โมลิบดีนัม

โมลิบดีนัม

ชื่อสามัญ Molybdenum

ประเภทและข้อแตกต่างสารโมลิบดีนัม

สารโมลิบดีนัมเป็นธาตุโลหะมีสัญลักษณ์ คือ Mo และอยู่ในกลุ่ม 6A ในตารางธาตุ : มีวาเลนซี 2 ถึง 6 สามารถแสดงคุณสมบัติเป็นได้ทั้งกรด และด่าง โดยที่วาเลนซีต่ำจะแสดงความเป็นกรด และที่วาเลนซีสูงจะแสดงความเป็นด่าง สารประกอบที่เสถียรมากที่สุดคือ สารประกอบของ Mo (VI) ชื่อโมลิบดีนัม มาจากภาษากรัก คือ molybdos ที่แปลว่า lead หรือ ตะกั่ว เพราะมีลักษณะเหมือนตะกั่วมาก ต่อมาในปี ค.ศ.1816 จึงได้มีการตั้งชื่อธาตุนี้ว่า molybdenum สำหรับการค้นพบโมลิบดีนัม นั้น ในปี ค.ศ.1778 Carl Welheim Scheele นักเคมีชาวสวีเดน ได้ค้นพบโมลิบดีนัมในแร่ที่ชื่อว่า molybdenite โดยเขาสามารถแสดงให้เห็นว่า เมื่อนำแร่นี้มาทำปฏิกิริยากับกรดไนตริกจะเกิดสารสีขาวพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งเขาเรียกว่าเป็น “peculiar white earth” ซึ่งมีสมบัติเป็นกรด และเขาเรียกสารนี้ว่า กรดโมลิบดิก (molybdic acid) นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อนำแร่นี้มาเผาจะเกิดควันซัลฟุรัสขึ้น จึงทำให้เขาเชื่อว่าแร่โมลิบดีไนต์ คือ ซัลไฟด์ของโมลิบดีนัม และต่อมาในปี ค.ศ.1781 Peter Jacob Hjelm จึงสามารถแยกโลหะโมลิบดีนัมบริสุทธิ์จากแร่ molybdenite ได้สำเร็จ
           ทั้งนี้ธาตุโมลิบดีนัมในธรรมชาติจะไม่พบในรูปธาตุอิสระ แต่จะพบในรูปของสารประกอบแร่โมลิบดีไนต์ (Mos2) เป็นแร่ที่สำคัญที่สุดสำหรับธาตุนี้ และโมลิบดีนัมเกือบทั้งหมดมีแหล่งมาจากแร่นี้ นอกจากนี้โมลิบดีนัมยังสามารถเกิดในรูปของ molybdate ร่วมกับธาตุอื่นๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม และโคบอลด์ โดยจะเป็นแร่ belonosite (MgMoO4) molybdite (FeMoo4) powellite (caMoO4) และ pateraite (CoMoO4) ความสำคัญอีกด้วย และสำหรับสมบัติทางกายภาพของโมลิบดีนัม มีดังนี้

สมบัติทางกายภาพของโมลิบดีนัม

ตารางวิจัยโมลิบดีนัม 

โมลิบดีนัม

           ส่วนในร่างกายมนุษย์จะพบธาตุโมลิบดีนัม ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่โมลิบดีนัมก็เป็นธาตุที่สำคัญที่มีส่วนช่วยที่ทำหน้าที่เป็นโดแฟกเตอร์ของร่างกาย รวมถึงยังช่วยในกระบวนการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และไขมันอีกด้วย ส่วนประเภทของโมลิบดีนัมนั้น หากนับเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการของร่างกายมนุษย์แล้วนั้น จะมีเพียงประเภทเดียว คือ รูปแบบของโมลิบดีนัมอิออน (MoO2-4)

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาสารโมลิบดีนัม

โมลิบดีนัมมีมากในพืชประเภทถั่ว ถั่วขาว ถั่วเหลือง ถั่วแระตัน ธัญพืช นม ผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องในสัตว์ ยีส รวมถึงผลไม้บางชนิด โดยผลไม้ที่พบมากคือกล้วย กล้วยน้ำว้า
ทั้งนี้ปริมาณโมลิบดินัมที่ได้รับจากอาหารขึ้นกับปริมาณของโมลิบดินัมที่มีอยู่ในอาหาร ซึ่งพบว่าโมลิบดินัมในอาหารจะถูกดูดซึมได้ 40-100% เมื่อถูกสร้างเป็น Molybdopterin แล้วจะถูกเก็บไว้ที่ตับ ไต และกระดูก ส่วนโมลิบดีนัม ส่วนที่เกินจากที่ร่างกายต้องการจะถูกขับออกทางไต

โมลิบดีนัม

ปริมาณที่ควรได้รับสารโมลิบดีนัม

สำหรับค่าเฉลี่ยในปริมาณการบริโภคโมลิบดีนัม ในแต่ละวันของผู้ใหญ่ชาวยุโรป พบว่าในผู้หญิงเท่ากับ 58 ไมโครกรัมต่อวัน ผู้ชาย 74 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับการคำนวณปริมาณโมลิบดินัมที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวันของไทย จะใช้การคำนวณตาม lsometric scaling จากน้ำหนักดังนี้

ปริมาณโมลิบดินัมที่พอเพียงในแต่ละวัน (Adequate lntake)

 โมลิบดีนัม

           นอกจากนี้ยังมีการคำนวณปริมารโมลิบดินัม ที่ควรได้รับประจำวันของคนไทยโดยจำแนกตามกลุ่มบุคคลวัยต่างๆ ได้ดังนี้

ปริมาณโมลิบดินัมอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับกลุ่มบุคคลวัยต่างๆ

โมลิบดีนัม 

ประโยชน์และโทษสารโมลิบดีนัม

โมลิบดินัมทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ของเอนไซม์ในร่างกาย ได้แก่ sulphite oxidase, oxidase และ aldehyde oxidase โดยเอนไซม์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับ catabolism ของกรดอะมิโนที่มีกำมะถัน เป็นส่วนประกอบ และสารประเภท heterocyclic compound รวมทั้งเบสของ DNA ทั้ง purine และ pyrimidine โดยที่เอนไซม์ sulphite oxidase ทำหน้าที่เปลี่ยน sulphite ให้เป็น sulfate ก่อนที่จะถูกนำไปสร้างกรดอะมิโน methionine และ cysteine เอนไซม์ xanthine oxidase ทำหน้าที่เปลี่ยน hypoxanthine ให้เป็น xanthine และเปลี่ยนต่อไปเป็นกรดยูริค ซึ่งเป็นแหล่งสร้างสารอนุมูลอิสระในเลือด และยังมีส่วนช่วยในการนำธาตุเหล็กออกจากตับ ส่วนเอนไซม์ aldehyde oxidase ทำหน้าที่ออกซิไดซ์และกำจัดพิษใน purine, pyrimidine, pteridine และสารจำพวกเดียวกัน อีกทั้งยังมีความสำคัญกับปฏิกิริยาการออกซิเดชันของไขมัน ซึ่งจะช่วยในการสลายไขมัน นอกจากนี้นั้นโมลิบดินัมยังมีความเกี่ยวข้องกับการปกป้อง receptor ของ glucocorticoid ซึ่งเป็นสเตอรอยด์ฮอร์โมนที่สำคัญในร่างกายอีกด้วย
           สำหรับโทษของโมลิบดินัมนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาวะขาดโมลิบดินัมซึ่งโดยทั่วไปไม่พบการขาดธาตุโมลินดินัม ในคน แต่ผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายยางเป็นเวลานาน อาจมีการขาดโมลิบดินัมได้ รวมถึงผู้ที่มีพันธุกรรมผิดปกติที่ไม่สามารถสร้าง Molybdopterin ได้ดังนั้น เอนไซม์ที่ต้องพึ่งโมลิดินัมจึงไม่สามารถทำงานได้ ทำให้มี sulfite, hypoxanthine, xanthine คั่งในเลือด แต่ระดับกรดยูริก และซัลเฟตในเลือดต่ำมาก โดยผู้ป่วยจะแสดงอาการตั้งแต่วันแรกที่คลอด โดยจะชักไม่หยุด มีเลนส์ตาขุ่น ปัญญาอ่อนรุนแรง ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตในเวลาไม่นาน ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือ ภาวะการที่ได้รับโมลิบดีนัมมากเกินไป โดยมีรายงานว่าการได้รับโมลิบดินัมจากอาหารสูงถึง 10-15 มิลลิกรัมต่อวัน ทำให้มีอาการข้างเคียงคล้ายโรคเกาต์ คือ ทำให้กรดยูริกและ ceruloplasmin ในเลือดสูงขึ้น เกิดอาการ ปวดข้อ ข้ออักเสบเฉียบพลัน ปวดท้อง ตับอักเสบ บางรายมีอาการคลุ้มคลั่ง ประสาทหลอน เสียการรับรู้ และซัก (มีรายงานในคนงานเหมือนแร่โมลิบดีนัม และพวกที่รับประทานโมลิบดีนัม เสริมอาหารในขนานตั้งแต่ 300 ไมโครกรัม/วัน ขึ้นไป) นอกจากนี้ยังมีภาวะไตขับทองแดงออกมาทางปัสสาวะมากขึ้นและปริมาณทองแดงในร่างกายลดลงร่วมด้วย

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องสารโมลิบดีนัม

มีผลการศึกษาวิจัยการดูดซึมโมลิบดินัมของร่างกายมนุษย์พบว่า โมลิบดินัมในร่างกายจะถูกดูดซึมในรูปของเกลือโซเดียม และแอมโมเนียโมลิบเดต ซึ่งปริมาณที่ถูกดูดซึม และขับถ่ายจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปริมาณของซัลเฟตที่มีอยู่ในอาหาร เนื่องจากซัลเฟตจะมีส่วนช่วยในการการขับถ่ายปัสสาวะพวกโมลิบดินัม ส่วนโมลิบดินัมที่ถูกดูดซึมสู่ร่างกายจะถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกายไว้ที่ตับ ไต กระดูก และในส่วนที่เกินจากความต้องการจะถูกขับออกทางไตจนหมดภายในเวลาประมาณ 5 วัน
         นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจับพว่าค่าปกติของระดับโมลิบดีนัม ในเลือด คือ 0.6-0.4 ng/mL และในซีรั่มเท่ากับ 0.3-2.0 ng/mL ส่วนในปัสสาวะโดยเฉลี่ยเท่ากับ 69 ng/mL และยังมีผลการศึกษาวิจัยด้านพิษของโมลิบดินัมในสัตว์ทดลองพบว่า พิษของโมลิบดินัมสามารถรักษาได้ด้วยการให้ทองแดง(copper) เพราะโมลิบดินัมจะขับทองแดงในทางเดินอาหารไม่ให้ดูดซึม และยังเพิ่มการขับทองแดงออกทางปัสสาวะ แต่สัตว์ทดลองขาดทองแด ดังนั้นการให้ทองแดงจึงช่วยให้อาการทุกอย่างดีขึ้น แต่ทั้งนี้การศึกษาในคนยังไม่ยืนยันวิธีนี้และยังไม่มีวีการรักษาจำเพาะสำหรับการรักษาพิษของโมลิบดินัม

โครงสร้างสารโมลิบดีนัม 

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

⦁ ภาวการณ์ขาดโมลิบดินัมพบได้น้อยมากหรือแทบไม่พบเลย โดยเฉพาะในคนที่ใช้ชีวิตประจำวันเป็นปกติรับประทานอาหารได้เอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโมลิบดินัม แต่อย่างใด
⦁ โมลิบดินัมในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีหลายรูปแบบ เช่น molybdenum chlonde, ammonium molybdate, molybdenum glycinate, sodium molybdate และโมลิบดินัมที่ตรึงกับกรดอะมิโน แต่ไม่แนะนำให้ซื้อรับประทานเอง เพราะผู้ที่ใช้ต้องเป็นผู้ที่มีภาวะขาดโมลิบดินัมเท่านั้น และควรได้รับการสั่งใช้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหากซื้อมารับประทานเองอาจทำให้เกิดพิษของโมลิบดินัม
⦁ ปริมาณสูงสุดของโมลิบดีนัม ที่รับได้ในแต่ละวัน {Tolerable lntake Level (UL)} คือ 0.6 มิลลิกรัมต่อวัน

เอกสารอ้างอิง โมลิบดินัม

⦁ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม, "แร่" โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์, หน้า 72-73,2517
⦁ คณะกรรมการ และคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน สำหรับคนไทย พ.ศ.2563. กรุงเทพมหานคร ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี.โปรเกรสชีพ 2563
⦁ ดร.ชัยรัตน์ เจมวานิชย์, "สารานุกรมธาตุ", สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, หน้า 356-364, 2525
⦁ Elwell,W.T.,and Wood, D.F. ,1971,Analytical chemistry of molybdenum and tungsten (1 st ed):Oxgord,Pergamon Press,277p.
⦁ Lindemann, A.; Blumm, J. (2009). Measurement of the Thermophysical Properties of Pure Molybdenum. 3. 17th Plansee Seminar.
⦁ EFSA NDA Panel (EFSA Panel on Dietetic Products, Nutrition and Allergies),2013.Scientific Opinion on Dietary Reference Value for manganese, EFSA Joumal 2013;11(8):3333,35pp.