มะขวิด ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

มะขวิด งานวิจัยและสรรพคุณ 18 ข้อ

ชื่อสมุนไพร มะขวิด
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น มะฝิด (ภาคเหนือ), บักฝิด, หมากฝิด (ภาคอีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Feronia limonia (L.) Swingle
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Limonia acidissima Linn.
ชื่อสามัญ Wood apple, Crud Fruit, Elephant apple, Limonia
วงศ์  Rutaceae

ถิ่นกำเนิดมะขวิด

มะขวิด เป็นพืชในวงศ์ส้ม (Rutaceae) ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย บริเวณภูมิภาคเอียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย ศรีลังกา มังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว และกัมพูชา เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยมะขวิดถือได้ว่าเป็นผลไม้ป่าที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศและเป็นที่รู้จักรวมถึงใช้ประโยชน์มาตั้งแต่โบราณแล้วโดยมักจะพบเห็นการปลูกมะขวิด ได้ตามชนบททั่วทุกภาคของประเทศ

ประโยชน์และสรรพคุณมะขวิด

  1. แก้บวม
  2. แก้ตัวพยาธิ
  3. แก้ตกโลหิต
  4. แก้ท้องร่วง
  5. แก้ตกโลหิต
  6. ช่วยขับลม
  7. แก้ลงท้อง
  8. แก้ฝีเปื่อยพัง
  9. แก้อาการปวดบวม
  10. ช่วยเจริญอาหาร
  11. บรรเทาอาการโรคท้องเสีย
  12. รักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร
  13. รักษาโรคลักปิด-ลักเปิด
  14. รักษาแผลช่วยให้แผลแห้งเร็ว
  15. ช่วยขับปัสสาวะ
  16. รักษาโรคผิวหนัง
  17. รักษาผื่นแพ้ทางผิวหนัง
  18. รักษาแผลเป็นหนอง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้แก้อาการปวดบวม ขับพยาธิ แก้ตกโลหิต ช่วยเจริญอาหาร บรรเทาอาการโรคท้องเสีย และรักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารอื่นๆ รักษาโรคลักปิด-ลักเปิด โดยการนำผลดิบมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดด แล้วนำมาต้มน้ำดื่ม หรือ นำผลสุกมารับประทานสดก็ได้ ใช้แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิตโดยนำดอกมาตากแห้ง และต้มน้ำดื่ม ใช้รักษาแผลช่วยให้แผลแห้งเร็ว ใช้ในการห้ามเลือดโดยใช้ยางจากผลดิบมาทาบริเวณที่เป็น ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ โดยนำรากมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้บวม ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาอาการบวมช้ำ รักษาอาการท้องเสีย ขับปัสสาวะโดยใช้เปลือกและแก่นลำต้น มาต้มน้ำดื่ม รักษาอาการฟกช้ำ แก้อาการท้องร่วง ห้ามโลหิตระดูสตรี ขับลม ช่วยสมานแผล ทำให้แผลแห้ง รักษาโรคผิวหนัง รักษาผื่นแพ้ทางผิวหนัง โดยนำใบมาต้มน้ำอาบ รักษาแผลเป็นหนอง ทำให้แผลแห้ง และหายเร็ว รักษาอาการผื่นคันจากใบพืช อาการผื่นคันจากการแพ้อากาศโดยใช้เปลือกลำต้น และใบ นำมาบดใช้ทา นอกจากนี้ในบางท้องถิ่นยังมีการนำเปลือกต้นมะขวิด มาบดละเอียดทำเป็นแป้งทาหน้าเช่นเดียวกับทานาคาอีกด้วย

ลักษณะทั่วไปมะขวิด

มะขวิด จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงใหญ่ ขนาด 6-15 เมตร หรือเป็นเรือยยอดลำต้นชะลูดตั้งตรง แตกกิ่งบริเวณส่วนปลายของลำต้น ลำต้นเมื่อตอนเล็กมีสีเทาน้ำตาล ส่วนเปลือกต้นเมื่อโตเต็มที่จะมีสีน้ำตาลอมเทา ผิวเปลือกลำต้นขรุขระ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ส่วนตามกิ่งแขนงจะมีหนามแหลมตรงยาวประมาณ 4 เซนติเมตร

            ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ แบบออกตรงข้ามโดยจะมี 2-3 คู่รูปไข่และมีใบย่อย 5-7 ใบ ออกเป็นกระจุกตามข้อ และสลับกันไปตามกิ่งส่วนใบย่อยเป็นรูปรีแกมไข่กลับยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร มีสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบเกลี้ยงหนามีจุดต่อมน้ำมันเป็นจุดอยู่ทั่วไป เมื่อขยี้แล้วให้กลิ่นหอมอ่อนๆ

            ดอก ออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่งที่ซอกใบ โดยเป็นดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และดอกสมบูรณ์เพศอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกย่อยเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาด 2-2.5 ซม. และมีกลีบดอก 6 กลีบ เป็นสีเหลืองอ่อนแต้มชมพู โดยมีเกสรเพศผู้ 10-12 อัน มีก้านชูเกสรส่วนโคนเชื่อมติดกันและมีอับละอองอวบอ้วนสีส้มแกมม่วงส่วนเกสรตัวเมียมี 1 อัน รังไข่แบบเนื้อชั้นวกลีบ ยอดชูเกสรตัวเมียอ้วนใหญ่ทรงกระบอกปลายมนสีเขียว

            ผล เป็นผลแห้งลักษณะกลม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์ประมาณ 8-10 ซม. เปลือกภายนอกหนา และแข็งเป็นกะลา เมื่อยังดิบมีสีเทาอมขาว หรือ ผิวเป็นขุยสีขาวปนสีชมพู แต่เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเทาแกมน้ำตาล มีเนื้อมาก เนื้อในอ่อนนิ่ม เมื่อผลสุกแล้วเนื้อเยื่อจะเป็นสีดำ มีกลิ่นหอมสามารถรับประทานได้ โดยมีรสหวานอมเปรี้ยว ส่วนในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล ขนาดยาวประมาณ 0.5-0.7 ซม. จำนวนมาก

 

การขยายพันธุ์มะขวิด

มะขวิด สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง แต่เนื่องจากกิ่งของมะขวิดเป็นหนามแหลมดังนั้นการขยายพันธุ์จึงนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ดมากกว่า โดยมีวิธีการดังนี้ เริ่มที่เลือกผลมะขวิดที่แก่จัดและมีความสมบูรณ์ไม่มีโรค โดยปล่อยให้สุกคาต้นและหล่นเอง จากนั้นจึงนำมาผ่าเป็น 2 ซีก ไม่ต้องแกะเนื้อหรือเมล็ดออกจากกะลาแล้วนำไปคว่ำลงในวัสดุเพาะในกระบะเพาะโดยให้อยู่ร่ม และให้น้ำพอชื้นหลังจากนั้นทุก 5-7 วัน หมั่นยกกะลาขึ้นตรวจหากยังไม่มีต้นกล้างอกขึ้นมาให้คว่ำกะลาต่อไป แต่ถ้ามีต้นกล้างอกขึ้นมาให้ยกกะลาออกแล้วเลี้ยงต้นกล้าต่อไปจนกว่าจะแข็งแรงจึงย้ายลงถุงดำ เมื่อเลียงต้นกล้าจนมีความสูง 25-30 ซม. ก็สามารถนำลงปลูกได้โดยควรเว้นระยะปลูกประมาณ 6x6 เมตร

องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ เช่น เนื้อผล เปลือกผล เปลือกต้น ใบ และเนื้อไม้ ของมะขวิด พบว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิด ดังนี้ Betaamyrin, Anisaldehyde, Sapinarin, Aurapten, Bergamotene, Borneol, Chavical, Coumarin, cymene, pinene, Beta pene, Estragole, Bergapten, Fernolin, Imperatorin, Linoleic acid, Linolenic acid, Ferunolide, Stearic acid, Vitexin, Stigmasteral, Thymol, Eugenol, Viterin

โครงสร้างมะขวิด

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของมะขวิด

มีรายงานการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของมะขวิดระบุว่า

            ฤทธิ์ต้านมาลาเรีย มีการศึกษาฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากบมะขวิดโดยนำใบมะขวิดแห้ง มาสกัดด้วยเครื่องสกัดซอกเลต โดยตัวทำละลายที่ใช้ คือ เฮกเซนไดคลอโรเทนเอทิลอะซิเตท และเอทานอล ได้สารสกัดหยาบเฮกเซน สารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทน และสารสกัดหยาบเอทานอล โดยมีเปอร์เซ็นต์สารสกัดหยาบต่อน้ำหนักพืชแห้งคือ 1.579, 1.425, 1.355, 9.203 ตามลำดับ จากนั้นนำสารสกัดทั้งหมดไปทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่ก่อให้เกิดโรคมาลาเรียด้วยวิธี Microcuture Radioisotope Technique สารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทน และสารสกัดหยาบเอทิลอะซิเตท ออกฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 3.35 และ 4.11 ตามลำดับ

            ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีการศึกษาวิจัยประสิทธิภาพขอสารสกัดหยาบกิ่งมะขวิด ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยนำกิ่งมะขวิดมาสกัดด้วยเอทานอล พบว่าสารสกัดหยาบจากกิ่งมะขวิดมีปริมาณฟีนอลิก และแทนนินทั้งหมดเท่ากับ 42.08, 52.22 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 8.96, 9.61 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เป็นต้น โดยสารสกัดหยาบกิ่งมะขวิดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยยับยั้ง DPPH radical ได้

การศึกษาทางพิษวิทยาของมะขวิด 

ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

มะขวิด เป็นผลไม้พื้นบ้านขอไทยที่มีการรับประทานมาตั้งแต่ในอดีตแล้ว ดังนั้นในการรับประทานรูปแบบผลไม้ หรือ อาหารจึงมีความปลอดภัย แต่ในการใช้รูปแบบสมุนไพรนั้นควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาดและปริมาณที่เหมาะสม ที่ได้ระบุไว้ในตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้มากจนเกินไป หรือใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาด้านความปลอดภัยที่มากพอและยังมีไม่มีการระบุขนาดการใช้เหมาะสมกับบุคคล ทั้ง 2 กลุ่ม
 

เอกสารอ้างอิง มะขวิด
  1. วุฒิ วุฒืธรรมเวช. 2540. พิมพ์ครั้งที่ 2. ร่วมอนุรักษ์มรดกไทย เภสัชกรรมไทย รวมสมุนไพร ฉบับปรับปรุงใหม่. โอ.เอส.พริ้นท์ติ้ง เฮ้าส์ กทม.
  2. เสงี่ยม พงษ์บุญรอด. หนังสือไม้เทศเมืองไทย. กรุงเทพฯ. 2522. หน้า 406.
  3. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2542. สมุนไพรพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ.
  4. สุวันนา จันคนา. 2559. การสกัดการแยกสารและการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียของใบมะขวิด. สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
  5. นิดดา หงส์วิวัฒน์และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะขวิด ในผลไม้ 111 ชนิด. คุณค่าอาหารการกิน กทม. แสงแดด. 2550. หน้า 137.
  6. จันทิมา นามโชติ, ศศมล ผาสุกและปัณณ์รภัส ถกลภักดี. ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบกิ่งมะขวิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วิยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
  7. วันทนา ติดชัย. ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบมะขวิด (Feronia limonia (L.) Swing) ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานขอเอนไซม์ไทโรซิเนส. วทยานิพนธ์ปริญญษวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลอลงกรณ์ ในพระราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี 2562. 135 หน้า.
  8. มะขวิด (Wood apple) ประโยชน์และสรรพคุณมะขวิด. พืชเกษตรดอทคอม เว็ปเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.purchkaset.com%MCEPASTEBIN%