เซซามิน

เซซามิน

ชื่อสามัญ Sesamin

ประเภทและข้อแตกต่างสารเซซามิน

สารเซซามินเป็นสารประกอบฟีโนลิคชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มของลิกเนน (lignans) ที่สามารถต้านอนุมูลอิสระ หรือ แอนดิออกซิเดนท์ (amtioxidart) ได้มีสูตรโครงสร้างทางเคมี คือ C20 H18 O6 และมีมวลโมเลกุลเท่ากับ 354.35g/mol โดยจากสูตรโครงสร้างของเซซามินพบว่ามี two methylenedioxy bridges และมีหมู่ CH 4 กลุ่ม จึงทำให้สามารถยับยั้งหรือจับ Reactive oxygen species (ROS) ในสภาวะปกติได้ดีกว่าเซซามอลที่มีหมู่ 2 กลุ่ม สำหรับประเภทของเซซามินนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ เซซามิน ทั่วไป และเซซามินรูปแบบ metabolized form ซึ่งในรูปแบบของ metabolized forms นั้นจะสามารถ metabolized ในตับ และเปลี่ยนรูปเป็น antioxidative เพื่อยับยั้งการสร้าง superoxise ใน aortic endotheiium จึงทำให้มีผลต่อการยับยั้ง ROS (o2- OH) ได้ดีกว่าในรูปแบบเซซามินทั่วไป เมื่อทดสอบด้วยวิธี 2.2-diphenyl-1-plcrythdrazyl radical (DPPH) และวิธี Thiobarbituric acid reactive substances (TBARS)

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาสารเซซามิน

สำหรับแหล่งที่พบเซซามินนั้น สามารถพบได้ในพืชตระกูลงา ต่างๆ เช่น งาดำ งาขาว งาแดง งาขี้ม้อน ซึ่งจะพบสารเซซามินได้ในมากที่สุด งาดำ และในปัจจุบันยังมีการสกัดสารเซซามิน จากเมล็ดงาออกมาเพื่อใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ หรือนำไปเติมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากสารเซซามิน เช่น ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม น้ำสลัด ขนม และเบเกอรี่ รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่างๆ อีกด้วย

เซซามิน

ปริมาณที่ควรได้รับจากสารเซซามิน

สำหรับปริมาณของสารเซซามินที่ควรได้รับต่อวันนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์ของปริมาณสารเซซามินที่ควรได้รับอย่างเเน่ชัด แต่อย่างไรก็ตามก็มีผลการศึกษาวิจัยหลายฉบับทั้งใน และต่างประเทศหลายฉบับ ได้ศึกษาถึงความเป็นพิษของเซซามิน พบว่ามีความเป็นพิษต่ำมาก นอกจากนี้ตามประเทศของสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาของไทยยังได้กำหนดให้งาซึ่งเป็นแหล่งของเซซามิน เป็นพืชที่สามารถใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้โดยได้กำหนดให้ส่วนของเมล็ดที่ผ่านกรรมวิธีการบดผง บีบอัด (น้ำมัน) หรือ สกัดด้วยน้ำ และประกอบไปด้วยกรดไขมัน กรดไลโนเลอิก กรดนิลมิติก กรดไอเออิก และเซซามิน ต้องให้มีปริมาณโปรตีนไม่เกิน 50 กรัม/วัน

ประโยชน์และโทษสารเซซามิน

ประโยชน์ของเซซามิน นั้นจากการศึกษาวิจัย พบว่า เซซามินมีฤทธิ์ในการเพิ่มอัตราการกำจัดสารพิษ ต้านแบคทีเรีย มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการดูดซึมคอเรสเตอรอล ยับยั้งการสร้างคอเรสเตอรอลในตับ ลดความดันโลหิต ต้านการเกิมมะเร็ง ช่วยส่งเสริมกิจกรรมของวิตามินอี ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน ที่มีผลต่อ serum triacylglycerol และ hypocholesteremic เป็นต้น

          นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาวิจัยถึงสารลิกแนนในงาดำพบว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้

  • สารเซซามินช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสารเสริมสร้างมวลกระดูกและทำลายสารที่ทำลายมวลกระดูกและน้ำหล่อเลี้ยงระหว่างข้อกระตุ้นเอ็นไซค์ตับ ทำลายสารพิษที่สะสม ช่วยกระตุ้นเซลผิวหนังสร้างคอลลาเจน และกรดไฮยาลูโรนิค ซึ่งทำให้ผิวหนังเรียบ ยืดหยุ่น ชุ่มชื้น และเต่งตึง
  • สารเซซามิน และเซซาโมลีน ช่วยดูดซับคอเลสเตอรอลเลวในเลือด และยับยั้งการสะสมในตับช่วยทำลายแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิตามินอี

           อีกทั้งยังมีรายงานผลการวิจัยอีกว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของมนุษย์สามารถเปลี่ยนสารเซซามินเป็นสารเอนเทอโรแลกโตน (enterolactone) ได้ซึ่งมีการศึกษาวิจัยพบว่าสารเอนเทอโรแลกโตนสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังบางชนิดได้ เช่น โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้อีกด้วย

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องสารเซซามิน

มีผลการศึกษาวิจัยของเซซามินเกี่ยวกับโรคต่างๆ หลายฉบับ เช่น

            ฤทธิ์ปกป้องกระดูกอ่อน และรักษาอาการข้ออักเสบ การศึกษาในเซลล์กระดูกอ่อนของหมู (porcine cartilage explant) พบว่าสารเซซามินช่วยยับยั้งการหลั่ง sulfated-glycosaminoglycan (s-GAG) และ hydroxyproline ที่ถูกกระตุ้นด้วย interleukin-1-beta (IL-1β) โดยผ่านกระบวนการลดการแสดงออกของ metalloproteinase (MMP) ชนิดที่ 1, 3 และ 13 ที่ผลต่อการสลายตัวของ proteoglycans (PGs) และ type-II collagen ทั้งในระดับของยีน และโปรตีน ร่วมกับการออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ MMP-3 ด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าสารเซซามิน มีผลขัดขวางการส่งต่อสัญญาณของ IL-1β โดยยั้บยั้งการเติมหมู่ฟอตเฟสของโปรตีน p38 และ JNK และเมื่อทดสอบในเซลล์กระดูกอ่อนของมนุษย์ (human articular chondrocyte) และการศึกษาในหนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้เกิดข้ออักเสบด้วย papain ก็พบว่าการฉีดเซซามิน ความเข้มข้น 1 และ 10 ไมโครโมลลาห์ ที่บริเวณหัวเข่าที่อักเสบ ติดต่อกัน 5 สัปดาห์ ช่วยลดการเรียงตัวของเซลล์กระดูกอ่อนที่ผิดปกติ ช่วยเพิ่มความหนาของกระดูกอ่อน และลดการสูญเสีย type-II collagen และ PGs จากกระดูกอ่อนได้ นอกจากนี้พบว่าการป้อนสารเซซามินช่วยเพิ่มการสร้าง type-II collagen และ PGs ในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนในหนูปกติอีกด้วย

           ฤทธิ์ลดคอลเรสเตอรอล มีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่าสารเซซามินจะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานโปรตีน sterol regulatory element binding protein ซึ่งมีผลลดการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลที่เซลล์ตับ และยังพบว่าสารเซซามินยังสามารถกระตุ้นการทำงานของโปรตีน  Adenosine binding cassette G 5/8 (ABCG 5/8) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดได้ นอกจากนี้ยังพบว่าสารเซซามินยังเพิ่มการขับคอเลสเตอรอลออกจากเซลล์เม็ดเลือดขาวแมโครฟาจซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรหลอดเลือดแดงแข็งอีกด้วย

           ผลของการรับประทานสารเซซามินจากงา ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด และสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ และอคิโพเนคตินในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีการศึกษาวิจัยทั้งแบบสุ่ม และปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 48 คน ที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี และมีดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 30 กก./ตรม. โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดเซซามิน ชนิดแคปซูลขนาด 200 มก./วัน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม ให้รับประทานยาหลอกในขนาด 200 มก./วัน เช่นกัน นาน 8 สัปดาห์ และทำการเจาะเลือดก่อน และหลังการศึกษาเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar), hemoglobinA1c, อินซูลิน, สารที่ก่อให่เกิดการอักเสบต่างๆ เช่น tumor necrosis factor-alpha (TNF-α), interleukin-6 (IL-6), high-sensitivity C-reactive และอดิโพเนคติน (เป็นฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในการเมตบอลิสมของน้ำตาลและกรดไขมันในเลือด) พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดเซซามิน มีระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar), hemoglobinA1c, อินซูลิน, สารที่ก่อให่เกิดการอักเสบต่างๆ เช่น tumor necrosis factor-alpha (TNF-α), interleukin-6 (IL-6), high-sensitivity C-reactive ลดลง และระดับและอดิโพเนคตินมีค่าเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

โครงสร้างเซซามิน

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สำหรับผู้ที่ต้องการได้รับ เซซามินโดยการรับประทานงาควรระมัดระวังในผู้ที่แพ้งา และพืชตระกูลงา รวมถึงไม่ควรรับประทานมากจนเกินไปเพราะมีแคลอรีสูง (100 กรัม ให้พลังงาน 700 แคลอรี่) และผู้ที่เป็นโรค Wilsam’s disease ไม่ควรรับประทานงาดำ เพราะมีปริมาณทองแดง ค่อนข้างสูง ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ร่างกายขับทองแดงค่อนข้างยาก และจะทำให้มีอาการข้างเคียงได้ นอกจากนี้ถึงแม้ว่าจะมีรายงานการศึกษาวิจัยต่างๆ สนับสนุนว่า เซซามินมีประโยชน์กับร่างกายหลายๆ ด้าน แต่ในการรับประทานก็ควรระมัดระวังในการใช้ เพราะยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์ และขนาดการรับประทาน หรือปริมาณที่ควรได้รับต่อวันอย่างแน่ชัด ดังนั้นในผู้ป่วยโรคต่างๆ ก่อนจะรับประทานเซซามินในรูปแบบเมล็ดงาต่างๆ (นอกเหนือจากรับประทานในรูปแบบเมล็ดงาต่างๆ) ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง

เอกสารอ้างอิง เซซามิน
  1. Penalvo, J.L., S.M. Heinonen, A.M. Aura and H. Adlercreutz. 2005. Dietary sesamin is converted to enterolactone in humans. J. Nutr. 135: 1056-1062
  2. กัษมาพร  ปัญต๊ะบุตร.งาธัญพืชเพื่อสุขภาพ.วารสารอาหารปีที่ 42.ฉบับที่ 4.ตุลาคม-ธันวาคม 2555. หน้า 297-301
  3. ฤทธิ์ปกป้องกระดูกอ่อน และรักษาอาการข้ออักเสบของสารเซซามินที่ได้จากงา.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  4. อิทธิพล ชีวภูเขียว,ปรัญดา แข็งขัน.ความแปรปรวนของปริมาณเซซามิน และฤทธิ์ต่อต้านออกซิเดชันของงา 22 พันธุ์.วารสารแก่นเกษตรปีที่ 43. ฉบับที่ 3 พฤษภาคม-มิถุนายน 2561. หน้า 571-580
  5. ชัยสิทธิ์ สิทธิเวช.ปริมาณสารสเตอรอล และสตานอลในเมล็ดงา (Sosamun indicumL.) ที่ปลูกในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคามปีที่ 35. ฉบับที่ 1 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2559. หน้า7 5-82
  6. ผลของการรับประทานสารเซซามินจากงาต่อระดับน้ำตาล สารที่ทำให้เกิดการอักเสบ และอดิโพเนคตินในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  7. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา เรื่องรายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2560
  8. ศิริรัตน์ กริชจนรัช และนฤทัย วรสถิตย์.2549.งา...อาหารสุขภาพ.วารสารกสิกร ปีที่ 79 ฉบับที่ 3 (พ.ค.-มิ.ย.)
  9. Liu N, Wu C, Sun L, Zhen J, Guo P. Sesamin enhance cholesterol effl ux in RAW264.7 macrophages. Molecules 2014 Jun 6;19(6):7516-7527
  10. Nakai, M.;Harada,M.;Nakahara, K;Akimoto K;Shibata H;Miki W.;Kiso,Y.novel.2003.antioxiidative metaboliles in rat liver with ingested Sesamin J Agric Food Chem 51:1666-70
  1. Lde T., Kushiro.,M., Takahashi, Y., Shinohara, K., Fukuda, N.,& Sirato-Yasumoto.S.2003 Sesamin. A sesame lignin,as a potent serum lipid-hwering food component Japan Agricuttural Research Quarterty,37.151-158.
  2. Pietinen, P., K. Stumpf, S. Mannisto, V. Kataja, M. Uusitupa and H. Adlercreutz. 2001. Serum enterolactone and risk of breast cancer: a case-control study in eastern Finland. Cancer Epidemiol. Biomark. Prev. 10: 339-344
  3. ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. 2547. เซซามิน กับสุขภาพ (Sesamin and health). วารสารโภชนบำบัด. 15: 98-105
  4. Nakano, D.,ltoh C., Takacka. M;. Kiso Y., Tamaka T., Matsumura,Y.biol .2002.Artihypertensive effect of  Sesamin IV .lnhibition of vascular superoxide produruction by sesamin Phamin Pharm Bull.25(9):1247-9
  5. Ide T, Ashakumary L, Takahashi Y, Kushiro M, Fukuda N, Sugano M. Sesamin, a sesame lignan, decreases fatty acid synthesis in rat liver accompanying the down-regulation of sterol regulatory element binding protein-1. Biochim Biophys Acta 2001 Nov 30;1534(1): 1-13
  6. Vanharanta, M., S. Voutilainen, T.H. Rissanen, H. Adlercreutz and J.T. Salonen. 2003. Risk of cardiovascular disease-related and allcause death according to serum concentrations of enterolactone: Kuopio Ischaemic Heart Disease Risk Factor Study. Arch. Intern. Med. 163: 1099–1104.
  7. Bodowsld.P.1950.Sesame oil lll Antioxidant properties of sesamol Joumal of Americam oil Chemists Socisty 27:264-267