มะหลอด ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

มะหลอด งานวิจัยและสรรพคุณ 19 ข้อ

ชื่อสมุนไพร มะหลอด
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น บะหลอด, มะหลอด, สลอดเถา (ภาคเหนือ), ส้มหลอด (ภาคใต้), หมากหลอด (ภาคอีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeagnus Iatifolia Linn.
ชื่อสามัญ Bastard oleaster
วงศ์ ELAEAGNACEAE

ถิ่นกำเนิดมะหลอด

มะหลอด จัดเป็นพืชพื้นเมืองของไทยอีกชนิดหนึ่งโดยมีถิ่นกำเนิดบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชียได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล มักลาเทศน์ พม่า ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซียและมาเลเซีย รวมถึงบริเวณ หมู่เกาะเขตร้อนในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ต่อมาจึงได้มีการแพร่ขยายพันธุ์ไปยังยุโรป และเขตร้อนของทวีปอเมริกา สำหรับในประเทศไทยสามารถเพาะได้ที่ทุกภาคของประเทศ โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือ และภาคอีสาน ตามบ้านเรือนในชนบท หรือ ตามทุ่งนาและตามป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ รวมถึงตามเนินเขา ที่ระดับความสูง 200-1,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ประโยชน์และสรรพคุณมะหลอด

  • ใช้แก้พิษ
  • ใช้ขับเสมหะ
  • แก้ริดสีดวง
  • แก้ปวดศีรษะ
  • แก้พิษไข้
  • แก้โรคตา
  • บำรุงเนื้อหนังให้สมบูรณ์
  • แก้ปวดฟัน
  • แก้โรคนิ่ว
  • แก้เหงือกอักเสบ
  • ใช้แก้ริดสีดวงจมูก
  • ใช่เป็นยาสมาน
  • ใช่คุมธาตุ
  • บำรุงหัวใจ
  • แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
  • ใช่เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • แก้คลื่นเหียนอาเจียน
  • แก้บิด
  • ใช่ขับปัสสาวะ

         มะหลอด ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในฐานะอาหารมาช้านานแล้ว โดยถูกนำมารับประทานเป็นผลไม้ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 3 รส คือ รสเปรี้ยว รสหวาน และรสอมเปรี้ยวอมหวานแต่ทุกรสจะมีรสฝาดรวมอยู่ด้วยนอกจากนี้ยังมีการนำไปแปรรูปในลักษณะต่างๆ เช่น นำไปทำส้มตำ นำไปดองกับเกลือ นำไปแช่อิ่ม และนำไปทำไวน์ เป็นต้น

รูปแบบและขนาดวิธีใช้มะหลอด

ใช้แก้โรคนิ่ว แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ โดยใช้เนื้อในเมล็ดผสมกับเหง้าสับปะรด 7 แว่น กับสารส้มขนาดเท่าหัวแม่มือ นำไปต้มกับน้าดื่ม ใช้แก้อาการปวดฟัน แผลในช่องปาก และโรคเหงือกอักเสบโดยนำใบมะหลอด มาต้มกับเกลือแล้วใช้อมบ้วนภายในปาก ใช้บำรุงหัวใจ คุมธาตุในร่างกาย แก้โรคตา แก้ปวดศีรษะ แก้ริดสีดวงจมูก โดยใช้ดอกมาตากแห้งแล้วชงดื่มเป็นชาหรือนำมาต้มน้ำดื่มก็ได้ ใช้แก้พิษและขับเสมหะโดยใช้เนื้อเถาของมะหลอดมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้อาการปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดหัวเข่า โดยนำรากมาล้างน้ำ ก่อนสับเป็นชิ้นนำไปผสมกับรากเติ่งแล้วแช่ด้วยเหล้าที่ทำด้วยข้าวเหนียวดำ 3-5 วัน ใช้ดื่มวันละเป๊ก ช่วยในการบำรุงผิว ขับปัสสาวะ โดยใช้ใบอ่อนมาต้มกับน้ำดื่ม

ลักษณะทั่วไปของมะหลอด

มะหลอด จัดเป็นไม้พุ่มแถมเถา ลำต้นเป็นเถาเนื้อแข็งแตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่างของเถาจำนวนมาก ลำต้นมีเกล็ดสีเทา หรือ สีเทาอมเงิน ผิวลำต้นแตกสะเก็ดขนาดเล็กโดยเถาจะเลื้อยพาดต้นไม้อื่น ใบออกเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับกัน ลักษณะของรูปรีหรือรูปรีแถมหอก ปลายแหลมและมีติ่ง โคนใบสอบมีลักษณะเป็นป้านมนผิวใบ และขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนมีสีเขียวอมน้าเงินมองเห็นเส้นใยสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างมีสีน้าตาลและเกล็ดสีเงินติดอยู่ ใบกว้างประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร และ มีก้านใบยาวประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบโดยมีดอกย่อยรูปทรงกรวยสีเขียวอมขาวหลอดกรามกันซึ่งช่อดอกแต่ละช่อจะยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร และดอกย่อยจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ลักษณะของกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดมีความยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ที่ปลายแยกเป็น 4 กลีบ ผลเป็นผลสดฉ่าน้ามีลักษณะเป็นรูปรี หรือ รูปไข่ ขนาดผมยาวประมาณ 3-3.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ท้ายผลมีติ่งแห้งของดอกติดอยู่หากหลุดออกจะมีลักษณะบุ๋มลึก ผลดิบมีสีเขียว มีรสฝาด จากนั้นเมื่อเริ่มแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือ สีแดงอมส้ม และประด้วยจุดสีขาวขนาดเล็ก เนื้อผลหนา มีรสเปรี้ยวอมหวาน และฝาดเล็กน้อย ส่วนเปลือกผลบาง สากมือ เมล็ดแข็งเป็นรูปกระสวยหัวและท้ายรีแหลม ตรงกลางกว้าง มีเปลือกแข็งสีเหลืองอมน้าตาล มีลักษณะเป็นพู (ร่อง) จำนวน 8 พู ด้านในเมล็ดเป็นเนื้อสีขาว

มะหลอด

มะหลอด

การขยายพันธุ์มะหลอด

การขยายพันธุ์มะหลอด สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้ 

           การเพาะเมล็ด การเพาะเมล็ด เป็นวิธีที่ง่าย และรวดเร็วทำได้โดยคัดเลือกผลที่สุกเต็มที่แล้วนำมาแยกเมล็ดออก ก่อนล้างน้าให้สะอาด แล้วจึงนำเมล็ดไปผึ่งลมให้แห้ง 3-5 วัน จากนั้น นำเมล็ดลงเพาะในถุงเพาะชำรดน้าให้ชุ่มซึ่งเมล็ดที่เพาะไว้จะงอกภายใน 15-20 วัน และเมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน จึงย้ายลงปลูกตามจุดที่ต้องการ 

           การปักชำกิ่ง มีข้อดี คือ ช่วยให้ได้ต้นที่พร้อมออกดอก และผลได้ภายในไม่กี่เดือนหลังการปลูก เริ่มจากคัดเลือกกิ่งแก่โดยตัดกิ่งยาว 20-30 เซนติเมตร ให้เหลือใบไว้ประมาณ 2-3 ใบ จากนั้น นำมาปักลงถุงเพาะชำในแนวเอียงประมาณ 45 องศา (ในถุงเพาะชำจะใช้ดินร่วน ขุยมะพร้าวและแกลบเผาอัตราส่วน 1:3:3 มาคลุกผสมกัน) แล้วรดน้าให้ชุ่ม เมื่อมีอายุประมาณ 1 เดือน ราก และยอดก็เริ่มงอกดูแลต่อจนเริ่มแตกยอดจนครบทุกตายอดจึงนำลงปลูกตามจุดที่ต้องการ

องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของมะหลอด ในต่างประเทศระบุไว้ว่า พบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ อาทิ เช่น lycopene, B-carotene, tannin, epigallocatechin gallate, epicatechin, Octadecenoic acid, Cyclopentanone, parietin และ Hexadecanoic acid-2hydroxg-1-(hydroxymethyl) ethylester เป็นต้น

โครงสร้างมะหลอด

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของมะหลอด

มีรายงานผลการศึกษาวิทยาของมะหลอด ในต่างประเทศพบว่า มีฤทธิ์ต่างๆ ดังนี้ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเชลล์มะเร็ง ฤทธิ์ปกป้องตับ ฤทธิ์ต้านการอับเสบ ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ และ ฤทธิ์ต้านไวรัส เป็นต้น

การศึกษาพิษวิทยาของมะหลอด

ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ในการนำผลสุกของมะหลอด มารับประทานเป็นผลไม้ ควรทำให้นิ่มก่อนด้วยวิธีการนวด หรือ คลึง เพราะจะช่วยลดความเปรี้ยว และฝาดลงไปได้ ยังสามารถช่วยแยกเมล็ดออกมาได้ง่ายขึ้นอีกด้วย อีกทั้งการรับประทาน มะหลอดก็ควรรับประทานแต่พอดี ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะผลของมะหลอดมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ซึ่งหากรับประทานมากไปอาจทำให้ ถ่ายท้อง และ ปวดมวนท้องได้

เอกสารอ้างอิง มะหลอด
  1. เศรษฐมันต์ กาญจนกุล. มะหลอด ในผลไม้ในเมืองไทย. กทม. เศรษฐศิลป์.2555 หน้า 57
  2. ประทุมพร ยิ่งธงชัย, พรรัตน์ ศิริดำ, 2551. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของมะหลอด;ลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายภาพ และเคมีของผล.วารสารวิทยาศาสตร์การเกษตร, 39; 118-121
  3. นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะหลอด ใน ผลไม้ 111 ชนิด ; คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 184
  4. กาญจนาภรณ์ โนนกระโทก. 2548. การเจริญเติบโต และชีววิทยาของดอก ผล และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ และ ไนโตรเจนที่สะสมใน ใบ กิ่ง ในหนึ่งปีของมะหลอด. วิทยาพันธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  5. พรพิมล ม่วงไทย นฤมล จินด้เมธี และภิรมยา หวังรักไพบูลย์, 2550. การประเมินปริมาณเอทิลแอลกอฮอล์ในน้าหมักชีวภาพจากผลมะหลอดระหว่างการเก็บยา. รายงานการประชุมวิชาการนเรศวรวิจัยครั้งที่ 4 ;การบริหารวัฒนธรรม
  6. Shailasree S et al. Bioactive potential of medicinal plants from western ghats region, India. Journal of Herbs Spices & Medicinal Plants, 20;2014;221-234.
  7. valve SR et al. Assessment of bioactive compounds from five wild edibls, Ficus racemosa, Elaegnus conferta, Grewia tillifolia, Scleichera oleosa and Antidesma ghasembilla. Acta Biologica Indica.3(1);2014;549-555
  8. Binu S. Antinociceptive activity evaluation of an Indonesian herbal preparation Cleng Marem. Indian Journal of Traditional Knowledge. 10(3);2011;547-549.
  9. Khillari VJ Sharma PP. Studies on ascorbic acid content of some wild edible fruits from Ahmedngar district, Maharashtra ( India ). International Journal of Advanced Research. 4(5);2016;583-590.
  10. Singh KK et al. Phenolic content and antioxidant activity of some underutilized wild edible fruits of the Sikkim Himalaya. Sikkim Manipal University Medical Journal. 1(2);2014;283-293.