ข่อย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ข่อย งานวิจัยและสรรพคุณ 18 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ข่อย
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), ส้มพ่อ (เลย), ตองขะเหน่ (กะเหรี่ยง), สะนาย (เขมร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblus asper Lour.
ชื่อสามัญ Tooth Brush Tree, Siamese Rough Bush
วงศ์ Moraceae

ถิ่นกำเนิดข่อย

ข่อยเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เป็นต้น จากนั้นได้มีการกระจายพันธุ์ไปยังภูมิภาคใกล้เคียงในบริเวณเอเชียใต้ จีนตอนใต้รวมถึงหมู่เกาะในแปซิฟิก ซึ่งในปัจจุบันนี้สามารถพบเห็นข่อย ได้ทั่วไปในหลายประเทศของทวีปเอเชีย เช่น ไทย พม่า อินเดีย ศรลังกา จีน มาเลเซีย ฟิลิปินส์ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย สามารถพบเห็นได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักจะพบได้ตามที่ลุ่มของป่าละเมาะ และป่าเบญจพรรณทั่วไป

ประโยชน์และสรรพคุณข่อย

  1. แก้ฟันผุ
  2. แก้มะเร็ง
  3. แก้พยาธิ
  4. แก้ผื่นคน
  5. แก้ริดสีดวงจมูก
  6. แก้ปวดฟัน
  7. แก้พยาธิผิวหนัง
  8. แก้ท้องร่วง
  9. รักษาแผลเรื้อรัง
  10. รักษากระดูก
  11. ช่วยบำรุงหัวใจ
  12. แก้โรคบิด
  13. แก้อาการปวดท้องขณะมีประจำเดือน
  14. แก้โรคไต
  15. ช่วยขับน้ำนม
  16. แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  17. แก้กษัย
  18. ช่วยบำรุงธาตุเจริญอาหาร

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

รักษาอาการปวดฟัน โดยใช้เปลือกต้นสด ขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือสับเป็นชิ้น ต้มกับน้ำพอสมควร และใส่เกลือให้มีรสเค็ม ต้มนาน 10-15 นาที เอาน้ำขณะที่ยังอุ่น อมบ่อยๆ แก้บิด แก้ท้องเสียแก้ไข้ ดับพิษกระดูกในเส้น แก้พยาธิผิวหนัง โดยใช่เปลือกข่อย ต้มกับน้ำรับประทาน แก้ริดสีดวงจมูก โดยใช้เปลือกต้นมวนสูบ หรือ ขูดเอาเยื่อจากต้นมามวนสูบแทนยาเส้นก็ได้ แก้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน โดยนำใบข่อยมาคั่วแล้วชงกับน้ำร้อนคล้ายชงกับชาเขียว ดื่มก่อนมีประจำเดือน ใช้ถอนพิษยาเบื่อ หรือ อาหารแสลง โดยใช้ใบสดตำผสมข้าวสารแล้วคั้นเอาน้ำดื่มประมาณครึ่งถ้วยชาจะทำให้อาเจียนเอาพิษออกมา ใช้รักษาบาดแผล และโรคผิวหนังโดยใช้เปลือกต้นต้มกับน้ำดื่มแล้วใช้ชะล้างบริเวณที่เป็น


ลักษณะทั่วไปของข่อย
 

ข่อย จัดเป็นไม้พุ่ม หรือ ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มหนาแน่น ลำต้นตรง เปลือกต้นสีเทาอมเขียว เปลือกในสีขาวหนา ผิวเรียบบาง กิ่งค่อนข้างคดงอ แต่กิ่งอ่อนมักมีขนอยู่โดยทั่วไป มียางขาวข้นทั้งลำต้น และกิ่ง ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปวงรีแกมรูปไข่กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร โคนใบมน หรือ แหลมปลายใบแหลมขอบใบมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อยใบหนาหยาบคล้ายกระดาษทรายทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีเขียวอ่อนใบแก่สีเขียวเข้ม ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ เป็นแบบดอกแยกเพศ โดยดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ช่อดอกเพศผู้เป็นกระจุกกลมสีเขียวอ่อน มี 5-15 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 6-10 มิลลิเมตร ก้านช่อดอกยาว 3-15 มิลลิเมตร มีขนเล็กน้อย หรือ เกลี้ยง ก้านสั้น กลิ่นหอม เกสรเพศผู้สีขาว มี 4 อัน ดอกเพศเมียสีขาว หรือ สีเหลืองอ่อนเป็นกระจุก 1-2 ดอกตามซอกใบ และกิ่งกลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ มีก้านดอกยาวกว่าดอกเพศผู้ คงอยู่จนดอกกลายเป็นผล ผลเป็นผลสดมีลักษณะรูปไข่ หรือ กลม สีเขียวอ่อนออกขาวผิวเรียบ เมื่อสุกจะมีสีเหลือง ขนาดผลยาว 8-10 มม. มีเปลือกผลอ่อนนุ่ม เนื้อด้านในมีรสหวานเมล็ดเป็นเมล็ดเดี่ยวรูปร่างกลมแข็ง

ข่อย

การขยายพันธุ์ข่อย

ข่อย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำ แต่การปักชำต้นข่อยนั้น จะนิยมใช้รากมาปักชำมากกว่าใช้กิ่งปักชำ เพราะจะเจริญเติบได้รวดเร็วกว่าส่วนการขยายพันธุ์ข่อยโดยใช้เมล็ดสามารถใช้เมล็ดแก่ที่สุกแล้วจากต้น หรือ เมล็ดที่ร่วงจากต้น นำมาปลูกในกระบะเพาะเมล็ด หรือ กระถางขนาดเล็ดให้เป็นต้นกล้าแล้วจึงนำไปปลูกบริเวณที่ต้องการต่อไป ทั้งนี้ข่อยเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน และทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี แต่การเติบโตจะช้านานหลายปีกว่าจะได้ต้นใหญ่

องค์ประกอบทางเคมี

มีการศึกษาวิจัยด้านพฤกษเคมีในส่วนต่างๆ ของข่อย พบว่า ส่วนต่างๆของข่อยอุดมไปด้วยสารประเภทไกลโคไซด์ (glycosides) ได้แก่ strebloside, strophalloside, kamloside, asperoside, cannodimemoside, strophanolloside, indroside,16-O-acetyl glucogitomethoside, glucokamloside, glucogitodimethoside, sarmethoside และ gluco- strebloside นอกจากนี้ใบข่อย ยังประกอบไปด้วยสาร triterpenoid saponin และ polyphenolic compounds ได้แก่ quercetin, isoquercetin, gallic acid, rutin, tannic acid และ catechin ราก พบสารที่มีฤทธิ์ต่อหัวใจ Cardiac glycoside มากกว่า 30 ชนิด เช่น asperoside, strebloside, glucostreblolide ต้น มีสาร linalool, nonanal, decanal ส่วนในน้ำมันหอมระเหยพบสารที่สำคัญได้แก่ phytol, caryophyllene, α-farnesene, trans-farnesyl acetate, และ trans-trans-α-farnesene

 โครงสร้างข่อย

ที่มา : Wikipedia

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของข่อย

การศึกษาทางคลินิก ผลต่อสุขภาพช่องปาก มีการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยโรคเหงือกอักเสบเรื้อรังจำนวน 42 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ใช้น้ำยาฉีดล้างร่องลึกปริทันต์ (subgingival irrigation) ที่มีส่วนผสมของสารสกัดของใบข่อย เสริมการขูดหินน้ำลาย และเกลารากฟัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้น้ำกลั่น ผลการทดสอบพบว่าน้ำยาที่ทื มีส่วนผสมของสารสกัดของใบข่อยมีผลในการลดการอักเสบของเหงือก แต่ไม่มีผลต่อความลึกของร่องลึกปริทันต์ (probing depth) ระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ (relative attachment level) และจำนวนเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในช่องปาก Aggregatibacter actinomycetemcomitans และ Porphyromonas gingivalis

           ส่วนการศึกษาแบบ Single blind crossover ในอาสาสมัครจำนวน 30 คน เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสารสกัดใบข่อยเตรียมในรูปยาน้ำบ้วนปากต่อการ ทำลายเชื้อ S. mutans เปรียบเทียบกับน้ำกลั่น พบว่าเมื่อให้อาสาสมัครบ้วนปากด้วยตัวอย่างทดสอบ 20 มล. นาน 60 วินาที สารสกัดใบข่อยมีผลลดปริมาณเชื้อ S. mutans ในช่องปากได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับน้ำกลั่น และมีฤทธิ์อยู่ได้นานอย่างน้อย 6 ชม. มีข้อดีคือไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอื่นในช่องปาก เช่นความเป็นกรด-ด่างของน้ำลาย

           ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ฤทธิ์ต้านอักเสบ ทดสอบฤทธิ์ต้านอักเสบโดยฉีดสารสกัดเอทานอลของใบข่อย ขนาด 125, 250 และ 500 มก./กก.นน.ตัว เข้าทางช่องท้องของหนูแรทที่ถูกเหนี่วนำให้ฝ่าเท้าบวมด้วยสาร carrageenan ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดใบข่อยมีฤทธิ์ต้านอักเสบ ลดอาการบวมของฝ่าเท้าของหนูแรทได้ โดยขึ้นอยู่กับขนาดของสารสกัด รวมทั้งยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการอักเสบ ได้แก่ cyclooxygenase (COX)-2 และ inducible nitric oxide synthase (iNOS) ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยสาร lipopolysaccharides (LPS) แต่ไม่มีผลต่อการยับยั้งเอนไซม์ COX-1

           ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant activity) การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในin vitro โดยใช้วิธี DPPH (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl) assay พบว่าสารสกัดใบข่อยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยมีคุณสมบัติเป็นตัวจับสารอนุมูลอิสระ (radical scavenging activity) และพบว่าสารสกัดจากใบข่อยในความเข้มข้น 200, 600 และ 1000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถลดการเกิดอนุมูลอิสระภายในเซลล์ (intracellular reactive oxygen species; ROS) ในเซลล์เพาะเลี้ยงชนิด SK-N-SH human neuroblastoma cells ที่ถูกเหนี่ยวนาให้มีการสร้างอนุมูลอิสระด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

           การศึกษาใน in vivo ที่เหนี่ยวนาให้เกิดอนุมูลอิสระด้วยคาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) ซึ่งคาร์บอนเตตระคลอไรด์ทาให้ระดับ reduced glutathione (GSH) และ catalase (CAT) ในตับลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมผลการศึกษาพบว่าสารสกัดข่อยขนาด 250 และ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมสามารถเพิ่มระดับ GSH และ CAT ในตับได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตินอกจากนี้มีการศึกษาพบว่าสารสกัดจากเปลือกข่อย ขนาด 200 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถเพิ่มการทำงานของเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเกิดอนุมูลอิสระได้แก่ GSH, CAT, SOD (Superoxide dismutase) และสามารถลดการเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน lipid peroxidation ในเนื้องอกที่ตับและไตของหนูพันธุ์ Swiss albino ได้

           ฤทธิ์ยับยั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทดสอบแยกสารสกัดปีโตรเลียมอีเทอร์ (petroleum ether) และสาร α-amyrin acetate ของเปลือกต้นข่อย มีการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin โดยให้สารสกัดปีโตรเลียมอีเทอร์ขนาด 100, 250 และ 500 มก./กก.นน.ตัว และสาร α-amyrin acetate ขนาด 25, 50 และ 75 มก./กก.นน.ตัว ทางปาก เป็นเวลา 15 วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมบวกที่ให้ยา glibenclamide ขนาด 0.5 มก./กก. ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดปีโตรเลียมอีเทอร์ และ α-amyrin acetate มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดย α-amyrin acetate ขนาด 75 มก./กก. ลดได้สูงสุด (71.10%)

           ฤทธิ์ต้านมะเร็งการศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็งของสาร strebloside และ mansonin ซึ่งแยกได้จากสารสกัดเมทานอล และไดคลอโรมีเทนจากเปลือกข่อยเพื่อทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งพบว่าสารทั้งสองชนิดแสดงฤทธิ์ในการต้านมะเร็งในเซลล์เพาะเลี้ยงชนิด KB ได้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิตินอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าสาร (+)-strebloside ที่สกัดได้จากเปลือกข่อยสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งรังไข่ชนิดร้ายแรงได้ผลการศึกษายังพบอีกว่าสารนี้สามารถยับยั้งระยะ G2 ในวงจรเซลล์ และสามารถเหนี่ยวให้เกิดการตายแบบ apoptosis ของเซลล์มะเร็งได้ซึ่งผ่านกลไกที่ (+)-Strebloside สามารถควบคุมการแสดงออกของ p53 ผ่านทางการกระตุ้น ERK pathway และยับยั้ง NF-κB ใน human ovarian cancer cells การศึกษาที่มีการเหนี่ยวนาให้เกิดมะเร็งในช่องท้องหนูพบว่าสาร (+)-Strebloside ขนาด 5-30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ในหนู NCr nu/nu mice ได้

           การศึกษาสารสกัดจากเปลือกข่อยในขนาด 200 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมยังพบว่าสามารถลดขนาด และน้ำหนักของก้อนมะเร็งชนิด Ehrlich ascites carcinoma และ Dalton's ascitic lymphomaในหนูพันธุ์ Swiss albino ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

           ฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทดสอบแยกสารจากเปลือกต้นข่อยด้วยไมโครเวฟ (microwave-assisted extraction) และทดสอบฤทธิ์ต่อระบบประสาทในหนูเม้าส์ โดยให้สารสกัดหยาบ และสารสกัดที่แยกจากส่วน n-hexane, dichloromethane และ aqueous fractions ขนาด 100, 200, 400 มก./กก.นน.ตัว และสาร betulin ขนาด 25, 50 และ 100 มก./กก. ทางปาก ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดที่แยกได้จากส่วน n-hexane fractions ขนาด 400 มก./กก. และสาร betulin ขนาด 100 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านอาการชัก (anticonvulsant activity) สูงสุด และสารสกัดส่วน n-hexane และ dichloromethane fractions ขนาด 400 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านอาการซึมเศร้า (antidepressant) โดยพบว่าการเคลื่อนไหว (immobility) จากการทดสอบด้วยเทคนิค forced swim test (FST) ของหนูลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม สารสกัดน้ำของใบข่อยมีฤทธิ์ลดอาการของโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการของโรคพาร์กินสันด้วยสาร MPTP (1-methyl-4-phenyl-1,2,3,6-tetrahydropyridine) โดยมีผลทั้งต่อการเคลื่อนไหว (motor) และการเรียนรู้ (cognitive) ของหนูทดลอง

           ฤทธิ์ต้านโรคพาร์กินสันการศึกษาฤทธิ์ขอสารสกัดข่อย ต่อโรคพาร์กินสันในสัตว์ทดลองพบว่าสารสกัดใบข่อยสามารถต้านอาการที่มีความบกพร่องของการเคลื่อนไหว (motor dysfunctions) ในหนูพันธุ์ C57BL/6 ที่ถูกเหนี่ยวนาให้เกิดอาการคล้ายโรคพาร์กินสันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับสาร MPTP (1-methyl-4-phenyl-1,2,3,6-tetrahydropyridine) ซึ่ง MPTP เป็นสารพิษที่เหนี่ยวนาให้เกิดอาการคล้ายโรคพาร์กินสัน

           ฤทธิ์ต้านไวรัสตับอักเสบชนิดบีการศึกษาฤทธิ์ของสารกลุ่มลิกแนน (lignans) ที่สกัดได้จากเปลือกต้น และรากได้แก่ (7'R,8'S,7″R,8″S)-erythro-Strebluslignanol G, 9-β-xylopyranosyl-isolariciresinol และ magnolol ของข่อยพบว่าสารดังกล่าวสามารถยับยั้งการจาลองดีเอ็นเอ (DNA replication) ของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (HBV) ใน HBV transfected HepG2.2.15 cell line ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

การศึกษาทางพิษวิทยาของข่อย

มีการศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดเมทานอล และปิโตรเลียมอีเทอร์ของใบข่อย โดยประเมินค่าความเข้มข้นที่ทำให้ไรทะเล หรือ อาร์ทีเมีย (brine shrimps model) ตายลงร้อยละ 50 (LC50) ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเมทานอลมีความเป็นพิษอย่างอ่อน (weakly toxic) ส่วนสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ไม่มีความเป็นพิษ (non toxic) และทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน (acute toxicity) โดยให้สารสกัดเมทานอล และปิโตรเลียมอีเทอร์ขนาด 2,000 มก./กก. ครั้งเดียว ทางปาก แล้วสังเกตอาการณ์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 14 วัน และทดสอบความเป็นพิษแบบกึ่งเรื้อรัง (sub-chronic toxicity) โดยให้สารสกัดเมทานอล และปิโตรเลียมอีเทอร์ขนาด 400 มก./กก.นน.ตัว/วัน ทางปาก เป็นระยะเวลา 28 วัน ในหนูเม้าส์ ผลการศึกษาพบว่าทั้งสารสกัดเมทานอล และปิโตรเลียมอีเทอร์ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษใดๆ

          ส่วนการทดสอบความเป็นพิษต่อตัวอ่อนของสารสกัดเมทานอลของเปลือกต้นข่อย พบว่าก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อตัวอ่อนปลาม้าลาย (zebrafish embryos) โดยมีผลในการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate) และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดอาการบวมน้ำ (oedema) เล็กน้อย ซึ่งนักวิจัยระบุว่าอาจเป็นผลของสารกลุ่ม cardiac glycosides ซึ่งเป็นสารที่มีรายงานการออกฤทธิ์ต่อหัวใจ


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ในการนำข่อย มาใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อบำบัดรักษาโรคต่างๆ นั้น ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในปริมาณที่พอดีที่ได้ระบุไว้ตามตำรับรำตาต่างๆ ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากเกินไป หรือ ใช้ติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ สำหรับ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องก่อนจะใช้ข่อยเป็นยาสมุนไพรในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

 

เอกสารอ้างอิง ข่อย
  1.  ปัจจุบัน เหมหงษา, พรรณี ลิ้มสวัสดิ์, รุจินาถ อรรถสิษฐ, อรุณลักษณ์ รัตนสาลี, บรรณาธิการ. สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน; 2542.
  2. ข่อย.สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  3. ข่อย . กลุ่มยาแก้ปวดฟัน สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็กพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_18_1.htm
  4. ข่อย.ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=21
  5. ข่อย(Siamese Rough Bough Bush)ประโยชน์และสรรพคุณข่อย.พืชเกษตรดอทคอมเว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.puechlaset.com
  6. Taweechaisupapong S, Intaranongpai K, Suwannarong W, Pitiphat W, Chatrchaiwiwatana S, Wara-aswapati N. Clinical and microbiological effects of subgingival irrigation with Streblus asper leaf extract in chronic periodontitis. J Clin Dent 2006;17(3):67-71.
  7. Madhavan V, Zamabad PP, Gurudeva MR, Yoganarasimhan SN. Pharmacognostical evaluation of root bark of Streblus asper Lour. Indian J Tradit Know 2009; 8: 176-84.
  8. Li J, Huang Y, Guan XL, Li J, Deng SP, Wu Q, et al. Anti-hepatitis B virus constituents from the stem bark of Streblus asper. Phytochemistry 2012; 82: 100-9.
  9. Singsai K, Akaravichien T, Kukongviriyapan V, Sattayasai J. Protective effects of Streblus asper leaf extract on H2O2-induced ROS in SK-N-SH cells and MPTP-Induced Parkinson's disease-like symptoms in C57BL/6 mouse. Evid Based Complement Alternat Med 2015;2015:970354.
  10. Kumar RB, Kar B, Dolai N, Karmakar I, Bhattacharya S, Haldar PK. Antitumor activity and antioxidant status of Streblus asper bark against Dalton's ascitic lymphoma in mice. Interdiscip Toxicol 2015; 8(3): 125-30.
  11. Rastogi S, Kulshreshtha DK, Rawat AK. Streblus asper Lour. (Shakhotaka): A review of its chemical, pharmacological and ethnomedicinal properties. Evid Based Complement Alternat Med 2006; 3: 217-22.
  12. Kumar RBS, Kar B, Dolai N, Haldar PK. Study on developmental toxicity and behavioral safety of Streblus asper Lour. bark on Zebrafish embryos. Indian J Nat Prod Resour 2013;4(3):255-9.
  13. Li J, Meng AP, Guan XL, Li J, Wu Q, Deng SP, et al. Anti-hepatitis B virus lignans from the root of Streblus asper. Bioorg Med Chem Lett 2013; 23(7): 2238-44.
  14. Taweechaisupapong S, Wongkham S, Chareonsuk S, Suparee S, Srilalai P, Chaiyarak S. Selective activity of Streblus asper on Mutans streptococci. J Ethnopharmacol 2000;70(1):73-9.
  15. Verma V, Tripathi AC, Saraf SK. Bioactive non-sterol triterpenoid from Streblus asper: microwave-assisted extraction, HPTLC profiling, computational studies and neuro-pharmacological evaluation in BALB/c mice. Pharm Biol 2016;54(11):2454-64.
  16. Fiebig M, Duh CY, Pezzuto JM, Kinghorn AD, Farnsworth NR. Plant anticancer agents, XLI. Cardiac glycosides from Streblus asper. J Nat Prod 1985; 48: 981-85.
  17. Kumar RB, Kar B, Dolai N, Karmakar I, Haldar S, Bhattacharya S, et al. Antitumor activity and antioxidant role of Streblus asper bark against Ehrlich ascites carcinoma in Swiss albino mice. J Exp Ther Oncol 2013; 10(3): 197-202.
  18. Karan SK, Mondal A, Mishra SK, Pal D, Rout KK. Antidiabetic effect of Streblus asper in streptozotocin-induced diabetic rats. Pharm Biol 2013;51(3):369-75.
  19. Chen H, Li J, Wu Q, Niu XT, Tang MT, Guan XL, et al. Anti-HBV activities of Streblus asper and constituents of its roots. Fitoterapia 2012; 83(4): 643-9.
  20. Ren Y, Chen WL, Lantvit DD, Sass EJ, Shriwas P, Ninh TN, et al. Cardiac glycoside constituents of Streblus asper with potential antineoplastic activity. J Nat Prod 2017; 80(3): 648-58.
  21. Singsai K, Akaravichien T, Kukongviriyapan V, Sattayasai J. Protective effects of Streblus asper leaf extract on H2O2-induced ROS in SK-N-SH Cells and MPTP-induced Parkinson’s disease-like symptoms in C57BL/6 mouse. Evid Based Complement Alternat Med. 2015; 2015: 970354.
  22. Sripanidkulchaia B, Junlatata J, Wara-aswapatia N, Hormdee D. Anti-inflammatory effect of Streblus asper leaf extract in rats and its modulation on inflammation-associated genes expression in RAW264.7 macrophage cells. J Ethnopharmacol 2009;124:566–70.
  23. Kakoti B, Selvan V, Saha P, Gupta M, Mazumder U. In vivo and in vitro antioxidant properties of methanol extract of Streblus asper Lour. Pharmacologyonline 2007; 3: 15-38.
  24. Chen WL, Ren Y, Ren J, Erxleben C, Johnson ME, Gentile S, et al. (+)-Strebloside-Induced cytotoxicity in ovarian cancer cells is mediated through cardiac glycoside signaling networks. J Nat Prod 2017; 80(3): 659-69.
  25. Suresh K RB, Puratchikodi A, Prasanna A, Dolai A, Majumder P, Mazumder UK, et al. Pre clinical studies of Streblus asper Lour in terms of behavioural safety and toxicity. Orient Pharm Exp Med 2011;11:243-9.
  26. Phutdhawong W, Donchai A, Korth J, Pyne SG, Picha P, Ngamkham J, et al. The components and anticancer activity of the volatile oil from Streblus asper. Flavour Frag J 2004; 19: 445-7.
  27. Ibrahim NM, Mat I, Lim V, Ahmad R. Antioxidant activity and phenolic content of Streblus asper leaves from various drying methods. Antioxidants (Basel) 2013; 2(3): 156-66.