สัก ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

สัก งานวิจัยและสรรพคุณ 21 ข้อ

ชื่อสมุนไพร สัก
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น สักทอง (ทั่วไป), ปีซี, ประยี้, เส่บายี้, เคาะเยียโอ (กะเหรี่ยง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectona grandis L.f.
ชื่อสามัญ Teak
วงศ์ LAMIACEAE

ถิ่นกำเนิดสัก

สัก เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียบริเวณทางใต้ของอินเดียยาวมาจนถึงพม่า ลาว และภาคเหนือของไทย จากนั้นจึงไม้มีการกระจายพันธุ์ไปยังประเทศต่างๆ อาทิเช่น บังคลาเทศ ปากีสถาน กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยพบได้มากในภาคเหนือ บริเวณป่าเบญจพรรณ และพบได้ประปรายทางภาคตะวันตก ภาคอีสาน และภาคกลาง

ประโยชน์และสพรรคุณสัก

  1. รักษาโรคตา
  2. เป็นยาสมานแผล
  3. บรรเทาอาการบวม
  4. แก้ปวดศีรษะ
  5. ช่วยลดน้ำหนัก
  6. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  7. แก้พิษโลหิต
  8. แก้เจ็บคอ
  9. ช่วยขับปัสสาวะ
  10. แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
  11. แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  12. ช่วยขับลมในลำไส้
  13. ช่วยบำรุงร่างกาย
  14. แก้อ่อนเพลีย
  15. แก้บวมน้ำ
  16. ช่วยขับพยาธิ
  17. แก้ไข้
  18. เป็นยาระบาย
  19. รักษาโรคบิด
  20. แก้โรคริดสีดวงทวาร
  21. ช่วยขับเสมหะ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ บำรุงโลหิต ขับลมในลำไส้ คุมธาตุ ขับพยาธิ แก้ลมในกระดูกโดยนำเนื้อไม้สัก หรือ แก่นมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ลดน้ำตาลในเลือด แก้พิษโลหิต ขับลมแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขับปัสสาวะ โดยใช้ใบมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ช่วยลดน้ำหนัก โดยใช้ใบอ่อนมาหั่นฝอยตากหรือคั่วให้แห้งนำมาชงกับน้ำร้อนดื่ม ใช้แก้บวม ปวดศีรษะ ใช้เป็นยาฝาดสมาน โดยนำเปลือกไม้มาต้มกับน้ำดื่ม

ลักษณะทั่วไปของสัก

สัก จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 15-30 เมตร เรือนยอดรูปกลม หรือ ไข่ ลำต้นเปลาตรง ตรงโคนต้นมักเป็นพูพอนต่ำ เปลือกต้นหนาสีน้ำตาลอ่อน หรือ สีเทา ผิวเรียบ หรือล่อนออกเป็นแถบชื้นตามยาว กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยตามกิ่งอ่อน และยอดอ่อนมีขนสีเหลืองรูปดาวขึ้นปกคลุม  ใบออกเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงกันข้าม โดยจะแตกออกจากกิ่งเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะตั้งฉากสลับกันไปตามกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรีกว้าง หรือ รูปไข่กลับ โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 12-35 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-75 เซนติเมตร เป็นสีเขียวและมีขนปกคลุม พื้นใบทั้ง 2 ด้าน สากมือ มีก้านใบยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร ที่ท้องใบของใบอ่อนมีต่อมเล็กๆ สีแดง ซึ่งเมื่อนำมาขยี้แล้วจะมีสีแดงคล้ายเลือด  ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่แบบข่อแยกแขนง ซึ่งดอกของสักจะเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศที่มีทั้งเกสรเพศผู้ และเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน โดยจะออกตามซอกใบ และปลายยอด และมีดอกย่อยขนาดเล็ก มีกลีบดอกเป็นรูปกรวยปลายแขกกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร แผ่บานค้างไปด้านหลัง มีสีเขียวนวล จำนวน  6 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด และมีขนทั้งด้านนอก และด้านใน ซึ่งดอกจะมีเกสรเพศผู้ 5-6 อัน ยื่นยาวพ้นออกจาดอก ส่วนเกสรเพศเมียจะยาวเท่ากับเกสรเพศผู้และมี 1 อัน ที่รังไข่มีขนอยู่หนาแน่น ผลเป็นผลแห้งค่อนข้างกลม สีเขียวอ่อนแกมเหลือง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 ซม. ประกอบด้วยชั้นของกลีบเลี้ยงที่พองกลมบางคล้ายกระดาษห่อหุ้มเมล็ด มีขนคล้ายไหมภายในมี 4 ช่อง โดยในแต่ละช่องจะมี 1 เมล็ดส่วนเมล็ด เปลือกแข็งมีขนาดประมาณ 1 ซม. 

สัก

สัก

สัก 

การขยายพันธุ์สัก

สัก สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด โดยการนำเมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้า โดยมีวิธีการ คือ นำเมล็ดมาแช่น้ำ 2 วัน สลับกับนำมาผึ่งแดด 1 วัน เป็นระยะเวลา 15 วัน แล้วหว่านในแปลงเพาะที่อยู่กลางแจ้งโดยการหว่างให้กระจัดกระจายทั่วกัน กลบด้วยวัสดุเพาะชำ สูงประมาณ 3-5 มิลลิเมตร เมล็ดสักจะงอกไม่พร้อมกัน บางเมล็ดงอกภายใน 3 สัปดาห์ บางเมล็ดอาจนาน 2 ปี จึงงอกซึ่งเมื่อต้นกล้ามีความสูง 30 เซนติเมตร จึงนำไปปลูกต่อไป  ส่วนวีการปลูกนั้นสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการปลูกไม้ยืนต้นขนาดใหญ่อื่นๆ ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้าที่

องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ ของสัก ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์สำคัญหลายชนิด อาทิเช่น betulin, lapachol, tectoquinone, deoxylapachol, verbascoside, tectograndinol, tectol, nophthotectone, anthratactone, sinapic acid, lutecolin, qucrcetin, ellagic anid, rhein และ baicalein เป็นต้น

 โครงสร้างสัก

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสัก

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในหลอดทดลอง จากส่วนต่างๆ ของสัก ระบุว่ามีฤทธิ์ต่างๆ ดังนี้ มีการศึกษาความสามารถของสารสกัดหยาบจากใบพืชสมุนไพร 32 ชนิด ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานอะคาร์โบส พบว่าสารสกัดหยาบเมทานอลจากใบสักทองสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสดีที่สุด และพบว่าในส่วนสกัดเมทานอลมีความสามารถในการยับยั้งการทำงานของได้เอนไซม์อะไมเลสดีกว่าส่วนสกัดไดคลอโรมีเทน ส่วนการศึกษาความสามารถในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานอะคาร์โบส พบว่าสารสกัดเมทานอลของใบสักทอง มีค่า EC50=0.40+0.11  นอกจากนี้ในต่างประเทศยังมีการศึกษาวิจัยในหลอดทดลอง และในสัตว์ทดลองพบว่าส่วนต่างๆ ของสักมีฤทธิ์ต่างๆนั้น เช่น เปลือกผล มีฤทธิ์ป้องกันแบคทีเรีย Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, โรคปอดบวม Klebsiella, Escherichia aerogenes ใบ และดอก มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน ต้านมาลาเรีย เนื้อไม้ ขี้เลื่อย มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Phanerochacte chrysosporium, Aspergillus niger ราก มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ป้องกันแผลเปื่อย แก่นไม้ เปลือก ต้น ใบ มีฤทธิ์ต่อต้านเนื้องอก  เปลือกต้น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมล็ด มีฤทธิ์ป้องกันตับ เป็นต้น

การศึกษาทางพิษวิทยาของสัก

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองความเป็นพิษของส่วนต่างๆ ในสัตว์ทดลองของสัก ระบุว่าในปริมาณสารสกัดที่ใช้ตัวทำละลายจาก น้ำ เมทานอล และเอทานอล  ตั้งแต่ 1,000 มก./กก. ถึง 5,000 มก./กก. ของน้ำหนักตัว  ไม่แสดงสัญญาณของความเป็นพิษแต่อย่างใด

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ในการใช้ส่วนต่างๆของสัก เป็นสมุนไพรถึงแม้ว่าจะมีรายงานด้านความเป็นพิษระบุว่ามีความปลอดภัยแต่อย่างใรก็ตามก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรใช้มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันมากจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เด็ก และสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้สักเป็นสมุนไพรรูปแบบการรับประทาน เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัย หรือ ขนาดที่เหมาะสมที่ชัดเจน

เอกสารอ้างอิง สัก
  1. มูลนิธิสวนหลวง ร. ๙. 2547. ไม้นามตามถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
  2. ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. “สัก (Sak)”. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. หน้า 294.
  3. เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
  4. ชุติมา แก้วพิบูลย์,พฤกฐิภร ศุภพล.ธนากรณ์ ดำสุด และณวงศ์ บุนนาค ,ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลเพสอะไมลสและแอลฟา-กลูโคซิเดสของพืชสมุนไพรไทย.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปีที่ 27.ฉบับที่ 3 พฤษภาคม-มิถุนายน 2562.หน้า 435-444
  5. คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
  6. Neamatallah et al., 2005A. Neamatallah, L. Yan, S.J. Dewar, B. AustinAn extract from teak (Tectona grandis) bark inhibited Listeria monocytogenes and methicillin resistant Staphylococcus aureusLett. Appl. Microbio., 41 (2005), pp. 94-96
  7. Florence et al., 2012B.N. Florence, A. Nadine, S. Didier, C. Gilles, L. Yves, A.K. Adjumane

4’,5’-Dihydroxyepiisocatalponol, a new naphthoquinone from Tectona grandis L. f. heartwood, and fungicidal, activityInt. Biodeterioration Biodegradation., 74 (2012), pp. 93-98

  1. Neha and Sangeetha, 2013K. Neha, B. SangeethaPhytochemical and pharmacological evaluation of Tectona grandisLinn. Int. J. Pharm. Pharm. Sci., 5 (3) (2013), pp. 923-927
  2. Giri and Varma, 2015S.P. Giri, S.B. VarmaAnalgesic and anti-inflammatory activity of Tectona grandis Linn. stem extractJ. Basic Clin. Physio. Pharmacol., 26 (5) (2015), pp. 479-484
  3. Pathak et al., 1988N.K.R. Pathak, P. Neogi, M. Biswas, Y.C. Tripathi, V.B. PandeyBetulin aldehyde, an antitumour agent from the bark of Tectona grandisInd. J. Pharm. Sci., 50 (2) (1988), pp. 124-125
  4. Goswami et al., 2009D.V. Goswami, S.A. Nirmal, M.J. Patil, N.S. Dighe, R.B. Laware, S.R. Pattan

An Overview of Tectona grandisChemistry and Pharmacological Profile. Phcog. Rev., 3 (5) (2009), pp. 181-185