ดาวเรืองฝรั่ง ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ดาวเรืองฝรั่ง งานวิจัยและสรรพคุณ 18 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ดาวเรืองฝรั่ง
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ดาวเรืองหม้อ (ทั่วไป), จินจว่านจวี๋, กิมจั้วเก๊ก (จีน), Scottish marigold (ยุโรป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Calendular Officinalis Linn.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Caltha officinalis, Carlendula aurantiaca Kotschy ex Boiss., Calendula eriocarpa DC., Carlendula Prolifera Hort., Carlendula hydruntina Lanza, Carlendula x santamariae Font Quer
ชื่อสามัญ Common marigold, English marigold, pot marigold, ruddles
วงศ์ Asteraceae-Compositae

ถิ่นกำเนิดดาวเรืองฝรั่ง

ดาวเรืองฝรั่ง เป็นพืชในวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae) ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมใบแถบยุโรปตอนกลางตะวันออก และตอนใต้ทวีปอเมริกาเหนือคาบสมุทรบอลข่านยุโรปตะวันออก และประเทศเยอรมัน ในปัจจุบันได้กระจายพันธุ์ไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย สามารถพบได้ทุกภาคของประเทศบริเวณที่มีการระบายน้ำได้ดี

ประโยชน์และสรรพคุณดาวเรืองฝรั่ง

  1. ใช้เป็นยาฟอกเลือด
  2. ช่วยกระจายเลือดลมที่อุดตัน
  3. แก้ปวดกระเพาะ
  4. รักษาซีสต์ในมดลูกสตรี
  5. ช่วยขับกษัยลม
  6. แก้อุจจาระเป็นเลือด
  7. ช่วยเจริญอาหาร
  8. ช่วยขับเหงื่อ
  9. แก้คลื่นเหียนอาเจียน
  10. ช่วยขับพยาธิ
  11. แก้ดีซ่าน
  12. แก้เส้นเลือดพอง
  13. ใช้เป็นยาธาตุ
  14. แก้ไข้
  15. แก้โรคฝีดาษลิงหรือไข้ทรพิษ
  16. แก้ขาอักเสบ
  17. แก้โรคต่อมน้ำเหลืองในเด็ก
  18. แก้อาการท้องผูก

ดาวเรืองฝรั่ง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้เป็นยาธาตุ ขับเหงื่อ แก้ไข้ โรคฝีดาษลิง หรือ ไข้ทรพิษ ขับลม ขับพยาธิ ดีซ่าน แก้ตาอักเสบ แก้โรคหัด รักษาอุจจาระเป็นเลือด ช่วยบำรุงผิว สมานผิว โดยใช้ดอกตากแห้ง มาต้มกับน้ำดื่ม ใช้เป็นยาเจริญอาการ ขับเหื่อ ขับพยาธิ แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ดีซ่าน แก้เส้นเลือดพอง โดยใช้ต้นตากแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ขับลม แก้กษัยลม โดยใช้รากสด 50-80 กรัม มาต้มในน้ำที่ผสมกับเหล้าอย่างละเท่ากัน แล้วนำมารับประทาน ใช้แก้ปวดกระเพาะเนื่องจากกระเพาะชื้นเย็นแบะพร่องโดยใช้รากดาวเรืองฝรั่ง ประมาณ 30-50 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มหรือนำมาดอกกับเหล้ารับประทาน ใช้เป็นยารักษาถ่ายอุจจาระเป็นเลือด โดยใช้ดอกสด 10-15 ดอก มาต้มกับน้ำตาลกรวดรับประทาน ใช้แก้โรคต่อมน้ำเหลืองในเด็กโดยใช้ใบมาตากแห้งและต้มกับน้ำดื่ม


ลักษณะทั่วไปดาวเรืองฝรั่ง

ดาวเรืองฝรั่ง จัดเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มไม่ผลัดใบ อายุ 1-2 ปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 30-50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขามากที่โคนต้น กิ่งอ่อนมีขนสีเทาอมเหลืองมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย ตามกิ่งและก้านจะมีร่องเหลี่ยมเมื่อโตเต็มที่ก้านจะมีสีม่วงแกมแดง

           ใบ ออกเป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับลักษณะเป็นรูปรี หรือ รูปหอก โคนใบรูปลิ่มขอบใบเป็นคลื่น ปลายใบแหลมมีขนาดยาวประมาณ 2.5-8 ซม. แผ่นใบมีสีเขียวด้านล่างมีสีเขียวอ่อน ไม่มีก้าน ใบอยู่ที่ตรงโคนก้านจะมีขนาดใหญ่เรียงไปหาเล็ก

           ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยว เป็นวงออกเป็นกระจุก บริเวณปลายต้น 2-4 ดอก มีสีเหลืองอมส้มกลีบดอกมีขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.3-7.8 ซม. ลักษณะเป็นรูปแกมขอบขนานเรียงซ้อนกันเป็นวงหลายๆ ชั้น ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมียส่วนดอกวงในเป็นดอกเพศผู้ ปลายดอกแยกออกเป็นแฉกๆ กลีบดอกทั้งหมดจะมีขนแข็งติดอยู่ที่โคน บริเวณใต้ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียวอยู่ 1-2 ชั้น

           ผล เป็นผลแห้งรูปกลมแป้นหรือรูปขอบขนานโค้ง ยาวประมาณ 10-12 มม. มีขนเล็กน้อย มีเมล็ดรูปทรงกลมสีน้ำตาล

ดาวเรืองฝรั่ง

การขยายพันธุ์ดาวเรืองฝรั่ง

ดาวเรืองฝรั่งสามารถขยายพันธุ์โดยวิธีการใช้เมล็ด โดยนำเมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้าแล้วจึงนำไปปลูกต่อไป สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดและการปลูกก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับไม้ล้มลุกชนิดอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ดาวเรืองฝรั่ง เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สามารถระบายน้ำและอากาศได้ดีปลูกได้แม้มีสภาพดินเค็มชอบแสงแดดแบบเต็มวันและมีความต้องการน้ำปานกลางโดยอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเพาะปลูกอยู่ที่ประมาณ 15-25 องศาเซลเซียส

องค์ประกอบทางเคมีดาวเรืองฝรั่ง

มีการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของดาวเรืองฝรั่ง ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิด อาทิเช่น

           สารกลุ่ม triterpenoids  ได้แก่ a-amyrin, B-amyrin, arnidiol .calenduladiol, calendulaglycoside A, B, C,faradiol, faradiol monoester,friedelin, friedelinol ,lupeol, taraxasterol,

           สารกลุ่มฟลาโวนอย (flavonoids) ได้แก่ calendoflaside, calendoflavobioside,isorhamnetin, Kaempferol, manghaslin, Quercetin 

           สารกลุ่ม Carotenoids ได้แก่ antheraxanthin, auroxanthin 930, a-carotene, B-carotene, carotene flavoxanthin, lutein Tutein-5,6-epoxide, luteoxanthin, lycopene

           น้ำมันหอมระเหย (essential oil) สารที่พบในน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ a-cadinene, (6-cadinene, y-cadinene, a-cadinol 2, 1,8-cineol,limonene

           สารกลุ่ม sterols ได้แก่ campesterol, isofucosterol, B-sitosterol,stigmasterol

           สารกลุ่ม (fatty acids) ได้แก่ calendic acid 40, lauric acid, X. linoleic acid, AD, a-linolenic acid, myristic acid,, oleic acid, palmitic acid, stearic acid

โครงสร้างดาวเรืองฝรั่ง

การศึกษาทางเภสัชวิทยาดาวเรืองฝรั่ง

มีรายงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของดาวเรืองฝรั่งเอาไว้ดังนี้

           ฤทธิ์ต่อผิวหนังและสมอง มีการศึกษาระบุว่า สารสำคัญที่แยกได้จากส่วนสกัดบิวทานอลของเมล็ดดาวเรืองฝรั่ง (Calendula officinalis L.) คือ 28-O-β-D-glucopyranosyl-oleanolic acid 3-O-β-D–glucopyranosyl (1→3)-β-D-glucopyranosiduronic acid (CS1) และ oleanolic acid 3-O-β-D–glucopyranosyl (1→3)-β-D-glucopyranosiduronic acid (CS2) เมื่อนำไปทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ พบว่าสาร CS2 มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเม็ดสี (melanin biosynthesis) ส่วนสาร CS1 มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้าง hyaluronic acid เมื่อทดสอบกับ fibroblast จากผิวหนังของมนุษย์ (NHDF-Ad) นอกจากนี้สาร CS2 ยังสามารถปกป้องและเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของเซลล์ประสาท (neuro-2A) จากการถูกทำลายด้วยไฮโดเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) 

           ฤทธิ์สารต้านการอักเสบ และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง มีการทดสอบสารในกลุ่ม triterpene glycoside 10 ชนิด คือ calendulaglycoside A (1), calendulaglycoside A 6´-O- methyl ester (2), calendulaglycoside A 6´-O-n- butyl ester (3), calendulaglycoside B (4), calendulaglycoside B 6´-O-n- butyl ester (5), calendulaglycoside C (6),calendulaglycoside C 6´-O- methyl ester (7), calendulaglycoside C 6´-O-n- butyl ester (8), calenduloside F 6´-O-n- butyl ester (9) และ calenduloside G 6´-O- methyl ester (10) และสารในกลุ่ม flavonol glycoside 5 ชนิด คือ isorhamnetin 3-O- neohesperidoside (11), isorhamnetin 3-O- 2G-rhamnosylrutinoside (12), isorhamnetin 3-O- rutinoside(13), quercetin 3-O- glucoside (14) และ quercetin 3-O- rutinoside (15) ซึ่งแยกได้จากดอกดาวเรืองฝรั่ง พบว่า สาร 1-9 มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูถีบจักรที่ถูกชักนำให้เกิดการอักเสบที่ใบหูด้วย 12-O- tetradecanoyl phorbol-13-acetate (TPA) โดยมีค่า ID50 (50% inhibitory dose) อยู่ระหว่าง 0.05-0.20 มก./หู และสาร 1-10 มีฤทธิ์ต้านการกระตุ้น Epstein-Barr virus early antigen (EBV-EA) จากการชักนำด้วย TPA โดยมีค่า IC50 (50% inhibiotry concentration) อยู่ระหว่าง 471-487 mol ratio/32 pmol TPA และพบว่าสารที่ 9 และ 10 มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว และเซลล์ melanoma

           ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีการศึกษาผลของสารสกัด 50% เอทานอลจากดอกดาวเรืองฝรั่ง เตรียมโดยการแช่สกัดที่อุณหภูมิ 25 °C เป็นเวลา 5 วัน ในหนูเม้าส์ไร้ขนที่ถูกกระตุ้นให้เกิดภาวะเครียด ออกซิเดชัน ด้วยรังสี UVB โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ป้อนสารสกัดขนาด 150, 300 และ 600 มก./กก.ที่ เวลา 18 ซม. และ 30 นาที ก่อนการฉายรังสี เปรียบเทียบผลกับกลุ่มควบคุม พบว่าสารสกัดทุกขนาดมีผลเพิ่มระดับของ glutathione ที่ลดลงเนื่องจากรังสี UVB ได้ โดยกลุ่มที่ได้สารสกัดในขนาด 150 และ 300 มก./กก. มีปริมาณของ glutathione ใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ถูกฉายรังสีนอกจากนี้สารสกัดยังมีผลเพิ่มระดับของเอนไซม์ matrix metalloproteinases 2 และ 9 (MMP-2, MMP-9) ซึ่งอาจ เป็นประโยชน์ต่อการรักษาแผลและการสร้าง procollagen แสดงว่าสารสกัดจากดอกดาวเรืองฝรั่ง มี ฤทธิ์ในการปกป้องผิวจากการทำลายด้วยรังสี UV และอาจกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของผิวได้

           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาคุณสมบัติฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดดอกดาวเรืองสายพันธุ์ Calendula arvensis L. และ Calendula officinalis L. ซึ่งสกัดโดยใช้น้ำและ 70% เมทานอลพบว่าสารสกัดโดยใช้น้ำมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าสารสกัดโดยใช้เมทานอล และดอกดาวเรืองสายพันธุ์ Calendula offocinalis L. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่า

           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในต่างประเทศที่ระบุว่าดาวเรืองฝรั่ง มีฤทธิ์ลดไขมันในเลือด ลดคอเลสเตอรอล ยับยั้งการชัก ต้านบิด ต้านเชื้อรา และต้านไวรัส เป็นต้น

การศึกษาทางพิษวิทยาของดาวเรืองฝรั่ง

มีการการทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัด เอทานอลจากดาวเรืองฝรั่ง ไม่ระบุวิธีการสกัด โดยป้อนหนูเม้าส์และหนูแรทด้วยสารสกัด ขนาด 0.625, 1.25, 2.5  และ 5.0 ก./กก. พบว่าไม่ทำให้หนูตายหรือทำให้เกิดพิษ และการทดสอบพิษกึ่งเฉียบพลันโดยป้อนหนูแรทด้วยสารสกัด ขนาด 0.025, 0.25, 0.5 และ 1 ก./กก. เป็นเวลา 30 วันพบว่าไม่ทำให้หนูตาย สารสกัดไม่มีผลต่อพฤติกรรม ค่าทางโลหิตวิทยา และค่าชีวเคมีต่างๆ ในเลือดของหนู ยกเว้นค่า blood urea ลักษณะของอวัยวะภายใน ไม่พบความผิดปกติของสมอง ไต และหัวใจ แต่พบการอักเสบของปอดซึ่งอาจเป็นผลมาจากวิธีการป้อนสารสกัด (oral gavage) และการอักเสบของตับซึ่งสอดคล้องกับค่าเอนไซม์ ALT ที่สูงขึ้น จากผลการทดลองจะเห็นว่าสารสกัด 70% เอทานอลจากดอกดาวเรืองฝรั่ง ไม่ก่อให้เกิดพิษเฉียบพลัน แม้ให้ในขนาดสูงถึง 5 ก./กก. แต่อาจมีผลต่อตับและไตได้ เมื่อให้ในระยะเวลาที่นานขึ้น

           ส่วนอีกการศึกษาวิจัยหนึ่งระบุว่าการใช้สารสกัดดอกดาวเรืองฝรั่งขนาด 0.25, 0.5, 1.0 กรัมต่อน้ำหนักสัตว์เป็นกิโลกรัมต่อวัน พบว่า ค่าโลหิตวิทยาระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันการทดลองในหนูเพศผู้ และเพศเมียที่ได้รับสารสกัดดิกดาวเรืองฝรั่งที่สารสกัดด้วย 70% Alcohol/water solution ปริมาณ 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัมต่อวัน เป็นเวลา 30 วัน พบว่าไม่มีผลต่อการเพิ่มของน้ำหนักส่วนการทดสอยระคายเคืองต่อผิวหนังของกระต่ายเมื่อได้รับความเข้มข้นที่ 20-100 มิลลิกรัม พบว่า มีประสิทธิภาพสร้างเนื้อเยื่อปิดบาดแผล และไม่เกิดให้ก่อการระคายเคืองต่อผิว และตาขอกระต่ายแต่อย่างใด

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

มีการศึกษาวิจัยข้อควรระมัดระวัง และข้อบ่งชี้ในการทดลองสารสกัดดอกดาวเรืองฝรั่ง ระบุว่า ผู้ที่แพ้เกสรจำพวกดอกเดซี่ทานตะวันควรหลีกเลี่ยงการใช้ดอกดาวเรืองฝรั่งและสารสกัดดอกดาวเรืองฝรั่ง เพราะอาจทำให้แพ้ได้ โดยมีรายงานว่าโดยตนจำนวน 1,032 คน เมื่อทดสอบสารที่แตกต่างกัน 5 ชนิด ในจำนวน 1,032 คน พบผู้ป่วยที่เกิดอาการแพ้ต่อ 10% calendula tincture คิดเป็น 0.2% ของจำนวนผู้ทดสอบ และจากรายงานการวิจัยทางคลินิกได้สนับสนุนให้ใช้ความเข้มข้นของสารสกัดดอกดาวเรืองฝรั่ง 2%-10% ในกรณีที่ใช้บาดแผลระดับเรื้อรัง รุนแรงของแผลอักเสบ

           นอกจากนี้ยังมีข้อมูลระหว่างสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบันระบุว่า ผู้ที่ใช้ 5-fluouracil, Cefotaxime ควรหลีกเลี่ยงการใช้ดาวเรืองฝรั่งและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดดาวเรืองฝรั่งเนื่องจากอาจจะเกิดการเพิ่มและเสริมฤทธิ์ของยาซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
 

เอกสารอ้างอิง ดาวเรืองฝรั่ง
  1. ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. “ดาวเรืองฝรั่ง”. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. หน้า 287-288.
  2. ประสิทธิผลในการใช้คาเลนดูลาเจนในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาล ราชพิพัฒน์ สำนักการแพทย์ กทม. รายงานการศึกษา กลุ่มงานวิจัยและคัดกรองศาสตร์ กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. 25 หน้า
  3. วิทยา บุญวรพัฒน์. ดาวเรืองฝรั่ง. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. หน้า 224.
  4. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารอนุพันธุ์กรดโอเลียโนลิกและเมล็ดดอกดาวเรืองฝรั่ง. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพรสำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล.
  5. เภสัชการหญิงจุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ดาวเรืองฝรั่ง.หนังสือสมุนไพร ลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. หน้า 84.
  6. สารต้านอักเสบและยับยั้งเชื้อเจริญเติบโตในเซลล์มะเร็งจากดอกดาวเรือฝรั่ง (carlendula officinalis). ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  7. Bone K.A Clinical guide to Blending Liquid Herbs: Herbal Formlations for the Indivudua Patient. 2003;11:50-53.
  8. Preethi KC R. Wound ealing activity of flower extract of calendula officinalis. J Basic Clin Physiol Pharmacol. 2009;20:73-79.