เบตา ยูเดสมอล

เบตา ยูเดสมอล

ชื่อสามัญ Beta eudesmol, β-eudesmol, β-selinenol

ประเภทและข้อแตกต่างเบตายูเดสมอล

เบตายูเดสมอล (Beta-Eudesmol) หรือที่เรียกว่า beta-selinenol จัดเป็นสารที่อยู่ในกลุ่มของสารประกอบอินทรีย์ที่เรียกว่า eudesmane, isoeudesmane หรือ cycloeudesmane sesquiterpenoids เหล่านี้เป็น sesquiterpenoids โดยมีโครงสร้างทางเคมีเป็นเทอร์พีนที่มีอะตอมของคาร์บอน 15 อะตอมและประกอบด้วยไอโซพรีนสามหน่วยมีสูตรทางเคมี คือ C15 H26 O มีมวนโมเลกุล 222.38 g/mol ซึ่งเป็นสารประกอบเทอร์ฟีน (terpenes) ที่สามารถพบได้ในพืชธรรมชาติ สำหรับประเภทของ เบตายูเดสมอล (β-eudesmol) นั้น จากการศึกษาค้นคว้าพบว่ามีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น แต่ทั้งนี้สารดังกล่าวยังมีไอโซเมอร์ (Isomer) อื่นๆ อีกหลายชนิดอาทิเช่น α-eudeamol และ γ-eudesmol เป็นต้น

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาเบตายูเดสมอล

เบตายูเดสมอล (β-eudesmol)  เป็นสารกลุ่มเซสคำเทอร์พีน (sesquiterpene) ที่สามารถพบ (Atraxtylodes lancea (thund.) DC.) ได้พืชธรรมชาติหลายชนิด โดยจะอยู่ในรูปของน้ำมันหอมระเหย ซึ่งพืชในธรรมชาติที่มีสารดังกล่าว ได้แก่ โกฐเขมา (Zingiber officinali Roscoe) ขิง (Atraxtylodes lancea (thund.) DC.) ขมิ้นชัน (Curcuma longa Linn) ไพลดำ (Zingiber ottensii)  ชะพลู (Pipec acmentosum Roxb.) กัญชา (Cannabis) รวมถึงในใบของยูคาลิตัสบางชนิด เป็นต้น

ปริมาณที่ควรได้รับเบตายูเดสมอล

สำหรับขนาดและปริมาณของเบตายูเดสมอล (β-eudesmol) ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยต่อวัน จากการศึกษาค้นคว้าพบว่าในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดขนาด และปริมาณ หรือ เกณฑ์ในการใช้สารดังกล่าว แต่อย่างใด ซึ่งการใช้ในปัจจุบันจะเป็นการใช้ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหยจากพืชที่เป็นแหล่งของสารเบตายูเคสมอลมากกว่าการแยกเอาสารเบตายูเดสมอลออกมาใช้เป็นสารเดี่ยว เนื่องจากยังไม่มีข้อกำหนดและเกณฑ์การใช้ รวมถึงขนาดและปริมาณการใช้ของสารดังกล่าวที่เป็นมาตรฐานและมีรายงานการศึกษาด้านความปลอดภัยรองรับนั่นเอง

ประโยชน์และโทษเบตายูเดสมอล

ในด้านการใช้ประโยชน์ของสารเบตายูเดสมอล (β-eudesmol) นั้นจะเป็นการใช้ประโยชน์ในรูปแบบของน้ำมันหอมระเหยจากพืชที่เป็นแหล่งของสารดังกล่าว เช่น น้ำมันหอมระเหยจาก ขมิ้นชัน น้ำมันกัญชา น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันหอมระเหยไพลดำ เป็นต้น โดยในการใช้อาจนำไปใช้ได้เลย หรือนำไปเป็นส่วนผสมในตำรายาต่างๆ เช่น ยาจันทน์ลีลา, ยาหอมนวโกฐ และยาหอมเทพจิตร เป็นต้น ซึ่งทั้งนี้ยังมีการศึกษาวิจัยพบว่า เบตายูเดสมอล (β-eudesmol) มีฤทธิ์ ต้านการอักเสบ ต้านอาการปวด ต้านแบคทีเรีย กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และต้านเซลล์มะเร็ง อีกด้วย

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องเบตายูเดสมอล

มีรายงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเบตายูเดสมอล (β-eudesmol) ในสัตว์ทดลองและในหลอดทดลอง พบว่ามีฤทธิ์ต่างๆ ดังนี้

            ฤทธิ์ต้านการอักเสบ สาร β-eudesmol, atractylochromene, 2-[(2EO-3, 7-dimethyl-2, 6-octadienyl]-6-methyi-2, 5-cyclohexadiene-1, 4-dione, 2-[(2’E)-3’7-dimethyl-2’6’-octadienyl]-4-methoxy-6-methyiphenol,3Z,5E’11E)-tridecatriene-7, 9-diynyl-1-0-€-fenulate ที่พบในโกฐเขมา มีฤทธิ์ต้านการอักเบโดยยับยั้งเอนไซม์ 5-lipoxygenase และ cyclooxygenase-1 ได้ในผลการทดลอง

            ฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ มีการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเหง้าโกฐเขมา และน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากเหง้า ได้แก่สาร β-eudesmol ต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก และระยะเวลาที่ทำให้กระเพาะอาหารว่างในหนูเม้าส์เพศผู้ ที่ถูกกระตุ้นด้วย atropine, dopamine และ 5-hydroxytryptamine (5-HT) โดยให้สารสกัดโกฐเขมาในขนาด 500 หรือ 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ β-eudesmol ขนาด 50 หรือ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และยามาตรฐาน itopride hydrochloride ขนาด 10 หรือ 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ผลการทดลองพบว่าสารสกัดโกฐเขมามีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก และทำให้อาหารเคลื่อนผ่านกระเพาะอาหารเร็วขึ้น ในหนูที่ถูกกระตุ้นด้วยdopamine ขนาด 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และสารสกัดโกฐเขมาในขนาด 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ β-eudesmol ขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็กในหนูที่ถูกกระตุ้นด้วย atropine แต่ไม่มีผลต่อระยะเวลาที่ทำให้กระเพาะว่างนอกจากนี้สารสกัดโกฐเขมาในขนาด 500 หรือ 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ β-eudesmol ขนาด 25, 50 หรือ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก และทำให้อาหารเคลื่อนผ่านกระเพาะอาหารเร็วขึ้น ในหนูที่ถูกกระตุ้นด้วย 5-HT ขนาด 4 มิลลิกรัม/กิโลกรัมหรือ 5-HT3 receptor agonist  จากงานวิจัยนี้จึงสรุปว่าสารสกัดโกฐเขมาและน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากโกฐเขมา คือ β-eudesmolทำให้อาหารเคลื่อนผ่านกระเพาะอาหารเร็วขึ้น และกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ผ่านกลไลการยับยั้ง  dopamine D2 receptor และ 5-HT3 receptor สามารถนำมาพัฒนายารักษาอาการท้องอืดเฟ้อ อาการอาเจียน อึดอัดแน่นจากอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหาร รักษาโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งมีต้นเหตุมาจากเส้นประสาทของกระเพาะอาหารถูกทำลาย (gastroparesis) เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อกระเพาะอ่อนแรง ทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนอาหารให้ผ่านไปยังส่วนต้นของลำไส้ (duodenum) จึงมีอาหารเหลือตกค้างในกระเพาะอาหารได้

           ฤทธิ์ต้านการปวด การทดลองในหนูทดลองพบว่าสาร β-eudesmol โดยมีฤทธิ์ต้านปวดโดยยับยั้ง nicotinc Ach receptor channels ที่ neuromuscular junction และพบว่ามีผลต่อกล้ามเนื้อของหนูที่เป็นเบาหวานมากกว่าหนูปกติอีกด้วย

            ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง มีรายงานหลายฉบับที่ระบุถึงประสิทธิภาพของ β-eudesmol ต่อเซลล์มะเร็ง โดยทำให้เกิด apoptosis ในการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว HL60 ของมนุษย์ โดยทำให้เกิดการตายของเซลล์โดยอาศัยผลกระทบต่อการส่งสัญญาณของ INK ในไมโตคอนเดรียนอกจากนี้ β-eudesmol ยังสามารถลดเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีของมนุษย์ในหนูทดลอง 91.6% ที่ขนาด 100 มก./กก. โดยยืดอายุการรอด 64.4%

            ฤทธิ์ต้านการแพ้ มีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่า β-eudesmol  ในระดับความเข้มข้นไมโครโมลาร์ต่ำสารมารถยับยั้งการทำงานของ histidine decarboxylase และการสลายตัวของเมสต์เซลล์ในสายเซลล์ของมนุษย์ HMC-1 ซึ่งบ่งขี้ถึงการใช้งานที่เป็นไปได้ในการรักษาอาการแพ้ได้

โครงสร้างเบตายูเดสมอล

ข้อแนะนำและข้อปฏิบัติ

ถึงแม้ว่าจะมีข้อมูลรายงานการศึกษาวิจัยที่ระบุถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเบตายูเดสมอล (β-eudesmol) ต่างๆ ที่น่าสนใจ แต่ทั้งนี้ ยังเป็นเพียงการศึกษาวิจัยในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลองเท่านั้น ซึ่งยังขาดการศึกษาทางคลินิกรวมถึงการศึกษาถึงความปลอดภัย และขนาดและปริมาณการใช้ที่เหมาะสมและปลอดภัยในมนุษย์ ส่วนการใช้ประโยชน์สารดังกล่าวในรูปแบบของน้ำมันหอมระเหยหรือในรูปแบบสมุนไพร จากพืชที่เป็นแหล่งของสารเบตายูเดสมอลนั้นก็ยังสามารถใช้ได้ตามขนาดและปริมาณที่ได้กำหนดไว้ในตำรับตำรายานั้นๆ

 

เอกสารอ้างอิง เบต้ายูเดสมอล
  1. ณัฐพงษ์ วิชัย และคณะ.ข้อกำหนดคุณภาพของโกษฐ์เขมา.วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 8.ฉบับที่ 2-3 พฤษภาคม-ธันวาคม 2553.หน้า 130-145
  2. ชยันต์ พิเชียรสุนทร.แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงศ์.คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 82 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542.กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์อมรินทร์และมูลนิธิภูมิปัญญา 2544.
  3. รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์.ตำรับยาจันทน์ลีลา...จากภูมิปัญญาสู่งานวิจัย.ผลงานวิจัยเพื่อสังคม.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. เย็นจิตร เดชะดำรงสิน (บรรณาธิการ).คู่มือการใช้สมุนไพร ไทยจีนกรุงเทพฯ.สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์.2551.
  5. ชยันต์ พิเชียรสุนทร, วิเชียร จีรวงศ์.คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 5 คณะเภสัช.กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์อมรินทร์.2548.
  6. โกฐเขมา..ฐานข้อมูลเครื่องยาคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=27
  7. Ma, E.L., Li, Y.C., Tsuneki, H., et al. β-Eudesmol suppresses tumour growth through inhibition of tumour neovascularisation and tumour cell proliferation. J. Asian Nat. Prod. Res. 10(1-2), 159-167 (2008).
  8. Kimura Y, Sumiyoshi M. Effects of an Atractylodes lancea rhizome extract and a volatile component beta-eudesmol on gastrointestinal motility in mice. J Ethnopharmacology. 2012;141:530-536.
  9. Elzinga, S., Fischedick, J., Podkolinski, R., et al. Cannabinoids and terpenes as chemotaxonomic markers in Cannabis. Nat. Prod. Chem. Res. 3(4), 181 (2015).
  10. Seewaboon Sireeratawong S, Khonsung P, Piyabhan P, Nanna U, Soonthornchareonnon N, Jaijoy K. Anti-inflammatory and anti-ulcerogenic activities of Chantaleela recipe. Afr J Tradit Complement Altern Med 2012; 9(4):485-94.