น้ำมันปลา

น้ำมันปลา

ชื่อสามัญ Fish oil

ประเภทและข้อแตกต่างน้ำมันปลา

“น้ำมันปลา” (fish oil) ในที่น้ำมิได้ หมายถึง “น้ำมันตับปลา” (fish liver oil) ที่เรารู้จักกันมานานแล้ว แต่หมายถึง น้ำมันสกัดได้จากไขมันในส่วนของเนื้อปลา, หนังปลา และหางของปลาทะเลน้ำลึก โดยเฉพาะในทะเลเขตหนาว เช่น ปลาแมคเคอเรล แอนโชวี เฮอริงทูนาแมนฮาเดน และเซลมอน เป็นต้น

           โดยในน้ำมันปลา จะอุดมไปด้วยกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid) ซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้เอง กรดไขมันชนิดนี้เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturatedfatty acid ; PUFA) ที่มีชื่อเรียกกว่า โอเมก้า-3 (OMEGA-3) ซึ่งกลุ่มโอเมก้า-3 นี้ ยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด สำคัญที่พบในน้ำมันปลา ได้แก้กรดโดโคซะเฮกซะอิโนอิก (Docosahexaenoic acid) หรือ ดีเอชเอ (DHA) กรดไอโคซาเพนตะอิโนอกิ (Eicosapentaenoic acid) หรือ อีพีเอ (EPA)

           สำหรับประเภทของน้ำมันปลา นั้นในปัจจุบันในปัจจุบันมีเพียงประเภทเดียวแต่หากจะมีความแตกต่างดังนั้น ก็จะมีความแตกต่างกัน แต่แหล่งของวัตถุดิบที่นำมาสกัดเป็นน้ำมันปลาเท่านั้น ซึ่งไม่ค่อยส่งผลกับปริมาณ และคุณประโยชน์เท่าไหร่นัก

โครงสร้างน้ำมันปลา

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาน้ำมันปลา

ดังที่กล่าวไปแล้วนั้นว่า น้ำมันปลาสกัด มาจากไขมันเป็นส่วนของหนังปลา พุงปลา เนื้อปลา และหางของปลาทะเลน้ำลึกในทะเลเขตหนาว เช่น ปลาแซลมอน ปลาแอนโชวี ปลาแมนฮาเดน ปลาเฮอริ่ง ปลาทูนา และปลาแมคเคอเรล เป็นต้น แต่ปลาแต่ละชนิดที่กล่าวมาเมื่อนำมาสกัดเป็นน้ำมันปลา ก็มีกรดไขมันในกลุ่ม โอเมกา 3 ไม่เท่ากัน ดังตาราง

องค์ประกอบของกรดไขมันที่พบในน้ำมันจากทะเลปริมาณ (ร้อยละ) ของกรดไขมัน

น้ำมันปลา

กรดไขมันอิ่มตัว

 

กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหนึ่งพันธะคู่กลุ่ม (t)-3

Α-Linolenic acid

EPA

DHA

Cod liver

18

51

0.7

9.0

9.5

Herring

19

60

0.6

7.1

4.3

Menhaden

34

32

1.0

12.7

8.0

Salmon

24

40

1.0

8.0

11.0

Pilchard

25

29

-

17

9.0

Mackerel

21

43

-

11

11

Anchovy

28

29

-

17

9

Sardine

24

34

-

15

10

            สำหรับการผลิต สกัดน้ำมันปลา นั้นต้องเป็นปลาธรรมชาติที่ได้จากปลาที่อยู่ในแหล่งน้ำเย็น มาจากแหล่งน้ำที่สะอาดที่ไม่มีการป่นเปื้อนของโลหะหนัก เช่น ปรอท และตะกั่ว และจะต้องผลิตในรูปน้ำมันปลาบริสุทธิ์ โดยใช้น้ำปลาดิบ (crude fish oil) มาผ่านขั้นตอนต่างๆ เพื่อทำให้บริสุทธิ์ เช่น การฟอกสี (bleaching) กำจัดกลิ่น (deodorization) การแยกกรดไขมันอิ่มตัวออกด้วยกระบวนการ winterization ในรูปของเหลวข้น หรือ บรรจุในแคปซูลซึ่งเป็นการผลิตสกัดในรูปแบบอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ

น้ำมันปลา

ปริมาณที่ควรได้รับน้ำมันปลา

สำหรับคำแนะนำการรับประทานน้ำมันปลา ในคนปกตินั้น หากเป็นการบริโภค เช่น ปลาทะเลเป็นอาหาร ควรรับประทานปลาทะเล (เนื้อปลา, พุงปลา, หางปลา) ประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือ ประมาณ 240 กรัมต่อสัปดาห์ แต่หากบริโภคน้ำมันปลาในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรรับประทานในปริมาณที่แพทย์ หรือ เภสัชกรแนะนำแต่มีอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าในน้ำมัน ปลาควรจะมีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่ 30% และมี EPA ที่ 18% และ DHA12% เช่น น้ำมันปลา 1 แคปซูล น้ำหนัก 1 กรัม ควรจะมี EPA 180 มิลลิกรัม และ DHA 120 มิลลิกรัม และในการใช้น้ำมันปลา ในรูปแบบอาหารเสริมควร อยู่ที่ 3-5 กรัมต่อวัน และการรับประทานที่ดีที่สุด คือ รับประทานพร้อมอาหาร ในขณะที่ US National Institutes of Health แนะนำให้ผู้ใหญ่ได้รับ EPA และ DHA 650 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งเทียบเท่าน้ำมันปลา 2,000-3,000 มิลลิกรัม/วัน ส่วนองค์การอนามัยการอนามัยโลกแนะนำให้บริโภค EPA/DHA 0.3-0.5 กรัม/วัน และ alpha-linolenicacid 0.8-1.1 กรัม/วัน

ประโยชน์และโทษน้ำมันปลา

การใช้ประโยชน์น้ำมันปลามุ่งเน้นไปที่กรดไขมัน (fatty acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย อย่างโอเมกา 3 ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย จึงเชื่อกันว่าการบริโภคน้ำมันปลาอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น สารในกลุ่มกรดไขมัน โอเมก้า 3 ส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุม ระบบการแข็งตัวของเลือด การหดตัวของหลอดเลือด และการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อ ที่อยู่ตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และยังสามารถช่วยลดอาการหลอดเลือดตีบได้ โดยการช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรส์ในเลือดต่ำลง และมีผลต่อการควบคุมการหลั่งสารกลุ่มโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin, PG) ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ลดความดันโลหิต บรรเทาความรุนแรงของหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ป้องกันข้ออักเสบ และภาวะอักเสบอื่นๆ ยังช่วยป้องกัน และรักษาดวงตาได้อีกด้วย สำหรับโทษของน้ำมันปลา นั้นจะเกิดจากการบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งจะก่อให้ผลข้างเคียง เช่น อาจเกิดอาการแพ้ในบางราย โดยจะมีอาการขึ้นผื่นคัน อาหารไม่ย่อย ท้องร่วง คลื่นไส้ โดยเฉพาะคนอ้วน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า เมื่อเรอจะมีกลิ่นคาวปลา และเมื่อใช้ไปนานมากๆ จะมีกลิ่นคาวออกมาจากผิวหนัง

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องน้ำมันปลา

มีผลการศึกษาวิจัยน้ำมันปลอยู่หลายฉบับ เช่น น้ำมันปลาป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด (Ischaemic heart disease) โดยมีรายงานการศึกษาวิจัยระบุว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลามีความเกี่ยวข้องกับการสร้าง และรักษาสมดุลของสารกลุ่มที่เรียกว่า อีโคซานอย (Ecosanoid) ซึ่งประกอบด้วย ลิวโคทริอีน (Leukotiene) โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) และทรอมบอกเซน (Thromboxane) ซึ่งเป็นสารที่มีลักษณะคล้ายฮอร์โมน มีหน้าที่สำคัญทางชีววิทยา ซึ่งสารจำพวกอีโคซานที่สำคัญ และมีการศึกษากันมาแล้ว คือ โพรสตาแกลมนดินไอ-2 (PGI) ทรอมบอกเซนเอ-2 (TXA) และทรอมบอกเซนเอ-3 (TAX) โดย PGI และ TXA สร้างขึ้นจากกรดอะราชิโดนิค (AA) ส่วน TXA สร้างจากอีพีเอ (EPA) ซึ่งสารเหล่านี้มีบทบาทโดยตรงต่อการควบคุมการเกิดหลอดเลือดอุดตัน เม็ดเลือด และเกล็ดในร่างกายเราจะแขวนลอยอยู่อย่างอิสระในน้ำเลือด เมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บเกิดเป็นแผลมีเลือดออก (Bleeding) เซลล์เกล็ดเลือดจะมารวมตัวกัน (Aggregation) ที่ปากแผลและถูกประสานให้แน่นหนาด้วยร่างแหที่เรียกว่า ไฟบริน (Fibrin) เกิดเป็นก้อนแข็งที่เรียกว่า คลอท (Clot) มาอุดปากแผลที่เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดเอาไว้ และการที่เกล็ดเลือดมารวมตัวกันได้นั้นต้องอาศัยสารอีโคซานอยชนิด TXA ดังนั้นหากมีบาดแผลภายนอกร่างกายเกิดขึ้น การเกิดคลอทจะห้ามการสูญเสียเลือดจากบาดแผล และช่วยสมานให้บาดแผลสนิท หายเร็วขึ้น แต่หากมีบาดแผลภายในผนังหลอดเลือดคลอทจะทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดขึ้น ทำให้มีการคั่งของเลือดเป็นผลให้มีการไหลของกระแสเลือดสะดุด ทำให้ไลโปโปรตีน LDL และคลอเลสเตอรอลมาเกาะรวมกับก้อนคลอทขวางทางเดินของกระแสเลือด และเพิ่มการอุดตันได้มากขึ้น

           รักษาโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบ

           ได้มีวิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการเสริมน้ำมันปลา ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์จำนวน 10 งานวิจัยที่มีรูปแบบการศึกษาเป็น randomized placebo-controlled studies ด้วยวิธี meta-analysis พบว่าการเสริมน้ำมันปลาในการรักษาผู้ป่วยโรคอับเสบรูมาทอยด์เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน จะช่วยลดความรุนแรงของโรค และลดระยะเวลาของอาการข้อติดได้ นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมผลการศึกษาจำนวน 13 งานวิจัยที่มีรูปแบบการศึกษาเป็น double-blind randomized trials พบว่าการเสริมน้ำมันปลาในผู้ป่วยในปริมาณ 3.1 กรัมต่อวันโดยเฉลี่ยจะช่วยลดความรุนแรงของอาการของโรคได้ ทั้งยังสามารถปรับลดขนาดของยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs ที่ใช้ลงได้ด้วย ในขณะที่มีผลการศึกษาผลของการให้น้ำมันปลาทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่ผ่าตัดช่องท้องจำนวน 30 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 18-80 ปี การศึกษาเป็นแบบ double-blind randomized placebo-controlled study โดยกลุ่มควบคุม จำนวน 16 คนจะได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำซึ่งประกอบด้วยอิมัลชันไขมันของน้ำมันถั่วเหลือง ส่วนในกลุ่มทดลองจำนวน 14 คน จะได้รับอิมัลซันไขมันที่มีส่วนผสมของน้ำมันปลาร้อยละ 10 ของปริมาณน้ำมันทั้งหมด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ผลโดยทำการแยกเม็ดเลือดขาวจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสอง และเปรียงเทียบปริมาณของสารในกลุ่ม leukotrienes พบว่ากลุ่มทดลองมีปริมาณ LTB มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ

            รักษาโรคสะเกิดเงิน (psoriasis) การให้ EPA ในปริมาณ 1.8 กรัมต่อวันร่วมกับการรักษาด้วยยา etretinate ในขนาด 20 มิลลิกรัม ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคดีขึ้นถึงร้อยละ 75 โดยอาการคัน บวมแดง และการเกิดสะเก็ดของผิวหนังในผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และลดระยะเวลาในการรักษาได้ถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำมันปลา และการเสริมน้ำมันปลาช่วยลดขนาดของยาที่ใช้จากขนาดปกติ คือ 0.75-1 มิลลิกรัม เป็น 0.3-0.5 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันได้ โดยให้ผลการรักษาที่ดีขึ้นด้วย

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. ผู้ที่แพ้ปลาทะเล และอาหารทะเลไม่ควรรับประทานน้ำมันปลา
  2. ผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงผ่าตัด หรือ กำลังคลอดบุตรไม่ควรรับประทานน้ำมันปลา เพราะอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดได้
  3. น้ำมันปลามีอันตรกริยากับยาตัวอื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยาด้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Coumarin, aspirin, warfarin ต้องปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกรก่อนใช้น้ำมันปลา เนื่องจากน้ำมันปลา และยาต้านการแข็งตัวของเลือดจะมีฤทธิ์ในการทำให้เลือดเหลว และอาจจะทำให้เลือดหยุดไหลได้ยาก
  4. การรับประทานน้ำมันปลเป็นระยะเวลาต่อเนื่องควรรับประทานวิตามิน และอาหารเสริมในกลุ่ม ต้านอนุมูลอิสระร่วมด้วย เช่น วิตามินอี วิตามินซี หรือ ฟลาโวนอยด์ เพื่อป้องกันกันความเสี่ยงจากรับประทานกรด EPA จากน้ำมันปลาซึ่งมีโครงสร้างเป็นไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายพันธะคู่ และมีความไวต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นอนุมูลอิสระจำพวก hydroxyl ion และ superoxide anion ซึ่งมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องในการทำลายเยื่อบุเซลล์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของเซลล์เสี่ยงต่อการเกิดเซลล์มะเร็งได้

เอกสารอ้างอิง น้ำมันปลา
  1. ภญ.หทัยพร ศิรินามารัตนะ,ภญ.ผศ.ดร.วรางคณา วารีสน้อยเจริญ.การเสริมน้ำมันปลา ในการรักษาโรคที่เกิดการอักเสบ.วารสารไทยไภษัยชยนิพนธ์ปีที่ 2. ฉบับเดือนกันยายน 2548. หน้า 179-188
  2. ธนิสร์ ปทุมมานนท์.น้ำมันปลา.แหล่งที่มาของกรดไขมันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  3. น้ำมันปลากับประโยชน์ต่อสุขภาพที่ควรรู้.พบแพทย์ดอทคอม (ออนไลน์) .เข้าถึงได้จาก http://www.pobpad.com
  4. Fortin PR, Lew RA, Liang MH , et. Validation of a meta-analysis: the effects of in rheumatois anthritis Joumal of Clinical Epidemiology 1995;48(11):1379-1390.
  5. Simopoulos AP.Omega-3 fatty acid in growth and development. In : Lees RS , Karel (ed) Omega-3 fatty acid in health and disease. Marcel Dekker .1990:115-116.
  6. Bittiner SB,Cartwright l. A doudornized, placebo-placebo-controlled trial of fish oil in psoriasis. The Lancet 1988;331:378-380.
  7. Vanschoonbeek, K., De Maat, M. P. M. and Heemskerk, J. W. M. 2003. Fish oil consumption and reduction of Arterial Disease. The Journal of Nurition, 133(3 ), 657-660.
  8. Koller M, Senkai M, Kermen M, Kemen M, et lmpact of ompact of omega-3 fatty acid enriched TPN on leukotriene synthesis by leukocytes after major surgery. Clinical Nutrition 2003;22(1):59-64.
  9. James MJ,Proudman SM.Dietary n-3 fats as adjunctive  therapy in a prototypic inflammatory disease:issues and obstacles for use in rheumatoid arthritis. Prostaglandins Leukotrienes Essential Fatty Acids 2003:68:399-405
  10. Holub, B. J. 2002. Clinical nutrition : 4. Omega-3 fatty acids in cardiovasicular care. JAMC, 166(5), 608-615.
  11. Wardlaw GM, Lipids.Perspactives in Nutrition 4 edition USA:McGraw-Hill, 1999:120.