เซราไมด์

เซราไมด์

ชื่อสามัญ Ceramide

ประเภทและข้อแตกต่างของเรเซราไมด์

เรเซราไมด์จัดเป็นไขมัน ชนิดแอมฟิฟิลิก (Amphiphilic) หรือ ไขมันที่มีขั้ว โดยมีบทบาทในการทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นสำหรับสังเคราะห์สารประกอบไขมัน ประเภทสฟิงโกลิพิด (Sphingolipid) ทั้งหมดในสิ่งมีชีวิต สารประกอบไขมันกลุ่มนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อ หุ้มเซลล์ของสิ่งมีชีวิต (cell membrane) และยังทำหน้าที่เป็นโมเลกุล ในการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ ที่ทำหน้าที่สำคัญในการโอบอุ้ม น้ำสำหรับชั้นผิวหนัง ส่วนประเภทของเซราไมด์ นั้น พบว่าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามแหล่งที่มา คือ เซราไมค์ที่พบในผิวหนังกำพร้าชั้นนอก (stratum corneum) และอีกประเภทหนึ่งคือ สารประกอบเซราไมด์ในพืช ซึ่งส่วนมากจะพบในรูปของกลูโคซิลเซราไมด์ (Glucosylceramide) และฟอสฟออิโนซิไทด์ (Phosphoinositide)

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาเรเซราไมด์

ดังที่กล่าวมาแล้วว่าเซราไมด์ เป็นสารที่สามารถพบได้ชั้นหนังกำพร้าชั้นนอก (Stratum Corneum) โดยจะอยู่ติดกับเคราติน (Keratin) ของผิว ซึ่งในผิวชั้นนอก (Epidemis) นี้พบว่ามีกรดไขมันเซราไมด์เป็นส่วนประกอบมากกว่าครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว นอกจากนี้เซราไมด์และอนุพันธ์ของเซราไมค์ยังพบอยู่ในอาหาร แต่จะมีปริมาณค่อนข้างน้อยมาก ซึ่งอาหารที่เป็นแหล่งของเซราไมค์ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลืองนม สับปะรด และหัวบุก เป็นต้น

เซราไมด์

ปริมาณที่ควรได้รับเซราไมค์

สำหรับปริมาณของสารเซราไมค์ ที่ควรได้รับในแต่ละวันนั้นในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดปริมาณดังกล่าวอย่างชัดเจน เนื่องจากสารเซราไมค์ไม่ใช่สารอาหารหลัก ส่วนที่มีการนำเซราไมค์ไปผสมในผลิตภัณฑ์เวชสำอางต่างๆ นั้นปริมาณการใช้ก็ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของสารเซราไมค์ เช่น ความเข้มข้น 40% นั้นมีการแนะนำให้ใช้เพียง 1-3% เท่านั้น ในส่วนของการที่คนเราจะได้รับปริมาณสารเซราไมค์จากอาหารเฉลี่ยวันละประมาณ 0.3-0.4 กรัม เท่านั้น แต่ทั้งนี้จากผลการศึกษาวิจัยจากห้องปฏิบัติการล่าสุด พบว่าน้ำมันรำข้าวจากข้างหอมมะลิที่ได้จากกรรมวิธีการสกัดแบบเย็น มีปริมาณสารเซราไมค์ 1 มิลลิกรัม ต่อ 10 กรัม ซึ่งถือว่ามีปริมาณความเข้มข้นค่อนช้างสูง

ประโยชน์และโทษเซราไมค์

เซราไมค์ในผิวชั้นนอกของมนุษย์มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการโครงสร้างและรักษาความสามารถในการอุ้มน้ำของผิวหนัง ทำให้ผิวหนัง ไม่สูญเสียความขึ้น มีน้ำมีนวลเปล่งปลั่ง ไม่เหี่ยวแห้ง เป็นสาเหตุของผิวระคายเคืองริ้วรอยก่อนวัย ตีนกา และผิวที่ดูเหนื่อยล้า  รวมถึงเซราไมค์ที่เคลือบผิวยังทำหน้าที่เป็นเกราะปกป้องผิวจากสารเคมี ฝุ่นควัน สารก่อการระคายเคืองอื่นๆ และยังมีส่วนช่วยในการลดการสังเคราะห์เม็ดสีผิว ซึ่งจะมีผลช่วยป้องกันการเกิด ฝ้า กระ และ จุดด่างดำได้อีกด้วย นอกยากนี้ในทางการแพทย์ยังมีการใช้เซราไมค์ เป็นสารเสริมที่ช่วยในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวอักเสบจากสารเคมี และผื่นผ้าอ้อมในเด็ก เป็นต้น
           นอกจากนี้ในทางการแพทย์ยังมีการใช้เซราไมด์ เป็นสารเสริมที่ช่วยในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวอักเสบจากสารเคมี และผื่นฟ้าอ้อมในเด็ก เป็นต้น อีกทั้งยังมีรายงานว่าเซราไมค์ยังมีส่วนช่วยป้องกัน โรคมะเร็ง ช่วยลดการอักเสบ และช่วยป้องกันโรคเบาหวาน

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องเซราไมค์

มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเซราไมค์พบว่าจากการศึกษาการเลี้ยงเซลล์ในห้องปฏิบัติการพบว่าสารเซราไมค์มีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์การเพิ่มปริมาณเซลล์ การเคลื่อนตัวเซลล์ การยึดเกาะการตายของเซลล์ในเซลล์สิ่งมีชีวิต ส่วนในการศึกษาทางคลินิกและระบาดวิทยาพบว่าสารประกอบเซราไมด์ ยังมีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีผลต่อการขนส่งคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดลดลง อีกทั้งยังมีผลการทดสอบทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับความต้านทางต่ออินซิลิน พบว่าสารเซราไมค์มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคเบาหวานได้อีกด้วย

เซราไมค์

ข้อแนะนำและข้องควรปฏิบัติเซราไมค์

ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่มีเซราไมค์ผสมอยู่ควรระมัดระวังเรื่องสารก่อการระคายเคืองที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำหอม แอลกอฮอล์ หรือสารสกัดจากธรรมชาติ อื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาหารระคายเคืองหรือแพ้ได้ไม่เหมือนกัน
           ส่วนเซราไมด์ ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสรมอาหารนั้น ก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชก่อน โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้สูงอายุรวมถึงผู้แพ้อาหารที่เป็นแหล่งของเซราไมค์ที่ถูกนำมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกล่าว เช่น ถั่วเหลือง เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง เซราไมค์

⦁ สร้างสรรค์คุณค่าข้าวไทย ด้วยเกษตรปลอดภัยและนวัตกรรมที่ยั่งยืน.กรุงเทพฯ.สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงเกษตรและสหกรร์, 2561.
⦁ รู้จักเซราไมค์ (ceramide) เกราะป้องกันผิวให้แข็งแรง..พบแพทย์ดอทคอม (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก ⦁ http://www.pobpad.com
⦁ Wu D, Ren Z, Pae M, Guo W, Cui X, Merrill AH, Meydani SN (2007) ⦁"⦁ การสูงวัยขึ้น-ควบคุมการแสดงออกของผู้ไกล่เกลี่ยการอักเสบในเนื้อเยื่อไขมันของหนู". วารสารภูมิคุ้มกันวิทยา . 179 (7): 4829–39.
⦁ Lai, M. H., Chen, Y. T., Chen, Y. Y., Chang, J. H., & Cheng, H. H. (2012). Effects of rice bran oil on the bloodlipids profiles and insulin resistance in type 2 diabetes patients.J Clin Biochem Nutr, 51(1), 15–18.
⦁ Hannun, YA; โอบีด, แอลเอ็ม (2008). "หลักการส่งสัญญาณไขมันออกฤทธิ์ทางชีวภาพ: บทเรียนจากสฟิงโกลิปิด". ทบทวนธรรมชาติ อณูชีววิทยาเซลล์. 9(2): 139–150. 
⦁ Orthoefer, F. T. (1996). Rice bran oil: Healthy lipid source. Food Technol, 50, 62-64.
⦁ Zeidan, ยงฮวา; Hannun, YA (2007). "ลักษณะการแปลของเมแทบอลิซึมของสฟิงโกลิปิด". เทรนด์โมล Med 13 (8): 327–336
⦁ Nicolosi, R. J., Ausman, L. M., & Hegsted, D. M. (1991). Rice bran oil lowers serum total and low density lipoprotein cholesterol and apo B levels in nonhuman primates. Atherosclerosis, 88, 133-142.