ไบคาเลน

ไบคาเลน

ชื่อสามัญ Baicalein, 5, 6, 7-trihydroxyflavone

ประเภทและข้อแตกต่างของสารไบคาเลน

สารไบคาเลน (baicalein) เป็นอะไกลโคนของสารไบคาลิน (Baicalin) โดยถูกจัดเป็นสารฟลาโวนอยด์ในกลุ่มฟลาโวน (flavone) มีสูตรทางเคมี คือ C15 H10 O5  มีมวลโมเลกุล 270.240 g/mol-1 ซึ่งเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนที่มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง และยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย สำหรับประเภทของสารไบคาเลน นั้น จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีเพียงประเภทเดียวเท่านั้น

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาของสารไบคาเลน

สารไบคาเลน จัดเป็นสารฟลาโวนอยด์ที่สามารถพบได้ในธรรมชาติอีกชนิดหนึ่ง โดยเป็นสารที่มีอยู่ในพืชหลายชนิด อาทิเช่น ในส่วนเปลือกต้น ส่วนใบ ส่วนรากของเพกา, ในส่วนรากของสมุนไพรอึ่งงิ้ม หรือ หวงฉิน (Scutellaria baicalensis) รวมถึงส่วนต่างๆ ของเล็บครุฑใบกระทง (scuttellarialateriflra L.) เป็นต้น แต่ในประเทศไทยส่วนมากที่นำมาสกัดจะเป็นการสกัดจากเปลือกต้นและใบของเพกามากกว่าพืชชนิดอื่น

ปริมาณที่ความได้รับสารไบคาเลน

ในปัจจุบันมีการสกัดเอาสารไบคาเลน จากแหล่งธรรมชาติตามที่ได้กล่าวมาในต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ โดยมีลักษณะเป็นผงสีเหลืองอ่อน มีความบริสุทธิ์ 98% ขึ้นไป ส่วนขนาดและปริมาณการใช้ที่ปลอดภัยในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดถึงเกณฑ์การใช้อย่างชัดเจนแต่อย่างใด

ไบคาเลน

ประโยชน์และโทษสารไบคาเลน

สารไบคาเลน(baicalein) ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบและส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิเช่น อุตสาหกรรมยา, เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นต้น ส่วนในทางการแพทย์มีการศึกษาวิจัยสารไบคาเลน พบว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายประการ ได้แก่ ต้านอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านอาการปวด ยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็ง ปกป้องเซลล์ตับ ระงับประสาทลดความวิตกกังวล ต้านเชื้อจุลชีพ ต้านอาการท้องเสีย ต้านอีสตามีน เป็นต้น นอกจากนี้สารไบคาเลนยังช่วยป้องกันระบบประสาทในสมอง เช่น พาร์คินสัน อัลไซเมอร์ และสมองขาดเลือดได้อีกด้วย

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องสารไบคาเลน

สำหรับข้อมูลรายงานการศึกษาวิจัยต่างๆ ของสารไบคาเลน นั้น มีน้อยมาก ทั้งนี้จึงขอนำมากล่าวถึงเฉพาะฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สามารถค้นคว้าพบเท่านั้นซึ่งมีดังนี้

           ฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีการศึกษาพบว่า สารที่ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบในเพกา คือ สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ได้แก่ bacailein, chrysin และสารในกลุ่มแนฟโทควิโนน โดยฟลาโวนอยด์ที่สกัดจากเพกา สามารถลดการอักเสบในเท้าของหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้บวมด้วย dextran และจะมีผลลดบวมมากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับ a-chymotrypsin และสารสกัดจากเปลือกต้นเพกามีฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบด้วยอัลบูมินจากไข่ ฟอร์มาลิน และฮีสตามีน แต่ไม่มีผลในหนูที่ถูกกระตุ้นด้วยซีรัมจากม้า หรือ ไซลีน (xylene) นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจากเปลือกมีฤทธิ์ลดการแพ้ในหนูที่กระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ได้มากกว่าหนูปกติ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในหลอดทดลอง พบว่าสารสกัดจากเปลือกต้นเพกามีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยยับยั้งสารในร่างกายที่ทำให้เกิดการอักเสบ คือ PGE2 และ NF-kB และยังออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยการยับยั้งกระบวนการออกซิเดชันของไขมัน (lipid-peroxidation) อีกทั้งยังพบว่าสารสกัดด้วยไดคลอโรมีเทนจากเปลือกต้น และรากมีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยยับยั้งเอนไซม์ 5-lipoxygenase และสารสกัดด้วยน้ำจากเปลือกยังสามารถลดการอักเสบได้โดยลดการหลั่งเอนไซม์ myeloperoxidase ได้อีกด้วย

           ฤทธิ์ระงับประสาท และลดความวิตกกังลง มีการศึกษาวิจัยสารสกัดของเล็บครุฑใบกระทงในอเมริกาเหนือ ซึ่งได้ทำมีการสกัดสารทั้งต้นโดยน้ำ 50% และ 95% อัลกอฮอล์ แล้วนำมาตรวจสอบพบว่ายับยั้งอาการ anxiety ได้ และเมื่อตรวจสอบด้วย HPLC พบว่าในสารสกัด 50% ethanol มี baicalin และ 95% ethanol มี baicalein ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ใช่น้ำตาลของ baicalin ในส่วนของสารสกัดด้วยน้ำมี amino acid, GABA จึงเป็นไปได้ว่าฤทธิ์ต้าน anxiety นั้นอาจเนื่องมาจาก baicalin และ baicalein ซึ่งสามารถจับกับ benzodiazepine site ของ GABA และ GABA มีฤทธิ์ยับยั้ง neurotransmitter

           ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและแก้ท้องเสีย สารสกัดไดคลอโรมีเทนของเปลือกต้น และรากของเพกา มีสาร baicalein ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายสายพันธุ์ได้แก่ Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, Escherichia coli และ Pseudomonas aeruginosa และยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Candida albicans

สารไบคาเลน

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

สำหรับการใช้สารไบคาเลน นั้น ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าสามารถช่วยป้องกัน และรักษาโรคได้ แต่ในการใช้ก็ควรระมัดระวังในการใช้ เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์ของขนาด และปริมาณการใช้สารดังกล่าว รวมถึงยังไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยถึงขนาดความปลอดภัย และการศึกษาทางพิษวิทยาอีกด้วย ดังนั้นในการใช้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้ทุกครั้ง

เอกสารอ้างอิง ไบคาเลน
  1.     เพกา.สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.ฐานข้อมูลสมุนไพร สาธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  2.     สดุดี รัตนจรัสโรจน์และคณะ.ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปกป้องเซลล์ประสาทของสารสกัดจากเปลือกต้นเพกาในเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยง.วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ปีที่ 62. ฉบับที่ 4.ตุลาคม-ธันวาคม 2563.หน้า 305-329
  3.     การศึกษาทางเคมี และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเล็บครุฑใบกระทง.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  4.     Bharali MK, Konya H, Chetry LB. Protective effect of Oroxylum indicum on acetaminophen induced liver injury in rat. Int Curr Pharm J 2014; 3(2): 223-7.
  5.     Ali RM, Houghton PJ, Raman A, Hoult JRS. Antimicrobial and anti-inflammatory activities of extracts and constituents of Oroxylum indicum. Phytomedicine 1998;5(5):375-81.
  6.     Singh J, Kakkar P. Modulation of liver function, antioxidant responses, insulin resistance and glucose transport by Oroxylum indicum stem bark in STZ induced diabetic rats. Food Chem Toxicol 2013; 62: 722-31.
  7.     Lalrinzuali K, Vabeiryureilai M, Jagetia GC. Investigation of the anti-inflammatory and analgesic activities of ethanol extract of stem bark of Sonapatha Oroxylum indicum in vivo. Int J Inflam 2016; 2016: 8247014. (8 pages)
  8.     Kumar DRN, George VC, Suresh PK, Kumar RA. Cytotoxicity, apoptosis induction and anti-metastatic potential of Oroxylum indicum in human breast cancer cells. Asian Pac J Cancer Prev 2012; 13(6): 2729-34.
  9.     Siriwatanametanon N, Fiebich BL, Efferth T, Prieto JM, Heinrich M. Thai medicinal plants and the search for new anti-inflammatory and anticancer agents. Planta Med 2009:75-PE16
  10.     Radhika LG, Meena CV, Peter S, Rajesh KS, Rosamma MP. Phytochemical and antimicrobial study of Oroxylum indicum. Anc Sci Life 2011; 30(4): 114-20.
  11.     Laupattarakasem P, Houghton PJ, Hoult JRS, Itharat A. An evaluation of the activity related to inflammation of four plants used in Thailand to treat arthritis. J Ethnopharmacol 2003;85:207-15.
  12.    Sireeratawong S, Khonsung P, Nanna U, Vannasiri S, Lertprasertsuke N, Singhalak T, et al. Anti-diarrheal activity and toxicity of Learng Pid Samud recipe. Afr J Tradit Complement Altern Med 2012; 9(4): 519-29.
  13.    Ali RM, Houghton PJ, Raman A, Hoult JRS. Antimicrobial and anti-inflammatory activities of extracts and constituents of Oroxylum indicum (L.) Vent. Phytomedicine 1998; 5(5): 375-81.