สมอ (ไทย) เพาะง่ายเสมอ

สมอ (ไทย) เพาะง่ายเสมอ           

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าในปัจจุบันสมุนไพรป่าหลายๆชนิดนั้นมักจะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (เช่น กำลังเสือโคร่ง สมอพิเภก รวมถึงสมอไทย) แต่จะมีหน่วยงานทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงาน / องค์กรของเอกชนที่เข้ามาร่วมอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำแปลงเพราะพันธุ์เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาวิจัย เช่น สวนพฤกษศาสตร์ต่างๆ รวมถึงตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่จะนำสมุนไพรเหล่านั้นมาเพาะเลี้ยงเพื่อศึกษาทดลองค้นคว้าต่างๆ แม้กระทั่งบริษัทห้างร้านหรือโรงงานผลิตที่ผลิตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร , ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้มาจากสมุนไพรเหล่านั้น ก็ได้เริ่มมีการปลูกสมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการผลิต ทั้งการเพาะปลูกโดยบริษัทห้างร้านเองหรือการส่งเสริมและรับซื้อจากเกษตรกรที่ปลูกสมุนไพรเหล่านั้นในสวนไร่นาของตน อันจะเป็นการทำให้เกิดการลักลอบไปขุดในป่าตามธรรมชาติลดลงไป ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงที่สมุนไพรที่เป็นสมุนไพรในป่าเหล่านั้นจะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย ดังนั้นผู้เขียนจะนำเสนอเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์และการขยายพันธุ์สมอไทยสมุนไพรที่เป็นสมุนไพรในป่าอีกชนิดหนึ่งที่เริ่มมีความนิยมในการใช้กันมากขึ้นในระยะหลังนี้ โดยมีวิธีการเพาะขยายพันธุ์สมอไทยดังนี้ สมอไทยเป็นไม้เนื้อแข็งและเป็นไม้ยืนต้นชนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ต้องอาศัยระบบรากแก้วในการยึดเกาะเพื่อพยุงลำต้นและในการหาอาหาร ดังนั้นวิธีทีเหมาะสมในการเพาะขยายพันธุ์สมอไทยก็คือ การปลูกด้วยการเพาะเมล็ด เพียงอย่างเดียว (ส่วนวิธีการอื่นนั้นอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควรเพราะสาเหตุดังที่กล่าวมาแล้ว) โดยมีวิธีดังนี้ เก็บผลสมอไทยที่แก่จัดและร่วงลงมาจากต้น (ผลของสมอไทยจะร่วงในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม) จากนั้นนำผลสมอไทยที่ได้มาหมักไว้ 2 – 3 วัน เพื่อให้ส่วนเนื้อหลุดออกจากเมล็ด นำเมล็ดที่ได้มาล้างน้ำจากนั้นตากแดดให้แห้งประมาณ 3 – 5 วัน ระหว่างนั้นให้เตรียมกระบะเพาะหรือถุงเพาะชำก็ได้โดยต้องมีวัสดุลำหรับเพาะเมล็ดสมอไทย คือ ดินร่วนปนทราย ขุยมะพร้าวแกลบดำ และปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไป นำมาคลุกเคล้ากันและนำมาใส่กระบะหรือถุงเพาะชำ แล้วนำเมล็ดสมอไทยที่เตรียมไว้มาหว่านบนวัสดุเพาะแล้วนำใบไม้แห้งที่สับเป็นชิ้นๆ มาปิดคลุมทับเมล็ดสมอไทยที่หว่านลงไปแล้วรดน้ำในครั้งแรกส่วนครั้งถัดไปให้สังเกตดูวัสดุเพราะถ้าแห้งก็รดน้ำ แต่ไม่ควรรดน้ำบ่อยเพราะอาจทำให้เมล็ดเน่าได้ สำหรับการเพาะควรเพาะในที่ร่มและเพราะทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน เมล็ดถึงจะงอก และเมื่อต้นกล้าสมอไทยมีความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร มีใบแท้ 2 – 3 ใบ จึงย้ายไปใส่ถุงเพาะชำ (ในการที่เพาะครั้งแรกในกระบะเพาะ) จากนั้นหากต้นกล้าสมอไทย มีการเจริญเติบโตและแข็งแรงจึงนำไปปลูกในแปลงปลูกและดูแลเหมือนกับไม้ยืนต้นทั่วๆไป สรุปสั้นๆว่าการขยายพันธุ์สมอไทยนั้นทำได้โดยวิธีเพาะเมล็ดเพียงอย่างเดียวและเพาะจนได้ต้นกล้าที่แข็งแรงจึงนำมาปลูกในแปลง เป็นไงครับการเพาะและการขยายพันธุ์ต้นสมอไทยไม่ยากเลยใช่ไหมครับ อยากให้ทุดท่านไปลองทำดูนะคับเผื่อจะได้สมอไทยไว้ใช้ประโยชน์ที่บ้านสักต้นสองต้นครับ

 

 

สมอไทย ถั่งเช่า กวาวแดง