คลอไรด์

คลอไรด์

ชื่อสามัญ Chloride                                                                                         

ประเภทและข้อแตกต่างคลอไรด์

คลอไรด์ เป็นไอคอนของคลอรีนเป็นธาตุที่มีประจุลบ (anion) ที่มีมากที่สุดในร่างกาย และกระจายอยู่ในส่วนของของเหลงภายนอกเซลล์ (Extracellular anion) คือ ประมาณ 103 mmol/L ของประจุไฟฟ้าลบทั้งหมด (154mmol/L) ส่วนใน RBC จะมีคลอไรด์ประมาณ 49-54 mmol/L และใน Whole blood มีคลอไรด์ประมาณ 77-87 mmol/L และในเนื้อเยื่อทั่วๆ ไป จะมีคลอไรด์ประมาณ 1 mmol/L ซึ่งด้วยเหตุนี้คลอไรด์จึงจัดเป็นธาตุที่มีความสำคัญมาก โดยจะเป็นตัวควบคุมความสมดุลของน้ำ และอิเล็กโทรไลต์ทั้งในเซลล์ และน้ำนอกเซลล์ ควบคุมปริมาณเลือด ความดันโลหิต และความเป็นกรดด่าง มักจะโซเดียม โพแทสเซียม และไนคาร์บอเนตเสมอ

            สำหรับประเภทของคลอไรด์ นั้น มีมากมายหลาย และชนิดขึ้นอยู่กับธาตุอีกชนิดหนึ่งที่จะมาจับกับธาตุคลอรีนที่เป็นธาตุต้นกำเนิดของคลอไรด์ ซึ่งตัวอย่างสารประกอบคลอไรด์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) แคลเซียม คลอไรด์ (CaCI2) ไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCI) และคาร์ออนเตตระคลอด์ (CCI4) เป็นต้น

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาคลอไรด์

สำหรับคลอไรด์ ที่ร่างกายได้รับมักจะได้รับจากการบริโภคเป็นส่วนใหญ่ โดยจะอยู่ในรูปของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (sodloride) หรือ เกลือแกงที่เราใช้ประกอบอาหาร และร่างกายยังได้รับคลอไรด์จากแหล่งน้ำธรรมชาติอีกด้วย ดังนั้นแหล่งอาหารของคลอไรด์จึงเป็นแหล่งเดียวกับโซเดียซึ่งอาหารที่ปรุงสำเร็จจะเป็นแหล่งของคลอไรด์ที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าพบคลอไรด์ในผัก และอาหารหลายชนิด เช่น มะเขือเทศ มะกอก ผักกาดหอม ผักชีฝรั่ง และสาหร่ายทะเล

ปริมาณที่ควรได้รับคลอไรด์

ปริมาณคลอไรด์อ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับกลุ่มบุคคลวัยต่างๆ

คลอไรด์ 

           ทั้งนี้ในภาวะปกติจะไม่พบการขาดคลอไรด์จากการบริโภคอาหาร แต่อาจจะพบได้บ้างในเด็กทารกที่ได้รับคลอไรด์จากน้ำนมไม่เพียงพอ และโดยทั่วไปในผู้ใหญ่เพศชาย และเพศหญิงจะได้รับปริมาณคลอไรด์ในอาหารประมาณ 7.8-11.8 และ 5.8-7.8 กรัมต่อวัน ตามลำดับ ส่วนการสูญเสียคลอไรด์ มักเกิดร่วมกับการสูญเสียโซเดียม เช่น อาเจียน การเสียเหงื่อมาก โรคอุจจาระรวงเรื้อรัง การเกิดบาดแผล และโรคไต

ประโยชน์และโทษคลอไรด์ 

คลอไรด์มีความสำคัญในการช่วยรักษาปริมาณน้ำ และสารอีเล็กโทรไลค์ทั้งหมดในร่างกายให้อยู่ในสภาพสมดุล โดยจะมีบทบาทสร้างสภาวะความสมดุลหลักๆ 4 ประการ คือ

  • รักษาสมดุลระหว่างของเหลวภายใน และภายนอกเซลล์
  • รักษาปริมาตรของน้ำเลือดทั้งระบบให้มีขนาดพอดีๆ
  • รักษาความดันเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
  • รักษาระดับความเป็นกรดด่าง (pH)

           กล่าว คือ คลอไรด์ช่วยให้เกิดสภาพสมดุลของน้ำ และออสโมลาริตีภายในร่างกาย โดยอาศัยการทำงานร่วมกับโซเดียมโดยคลอไรด์จะถูกดูดซึมร่วมไปกับโซเดียมทั้งที่ไต และทางเดินอาหาร ยังมีความสำคัญในการควบคุมสมดุล กรด-ด่าง ในเลือดโดยทำงานตรงกันข้ามกับไบคาร์บอเนตนอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ (buffer) ของน้ำภายในเซลล์ โดยเมื่อเกิดมีไฮโดรเจนไอออน (H+) เพิ่มขึ้นในน้ำภายนอกเซลล์ คลอไรด์ ไอออน (CI-) จะเข้าไปในเซลล์เพื่อแลกที่กับไบคาร์บอเนต (HCO3) ไบคาร์บอเนตที่ออกมาจากเซลล์ จะรวมตัวกับไฮโดรเจนไอออน (H+) เกิดเป็นกรดคาร์บอนิก (H2 CO 3) ซึ่งเป็นกรดอ่อน และแตกตัวเป็นน้ำ (H2 O) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นผลให้ความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน (H+) ลดลง อีกทั้งคลอไรด์ ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และน้ำไขสันหลังอีกด้วย

สำหรับค่าปกติของคลอไรด์ในเลือดและในปัสสาวะที่ใช้ในทางการแพทย์นั้นพบว่า มีค่าดังนี้

 คลอไรด์

           ในส่วนของภาวะผิดปกติของคลอไรด์ในร่างกายนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาวะคลอไรด์ในเลือดต่ำ ซึ่งเกิดขึ้นจากร่างกายสูญเสียคลอไรด์ในรูปแบบต่างๆ อาทิ การสูญเสียจากทางเดินอาหาร เช่น ผู้ที่มีอาการอาเจียน อุจจาระร่วงเรื้อรัง (congenital chloride diarrhea) การได้รับอาหารทางสายยาง (nasogastric tube) การสูญเสียทางผิวหนัง เช่น การเสียเหงื่อมาก ผู้ที่เป็นโรค cystic fibrosis หรือ สูญเสียคลอไรด์ จากโรคทางไต เช่น โรคไตเรื้อรังการได้รับยาขับปัสสาวะ หรือ โรคทางพันธุกรรม Bartter’s syndrome ซึ่งจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง และเป็นตะคริว มือสั่น หายใจตื้น และเร็ว อันเนื่องมาจากเลือดเป็นด่าง หากไม่ได้รับการแก้ไขจนเกิดภาวะคลอไรด์ต่ำรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการชักเกร็งหัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจหยุดหายใจได้

           และอีกประเภทหนึ่ง คือ ภาวะคลอไรด์ในเลือดสูง (hyperchloremia) ซึ่งมักจะเกิดร่วมกับภาวะเลือดเป็นกรด โดยมีสาเหตุเกิดจากอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง การบริโภคสารประกอบคลอไรด์ต่างๆ มากเกินไป เช่น เกลือ (sodium chloride) แคลเซียมคลอไรด์ หรือ แอมโมเนียมคลอไรด์ หรือ การใช้ยาบางประเภท เช่น อะเซตาโซลาไมด์ (acetazolamide) และไตรแอมเตอรีน (triamterene) โดยภาวะคลอไรด์ในเลือดสูงจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียกล้ามเนื้ออ่อนแรง สับสน ปวดศีรษะ เลือดเป็นกรด และความไวของรีเฟล็กซ์ลดลง

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องคลอไรด์

มีผลการศึกษาวิจัยถึงการดูดซึม และการขับถ่าย คลอไรด์ในร่างกาย พบว่า เมื่อร่างกายได้รับคลอไรด์เข้าไปแล้ว จะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กส่วนต้น บริเวณปลายของท่อไตส่วนต้นพร้อมกับโซเดียม การดูดซึมต้องใช้พลังงาน (active transport) ส่วนการขับถ่ายออกจะถูกขับออกทางเหงื่ออุจจาระ และปัสสาวะร่วมกบโซเดียม และโพแทสเซียมไออน การควบคุมคลอไรด์ ต้องอาศัยฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต และต่อมใต้สมองกลีบหน้า เช่น เดียวกับโซเดียม และโพแทสเซียมเป็นส่วนประกอบของกรดเกลือในน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร เป็น cofactor ของเอนไซม์ amylase มีบทบาทเกี่ยวกับเรื่อง chloride shift ในการแลกเปลี่ยน CO2 ที่ปอด และเนื้อเยื่อ และมีบทบาทร่วมกับ Sodium โดยทำหน้าที่เกี่ยวกับการกระจายของน้ำในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเกี่ยวกับแรงดันออสโมติค ช่วยในการรักษาสมดุลของประจุไฟฟ้าลบ และประจุไฟฟ้าบวกในภาวะปกติของประจุไฟฟ้าในของเหลวภายนอกเซลล์

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ดังที่กล่าวมาแล้วว่าในผู้ที่มีสุขภาพดีในภาวะปกติจะไม่พบการขาดคลอไรด์ และแหล่งหลักของคลอไรด์ที่ร่างกายได้รับจะอยู่ในรูปของเกลือแดง (Sodium Chloride) ที่ใช้ประกอบอาหารรับประทาน ดังนั้นถึงควรระมัดระวังในการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบจากเกลือเพื่อป้องกันการเกิดภาวะคลอไรด์ในเลือดสูง เช่น เดียวกันกับโซเดียม

เอกสารอ้างอิง คลอไรด์
  1. วันดี วราวิทย์ บรรณาธิการ อิเล็กโทรลัยต์ในเด็ก กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ 2523
  2. จีรศักดิ์นพคุณ. (2527). สรีรวิทยาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  3. คณะกรรมการ และคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน สำหรับคนไทย พ.ศ.2563. กรุงเทพมหานคร ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี.โปรเกรสชีพ 2563
  4. สภาจารย์ภาคสรีรวิทยาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. (2532). สรีรวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ : หจก.ฤทธิศรีการพิมพ์.
  5. Paradiso C. Chloride: normal and altered balance. Lippincott’s review series: fluids and electrolytes. Philadelphia: JB Lippincott; 1995:71-3.
  6. Powers F. The role of chloride in acid-base balance. J Intraven Nurs 1999;22:286-91.
  7. Kurtz TW, Al-Bander Al, Morris RC. “Salt sensitive” essential hypertension in men. NEJM 1987;317:1043-8. Story DA. Hyperchloraemic acidosis: another misnomer? Crit Care Resusc 2004;6:188-92.
  8. Grossman H, Duggan E, McCamman S, Welchert E, Hellerstein S. The dietary chloride deficiency syndrome. Pediatrics 1980;66:366-74.
  9. Berend K, Hulsteijn L, Gans R. Chloride: the queen of electrolytes?. Eur J Intern Med 2012;23:203-11
  10. Whitescarver SA, Holtzclaw BJ, Downs JH, Co OH, Sower JR, Kotchen TA. Effect of dietary chloride on salt-sensitive and renin-dependent hypertension. Hypertension 1986;8:56-61.
  11. Food and Nutrition Board, Institute of Medicine(U.S.). Dietary Reference intakes for Water, Potassium, Sodium, Chloride and Sulfate. Washington, D.C.: The National Academies Press; 2005. Available from https//www.nap.edu
  12. Food and Nutrition Board, National Research Council. Recommended dietary allowance, 10th ed. Washington, D.C.: National Academy Press; 1989