มะตูม ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

มะตูม งานวิจัยและสรรพคุณ 43 ข้อ

ชื่อสมุนไพร มะตูม
ชื่ออื่นๆ/ชื่อเรียกท้องถิ่น มะตูม (ภาคกลาง), มะปิน (ภาคเหนือ), กะทันตาเถร (ปัตตานี), ตูม (ภาคใต้), บักตูม (ภาคอีสาน), ตุ่มตัง (ปัตตานี), มะปีส่า (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน), พะโนงค์ (เขมร), หมากปิ๋น (ภาษาไทยใหญ่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aegle marmelos (L.) Corr.
ชื่อพ้องทางวิทยาศาสตร์ Belou marmelos (L.) Kuntze, Crateva marmelos L.Lyons, Bilacus marmelos (L.), Feronia pellucida Roth         
จัดอยู่ในวงศ์ Rutaceae.
 

ถิ่นกำเนิดมะตูม

มะตูมเป็น พืชตระกูล ส้ม มะนาว จัดเป็นต้นไม้ขนาดกลาง ต้นมะตูมเป็นไม้ผลยืนต้น สามารถเติบโตในแถบพื้นเมืองของบริเวณป่าดิบชื่น และบริเวณเนินเขาสูง ชึ่งได้ถูกค้นพบมากที่สุด คือ ประเทศอินเดียตอนกลาง และประเทศอินเดียตอนใต้ ยังค้นพบในอีกหลายประเทศ เช่น ประเทศปากีสถาน ประเทศบังกลาเทศ ประเทศเมียนมา ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย และประเทศเวียดนาม เป็นต้น ยังมีการนำเข้ามาเพาะปลูกในประเทศไทยอย่างแพร่หลายไปทั่วทุกภาค และยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดของจังหวัดชัยนาท ประเทศไทยถือว่ามะตูม เป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกกันในบริเวณบ้านเพื่อเป็นสิริมงคลอีกด้วย

ประโยชน์และสรรพคุณมะตูม

  • ช่วยขับลม
  • ช่วยรักษาอาการท้องเสีย
  • ช่วยลดไข้
  • แก้อักเสบ
  • ช่วยลดอาการตาบวม
  • แก้หลอดลมอักเสบ
  • แก้บวม
  • แก้หวัด
  • แก้ผดผื่นคัน
  • แก้ตาอักเสบ
  • ช่วยควบควบคุมน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยรักษาลำไส้อักเสบ 
  • แก้ท้องเดิน
  • ช่วยแก้ท้องอืด
  • แก้ไอ
  • ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี 
  • แก้ไข้ทรพิษ
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยแก้ปวดฝี
  • ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
  • แก้ท้องเสีย
  • ใช่เป็นยาระบาย
  • ช่วยบำรุงระบบลำไส้
  • ช่วยบำรุงสมอง
  • ช่วยรักษาอัลไซล์เมอร์
  • ช่วยลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง
  • ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
  • ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ช่วยบำรุงหัวใจ
  • ช่วยบำรุงผิว
  • ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยขับพยาธิ
  • ช่วยรักษาไข้มาลาเลีย
  • ใช้สมานแผลให้แผลแห้งเร็ว
  • แก้ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ช่วยขับนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ
  • รักษาโรคกระเพาะ
  • ช่วยในการลดอาการตกเลือดสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรได้
  • ช่วยบำรุงร่างกาย
  • แก้พิษฝี
  • ช่วยรักษาน้ำดี

          ใบมะตูมยังนิยมมาใช้ในพิธีมงคลต่างๆ เช่น งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแด่พระมหากษัตริย์ของประเทศไทย เป็นต้น ผลสุกของมะตูม ยังสามารถนำมาทำเป็นขนมหวานเชื่อม มีกลิ่นหอม อร่อย และมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นอีกด้วย
 

ลักษณะทั่วไปของมะตูม

           ลำต้น มะตูมเป็นยืนไม้ต้น เนื้อแข็ง และกิ่งมีหนามขนาดใหญ่ แข็ง ตรง ผลัดใบ ความสูงประมาณ 10-15 เมตร และบางพื้นที่ที่อุดมสมบรูณ์อาจจะสูงถึง 15-25 เมตร เนื้อไม้มีกลิ่นหอม

           ใบ ใบมะตูมมีสีเขียวเงามัน มีความยาวประมาณยาว 3-5 เซนติเมตร ใบย่อย 3 ใบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ใบย่อยตรงกลางมีขนาดใหญ่สุด ใบกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร ใบด้านข้างทั้งสองกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร

           ดอก ดอกมะตูมมีสีขาวอมเขียว และมีกลิ่นหอม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกมีขนาดเล็กออกเป็นช่อตามซอกใบ และปลายกิ่งจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม

           ผล ผลมะตูมรูปรีกลม หรือ รียาว ขนาดกว้าง 8-12 เซนติเมตร และบางพื้นทางที่อาจจะมีขนาดถึง10-15 เซนติเมตร เลยทีเดียว มีเปลือกมีลักษณะเรียบ เป็นมัน เปลือกหนา และแข็งมาก ผลมะตูมแก่ มีสีเขียวอมเหลือง ผลมะตูม มีสีส้ม รสหวาน มีกลิ่มหอม มียางเหนียวๆ สีส้ม และมีเมล็ดจำนวนมากข้างใน

มะตูม

การขยายพันธุ์มะตูม

ต้นมะตูมสามารถเจริญเติบโต ได้ในสภาพดินทุกชนิด แค่ให้มีความชุ่มชื้น น้ำไม่ขัง สามารถปลูกได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ต้นมะตูมสามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดในถุงพลาสติก รอจนต้นแข็งแรงจึงเอาไปปลูกในหลุม ควรมีระยะปลูกที่ห่างกัน 4X6 เมตร ต้นมะตูม จะออกลูกต่อเมื่อมีอายุ 3 ปีขึ้น เป็นไม้ปลูกกลางแจ้ง และทนต่อสความร้อนได้ดี เป็นไม้ผลที่มีระบบรากแข็งแรง ใน 1 ต้น อาจมีรากแก้ว 1-3 ราก ทำให้เติบโตได้เร็ว สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ ต้นมะตูมจะผลิดอกประมาณช่วงเดือนมีนาคม ก่อนออกดอก ใบมักร่วงหมด พอแตกใบใหม่ ผลมะตูม มักสุกแก่ประมาณช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี
 ลูกมะตูม

องค์ประกอบทางเคมี

สารเคมีในผลมะตูมพบสารที่มีลักษณะเมือก เคติน แทนนิน ต้นมะตูมมีสาร furocoumarins รวมถึง xanthotoxol และเมทิลเอสเตอร์ของ alloimperatorin เช่นเดียวกับ flavonoids, รูติน และมาร์ซิน มีน้ำมันหอมระเหยจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วย และมีสารอัลคาลอยด์มีอยู่ในองค์ประกอบ, á-fargarine (= allocryptopine), O-isopentenylhalfordinol, O-methylhafordinol  Aegeline (N- [2-hydroxy-2 (4-methoxyphenyl) ethyl] -3-phenyl-2-propenamide) เป็นส่วนประกอบที่สามารถสกัดได้จากใบมะตูม

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของมะตูมของ

 โครงสร้างมะตูม

การศึกษาทางเภสัชของมะตูม

ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด และฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน

       จากการทดสอบสรุปว่าปฏิกิริยาออกซิเดชัน ในหนูขาวเพศผู้ ของสารสกัดจากใบมะตูม มีการกระตุ้นให้หนูเป็นเบาหวานด้วยการให้สาร alloxan จากนั้นป้อนสารสกัดใบมะตูมในขนาด 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมทุกวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ วัดระดับน้ำตาลกลูโคส และระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ในเม็ดเลือดแดง ผลการทดสอบพบว่าระดับกลูโคสในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวาน และหนูที่เป็นเบาหวานที่ได้รับสารสกัดพืช เท่ากับ 156.875±49.637และ 96.111±15.568mg/dl (p=0.003) ตามลำดับ ปริมาณสาร MDA เท่ากับ 20.973±4.233 และ16.228±2.683 nmol/gm Hb(p=0.01) ตามลำดับ, ระดับเอนไซม์ GSH เท่ากับ 6.766±1.406 และ 14.861±4.946 mg/gm Hb(p=0.0005) ตามลำดับ, ระดับเอนไซม์ GST เท่ากับ18.420±2.046 และ 13.382±1.166µmol/min/dL(p<0.0001) สารสกัดจากใบมะตูม ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของหนูลดลง และพบว่าระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มขึ้น) สารประกอบเชิงซ้อนกับเหล็กของสมุนไพรยังช่วยลด ภาวะ oxidative stress เนื่องจากเหล็กอิสระที่มีอยู่ทั่ว ร่างกายสามารถทำให้เกิดอนุมูลอิสระ คือ อนุมูลไฮดรอกซิล (OH• ) จากซูเปอร์ออกไซด์ (O2 •- ) และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide, H2O2) ในปฎิกิริยา Fenton จึงทำให้เกิดภาวะ oxidative stress

การศึกษาทางพิษทยาของมะตูม

จากการวิจัยทำให้รู้ว่าสารสกัดจากใบมะตูมทำให้ความผิดปกติในร่างกายสัตว์ที่เกิดจาก streptozotocin ของตับอ่อน เป็นการเพิ่มอินซูลีน ในเลือดของหนู จากการวิจัยด้านพิษทยาต่อว่า เอามะตูมมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50 เปอร์เซ็นต์ แล้วฉีดเข้าทางผิวหนังของหนูในสัดส่วนปริมาณ 10 กรัมต่อ 1 กิโลกรัมของน้ำหนักตัวหนูที่นำมาทดลอง ซึ่งไม่พบอาการพิษใดๆ
สรุป ส่วนที่มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด คือ ในส่วนของใบมะตูม และน้ำมะตูมสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรได้

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำ และผู้ป่วยเบาหวานที่คุมน้ำตาลได้ดีอยู่แล้ว จากการกินยาลดน้ำตาลในเลือด
  2. ไม่ควรใช้ในผู้ที่กำลังวางแผนจะมีบุตรทั้งเพศชาย และหญิง
  3. ผู้ที่จะได้รับการผ่าตัดไม่ควรรับประทานเนื่องจากจะทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ
  4. สตรีมีครรภ์ และผู้ที่ให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

เอกสารอ้างอิง มะตูม
  1. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=contact
  2. เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย https://puechkaset.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%A1/
  3. หมอชาวบ้าน https://www.doctor.or.th/article/detail/3425
  4. Thai-thaifood .com https://www.thai-thaifood.com/th/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%A1/
  5. ไฉน น้อยแสง Chanai Noysang วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาศาสตร์ (เภสัชเคมี และพฤกษเคมี) Master. Science (Pharmaceutical Chemistry and Phytochemistry)