แกมมาออไรซานอล

แกมมาออไรซานอล

ชื่อสามัญ Gamma oryzanol

ประเภทและข้อแตกต่างของสารแกมมาออไรซานอล

สารแกมมาออไรซานอล ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น มีรากศัพท์มาจากคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ว่า “Oryza sativa” (ออริซาซาทิว่า) ซึ่งแปลว่าข้าว โดยเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องเมล็ดพืช ซึ่งแกมมาออไรซานอลจัดเป็นกลุ่มสารประกอบเอสเทอร์ระหว่างกรดเฟอรูลิก (ferulic acid) และ สเตียรอล (sterol) หรือไดรเทอร์ฟีนแอลกอฮอล์ (triterpene alcohols) cycloartenol trans-ferulate, campesterol trans-ferulate .24-methylenecycloartanol trans-ferulate และ sitosterol trans-ferulate ร่วมกับสารประกอบส่วนน้อยอื่นๆ ที่มีสูงทางเคมี คือ C40H58O4 มีมวลโมเลกุล 602.9 g/mol โดยลักษณะของแกมมาออไรซานอลนั้นมีลักษณะเป็น crystalline powder สีขาว หรือ ขาวออกเหลือง ไม่มีกลิ่น ไม่ละลายน้ำ แต่จะละลายได้เล็กน้อยใน diethyl ether และ n-heptane อีกทั้งละลายใน isopropyl alcohol ได้ดีกว่าและละลายได้ดีใน chloroform สำหรับประเภทของแกมมาออไรซานอลนั้นพบว่ามีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาของสารแกมมาออไรซานอล

โดยปกติแล้วในธรรมชาติซึ่งสามารถพบสารแกมมาออไรซานอลนี้ได้ในเมล็ดพืชต่างๆ ซึ่งจะพบมากที่สุดในเมล็ดข้าวไม่ว่าจะเป็นข้าวจ้าว หรือ ข้าวเหนียว โดยเฉพาะส่วนผิวที่มีสีน้ำตาลอ่อนที่ยังไม่มีการขัดสีออก นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในน้ำมันรำข้าว ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งที่สำคัญที่แกมมาออไรซานอลถูกนำมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน แต่ทั้งนี้ปริมาณของแกมมาโอไรซานอลในรำข้าวยังมีความแปรปรวนอยู่มาก ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างของกระบวนการสกัดน้ำมันออจากรำข้าว โดยพบว่าการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ต่างชนิดในการสกัดน้ำมันจากรำข้าว มีผลทำให้ปริมาณแกมมาออไรซานอล ที่มีอยู่ในน้ำมันรำข้าวแตกต่างกัน

สารแกมมาออไรซานอล

ปริมาณที่ควรได้รับสารแกมมาออไรซานอล

สำหรับการใช้แกมมาออไรซานอลในอดีตนั้นมักจะอยู่ในรูปของการใช้น้ำรำข้าวที่ยังไม่ได้สกัดเอาสารแกมมาออไรซานอล ออกมา ซึ่งมีขนาดและปริมาณการใช้ดังนี้

  • ช่วยบำรุงให้ร่างกายแข็งแรง บำรุงผิวพรรณ รับประทาน 1-2 แคปซูล/วัน
  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ รับประทาน 4-6 แคปซูล/วัน
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักเกินเวลาทาน 2 แคปซูล ก่อนอาหาร 30 นาที
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักน้อยรับประทาน 2 แคปซูล หลังอาหาร 30 นาที

           แต่ในปัจจุบันได้มีการสกัดสารแกมมาออไรซานอล ออกมาจากเมล็ด หรือน้ำมันรำข้าวเพื่อนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยตามประกาศสำนักงานอาหารและยา เรื่องรายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560 ระบุว่าสามารถใช้เมล็ดและจมูกข้าว มาผ่านกรรมวิธีบดผง บีบอัด หรือสกัดด้วย เอกเซน น้ำมัน น้ำและเอทานอล และน้ำ โดยในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ให้มีปริมาณการใช้สารแกมมาออไรซานอลได้ไม่เกิน 250 มิลลิกรัม/วัน

ประโยชน์และโทษสารแกมมาออไรซานอล

มีการนำสารแกมมาออไรซานอลมาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลายในด้านต่างๆ เช่น ถูกนำมาใช้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริม และป้องกันภัยสุขภาพ อีกทั้งยังถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ในกลุ่มบำรุงผิวอื่นๆ ส่วนด้านประโยชน์ในทางการแพทย์นั้นพบว่าสารแกมมาออไรซานอล มีคุณสมบัติ ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหารสู่ร่างกาย และการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในตับ กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนสำหรับการเจริญเติบโต (Growth hormone) เพิ่มการหลั่งสารที่ช่วยผ่อนคลาย เพิ่มระดับไขมันชนิดดีให้แก่ร่างกายซึ่งไขมันชนิดนี้จะไปขจัดไขมันคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเส้นเลือด ที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย me ให้ลดการตีบตันของหลอดเลือดและยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ลดการสูญเสียแคลเซียม ที่เป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุน เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตและลดความเครียดมีผลทำให้อวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ สมอง ตับอ่อน มีเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น เพิ่มระดับของฮอร์โมนอินซูลินทำให้ช่วยลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานและป้องกันเซลล์ผิวจากการถูกทำลายด้วยแสงแดด

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องสารแกมมาออไรซานอล

มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของแกมมาออไรซานอล ที่ได้รับการรับรอง อาทิเช่น ฤทธิ์ลดไขมัน มีการศึกษาผลของน้ำมันรำข้าวต่อสัตว์ทดลองที่เป็นเบาหวานเมื่อเหนี่ยวนำหนูขาวให้เป็นโรคเบาหวานชนิด type 2 โดยให้ streptozotocin/nicotinamide และแบ่งสัตว์ทดลองเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ได้รับน้ำมันรำข้าว 10 ก. (มีγ-oryzanol 352 ก. และ  γ-tocotrienol 6.0 มก.) ในอาหาร 100 ก. นาน 4 สัปดาห์ พบว่าหนูขาวที่เป็นเบาหวานและได้รับอาหารที่มีน้ำมันรำข้าว มี insulin sensitivity สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารควบคุม ระดับไตรกรีเซอไรด์ในเลือดและในตับ และ LDL-cholesterol ในเลือดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารควบคุม การกำจัด neutral sterol และกรดน้ำดีทางอุจจาระสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารควบคุม หลังจาก 4 สัปดาห์ พบว่ามีการเพิ่มของ cholesterol 7 α-hydroxylase ในตับเพิ่ม 100% LDL-receptor ในตับเพิ่ม 89% 3-hydroxy-3-methylglutaryl coenzyme A reductase mRNA ในตับเพิ่ม 50% ในหนูขาวที่ได้รับอาหารที่มีน้ำมันรำข้าว เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารควบคุม แสดงว่าอาหารที่มีน้ำมันรำข้าวอยู่ด้วย สามารถยับยั้ง hyperlipidemic response และ  hyperinsulinemic response ในหนูขาวที่เป็นเบาหวานได้อย่างมีนัยสำคัญปริมาณ γ-oryzanol และ γ-tocotrienol ที่มีสูงในน้ำมันรำข้าว สามารถเพิ่มการขับออกของกรดน้ำดี และ neutral sterols ทางอุจจาระ

            และการให้ γ-oryzanol>0.2% ของอาหารโดยน้ำหนัก มีผลลดระดับคอเลสเตรอลในเลือด และในตับของหนูขาวที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงจากการเหนี่ยวนำโดยให้อาหารที่มี cholesterol สูง จากการศึกษาในหนูขาว (Sprague-Dawley rats) เพศผู้ ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดไขมันในเลือดสูง โดยการให้อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เมื่อให้ γ-oryzanol และ cycloartenol ferulic acid ester ทางปากขนาด 100 มก./กก. ทุกวันนาน 6 หรือ 12 วัน ไม่มีผลป้องกันการเกิดไขมันในเลือดสูง สำหรับการใช้ γ-oryzanol และ cycloartenol ferulic acid ester ทางหลอดเลือดดำ ขนาด 10 มก./กก. นาน 6 วัน สามารถให้ผลยังยั้งอย่างมีนัยสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของระดับคอเลสเตอรอลทั้งหมด ระดับฟอสโฟไลปิด และ free cholesterol แต่ γ-oryzanol และ cycloartenol ferulic acid ester ไม่สามารถยับยั้งการลดลงของ high density lipoprotein (HDL) cholesterol และ HDL-phospholipid ที่ถูกเหนี่ยวนำโดยอาหารที่มี cholesterol สูง นอกจากนี้การให้ γ-oryzanol และ cycloartenol ferulic acid ester ทางหลอดเลือดดำยังพบว่าช่วยลดการเพิ่มขึ้นของ atherogenic index ที่เกิดจากการให้อาหารที่มี cholesterol และการให้สารทั้งสองชนิดนี้ทางหลอดเลือดดำนาน 12 วัน จะช่วยลดระดับ triglyceride, nonesterified fatty acid, lactate dehydrogenase และ transaminase จากผลดังกล่าว คาดว่าการให้ γ-oryzanol และ cycloartenol ferulic acid ester ทางหลอดเลือดดำ อาจมีผลเร่งการกำจัดไขมันออกจากเลือด

           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผลต่อระดับไขมันในเลือดของข้าวชนิดต่างๆ ในกระต่าย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารปกติ อาหารที่มีไขมันสูง (0.5% คอเลสเตอรอล) อาหารไขมันสูงผสมกับผงข้าวขาว 19.8% อาหารไขมันสูงผสมกับผงข้าวกล้อง 19% อาหารไขมันสูงผสมกับผงข้าวกล้องงอก 19.5% และอาหารไขมันสูงผสมกับยา Simvastatin (ขนาด 10 มก./กก.) เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับข้าวกล้องงอก จะมีระดับคอเลสเตอรอลรวม low-density lipoprotein (LDL) อัตราส่วนของ low density lipoprotein ต่อ high density lipoprotein (HDL) และค่าดัชนีการแข็งตัวของหลอดเลือด (atherogenic index) ลดลง แต่ระดับของ HDL เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีผลทำให้พลาคซึ่งสะสมที่ผนังของหลอดเลือดและระดับของ malondialdehyde ลดลงด้วย ข้าวกล้องงอกจะให้ผลลดระดับไขมันในเลือดได้ดีกว่าข้าวกล้องและข้าวขาว ซึ่งสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ ได้แก่ แกมมา-โอรีซานอล (γ-oryzanol) วิตามินอี และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fatty acid) ซึ่งจะพบในข้าวกล้องงอกมากกว่าข้าวกล้องและข้าวขาว

           ส่วนการศึกษาทางคลินิกด้านผลการลดไขมันในเลือดโดยการให้ γ-oryzanolเดี่ยวๆ จากการศึกษาทางคลินอกชนิด double-blind, multi-center โดยให้ γ-oryzanol(Hi-Z®) ขนาด 300 มก./วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ที่ได้รับ Nicomol และ dextran sulfate sodium พบว่า γ-oryzanol ให้ผลดีกว่ากลุ่มควบคุมทั้ง 2 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญ คือ กลุ่ม γ-oryzanol นั้น ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง 5.4% ในทุกราย γ-oryzanol ใช้ได้ผลดีกว่า ในกรณีของ WHO type llb hyperlipidemia ส่วนระดับไตรกลีเซอไรด์ และ HDL-cholesterol ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญตลอดการศึกษา การส่องกล้องดูกระเพาะอาหารส่วน fundus (funduscopy). การวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography) และการทดสอบผลทางห้องปฏิบัติการทางคลินิก ไม่พบการเปลี่ยนแปลง และไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ใดๆ ในผู้ป่วยที่ได้รับ γ-oryzanol

           ฤทธิ์ต้านมะเร็ง มีการทดสอบฤทธิ์การต้านเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งผิวหนัง A375 ของน้ำมันรำข้าวที่มีปริมาณสารแกมมาออไรซานอลความเข้มข้นต่างๆ คือ 5,000, 8,000, 15,000 และ 18,000 ทีพีเอ็ม เป็นเวลา 1-7 วัน เปรียบเทียบกับตัวควบคุม (negative cell) พบว่าน้ำมันรำข้าวที่มีปริมาณสารแกมมาออไรซานอล ปริมาณ 5,000, 8,000, 15,000 และ 18,000 ทีพีเอ็ม ความเข้มข้น 0.05 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร จะทำให้ฤทธิ์การต้านเซลล์มะเร็ง A375 มีค่าเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณสารแกมมาออไรซานอล ในน้ำมันรำข้าวที่เพิ่มขึ้น และมีประสิทธิภาพดีที่สุดที่ปริมาณสารแกมมาออไรซานอล 18,000 พีทีเอ็ม ระดับความเข้มข้น 0.05 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง A375 ลดปริมาณของเซลล์มีชีวิตได้ 50% ได้ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับตัวควบคุม (negative cell) 

           ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีการศึกษาวิจับพบว่า ในน้ำมันรำข้าวจะมีสารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ คือ tocopherols, tocotrienols และ γ-oryzanol โดยเฉพาะสำหรับสาร γ-oryzanol นั้นพบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามินอี ถึง 6 เท่าเลยทีเดียว

โครงสร้างสารแกมมาออไรซานอล 

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

ถึงแม้ว่าแกมมาออไรซานอล จะมีผลการศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่ามีผลดีต่อสุขภาพร่างกาย แต่ในการใช้สารดังกล่าวก็ควรระมัดระวังในการใช้ เช่น เดียวกันกับการใช้สารสกัดชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาดและปริมาณที่พอดี ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับในการใช้สารแกมมาออไรซานอลในรูปแบบของน้ำมันรำข้าวนั้น ไม่แนะนำให้ทางเกิน 6 แคปซูล/วัน ควรแบ่งการทาน เป็นเวลา เช้า กลางวัน เย็น

เอกสารอ้างอิง แกมมาออไรซานอล
  1. นิภาพร ธนะคช.แกมมาออร์ซานอล สารระสำคัญในข้าว.วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ.หน้า 26-27
  2. ศลิษา โชคเหมาะ,คณิต กฤษณังกูร,สุภัทรา ล้อมสุจริต , สุมาลี กฤษณังกูล .การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณแกมมาโดไรซานอลในรำข้าว วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ.ปีที่ 28.ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2548.หน้า 199-207
  3. ศิริพร เหลียงกอบกิจ. น้ำมันรำข้าว.จุลสารข้อมูลสมุนไพร ปีที่ 24.ฉบับที่ 3 เมษายน 2550. หน้า 6-15
  4. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560 เรื่องรายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  5. ปภาวดี คล่องพิทยาพงษ์,จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย.การพัฒนาเภสัชภัณฑ์จากน้ำมันรำข้าวเพื่อสุขภาพ.วารสารมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียปีที่ 13.ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2562.หน้า 1-16
  6. ผลของข้าวกล้องงอกต่อระดับไขมันในเลือด.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  7. Chen C-W, Cheng H-H.A rice bran oil diet increases LDL-receptor and HMG-CoA reductase mRNA expressions and insulin sensitivity in rats with
  8. Norton R A 1995. ” Quantitaiton of Steryi Ferulate and p-Coumarate Dsters from Com and Rice” Lipids Vol 30 No.3.pp.269-274.
  9. Seetharamaiah GS, Chandrasekhara N.Studies on hyposterolemic activity of rice bran oil Atherosclerosis 1989;78:219-24.
  10. Klongpityapong.P., Supabphol,R.,&Supabphol A (2013) Antioxidant effect of gamma-oryzanol on human prostate cancer cells Asian Pacific Journol of Cancer Prevention 14(9),5421-5425.
  11. Bucci R.Magri AD, Magri AL, Marini F. Comparison of three spectrophotometric methods for the determination of  γ-oryzanol in rice bran oil Anal Bioanal Chem 2003;375:1254-9
  12. Seetharamaiah. G.S and Prabhakar J. V.,1986. “Oryzanol Content of Indian Rice Bran Oil and Its Extraction from Soapstock” Joumal of Food Science and Technology. Vol 23 pp. 270-273.
  13. Sakamoto K Tabata T Shirasaki K, Inagaki T.Nakayama S Effects of  γ-oryzanol and cycloartenol ferulic acid ester on cholesterol diet induced  hyperlipidemia in rats Jpn J Pharmacol 1987;45(4):559-65.
  14. Fang N. Yu S, Badger TM Characterization of triterpene alcohol and sterol ferulates in rice bran using LC-MS/MS J Agric Food Chem 2003;51:3260-7
  15. Tanaka A., Yanabe K., Kato A and Muramatsu J., 1977. “Quantitative Analysis of Ferulates in Rice Bran oil by High Performance Liquid Chromatography” Yakagaku Vol 26pp.119-122.
  16. Sohail, M.,&et al.(2017).Rice bran nutraceutics:A comprehensive review. Critical Reviews in Food Science and Nutrition 57(17).3771-3780.
  17. Yoshitoshi Y.Oda T. Miryashita H,et al. Clinical evaluation of γ-oryzanol (Hi-Z®) in hyperlipedemia-a multicenter double-blind trial. Rinsho Hyoka (Clinical Evaluation) 1984:12(1):195-230.