จัน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุฯเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

จัน งานวิจัยและสรรพคุณ 22 ข้อ

ชื่อสมุนไพร จัน
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น จันลูกหอม, ลูกจัน, จันอิน จันโอ, จันขาว, อิน, ลูกอิน (ทั่วไป), thi (เวียดนาม)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros decandra Lour.
ชื่อสามัญ Gold apple
วงศ์ CBENACEAE

ถิ่นกำเนิดจัน

จัน มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย อาทิเช่น ในอินเดีย ศรีลังกา พม่า ลาว เวียดนาม ไทย และกัมพูชา เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยสมัยก่อนสามารถได้ทั่วไปตามวัดในทุกภาคของประเทศ แต่ในปัจจุบันถูกจัดเป็นพรรณไม้โบราณ ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งเนื่องจากเป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้าต้องใช้เวลาหลายสิบปีจึงจะติดผล

ประโยชน์และสรรพคุณจัน

  1. ช่วยบำรุงเลือดลม
  2. ช่วยบำรุงประสาท
  3. ช่วยบำรุงกำลัง
  4. ช่วยบำรุงตับ
  5. ช่วยบำรุงปอด
  6. ช่วยบบำรุงหัวใจ
  7. ช่วยบำรุงผิว
  8. ช่วยบำรุงเลือดลม
  9. ช่วยบำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น
  10. แก้ไข้ตัวร้อน
  11. แก้ไข้กำเดา
  12. แก้ตับปอด
  13. แก้ดีพิการ
  14. แก้อ่อนเพลีย
  15. แก้ร้อนใน
  16. แก้กระหายน้ำ
  17. แก้เหงื่อตกหนัก
  18. ช่วยขับพยาธิ
  19. แก้ไข้
  20. แก้ไอ
  21. แก้อาการนอนไม่หลับ กระวนกระวาย
  22. แก้ท้องเสีย


รูปแบบและขนาดวิธีใช้จัน

ใช้บำรุงประสาท ใช้บำรุงตับปอดให้ปกติ บำรุงผิว บำรุงหัวใจ บำรุงตับปอด บำรุงร่างกายให้สดชื่น แก้ไข้ที่มีผลตับและดี บำรุงเลือดลม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้อาการเหงื่อมาก ขับพยาธิ แก้ดีพิการ แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้ไข้ที่มีผลต่อดี แก้ตับพิการ แก้ไข้กำเดา แก้ลม แก้อ่อนเพลีย โดยนำเนื้อไม้หรือแก่นของต้นจัน มาตากให้แห้งแล้วนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือ นำมาต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ตามตำรายาพื้นบ้านต่างๆ ก็ได้ ใช้บำรุงกำลัง แก้ท้องเสีย แก้อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย โดยนำผลสุกมารับประทานเป็นเนื้อผลไม้ ก็จะสามารถช่วยบำบัดอาการต่างๆ เหล่านี้ได้

ลักษณะทั่วไปของจัน

จัน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ถึง 10-20 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นมีสีดำ และมีรูขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป สลับกับร่องตื้นๆ ตามยาว เนื้อไม้สีขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่มหนา ทรงกลม หรือ ทรงกระสวย ยอดอ่อนมีขนอุยสีน้ำตาลปกคลุ มและตามส่วนต่างๆ มีขนสีน้ำตาลแดง ปกคลุม

           ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปขอบขนานหรือรูปวงรี กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติเมตร โคนใบมนสอบแคบ ปลายใบสอบทู่ หรือ แหลม เนื้อใบมันลื่นสีเขียวเข้มแผ่นใบบางขอบใบเรียบใบเมื่อยังอ่อนจะมีขนยาวสีแดงปกคลุม มีก้านใบยาว 3-5 เซนติเมตร

           ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อแบบแยกเพศอยู่คนละต้น โดยมีสีขาวนวล หรือ สีเหลืองอ่อน ดอกเพศผู้ออกดอกเป็นช่อขนาดเล็กซึ่งในช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยประมาณ 3 ดอก มีกลิ่นหอมและส่วนต่างๆ จะมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่มีก้านดอกยาว 2-4 มิลลิเมตร และมีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ เรียงเป็นรูปถ้วยแต่ไม่เชื่อมกัน ส่วนกลีบดอกมี 4-5 กลีบ โดยโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ ส่วนดอกเพศเมียจะออกดอกเป็นดกเดี่ยวตามกิ่งเล็กๆ กลีบดอกและกลีบเลี้ยง จะเหมือนดอกเพศผู้แต่ใหญ่กว่า  ส่วนกลีบดอกเป็นสีน้ำตาลอ่อน เชื่อมกันเป็นรูปโคนโท มีหลอดกลีบยาว 5-7 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาว 1-2 มิลลิเมตร ก้านดอกยาว 7-10 มิลลิเมตร มีขนอุยสีน้ำตาลปกคลุม

           ผล เป็นผลสดลักษณะกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางผล 4-8 เซนติเมตร โดยที่ผลยังมีส่วนของกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่จุก และเมื่อสุกมีสีเหลืองอ่อนนุ่ม รสหวาน และมีกลิ่นหอม กินได้

           ทั้งนี้ ผลของจันจะมีลักษณะแตกต่างกัน 2 แบบคือ แบบหนึ่งผลกลมแป้น มีรอยบุ๋มตรงกลางผล ไม่มีเมล็ด หรือ เป็นเมล็ดลีบ รสฝาดอมหวาน มีกลิ่นหอม เรียกกันว่า ลูกจัน ส่วนอีกแบบหนึ่งผลกลมหนา และไม่มีรอยบุ๋มมี เมล็ดข้างใน 2-3 เมล็ด เรียกกันว่า ลูกอิน มีรสฝาดอมหวาน

จัน

จัน

การขยายพันธุ์ของจัน

ต้นจันสามารถขยายพันธุ์ได้โดย การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการเสียบยอด โดยในอดีตการขยายพันธุ์ต้นจัน จะเป็นการเพาะเมล็ด ซึ่งทำให้กว่าจะติดผลต้องใช้เวลาหลายสิบปี แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการขยายพันธุ์ต้นจัน โดยวิธีเสียบยอด ซึ่งทำให้สามารถติดดอกและผลได้ในเวลาไม่กี่ปี โดยไม่ต้องรอหลายสิบปีเหมือนกับการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือตอนกิ่งแบบในอดีต สำหรับวิธีการเสียบยอดนั้นก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเสียบยอดไม้ผลอื่นๆ ทั่วไป

องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของลูกจันพบว่าลูกจันมีสารออกฤทธิ์ต่างๆ หลายกลุ่มอาทิเช่น สารกลุ่ม Condensed tannins และสารกลุ่มโปรแอนโทไซยานิน (proanthocyanin) รวมถึงสาระสำคัญที่พบมากที่สุดคือ สารกลุ่มฟีนอลิก (phenolic) เช่น Protocatechuic acid, chlorogenic acid, Vanilic acid, Caffeic acid, syringic acid, p-cormaric acid และ sinapicnic acid โดยพบว่าผลรวมของกรดฟีนอลิกในลูกจันผลสุก (23.95 μg/g DW) มีค่าสูงกว่าในลูกจันผลดิบ (20.47 μg/g DW) (p<0.05) และกรดฟีนอลิกที่พบในลูกจันผลดิบมากที่สุดคือ Caffeic acid มีค่าเท่ากับ 10.89 μg/g DW รองลงมาคือ protocatechuic acid มีค่าเท่ากับ 3.17 μg/g DW และ Vanillic acid มีค่าเท่ากับ 2.48 μg/g DW ทั้งนี้ไม่พบสาร Gallic acid, p-hydroxy benzoic acid และ ferulic acid ในจัน ผลดิบ ส่วนลูกจันผลสุกพบว่ามี caffeic acid มีค่าสูงที่สุดคือ 10.62 μg/g DW รองลงมาคือ Protocatechuic acid มีค่าเท่ากับ 2.74 μg/g DW

           นอกจากนี้ยังพบสาระสำคัญในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) อาทิเช่น Rutin และ Myricetinโดยพบว่าผลรวมของสารประกอบฟลาโวนอยด์ ของลูกจันผลสุกสูงกว่าผลดิบโดยมีค่าเท่ากับ 136.15 μg/g DW และ 110.12 μg/g DW ซึ่งสารที่พบมากที่สุดในลูกจันผลดิบ คือ Rutin (79.79 μg/g DW) และ Myricetin (31.08 μg/g DW) และสารลูกจันผลสุกที่พบมากที่สุด คือ Rutin (102.35 μg/g DW) และ Myricetin (34.73 μg/g DW) เช่นกัน

 โครงสร้างจัน

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของจัน

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาต่างๆ ของลูกจัน ระบุว่า ในลูกจันมีสารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งวิเคราะห์โดยวิธี ABTS free radical decolorization พบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 0.0130-0.1657 g TE/g ectract และมีปริมาณฟีนอลิกรวมอยู่ระหว่าง 5.2-125.0 mg GAE/g และยังมีรายงานการวิจัยอีกฉบับหนึ่ง พบว่าน้ำจากลูกจันมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงได้ อีกด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยาของจัน

ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ก่อนรับประทานผลจัน สุกควรคลึงผลให้ช้ำเสียก่อน เพื่อให้ยางฝาดที่แทรกอยู่ในเนื้อลดลง ซึ่งจะช่วยให้ผลจันสุกมีรสหวานฉ่ำ ไม่มีรสฝาดมาก ส่วนการใช้ส่วนต่างๆ ของผลจันเป็นยาสมุนไพรก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสม ตามที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ส่วนเด็ก และสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้จันเป็นสมุนไพรเพราะยังไม่มีรายงานด้านความปลอดภัย สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง เป็นประจำก่อนใช้จันเป็นสมุนไพร ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง

เอกสารอ้างอิง จัน
  1. นิดดา หงส์วิวัฒน์ และ ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. 2550. ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหาร และการกิน .กรุงเทพฯ.
  2. รศ.ดร. กรณ์กาญจน์ ภมรประวัติธนะ. จันโอ-จันอิน กลิ่นหอมจรุงใจ. คอลัมน์ บทความพิเศษ. นิตยาสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 365. กันยายน 2552.
  3. ราชันย์ ภู่มา และสมราน สุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพรรณพืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2557, หน้า 206.
  4. อรอนงค์ ภูสีฤทธิ์, จิราภรณ์ วิจิตขจี, รัชดาพร ปั้งลือ, ธีรพันธ์ จำเริญพัฒน์. สารหอมระเหย สารประกอบฟีนอลิกและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของลูกจัน (Diospyros decandra L.). วารสารแก่นเกษตร ปีที่ 47. ฉบับพิเศษ 1 2565. หน้า 1549-1556.
  5. กรณิศ รัตนามหัทธนะ. ลูกจันดิบกินเป็นส้มตำ. ครัว. ปีที่ 19 ฉบับที่ 227. พฤษภาคม 2556 หน้า 10.
  6. จันอิน-จันโอ. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.phargargen.com/main.php? Action=viewpage&pid=33.
  7. Nuntanakorn, P., Ch. Chaiyasut, Ch. Sittisombut, P. Tanamatayarat, and O. Toyama. 2008. Antioxidant activity and total phenolic contents of Diospyros decandra Lour. (EBENACEAE) fruit extracts. The eighth NRCT-JSPS Joint seminar: 215-216. 
  8. Nakatsubu, F., K. Enokita, K. Murakami, K. Yonemri, A. Sugiura, N. Utsunomiya, and S.Subhardrabandhu. 2002. Chemical structures of the condensed tannin in the fruit of Diospyros species. J. Wood Sci. 48: 414-418.