เจียวกู่หลานกับการทดลอง (ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา)

เจียวกู่หลานกับการทดลอง (ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา)

 

            จากสรรพคุณของเจียวกู่หลานที่ได้กล่าวมาในบทความที่แล้วจะเห็นได้ว่าเจียวกู่หลานนั้นเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณครอบคลุมในโรคที่สำคัญเกือบทุกโรครวมถึงยังสามารถใช้ในการรักษาและป้องกันได้ในคราวเดียวกันจึงถือได้ว่าเจียวกู่หลานนี้เป็นสมุนไพรที่ทรงคุณค่าอีกชนิดหนึ่งของโลก (เช่นเดียวกับเห็ดหลินจือ  ถั่งเช่า  แปะก๊วย ฯลฯ) แต่กระนั้นจากเรื่องราวของสรรพคุณของเจียวกู่หลานที่เราได้รับทราบกันมานั้น ก่อนที่เรื่องราวสรรพคุณ (ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน)ของสมุนไพรชนิดนี้จะมีการรับรองซึ่งนำมาสู่ความนิยมในการใช้ในปัจจุบันนี้ เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าต้องมีกระบวนการศึกษาวิจัยค้นคว้าทดลองเจียวกู่หลานจากนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ต่างๆทั่วโลก เพราะหากไม่มีการศึกษาวิจัยแล้ว เราทุกคนคงไม่ได้ทราบถึงสรรพคุณและคุณประโยชน์อันมากล้นของสมุนไพรเจียวกู่หลาน ซึ่งในการศึกษาวิจัยทดลอง เจียวกู่หลานนี้ได้เริ่มต้นขึ้นในทศวรรษที่ 1970 เมื่อ ดร.อาชาม่า ทานากะ แห่งมหาวิทยาลัยอิโรชิมา ค้นพบสารซาโปนินในเจียวกู่หลานที่มีโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกับโสมและยังค้นพบ จีเพนโนไซด์ทั้ง 82 ชนิดอีกด้วย ซึ่งในเวลาศึกษากว่า 10 ปี เลยทีเดียว หลังจากนั้นนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยก็เริ่มตื่นตัวและหันมาศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเจียวกู่หลานกันอย่างกว้างขวางและจนถึงปัจจุบันก็ได้มีงานวิจัยและเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเจียวกู่หลานมากกว่า 1000 เรื่อง แต่ในที่นี้ผู้เขียนกล่าวถึงข้อมูลการวิจัยในแง่ของฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ที่น่าสนใจเพียงเท่านั้น เอาเป็นว่าเราเริ่มกันเลยนะครับ มีการทดลองโดยการนำเจียวกู่หลานแห้งไปสกัดด้วยน้ำและนำไปทดสอบฤทธิ์การต้านการอักเสบในหนูทดลองพบว่าสารสกัดเจียวกู่หลานสามารถลดบวมของอุ้งเท้าของหนูทดลองได้อย่างมีนัยสำคัญ และยังมีการทดลองนำลำต้นกิ่งก้านใบ ของเจียวกู่หลานมาสกัดด้วยน้ำแล้วนำมาฉีดเข้าช่องท้องของหนูทดลองเพื่อศึกษาฤทธิ์ในการรักษาการเกิดพิษที่ตับ พบว่าสามารถป้องกันตับจากสารพิษได้ นอกจากจะมีรายงานวิจัยในสัตว์ทดลองแล้ว ยังมีรายงานวิจัยในคนอีก คือ มีการให้ผู้ป่วยมะเร็ว 19 รายรับประทานสารสกัดซาโปนินจากเจียวกู่หลานในขนาด 240 มิลลิกรัม/วัน นาน 30 วัน (โดยให้ยาในช่วงที่ไม่ได้ทำเคมีบำบัด) พบว่าผู้ป่วย 10 คน อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและอีก 7 คนทีอาการดีขึ้นพอควร โดยมีการเพิ่มของเม็ดเลือดขาวในผู้ป่วย 17 จาก 19 คน และค่าต่างๆในร่างกายก็อยู่ในระดับปกติ และยังมีรายงานการศึกษาวิจัยในด้านปรับสมดุลและลดระดับน้ำตาลในเลือด คือ มีการให้ผู้ป่วยเบาหวานไทป์ 2 (ชนิดที่พบบ่อยที่สุด) ดื่มชาเจียวกู่หลาน 6 กรัม/วัน ติดต่อกัน 4 เดือน พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ เมื่อเทียบกับก่อนการทดลองโดยไม่มีอาการน้ำตาลต่ำ หรือ สูงเกินไป รวมถึงไม่มีผลข้างเคียงใดๆเลย อีกรายงานหนึ่งคือ ให้สารสกัดเจียวกู่หลาน ในผู้ที่มีภาวะไขมันเกาะที่ตับโดยให้ในปริมาณ 80 มิลลิลิตร/วัน เป็นเวลา 120 วันพบว่าค่า BMI และ(ค่าดัชนีมวลกาย) ค่า SGDT (เอนไซม์ในตับ) รวมถึงอินซูลิน และค่าไขมันที่เกาะตับก็ลดลงด้วย เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม จึงนับได้ว่าเจียวกู่หลานนี้มีสรรพคุณตามที่กล่าวมาในบทความที่แล้วจริง เพราะมีรายงานผลการศึกษาวิจัยและทดลองมายืนยันอีกทั้งยังเป็นการทดลองในมนุษย์อีกซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคเจียวกู่หลานได้เป็นอย่างดี

 

 

เจียวกู่หลาน ถั่งเช่า ชาเขียว