อะลอคติน เอ

อะลอคติน เอ

ชื่อสามัญ Aloctin A, Lectin P-2

ประเภทและข้อแตกต่างของสารอะลอคตินเอ

สารอะลอคติน เอ (aloctin a) จัดเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกลุ่มไกลโดโปรตีน (glycoproteins) มีน้ำหนักโมเลกุล 180,000 ดาลตัน ประกอบด้วยน้ำตาลและโปรตีนในอัตราส่วน 8:2 ซึ่งแต่เดิมได้ชื่อว่า Lectin P-2 ซึ่งเป็นสารที่สลายตัวได้ง่ายโดยเฉพาะเมื่อถูกความร้อน ทั้งนี้การค้นพบสารอะลอคติน เอ นั้น นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นสามารถสกัด aloctin A จากใบของว่านหางจระเข้ เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1980 และได้จดสิทธิบัตรไว้ที่ European Patent Application สำหรับ กลุ่มไกลโคโปรตีน เป็นกลุ่มสารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากการรวมตัวของพอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตกับโปรตีนในโมเลกุลของไกลโคโปรตีนเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ โดยเกิดได้อยู่ 2 รูปแบบคือ พันธะแบบ N-ไกลโคไซด์ (N-linked) และ พันธะแบบ O-ไกลโคไซด์ (O-linked) ส่วนประกอบของสารอะลอคติน เอ นั้นจากการศึกษาวิจัยพบว่ามีเพียงประเภทเดียวเท่านั้น

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาของสารอะลอคติน เอ

สารอะลอคติน เอ (aloctin a) เป็นสารไกลโคโปรตีนที่สามารถพบได้ในพืชธรรมชาติ ได้แก่ ว่านหางจระเข้ (aloe vera (L.) Burm.f.) โดยส่วนที่พบสารอะลอคติน เอ คือ วุ้นใบของว่านหางจระเข้ แค่ทั้งนี้เนื่องจากสารอะลอคติน เอ เป็นสารที่สลายตัวได้ง่ายดังนั้นในการเตรียมวุ้นว่านหางจระเข้จึงไม่ควรเตรียมไว้นานโดยบางงานวิจัยระบุว่าไม่ควรเตรียมไว้นานกว่า 6 ชั่วโมงในอุณหภูมิห้อง แต่ในบางงานวิจัยก็ระบุว่าไม่ควรเตรียมไว้นานกว่า 24 ชั่วโมงในตู้เย็น

อะลอคติน-เอ

ปริมาณที่ควรได้รับจากสารอะลอคติน เอ

สำหรับขนาดและปริมาณของสารอะลอคติน เอ ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยต่อวันนั้นในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์การใช้สารดังกล่าวแต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่แล้วที่ผ่านมาจะเป็นการใช้ร่วมกับสารอื่นๆ ที่พบในว่านหางจระเข้ เช่น aloctin B, alocutin A, vitamin B12, truamatic acid และเอนไซม์ bradykinase เป็นต้น แต่ในปัจจุบันมีรายงานว่าได้มีการสกัดเอาสารอะลอคติน เอ ในรูปแบบเจลมาใช้ประโยชน์บ้างแล้ว

ประโยชน์และโทษของสารสารอะลอคติน เอ

มีการนำสารอะลอคติน เอ (aloctin a) จากวุ้นว่านหางจระเข้ มาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์หลายๆ ด้าน อาทิเช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร ใช้ต้านการอักเสบ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และ ใช้รักษาบาดแผลในลักษณะต่างๆ อาทิ เช่น แผลไฟไหม้ แผลในปาก แผลผ่าตัด แผลที่เกิดจากการฉายรังสี รวมถึงนำไปใช้เป็นส่วนผสมในครีมทารักษาโรคผิวหนังและแผลอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรายงานผลการศึกษาวิจัยพบว่าสารอะลอคติน เอ มีคุณสมบัติ mitogenic activity และสามารถกระตุ้นระบบ complement ใน serum ของมนุษย์และสามารถยับยั้งเชื้อราและมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้โดยยับยั้ง เอนไซม์ cyclooxygenase (COX) and lipoxygenase (LOX) ได้อีกด้วย

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องของสารอะลอคติน เอ

มีรายงานผลการศึกษาวิจัย ของสารอะลิคตินเอเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ดังนี้

           ฤทธิ์ลดการอักเสบ  มีการนำสารอะลอคติน เอในวุ้นว่านหางจระเข้ไปใช้ประโยชน์เพื่อลดการอักเสบในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ครีมทารักษาโรคผิวหนังและแผลอักเสบ ผสมกับ lidocaine (ยาชา) และ diphenhydramine (ยาแก้แพ้) ใช้รักษาการอักเสบของผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน ผสมกับ glycyrrhetinic acid รักษาการอักเสบ และในการนำมาทำเป็นโลชั่นโดยมีส่วนประกอบของวุ้นว่านหางจระเข้ วิตามินซี วิตามินอี และไฮโดรคอร์ติโซน อะซิเตรต ใช้ทาผิวหนังหลังโกนขนหรือผม พบว่าสามารถลดการอักเสบและการระคายเคืองต่อผิวหนังได้  และยังมีการนำวุ้นว่านหางจระเข้ไปรักษาสิว รักษาอาการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ รักษาอาการไอโดยฉีดสารสกัดว่านหางจระเข้เข้าหลอดลมเป็นเวลา 10 วัน พบว่าได้ผลดี นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้ป่วยลำไส้ใหญ่อักเสบจำนวน 42 คน โดยให้ผู้ป่วย 30 คน รับประทานน้ำวุ้นว่านหางจระเข้ 100 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ และผู้ป่วยอีก 14 คน ให้รับประทานยาหลอก พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับน้ำวุ้นว่านหางจระเข้ จะมีลำไส้ใหญ่อักเสบลดลงโดยแผลดูดีขึ้นและมีขนาดเล็กลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอก

           การต้านแบคทีเรีย  ฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราของสารอะลอคติน เอาจากวุ้นว่านหางจระเข้จึงมีผลในการช่วยมิให้บาดแผลติดเชื้อจนลามรุนแรงออกไปเรื่อยๆ รายงานว่า ในผู้ป่วยที่มีแผลการติดเชื้อที่ขา จำนวน 30 ราย ที่เกิดจากแบคทีเรียชนิด multi-drug resistant วุ้นว่านหางจระเข้ทำให้จำนวนแบคทีเรียลดลง ผลที่ดีมากก็คือ บาดแผลของผู้ป่วย 28 ใน 30 ราย ไม่มีการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและจำนวนแบคทีเรียของผู้ป่วยอีก 2 ราย แม้ว่าจะยังมีอยู่แต่ไม่เพิ่มจำนวนต่อไป

           ฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร มีการศึกษาฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารในหนูแรทของสารอะลิคติน เอ จากวุ้นว่านหางจระเข้มีหลายแห่ง ซึ่งพบการศึกษาทั้งที่ไม่ให้ผลการรักษา และให้ผลการรักษาดี โดยพบว่าสารออกฤทธิ์คือ aloctin A, aloctin B และ polysaccharide นอกจากการศึกษาโดยใช้ส่วนของวุ้นแล้วยังมีการศึกษากับสารสกัดว่านหางจระเข้  พบว่าได้ผลในการป้องกันการเกิดแผลและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เช่นกัน แต่กลไกการออกฤทธิ์ไม่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ prostaglandin ชนิดที่มีผลป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือลดการหลั่งน้ำย่อยและกรด อย่างไรก็ตามมีบางการศึกษากลับพบว่าสารสกัดว่านหางจระเข้ มีฤทธิ์ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เพิ่มขึ้นอีกทั้งยังกระตุ้นการหลั่งกรด

           ฤทธิ์ในการสมานแผล มีการนำขี้ผึ้งว่านหางจระเข้ไปใช้กับแผลเรื้อรัง และสิว นอกจากนี้มีการนำมาใช้รักษาแผลภายนอกต่างๆ ดังนี้

           แผลไฟไหม้ (burn wound) มีรายงานในปี ค.ศ.1988 ว่า ผ้าก๊อซเคลือบว่านหางจระเข้ซึ่งมีสารอะลอคตินเอ มีระยะเวลาการสมานแผล (healing time) สั้นกว่ากลุ่มควบคุม นอกจากนี้มีรายงานว่าวุ้นจากว่านหางจระเข้สามารถช่วยให้แผลไฟไหม้ทั้ง first- และ second-degree burn ดีขึ้น โดยมีระยะเวลาในการสมานแผล (healing time) สั้นกว่ากลุ่มควบคุม 8.79 วัน 5 และมีกระบวนการซ่อมแซมและเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวที่เรียกว่า re-epithelialization เร็วกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

           แผลในปาก มีการศึกษาโดยเตรียมวุ้นจากว่านหางจระเข้ในรูป 2% oral gel เพื่อทำการวิจัยในผู้ป่วยจำนวน 40 ราย ในปี ค.ศ.2012 พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าเจลว่านหางจระเข้สามารถลดความเจ็บปวด ขนาดแผล ระยะเวลาสมานแผลและอัตราการกลับเป็นใหม่ของแผลร้อนในได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ ใช้รักษา lichen planus ในปากได้ดีกว่า triamcinolone acetonide

           แผลผ่าตัด  มีการศึกษาวิจัยทดลองรักษาแผลผ่าตัด (surgical incision) ในหนูทดลองด้วยวุ้นว่านหางจระเข้แล้วรายงานว่ากระบวนการสมานแผลดำเนินไปเร็วกว่าปกติในกลุ่มควบคุมแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ silver sulfadiazine และเกิดกระบวนการซ่อมแซมและเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว (re-epithelialization) และสร้างหลอดเลือดใหม่ได้ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอีกด้วย

           แผลที่เกิดจากการฉายรังสี  มีรายงานระบุว่าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสีจะพบอาการไม่พึงประสงค์อย่างหนึ่งอยู่บ่อยๆ คือ เยื่อบุช่องปากอักเสบ (oral mucositis) รวมถึงพบแผลการติดเชื้อรากลุ่ม Candida ในปากอีกด้วย ดังนั้นจึงมีการศึกษาวิจัยน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนประกอบของวุ้นว่านหางจระเข้พบว่าสามารถช่วยในการสมานและรักษาแผลลักษณะนี้ในผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสีได้เป็นอย่างดี สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากกลไกการต้านอักเสบต้านเชื้อรา ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของสารอะลอคติน เอ และสารต่างๆในวุ้นว่านหางจระเข้

โครงสร้างอะลอคติน-เอ

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

การใช้ประโยชน์จากสารอะลอคติน เอ ในอดีตจะเป็นการใช้ในรูปแบบสมุนไพร จากวุ้นของว่านหางจระเข้ซึ่งหากใช้ตามที่ระบุไว้ในตำรายาก็นับว่า มีความปลอดภัยค่อนข้างสูงแต่ ในปัจจุบันได้มีการสกัดสารอะลอคติน เอ มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบของเจล ครีม ขึ้นมาใช้ซึ่ง เจล ครีม ที่ได้จะมีความเข้มข้นของสารดังกล่าวสูง ดังนั้นในการใช้ควรระมัดระวังในการใช้โดยควรใช้ในขนาดที่เหมาะสมไม่ควรใช้ในขนาดและปริมาณ ที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

เอกสารอ้างอิง อะลอคติน เอ
  1. ว่านหางจระเข้. ฐานข้อมูลสมุนไพรสาธารณสุขมูลฐาน. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. จันทร์เพ็ญ ตั้งจิตรเจริญกุล, รุ้งตะวัน สุภาพผล. ว่านางจระเข้เพื่อประโยชน์ในการสมานแผล. วารสารการแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 22. ฉบับที่ 3 ธันวาคม 2558. หน้า 53-67
  3. จารุวรรณ  ศิริเทพทวี. การศึกษาผลของโปรตีนจากต้น Aloe barbadensis Mill ต่อไฟบริโนเจนและก้อนไฟบรินของมนุษย์. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 28 หน้า
  4. Zhong Z, Zhou G. Preliminary study of polysaccharide from Chinese aloe (Aloe vera var. chinensis) on experimental gastric ulcer in mice. Zhongcaoyao 1995;26(2):83.
  5. Babaee N, Zabihi E, Mohseni S, et al. Evaluation of the therapeutic effects of Aloe vera gel on minor recurrent aphthous stomatitis. Dent Res J (Isfahan) 2012;9:381-5.
  6. Vajaragupta O, Thiptanasup P, Rochanaonda C, Busapawan W. Aloe 1: Screening test for dermatological treatment.  R T A Med J 1986;39(4):223-30.
  7. Takzare N, Hosseini MJ, Hasanzadeh G, et al. Influence of Aloe vera gel on dermal wound healing process in rat. Toxicol Mech Method 2009;19:73-7.
  8. Ortiz R, Fernandez V.  Therapeutic after shave care lotions containing Aloe vera gel and vitamins C and E and hydrocortisone.  Patent: U S US 6352691 1999:3 pp.
  9. Harlev E, Nevo E, Lansky EP, et al. Anticancer potential of aloes: antioxidant, antiproliferative, and immunostimulatory attributes. Planta Med. 2012;78:843-52.
  10. Blitz JJ, Smith JW, Gerard JR. Aloe vera gel in peptic ulcer therapy: preliminary report.  J Am Osteopath Assoc 1963;62:731-5.
  11. Banu A, Sathyanarayana B, Chattannavar G. Efficacy of fresh Aloe vera gel against multi-drug resistant bacteria in infected leg ulcers. Australas Med J 2012;5:305-9.
  12.   Lion Corp. Topical anti-inflammatory formulations containing aloe extracts.  Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 59 13,716 [84 13,716] ,1984:12pp.
  13. Tarameshloo M, Norouzian M, Zarein-Dolab S, et al. A comparative study of the effects of topical application of Aloe vera, thyroid hormone and silver sulfadiazine on skin wounds in Wistar rats. Lab Anim Res 2012;28:17-21.
  14. Langmead L, Feakins RM, Goldthorpe S, et al. Randomized, double-blind, placebo-controlled trial of oral Aloe vera gel for active ulcerative colitis. Aliment Pharmacol Ther 2004;19(4):739-47.
  15. Khorasani G, Hosseinimehr SJ, Azadbakht M, et al. Aloe versus silver sulfadiazine creams for second-degree burns: a randomized controlled study. Surg Today 2009;39:587-91.
  16. Zawahry ME, Hegazy MR, Helal M. Use of aloe in treating leg ulcers and dermatoses.  Int J Dermatol 1973;12(1):68-73.
  17. Arunkumar S, Muthuselvam M. Analysis of phytochemical constituents and antimicrobial activities of Aloe vera L. against clinical pathogens. World J Agric Sci 2009;5: 572-6.
  18. Kang M, Cho SY, Kim HS, Kim DH, Jeong CS. Antigastritic and antiulcerative effect of Pulmuone healthy aloe gel. Yakhak Hoechi 2005;49(3):237-43.
  19. Rodríguez-Bigas M, Cruz NI, Suárez A. Comparative evaluation of Aloe vera in the management of burn wounds in guinea pigs. Plast Reconstr Surg 1988;81:386-9.
  20.   Grigor’eva IF.  Treatment of children with persistent cough and pharyngitis.  Vestn Otorinolaringol 1985;0(4):13-6.
  21. Reddy RL, Reddy RS, Ramesh T, et al. Randomized trial of aloe vera gel vs triamcinolone acetonide ointment in the treatment of oral lichen planus. Quintessence Int 2012;43:793-800.
  22. Busciglio JA. Antiinflammatory topical compositions containing lidocaine and diphenhydramine.  Patent: U.S. US 4,748,022 ,1988:5pp.
  23. Muller MJ, Hollyoak MA, Moaveni Z, et al. Retardation of wound healing by silver sulfadiazine is reversed by Aloe vera and nystatin. Burns 2003;29:834-6.
  24.   Brudner IK, Baranova LL. Treatment of acne conglobata. Zdravookhr Beloruss 1972;18(10):62-3.
  25. Ahmadi A. Potential prevention: Aloe vera mouthwash may reduce radiation-induced oral mucositis in head and neck cancer patients. Chin J Integr Med 2012;18:635-40.
  26. Mahattanadul S. Antigastric ulcer properties of Aloe vera.  Songklanakarin J Sci Technol 1996;18(1):49-57.
  27. Maenthaisong R, Chaiyakunapruk N, Niruntraporn S, et al. The efficacy of Aloe vera used for burn wound healing: a systematic review. Burns 2007;33:713-8.
  28. Hayashi M, Suzuki T, Asano K, et al. Pharmacological studies on combined product of crude drug.  Poltistan: the anti-inflammatory effects and the general pharmacological studies.  Oyo Yakuri 1978;16(3):503-19.