ประวัติความเป็นมาของ....ชา

ประวัติความเป็นมาของ....ชา 

           

เมื่อกล่าวถึงชาแล้ว ทุกท่านคงจะนึกไปถึง ชาเขียว ชาดำ ชาอูหลง หรือแม้แต่ชานมเย็น แต่ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า บรรดาชาต่างๆที่ผู้เขียนได้กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่ทำมาจาก ชา ชนิดเดียวกัน คือ Camellia Sinensis (นั่นก็คือ ชาที่เราใช้ดื่มกันนั่นแหละครับ) เพียงแค่กรรมวิธีที่ใช้ทำเป็นชาประเภทต่างๆนั่นแตกต่างกันเท่านั้นเอง และสิ่งที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกท่านควรทราบเป็นลำดับแรกก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องของชาในด้านอื่นๆ ก็คือ ประวัติความเป็นมาของเครื่องดื่นยอดนิยมชนิดนี้นั่นเอง โดยประวัติความเป็นมาของชานั้นมีอยู่ว่า ชาวจีนมีการคาดการณ์กันว่า การดื่มชานั้น เริ่มต้นในประเทศจีน ในสมัยจักรพรรดิ เฉินหนุง (ราวๆ 2000 กว่าปีก่อนคริสตกาล) โดยพระองค์ได้ต้มน้ำดื่มใกล้ๆกันต้นชาแล้วมีลมพัดใบชาตกลงใส่ในหม้อต้มน้ำสักพักน้ำที่ต้มมีกลิ่นหอมโชยมา พระองค์จึงยกขึ้นดื่มพบว่ามีรสชาติดี ดื่มแล้วสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และ กระปรี้กระเปร่า และภายหลังจากนั้นพระองค์ยังค้นคว้าในเรื่องเกี่ยวกับชา และพบสรรพคุณต่างๆของชาอีก จึงทำให้การดื่มชาในจีนแพร่หลายตั้งแต่นั้นมา ส่วนในตำนานของอินเดียกล่าวไว้ว่า มีนักบวชชาวอินเดียได้เดินทานไปเผยแพร่ศาสนาและแสวงบุญในเมืองหนานกิง (สมัยจักพรรดิกูตี้) โดยขณะที่นักบวชได้นั่งภาวนาอยู่ได้เผลอหลับไป ชาวบ้านที่ผ่านมาเห็นจึงได้หัวเราะเยาะทำให้นักบวชอับอายเป็นอย่างมากจึงตัดหนังตาของตนออกทิ้งเพื่อจะไม่ให้เกิดอาการง่วงต่อไป แต่พอหนังตาของนักบวชตกถึงพื้นเกิดเหตุอัศจรรย์คือ จุดที่หนังตาตกลงไปได้มีต้นไม้งอกขึ้นมา (ตำนานระบุว่าเป็นต้นชา) ชาวบ้านเห็นเหตุอัศจรรย์นั้นจึงพากันเก็บใบของต้นไม้นั้นมาต้มกับน้ำไว้ดื่มพบว่าเมื่อดื่มน้ำต้นนั้นแล้ว ทำให้กระปรี้กระเปร่า ไม่มีอาการง่วง (ดังที่นักบวชได้ตัดหนังตาทิ้งเพื่อไม่ให้ง่วง) และพบภายหลังว่ายังสามารถรักษาโรคต่างๆได้อีกมากมาย จากที่กล่าวมาทั้ง 2 ตำนานนั้นเป็นตำนานที่ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่หากจะกล่าวถึงหลักฐานสำคัญของเรื่องราวความเป็นมาของชาที่เป็นที่เชื่อถือกันเป็นอย่างมากในปัจจุบัน คือ “ตำราชาชิง (Chaching) ที่เขียนโดยพระชาวจีนที่ชื่อลูยู้ เมื่อ 1200 ปีมาแล้ว” ซึ่งเป็นตำราที่ได้มีการกล่าวถึงชาที่เป็นลายลักษณ์อักษรเล่มแรกของโลก โดยในวรรณกรรมนี้ได้บรรยายเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด การเพาะปลูก กรรมวิธีการผลิตใบชา คุณภาพของชารวมถึงอุปกรณ์วิธีการดื่มชา ส่วนในญี่ปุ่นก็มีหนังสือที่เกี่ยวกับชาเรื่องการรักษาสุขภาพโดยการดื่มชา ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่กล่าวถึงชา ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเขียนโดยพระชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ ไอไซ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นประวัติความเป็นมาหากท่านใดที่สนใจติดตามกันได้ในบทความหน้านะครับ

 

 

กวาวขาว กระชายดำ เจียวกู่หลาน