ส้มเสี้ยว ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

ส้มเสี้ยว งานวิจัยและสรรพคุณ 15 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ส้มเสี้ยว
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่ แดงโค (สระบุรี), คังโค (สุพรรณบุรี), เสี้ยงใหญ่ (ปราจีนบุรี), เสี้ยวส้ม (โคราช), ป้าม (สุรินทร์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia malabarica Roxb.
วงศ์ FABACEAE(LEGUMINOSAE-CAESALPINOIDEAE)

ถิ่นกำเนิดส้มเสี้ยว

ส้มเสี้ยวเป็นพรรณพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นพืชท้องถิ่นของไทยได้ เช่นกัน เพราะถิ่นกำเนิดของส้มเสี้ยว นั้นอยู่ในบริเวณประเทศพม่า ไทย ลาว และเวียดนาม จากนั้นจึงได้แพร่กระจายพันธุ์ไปยังพื้นที่อื่นๆ โดยในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศตามบริเวณป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังทั่วไป

ประโยชน์และสรรพคุณส้มเสี้ยว

  1. ช่วยขับโลหิตระดู
  2. ช่วยขับปัสสาวะ
  3. ช่วยฟอกโลหิต
  4. แก้แผลเปื่อยพัง
  5. แก้ไอ
  6. ช่วยขับเสมหะ
  7. แก้ท้องเสีย
  8. แก้บิด
  9. แก้อัมพฤกษ์อัมพาต
  10. ใช้ห้ามเลือด
  11. ใช้ร่วมกับยาระบาย ทำให้ขับเมือกเสมหะตกทางทวารหนักได้ดี
  12. ใช้ร่วมกับยาบำรุงโลหิตระดูที่เป็นลิ่มเป็นก้อนมีกลิ่นเหม็นให้ปกติดีขึ้น
  13. ช่วยต้านการอักเสบ
  14. ช่วยต้านเชื้อจุลชีพ
  15. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ

           ส้มเสี้ยว ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอาหาร โดยคนในชนบทมักจะนำ ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอก (ซึ่งมีรสเปรี้ยว) มารับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก หรือ อาหารรสจัด ใช้ใบอ่อนมาทำแกงส้ม หรือ แกงผักรวมต่างๆ อีกด้วย และยังพบว่ามีการปลูกส้มเสี้ยวเป็นไม้ประดับตามบริเวณสวนสาธารณะต่างๆ เนื่องจากส้มเสี้ยวมีดอกสีขาวที่มีกลียบหอมอ่อนๆ และทรงพุ่มยังสามารถตัดแต่งได้ง่ายอีกด้วย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ส้มเสี้ยว

ใช้ขับระดู ขับปัสสาวะ โดยใช้ใบมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ฟอกโลหิต โดยใช้ใบผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น มาต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ขับเมือกเสมหะตกทางทวารหนักโดยใช้ใบส้มเสี้ยว ร่วมกับยาระบาย ช่วยขับระดูที่เป็นลิ่มเป็นก้อนมีกลิ่นเหม็นให้ปกติโดยใช้ร่วมกับยาบำรุงโลหิต ใช้ฟอกโลหิต แก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ท้องเสีย โดยนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต โดยใช้เปลือกต้นผสมรากสามสิบ และรากพังดี ต้มน้ำดื่ม ใช้ห้ามเลือดแก้แผลเปื่อยพัง โดยใช้เปลือกต้นมาตำพอกบริเวณที่เป็น

ลักษณะทั่วไปของส้มเสี้ยว

ส้มเสี้ยว จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น มีความสูงประมาณ 6-15 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทา แตกสะเก็ดยาวตามลำต้น กิ่งอ่อนมีสีเขียว มีขนประปราย กิ่งแก่สีน้ำตาล เกลี้ยง ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ออกแบบเรียงสลับ เนื้อใบหนาคล้ายหนัง ปลายใบกลมมน ขอบใบเรียบ โครนใบรูปหัวใจ ผิวใบด้านบน และด้านล่างเกลี้ยง แผ่นใบยาว 4.5-9 ซม. กว้าง 5.5-12 ซม. ปลายใบแยกเป็นสองแฉก ลึก 1/6-1/3 ของความยาวใบ ระหว่างแฉกใบมีติ่งเรียวยาว 3-5 มม. มีก้านใบ ยาว 1.5-2.5 มม. ส่วนใบประดับเป็นรูปสามเหลี่ยม ยาว 1 มม. ดอกออกแบบช่อกระจาย บริเวณซอกใบโดยช่อดอกจะยา 1.5-4.5 ซม. มีขนประปราย ฐานดอกเป็นรูปลูกข่าง มีก้านดอกย่อยสีเขียว ยาว 7-10 มม. ส่วนกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบสีเขียว เชื่อมติดกันคล้ายกาบ ยา 6-8 มม. กว้าง 2-3 มม. เชื่อมกันเป็นหลอด ปลายกลีบแยกแหลม กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว รูปขอบขนานยาว 5-7 มม. กว้าง 3-5 มม. ผลออกเป็นฝักรูปดาบ หรือ รูปขาบขนานปลายแหลมเป็นจะงอยแบนมีความยาว 20-25 ซม. กว้าง 1-1.5 ซม. ฝักเมื่ออ่อนสีเขียวมีขนสั้นนุ่มประปรายปกคลุม เมื่อแก่สีน้ำตาลดำเกลี้ยง แข็งคล้ายเนื้อไม้ ฝักแก่แตกแล้วจะบิดเป็นเกลียว เมล็ดสีน้ำตาลดำกลมแบน ผิวเรียบมันมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. โดยใน 1 ฝักจะมีประมาณ 10-30 เมล็ด

ส้มเสี้ยว

ส้มเสี้ยว

การขยายพันธุ์ส้มเสี้ยว

ส้มเสี้ยว สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การใช้เมล็ด การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง เป็นต้น แต่วิธีที่เป็นที่นิยมกันปัจจุบัน คือ การใช้เมล็ดมาเพาะเป็นต้นกล้า แล้วจึงนำไปปลูกต่อไป โดยวิธีการเพาะเมล็ด และการปลูกก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้าที่

องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ ของส้มเสี้ยว พบว่ามีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดดังนี้ เปลือกต้น พบสารกลุ่ม racemosol เช่น racemosol racemosol A racemosol B de-O-racemosol ส่วนในใบ พบสารกลุ่ม flavonoids เช่น quercetin isoquercitrin และ kempgerol เป็นต้น

โครงสร้างส้มเสี้ยว

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของส้มเสี้ยว

จากการศึกษาค้นคว้าพบว่าส้มเสี้ยว มีข้อมูลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาน้อยมาก โดยพบว่ามีการศึกษาวิจัยในต่างประเทศฉบับหนึ่งได้ระบุไว้ว่าพืชสกุล Bauhinia ซึ่งเป็นสกุลเดียวกันกับส้มเสี้ยว (Bauhinia malabarica Roxb) มีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และมีฤทธิ์ต้านความเป็นพิษต่อเซลล์

การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของส้มเสี้ยว

ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

การใช้ส้มเสี้ยวเป็นสมุนไพร ควรระมัดระวังในการใช่เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใชในขนาด และปริมาณที่พอเหมาะที่กำหนดไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ นอกจากนนั้นไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ส้มเสี้ยว เป็นสมุนไพรแบบรับประทาน เพราะยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยรวมถึงขนาดและปริมาณที่เหมาะสมของบุคคลกลุ่มนี้

เอกสารอ้างอิง ส้มเสี้ยว
  1. มูลนิธมหาวิทยาลัยมหิดล.(2548).สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน หน้า 31
  2. พีระพล ใสสะอาด วรรณชัย ชาแท่น สุธิรา มณีฉาย.ความหลากหลายของพืชสกุลชงโด (Bauhinia L.) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย.วารสารวิจัย มสด สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 8.ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2558. หน้า 87-115
  3. ภาควิชาเภสัชศาสตร์พฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2546. สมุนไพรพื้นบ้านอีสานกรุงเทพฯ.มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล.
  4. ส้มเสี้ยว.กลุ่มยาขับประจำเดือน.สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็กพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีฯ (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plants.data/herbs_26_10.htm
  5. Laewamatawong ,R ., Kitajiuma,M., Kogure,N., Takayama, H., Takayama,H.,2008.Flavonols from Bauhinia malabarica.
  6.  Boonyapraphatsara,N.,Chokchaicharoenporn, O.1996.Medicinal Plants IV.Prachacon Printing Bangkok p.460-461.
  7. Kittakoop, P., Kirtkara K Tanticharoen, M and Thebtaranonth , Y.2000.Antimalarial Preracemosols A and B, possible biogenetic precursors of racemosol from Bankinia malabarica  Roxb. Phytochemistry 55(4):349-352.
  8. Larsen K Larsen&J.E. Vidat 1984 Flora of Thoiland. Vol. 4 Part l. TISTR Press. Bangkok (in Thai)