2 - 3):115- 123.
  16. Satyanarayana V, Kurupadanam GL and Srimanaraya G. A butyrolactone lignan disaccharide from Flacourtia ramontchi. Phytochemistry. 1991; 30:1026-1029
  17. Tyagi SN, Rakshit, Ajeet singh, Raghvendra, Anamika Saxena and Patel BD. In vitro Antioxidant Activity of Methanolic and Aqueous Extract of F.indica Merr. AmericanEurasian Journal of Scientific Research. 2010;5(3):201-206.