มารุมรู้จักมะรุมกันดีกว่า

มารุมรู้จักมะรุมกันดีกว่า

หากกล่าวถึงมะค้อนก้อม ผักอีฮุม  กาแน้งเดิง เชื่อว่าหลายๆคนคงงงกันเป็นไก่ตาแตก ว่าที่กล่าวมานั้นคืออะไร หรือเป็นภาษาต่างดาวกันแน่ ซึ่งความจริงแล้วชื่อที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลนั้นก็คือ “มะรุม” ผักพื้นบ้านของไทยที่ทุกท่านคงคุ้นเคยและได้ลองลิ้มชิมรสอันโอชาของพืชชนิดนี้มาแล้ว วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของมะรุมอาหารและสมุนไพรพื้นบ้านของไทยอีกชนิดหนึ่ง  โดยมะรุมนั้นเป็นที่รู้จักของมนุษย์มาหลายพันปีแล้ว ซึ่งถือว่าพืชสมุนไพรที่มีการค้นพบยาวนาน (พอๆกับแปะก๊วยของจีน)ส่วนถิ่นกำเนิดนั้น มะรุมมีถิ่นกำเนิดแถบใต้เทือกเขาหิมาลัย แถบอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย รวมถึงแถบเอเชียไมเนอร์และแอฟริกา (ที่มีถิ่นกำเนิดต่างกันหลายทวีปเพราะมะรุมมีสารพันธุ์มากถึง 13 สายพันธุ์) สำหรับในประเทศไทยนั้นสามารถพบต้นมะรุมได้ทั่วทุกภาคโดยสายพันธุ์ที่นิยมปลูกในไทยคือ พันธุ์ข้าวเหนียว (Moring Oleifera) และพันธุ์กระดูก (Moringa Stenopetala) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่นิยมใช้ในการบริโภคและวิจัยทดลองมากที่สุดอีกด้วย และสำหรับในประเทศไทยเรานั้นถือกันว่ามะรุมนั้นถูกจัดเป็นพืชผัก สมุนไพรพื้นบ้านของไทยเรามาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว ซึ่งคนในสมัยโบราณนิยมปลูกมะรุมไว้ในละแวกบ้าน เพื่อไว้ทำเป็นอาหารเพราะสามารถกินได้หลายๆส่วนไม่ว่าจะเป็นยอด ดอก และผัก แต่โดยส่วนมากจะนิยมกินผักมากกว่าส่วนอื่นๆ ซึ่งเมนูยอดฮิตที่ใช้มะรุมทำเป็นอาหารก็คือ แกงส้ม (ว่ากันว่ามะรุมเป็นผักที่ทำแกงส้มคู่กับปลาช่อนอร่อยที่สุด เช่นทางใต้จะนิยมนำมะรุมมาทำแกงส้มปลาช่อน โดยใส่ขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาวและใส่ส้มแขกแทนน้ำมะขามเปียกเพื่อให้รสเปรี้ยว และเป็นเมนูยอดฮิตของร้านอาหารใต้อีกด้วย) ส่วนในต่างประเทศก็ใช้ใบมะรุมมาเป็นส่วนประกอบของอาหารเช่นกัน โดยปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรือราดอาหารที่เป็นแป้งอื่นๆ รวมถึงใช้ใบอบแห้งป่นเก็บไว้โรยอาหารได้อีกด้วย ส่วนมะรุมในด้านสมุนไพรนั้นคนในสมัยโบราณก็นำส่วนต่างๆของมะรุมมาทำเป็นสมุนไพรบำบัดอาการเจ็บป่วยเช่นกัน เช่น แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ ขับลม แก้อักเสบ ข้อปัสสาวะ ลดไข้ บำรุงร่างกาย ฯลฯ และด้วยเหตุผลเหล่านี้ที่มะรุมเป็นได้ทั้งอาหารและยาผู้คนในอดีตจึงนิยมปลูกไว้ใกล้บ้านซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามะรุมเป็นพืชผักสมุนไพรที่มีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตมาจนถึงปัจจุบันและในบทความหน้าเราจะมากล่าวถึงลักษณะทางกายภาพของมะรุมกันว่าจะเป็นแบบไหนมีลักษณะแบบใด

 

 

มะรุม กวาวแดง แปะก๊วย