กล้วยน้ำว้า ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

กล้วยน้ำว้า งานวิจัยและสรรพคุณ 14 ข้อ

ชื่อสมุนไพร กล้วยน้ำว้า
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น กล้วยใต้ (ภาคเหนือ), กล้วยตานีอ่อง, กล้วยอ่อง (ภาคอีสาน), กล้วยมะลิอ่อง (ภาคตะวันออก), ปิซัง (มาเลเซีย, อินโดนีเซีย), ซาจิง (ฟิลิปปินส์), เง็กเปาตี (พม่า), ซิกนัมวา (กัมพูชา)
ชื่อสามัญ Banana blossom, Banana, Cultivated banana
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum Linn, [Musa ABB group (triploid) cv. ‘Nam Wa’]
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ M. paradisiaca L.var sapientum (L.) O. Ktzl
วงศ์ Musaceae


ถิ่นกำเนิด
กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของกล้วยป่า 2 ชนิด ได้แก่ Musa acuminate, Musa balbisaina มีถิ่นกำเนิดอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีเอกสารกล่าวว่า คนแถบนี้ใช้ประโยชน์จากกล้วยกันมานานแล้ว แม้ว่าประวัติความเป็นมา ของกล้วยจะไม่แพร่หลายนัก แต่เป็นที่รู้กันว่า กล้วยเป็นผลไม้ชนิดแรกที่คนเอเชียแถบร้อนชื้น โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปลูกใช้เป็นอาหารก่อนรู้จักการดื่มนม ในอดีตทารกไทยส่วนใหญ่ก็เติบโตมาด้วยกล้วยบด แหล่งกำเนิดจริงๆ ของกล้วยยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ทฤษฎีของซิกมอนด์และเชเพิร์ด ที่ได้รับการยอมรับกันเป็นส่วนใหญ่เสนอว่า แถบอินโด-มาเลเซีย ถือเป็นศูนย์กลางความหลากหลาย ของกล้วยที่สำคัญที่สุด มาเลเซียจึงอาจเป็นศูนย์กลางของกล้วยในระยะแรกๆ ก็ได้ และจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การปลูกกล้วยก็ได้ขยายออกไปทั่วเขตร้อน อีกทั้งเข้าไปในเขตอบอุ่นของเอเชีย อเมริกา แอฟริกา และออสเตรเลีย จึงอาจกล่าวได้ว่าประเทศทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน และมีฝนชุกโดยเฉพาะเอเชีย กล้วยเป็นผลไม้ที่มีคนปลูกกันมาก และมีการบริโภคกันมากเป็นอันดับหนึ่งของทุกประเทศ
           สำหรับความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทยนั้น จากหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด คือ จดหมายเหตุของลาลูแบร์ ที่เขียนขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในจดหมายเหตุกล่าวถึงกล้วยงวงช้าง และกล้วยงาช้าง ซึ่งน่าจะหมายถึง กล้วยยักษ์ และกล้วยร้อยหวี ในเมื่อกล้วยมีกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น จึงย่อมเชื่อได้ว่ามีการปลูกกล้วยในเมืองไทยมานานก่อนสมัยอาณาจักรศรีวิชัย (พ.ศ.1200 โดยประมาณ) ในปัจจุบันกล้วยน้ำว้า ปลูกกันมากที่สุดในจังหวัดเลย หนองคาย และระนอง พันธุ์กล้วยน้ำว้าที่พบในไทย ได้แก่ กล้วยน้ำว้า แดง  กล้วยน้ำว้าค่อม กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำว้าขาวกล้วยน้ำว้านวล

ประโยชน์และสรรพคุณกล้วยน้ำว้า 

  1. เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่มีอุจจาระแข็ง หรือ เป็นริดสีดวงทวารขั้นเริ่มแรก
  2. แก้ท้องเสีย
  3. แก้โรคโลหิตจาง 
  4. ลดน้ำตาลในเลือด
  5. แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้
  6. ใช้ป้องกัน บำบัด โรคแผลในกระเพาะอาหาร 
  7. ช่วยยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
  8. รักษาอาการบิดมูกเลือด 
  9. รักษาแผลเรื้อรัง แผลเน่าเปื่อย แผลติดเชื้อต่างๆ
  10. ลดระดับคอเลสเตอรอล
  11. ช่วยลดน้ำหนัก
  12. รักษาโรค หรือ อาการปวดท้องจุกเสียด
  13. แก้อาหารเคล็ดขัดยอก
  14. สิวอักเสบ

           กล้วยน้ำว้า เป็นพืชที่สามารถนำทุกส่วนมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นลำต้น, ใบ, ก้าน, ผล, ดอก(ปลี), ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ผลกล้วยน้ำว้า สุก นำมารับประทานเป็นผลไม้ หรือ ใช้ทำเป็นขนม ของหวานต่างๆ อาทิ กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยตาก ข้าวต้มมัด เป็นต้น หรือ นำมาใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญบ้าน ผลกล้วยน้ำว้าดิบ นำมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ ทอด และโรยน้ำตาล หรือ น้ำเชื่อม หรือ นำมาปอกเปลือก หั่นผลบางๆ แล้วนำมาตำรวมกับมะยม ลำต้น หรือ หยวกกล้วยอ่อน นำมาปรุงอาหาร เช่น หมกหยาวกล้วย แกงหยวกกล้วย เป็นต้น หรือ ลำมาใช้เลี้ยวสัตว์ เช่น หมู เป็นต้น ปลีกล้วย ปลีกล้วย นำมาประกอบอาหาร เช่น ยำหัวปลี แกงหัวปลีใส่ปลา ห่อหมกหัวปลีใส่ไก่ หรือ จะนำมาใช้เป็นเครื่องเคียงก็ได้ ใบกล้วย นำมาห่ออาหาร เช่น ห่อหมกต่างๆ และขนมไทยต่างๆ ใช้ทำเครื่องเล่นเด็ก ใช้ทำเครื่องพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ใช้ทำพานบายศรีสู่ขวัญ หรือ ใช้ห่อกระทง กาบกล้วย กาบกล้วยสด นำมาฉีกแบ่งเป็นเส้นเล็ก (เชือกกล้วย) สำหรับใช้แทนเชือกรัดของ ก้านกล้วย ใช้ทำเครื่องเล่นให้แก่เด็ก เช่น ม้าก้านกล้วย และใช้ปักดอกไม้สำหรับถือไปไหว้พระเป็นต้น

กล้วยน้ำว้า 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้กล้วยน้ำว้า

ยาระบาย สำหรับริดสีดวง ใช้กล้วยสุก 2 ลูก ปิ้งอย่าให้เปลือกไหม้ กินทั้งเปลือกท้องเสีย เป็นแผลในกระเพาะอาหาร และอาหารไม่ย่อย ใช้กล้วยดิบทั้งลูก บดปั่นกับน้ำเล็กน้อย เติมน้ำตาล (ชนิดใดก็ได้) กิน (อาจใช้กล้วยดิบ แห้ง บดเป็นผงเก็บในภาชนะที่ปิดแน่น ไว้ใช้ยามจำเป็น โดยผสมกับน้ำอุ่นหรือน้ำผึ้งกิน) แผลในกระเพาะอาหารผงผลกล้วยห่าม 3-4 ช้อนชา หรือ 5-7 กรัม ผสมน้ำ หรือ น้ำผึ้ง 1-2 ช้อนโต๊ะ ดื่มวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน แต่หากรับประทานแล้ว ถ้ามีอาการท้องอืดเฟ้อ ให้แก้โดยดื่มน้ำต้มขิง หรือ สมุนไพรขับลมอื่นๆ นำมาบดรับประทานกับน้ำ รักษาโรค หรือ อาการปวดท้องจุกเสียด ใช้มาส์กหน้าโดยใช้กล้วยสุกหนึ่งผลมาบดให้ละเอียด แล้วเติมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นคลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วล้างออก รักษาโรคหูดบนผิวหนังใช้เปลือกกล้วยวางบนลงบริเวณหูดแล้วใช้เทปกาวแปะไว้ ใบอ่อนของกล้วย หากนำไปอังไฟให้นิ่ม ใช้ประคบแก้อาหารเคล็ดขัดยอกได้ มีการแนะนำให้ใช้เปลือกกล้วยมาถูบริเวณที่เกิดสิวอักเสบ ทิ้งไว้สักพักแล้วล้างออกด้วยน้ำ


ลักษณะทั่วไปกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (ลำต้นสูง) 3.0- 4.5 เมตร ลำต้นแท้จะเป็นส่วนหัว (เหง้า) ที่อยู่เหนือดินเล็กน้อย หรือ ฝังอยู่ใต้ดิน เหง้ากล้วยน้ำว้า สามารถแตกหน่อแยกเป็นต้นใหม่ได้ ส่วนลำต้นเหนือดินที่เป็นลำต้นเทียมประกอบด้วยกาบใบ และใบ โดยกาบใบจะแทงออกจากเหง้าเรียงซ้อนกันแน่นเป็นวงกลมจนกลายเป็นลำต้นตามที่มองเห็น แผ่นกาบด้านนอกที่มองเห็นจะมีสีเขียว และมีสีดำประเล็กน้อย กาบใบเป็นแผ่นโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม โดยมีแกนกลางเป็นกาบอ่อนเรียงซ้อนกัน แต่เมื่อกล้วยออกปลี (ดอก) แกนกลางจะกลายเป็นแก่นกล้วยแทน ขนาดของลำต้นเทียมประมาณ 15-25 ซม. ส่วนรากล้วยจะมีเพียงระบบรากแขนงที่แตกออกจากเหง้ากล้วย รากแขนงนี้มีลักษณะเป็นเปลือกหุ้มสีดำ แก่นรากมีสีขาว ขนาดของรากประมาณ 0.5-1 ซม. หรือ ขนาดประมาณเท่านิ้วก้อย

           ใบกล้วยเป็นส่วนที่ถัดจากกาบกล้วย ประกอบด้วยส่วนก้านใบ และใบ ก้านใบมีความยาวประมาณ 0.5-1 เมตร ถัดมาจะเป็นส่วนใบ หรือ เรียก ใบตอง ซึ่งเป็นแผ่นเดียวกัน ซ้าย-ขวา ที่ถอดยาวไปจนถึงปลายใบยาว 1.5-2 เมตร แผ่นใบ หรือ ใบตองที่เป็นยอดอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน และตั้งตรง เมื่อแก่จะมีสีเขียวสด และก้านใบโน้มลงด้านล่าง แผ่นใบมีลักษณะเรียบ แผ่นใบด้านบนมีสีเขียวสด และเป็นมัน ส่วนแผ่นใบด้านล่างมีสีเขียวอมเทา ความยาวของแผ่นใบแต่ละข้างจะยาวเท่ากันประมาณ 25-30 ซม.

           ดอก (ปลี) กล้วยจะแทงออกที่ปลายยอด มีลักษณะเป็นช่อห้อยลง เรียกว่า เครือกล้วย โดยเครือกล้วยประกอบด้วยใบประดับสีแดงหุ้มดอกไว้ เรียกว่า ปลีกล้วย มีลักษณะค่อนข้างป้อมเมื่อเทียบกับปลีกล้วยชนิดอื่น ใบประดับส่วนปลายม้วนงอ แผ่นใบประดับด้านนอกบริเวณส่วนบนมีสีแดงม่วง ส่วนล่างมีสีแดง แผ่นใบประดับด้านในมีสีครีม ส่วนดอกที่อยู่ด้านในจะมีหลายดอกย่อยเรียงซ้อนกันเป็นแผง เรียกว่า หวี โดยกล้วยน้ำว้า 1 เครือ จะมีหวีกล้วยประมาณ 7-12 หวี แต่ละหวี มีผลกล้วยประมาณ 10-16 ผล

           ผลกล้วยจะเจริญจากดอก ผลอ่อนมีลักษณะเปลือกผลสีเขียว และเป็นเหลี่ยม ผลห่ามจะมีเหลี่ยมน้อยหรืออวบกลม ไม่มีเหลี่ยม และจะมีสีเขียวอมเทา ส่วนผลสุก เปลือกผลจะค่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

           เนื้อกล้วยที่ถัดจากเปลือกผล เมื่อยังอ่อนจะมีสีขาว เนื้อแน่นเหนียว แต่หากสุกจะมีสีเหลืองอ่อน เนื้อสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม ให้รสหวาน แต่ไม่ส่งกลิ่นหอมเหมือนกล้วยชนิดอื่น เช่น กล้วยหอม

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า

การขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้าสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

  1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีเพิ่มจำนวนกล้าพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว แต่เป็นวิธีที่นิยมใช้ในบางกลุ่มเท่านั้น โดยเฉพาะเกษตรกร หรือ บริษัทที่ต้องการเหง้าพันธุ์จำนวนมาก
  2. การแยกหน่อ หรือ เหง้าปลูกการแยกหน่อ หรือ เหง้าปลูก เป็นวิธีการดั้งเดิมที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และปัจจุบันยังเป็นที่นิยมของเกษตรกร

           การปลูกกล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ในทุกสภาพดิน แต่ชอบดินร่วน มีอินทรีย์วัตถุ และความชื้นสูง ระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง หลังจากการปลูกกล้วยน้ำว้าแล้วจะให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่อปลูกได้ 8-10 เดือน และสามารถแตกหน่อเติบโตให้ผลผลิตทั้งปีซึ่งมีวิธีการปลูกดังนี้

การเตรียมแปลง และหลุมปลูก พื้นที่ใช้ปลูกหรือแปลงปลูกควรไถพรวนดิน และตากดิน นาน 1-2 อาทิตย์ และกำจัดวัชพืชก่อนปลูก

  1. วางแนว และขุดหลุมปลูกในระยะ 4×4 เมตร หรือ มากกว่า หากที่ระยะถี่กว่านี้จะทำให้ต้นที่แตกใหม่เบียดกันแน่นในปีที่ 2
  2. ขุดหลุมปลูก กว้างxยาวxลึก ที่ 50x50x50 ซม.
  3. กลบ หรือ โรยปุ๋ยคอก อัตรา 2-3 กก./หลุม ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 50-100 กรัม/หลุม พร้อมปรับดินผสมดินให้สูงประมาณครึ่งหนึ่งของหลุม
  4. คลุกผสมดินกับปุ๋ยให้เข้ากัน

           การปลูกกล้วยน้ำว้า นำต้นพันธุ์ลงหลุมปลูก และกลบดินต่ำกว่าผิวดินประมาณ 10 ซม. สำหรับให้น้ำขัง และสำหรับการใส่ปุ๋ยในครั้งต่อไป

การให้น้ำ ปกติโดยทั่วไปเกษตรกรจะปล่อยให้ต้นกล้วยได้รับน้ำจากน้ำฝน แต่หากพื้นที่ปลูกมีสภาพแห้งแล้งจัด และมีระบบชลประทานเข้าถึง ก็สามารถสูบน้ำเข้าแปลงเป็นระยะได้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง

การใส่ปุ๋ย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

  1. ระยะเตรียมหลุมปลูก ด้วยการรองพื้นด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 2-3 กก./หลุม ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 50-100 กรัม/หลุม หรือ ประมาณ 1-2 กำมือ
  2. ปุ๋ยคอก หลังการปลูกประมาณ 1-3 เดือน แรก ควรให้ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้น อัตรา 2-3 กก./หลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100-200 กรัม/หลุม
  3. ปุ๋ยเคมี ระยะหลังปลูกเดือนที่ 5 และ 7 หรือ ระยะก่อนออกปลี ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-24 อัตรา 100-200 กรัม/หลุม โดยการหว่านรอบๆกอ

การตัดต้น และไว้หน่อการไว้หน่อจะไว้หน่อเพื่อให้เจริญเติบโตเป็นต้น ซึ่งกล้วย 1 กอ หรือ 1 หลุม ให้ไว้หน่อ หรือ ต้น 4 ต้น เท่านั้น ด้วยวิธี ดังนี้

  • หน่อแรกที่ขึ้นหลังจากการปลูกต้นแรกให้ปล่อยไว้ไม่ตัด
  • หน่อที่ขึ้นต่อมาในระยะ 1-2 เดือน หลังจากการปล่อยหน่อแรกแล้ว ให้ตัดทิ้ง
  • เมื่อหน่อแรกอายุครบ 3 เดือน ให้ปล่อยหน่อที่ 2 ขึ้น ส่วนหน่ออื่นๆ ตัดทิ้ง
  • ทำในลักษณะเดียวกัน ซึ่งจะได้หน่อ และต้นทั้งหมดใน 1 กอ ประมาณ 4 ต้น/ปี จนถึงการตัดเครือกล้วยจากต้นแรก ซึ่งจะทำให้มีหน่อ หรือ ต้นเหลือ 3 ต้น/กอ

           กล้วยน้ำว้า ที่ปลูกจากหน่อจะเริ่มออกปลี หรือ ดอกเมื่อมีอายุหลังการปลูกประมาณ 8 เดือน หลังจากแทงปลีจนสุดแล้วจะเหลือส่วนปลายของดอกที่เรียกว่า ปลีกล้วย และมีระยะหลังการแทงดอก (ปลีกล้วย) จนถึงดอกกล้วยบานจนหมดจะใช้เวลาประมาณ 14 วัน

           การเก็บผลดิบจะเก็บในขณะที่ยังเห็นเหลี่ยมของผลชัดเจน ซึ่งระยะนี้กล้วยจะแก่ประมาณ 75% ระยะนี้เหมาะสำหรับการนำกล้วยดิบไปแปรรูป หรือ ส่งออกต่างประเทศ

           หลังการตัดปลีแล้ว กล้วยจะเริ่มแก่เต็มที่ และเริ่มสุกภายในเวลาประมาณ 70-80 วัน หลังจากออกดอก (ปลี) การเก็บกล้วยก่อนระยะสุก จะเก็บเมื่อผลอวบ ไม่มีเหลี่ยม เป็นระยะสำหรับเก็บจำหน่ายในประเทศเพื่อรับประทานผลสุก ซึ่งผลจะสุกเหลืองภายใน 3-7 วัน

           การตัดเครือกล้วยจะใช้วิธีตัดต้นกล้วย ให้ค่อยๆ ล้มลงแล้วจึงตัดเครือออก การตัดเครือควรตัดที่ต้นเครือ หรือ ให้เครือยาวประมาณ 20-30 ซม.

องค์ประกอบทางเคมี

ผลดิบมีสารแทนนิน, gallic acid, เพคติน, สารกลุ่มเทอร์ปีนอยด์, leucocyanidin, สารกลุ่มสเตียรอยด์ เช่น sitoindoside I, sitoindoside II, sitoindoside III, sitoindoside IV, sitoindoside V, tannin ในเนื้อ และเปลือกพบสารเซอโรโทนิน (Serotonin) นอร์แอดรีนาลีน (Noradrenaline) และสารกลุ่มพอลีแคคาไรด์ (polysac charide) นอกจากนี้แล้วในกล้วยยังอุดมไปด้วยเส้นใย และกากอาหาร อีกทั้งยังมีวิตามิน และแร่ธาตุนานาชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า ดังนี้

  • น้ำ                                             69.02    กรัม
  • พลังงาน                                    85         แคลอรี่
  • โปรตีน                                      0.89      กรัม
  • ไขมัน                                        0.76      กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต                          22.20    กรัม
  • เถ้า                                           0.72       กรัม
  • แคลเซียม (Ca)                       19.99     มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก (Fe)                          11.39     มิลลิกรัม
  • ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)         0.06      มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม (K)                    370       มิลลิกรัม
  • ไนอาซีน (Niacin)                     0.7        มิลลิกรัม 
  • แมกนีเซียม (Mg)                    33         มิลิกรัม
  • วิตามินเอ                                  190        IU
  • วิตามินซี                                 18.35     มิลลิกรัม
  • ไทอามีน (Thiamine)                0.05      มิลลิกรัม

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของกล้วยน้ำว้า

โครงสร้างกล้วยน้ำว้า

 

โครงสร้างกล้วยน้ำว้า

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกล้วยน้ำว้า

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียสารสกัดกล้วย จากใบมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียได้เล็กน้อย สารสกัดจากลำต้นสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบ และแบคทีเรียที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะกรดได้ สารสกัดจากผล และเปลือกผลสุกสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Escherichia coli, Staphylococcus, Serratia marcescens, Mycobacterium phlei, Bacillus subtilis, Sarcina lutea, Rhodococcus roseus และ Xanthomonas translucens ฤทธิ์รักษาอาการอุจจาระร่วง อาสาสมัครจำนวน 31 คน รับประทานเนื้อผล ขนาด 40 กรัมต่อคน สามารถลดอาการท้องร่วงที่เกิดจากเชื้อ Clostridium difficile ได้ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับแก้โรคแผลในกระเพาะอาหารการศึกษาฤทธิ์เกี่ยวกับการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเป็นการศึกษาของกล้วย M. paradisiaca ซึ่งเป็นกล้วยป่า พบว่า สารสกัดผลซึ่งทำให้แห้งด้วยวิธีแช่แข็ง ป้อนทางสายยางสู่กระเพาะอาหารหนูขาวเพศเมีย ขนาด 0.5 ก./กก.นน.ตัว พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดน้ำและน้ำด่าง (alkali-water) จากผล ฉีดเข้าช่องท้องหนูขาวเพศผู้ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย aspirin ขนาดที่ใช้ คือ 5 ก./วัน พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้สารสกัดเอทานอลกับน้ำ (1:1) จากผลแห้ง ขนาด 22.5 มก./กก. เมื่อให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหาร และฉีดเข้าช่องท้องของหนู ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะด้วย aspirin พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ส่วนสกัดที่แยกได้จากโครมาโตกราฟฟีของสารสกัดผล ขนาด 30 มก./กก. ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารของหนู พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร อีกการทดลองหนึ่งระบุว่า เมื่อป้อนสารสกัดเมทานอลจากผล ไม่ระบุขนาดที่ให้ ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารหนู สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และสารสกัดเนื้อผลซึ่งทำให้แห้งด้วยวิธีแช่แข็ง ขนาด 0.5 ก./กก. ฉีดเข้าทางกระเพาะของหนูเพศเมียซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะด้วย indomethacin และ acetic acid พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้    

           เนื้อผล ขนาด 0.65 ก./ตัว ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะหนูเพศผู้ โดยทดสอบก่อนและหลังที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอล พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และเนื้อผล ขนาด 0.65 ก./ตัว ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะหนูเพศผู้ โดยเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย indomethacin พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้

           แป้งจากส่วนผลให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารหนู ขนาด 0.5 ก./กก. พบว่าทำให้ความต้านทานของผนังกระเพาะเพิ่มมากขึ้น และแป้งจากส่วนผล ขนาด 100 มก./กก. ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารหนูเพศผู้ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย hypothermic-restraint, indomethacin และ ethanol พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้แป้งจากผลขนาด 0.5 ก./กก. ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารของหนูตะเภา ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย histamine พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร อีกการทดลองหนึ่งพบว่า แป้งจากผล ขนาด 0.5 ก./กก. ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารของหนู ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย aspirin, phenylbutazone, cysteamin, และ shay พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนู คือ sitoindoside I, II, III, IV และ V ซึ่งสาร sitoindoside IV เป็นสารที่ออกฤทธิ์ในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารดีที่สุด นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัยพบว่า สาร leucocyanidins ซึ่งเป็นสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เป็นสารออกฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนูขาวที่ถูกทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารด้วยแอสไพริน หนูแรทที่กินผลกล้วยป่า ดิบหลังจากได้รับแอสไพรินพบว่าสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ โดยสารสกัดด้วยน้ำจะมีฤทธิ์เป็น 300 เท่าของผงกล้วยดิบ ส่วนกล้วยสุกไม่มีฤทธิ์ แป้งจากผลกล้วยออกฤทธิ์สมานแผล และเพิ่มความแข็งแรงของเยื่อเมือกในทางเดินอาหาร และเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ ทำให้มีการฟื้นตัวของเซลล์เยื่อบุ นอกจากนี้ยังมีผลกระตุ้นการสร้าง macrophage อันส่งผลให้การรักษาแผลหายเร็วขึ้น


การศึกษาทางพิษวิทยาของกล้วยน้ำว้า

เมื่อฉีดสารสกัดเอทานอลและน้ำ (1:1) จากเปลือกผลแห้ง เข้าช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 1 ก./กก. (น้ำหนักตัว) เมื่อป้อนน้ำคั้นจากลำต้น ทางสายยางสู่กระเพาะอาหารในหนู ขนาด 2 ซีซี/ตัว มีผลทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ และภายใน 1-7 วัน ระดับแคลเซียม ฟอสฟอรัส ออกซาเลท และกรด glycolic ในเลือดลดลง เมื่อทดสอบสารสกัดน้ำของผลกล้วยต่อเซลล์รังไข่ของหนูแฮมสเตอร์ มีผลทำให้เกิดความเป็นพิษต่อโครโมโซม โดยทำให้โครโมโซมในช่วงการแบ่งตัวนั้นแตกสลาย ซึ่งผลจะลดลงเมื่อหนูแฮมสเตอร์ได้รับ liver microsomal S9 mixture ดังนั้นพิษอาจถูกกำจัดโดยตับ
           มีการศึกษาวิจัยในประเทศเนเธอร์แลนด์ ถึงผลของ 2-trans-hexenal ซึ่งพบในกล้วย 35 ppm พบว่าเมื่อให้อาสาสมัครอมกลั้วปากด้วยสารละลาย 2-trans-hexenal ความเข้มข้น 10 ppm (ส่วนในล้านส่วน)เป็นเวลา 3 วัน พบว่าปริมาณ micronuclei (MN) เพิ่มขึ้น แสดงว่าเป็นพิษต่อยีน แต่เมื่อให้อาสาสมัครกินกล้วย 3-6 ผล เป็นเวลา 3 วัน อาสาสมัคร 6 ใน 7 คน มี MN เพิ่ม แต่ไม่ต่างจากกลุ่มควบคุม

            อีกทั้งยังมีรายงานว่าผู้ที่รับประทานกล้วย อาจเกิดอาการแพ้ได้ พบว่าเมื่อทำ scratch test คนไข้ 1 ใน 2 มีอาการแพ้ เนื่องจากยางกล้วย และพบอาการแพ้ยางกล้วยในคนไข้และในจากการทดสอบความเป็นพิษแบบเรื้อรังโดยให้หนูแรทกินแป้งจากกล้วยนาน 5 สัปดาห์ ไม่พบความผิดปกติทางสรีรวิทยา สารสกัดด้วยน้ำจากดอกกล้วยไม่ทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ ในทางตรงกันข้ามสารสกัดด้วยน้ำ และผงแห้งของกล้วยสุกจากกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม และกล้วยไข่ กลับมีฤทธิ์ยับยั้งการกลายพันธุ์ได้ด้วย


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. การรับประทานผลกล้วยดิบเพื่อรักษาอาการท้องเสียอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดได้
  2. มีรายงานว่ายางกล้วยทำให้เกิดอาการแพ้ได้ดังนั้นในการใช้กล้วย หรือ การตัดกล้วยจึงควรระมัดระวัง
  3. สารเอมีนในกล้วยป่าดิบอาจทำให้อาหารไมเกรมกำเริบได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นไมเกรนควรระมัดระวังในการบริโภคหรือใช้เป็นยากล้วยป่าดิบ (ควรทำให้สุกก่อน)

เอกสารอ้างอิง กล้วยน้ำว้า
  1. ผศ.สุนารี วิทยานารถไพศาล. กล้วย. คอลัมน์ อาหารสมุนไพร. นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่ 29. สิงหาคม 2524
  2. Pannangpetch P, Vuttivirojana A, Kularbkaew C, et al. The antiulcerative effect of
  3. พัชรีวัลย์ ปั้นเหน่งเพชร. การศึกษาฤทธิ์ของกล้วยในการป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาว. รวมบทคัดย่องานวิจัยการแพทย์แผนไทย และทิศทางการวิจัยในอนาคต สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543. หน้า 125. 
  4. กล้วย. สมุนไพรที่มีการใช้ในผู้ติเชื้อและผู้ป่วยเอดส์. สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. Scott WS, McKay HH, Schaffer PS, et al. The partial purification and properties of antibiotic substances from the banana (Musa sapientum). Clin Invest 1949;28:866-902.
  6. Lewis DA, Fields WN, Shaw GP. A natural flavonoid present in unripe plantain banana (Musa sapientum L. var. paradisiaca L.) protects the gastric mucosa aspirin-induced erosions.  J Ethnopharmacol 1999;65(3):283-8.
  7. กล้วยน้ำว้า สรรพคุณ และการปลูกกล้วยน้ำว้า. พืชเกษตรดอทคอม เว็บเพื่อเกษตรกรไทย (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://puechkaset.com
  8. Costa R, Antonio MA, Souza brito ARM. Effects of prolonged administration of Musa paradisiaca L. (banana), an antiulcerogenic substance in rats. Phytother Res 1997;11(1):28-31.
  9. กล้วยน้ำว้า.สมุนไพรที่มีการใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน. สำนักงานข้อมุลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  10. Chattopadhyay S, Chandhuri S, Chosal S. Activation of ulcerogenic acylsterylglycoside from Musa paradisiaca. Planta Med 1987;52:16-8.
  11. ประโยชน์ของกล้วยที่มีต่อสุขภาพ.พบแพทย์ดอทคอม (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.podpad.com
  12. กล้วยดิบ. ฐานข้อมูลสมุนไพรเครื่องยาคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=13
  13. Best R, Lewis DA, Nasser N. The anti-ulcerogenic activity of the unripe plantain
  14. Mukhopadhyaya K, Bhattacharya D, Chakraborty A, et al. Effect of banana powder (Musa sapientum var. paradisiaca) on gastric mucosal shedding. J Ethnopharmacol 1987;21(1):11-9.
  15. Ghosal S. Steryl glycosides and acyl steryl glycosides from Musa paradisiaca.Phytochemistry 1985;24(8):1807-10.
  16. De corres LF, Moneo I, Munoz D, et al. Sensitization from chestnuts and bananas in patients with urticaria and anaphylaxis from contact with latex. Ann Allergy 1993;70(1):35-9.
  17. banana (Musa species). Brit J Pharmacol 1984;82(1);107-16.
  18. Makinen-Kiljunen SF. Banana allergy in patients with immediate-type hypersensitivity to natural rubber latex: characterization of cross-reacting antibodies and allergens. J Allergy Clin Immunol 1994;93(6):   990-6.
  19. Ghosal S, Saini KS. Sitoindosides I and II, two new anti-ulcerogenic sterylacylglucosides from Musa paradisiaca. J Chem Res(s) 1984;4:110.
  20. Scott WS, McKay HH, Schaffer PS, et al. The partial purification and properties of antibiotic substances from the banana (Musa sapientum). Clin Invest 1949;28:866-902.
  21. Thai Musa species in rats. Phytother Res 2001;15(5):407-10.
  22. Goel RK, Gupta S, Shankar R, Sanyal AK. Anti-ulcerogenic effect of banana powder (Musa sapientum var. paradisiaca) and its effect on mucosal resistance. J Ethnopharmacol 1986;18(1):33-44.
  23. Chattopadhyay S, Chandhuri S, Chosal S. Activation of ulcerogenic acylsterylglycoside from Musa paradisiaca. Planta Med 1987;52:16-8.
  24. Emery EA, Ahmad S, Koethe JD, et al. Banana flakes diarrhea in enterally patients. Nutr Clin Pract 1997;12(2):72-5.
  25. Dunjic BS, Svensson I, Axelson J, et al. Green banana protection of gastric mucosa against experimentally induced injuries in rats. Scand J Gastroenterol. 1993;28(10):894-8.
  26. Dhar ML, Dhar MN, Dhawan BN, Mehrotra BN, Srimal RC, Tandon JS. Screening of Indian plants for biological activity. Part IV. Indian J Exp Biol 1973;11:43-54.
  27. Kailash P, Varalakshmi P.  Effect of banana stem juice on biochemical changes in liver of normal and hyperoxaluric rats. Indian J Exp Biol 1992;30(5):440-2.
  28. Dittberner U, Schmetzer B, Gouml, Izer P, Eisenbrand G, Zankl H. Genotoxic effects of 2-trans-hexenal in human buccal mucosa cells in vivo. Mutat Res 1997;390(1-2):161-5.
  29. Kailash P, Varalakshmi P. Effect of banana stem juice on biochemical changes in liver of normal and hyperoxaluric rats. Indian J Exp Biol 1992;30(5):440-2.